ปฏิทินฮิจเราะห์

(เปลี่ยนทางจาก ปฏิทินอิสลาม)

ปฏิทินฮิจเราะห์ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar; อาหรับ: ٱلتَّقْوِيم ٱلْهِجْرِيّ at-taqwīm al-hijrī) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติซึ่งประกอบด้วย 12 เดือน และใน 1 ปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินกริกอเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์)[1] ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช 1445

แสตมป์ปฏิทินฮิจเราะห์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกษัตริย์คอลิด (10 เราะญับ ฮ.ศ. 1428 / 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2007)

เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินกริกอเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม

เดือนตามระบบปฏิทินฮิจเราะห์

แก้

ในหนึ่งปีฮิจเราะห์มี 12 เดือน คือ[2]

  1. มุฮัรร็อม (مُحَرَّم, "ต้องห้าม") ได้ชื่อนี้มาเพราะเป็นการผิดกฎหมายหากสู้รบกันในเดือนนี้ เป็นเดือนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นอันดับสองในปฏิทินฮิจเราะห์ และมีวันอาชูรออ์
  2. เศาะฟัร (صَفَر, "ว่างเปล่า") คาดว่าได้ชื่อนี้มาเพราะชาวอาหรับนอกศาสนาปล้นสะดมในเดือนนี้และทิ้งให้บ้านว่างเปล่า บ้างก็ว่าชาวเมืองมักกะฮ์เดินทางออกจากเมืองในเดือนนี้จนเมืองว่างเปล่า
  3. เราะบีอุลเอาวัล (رَبِيع ٱلْأَوَّل, "ฤดูใบไม้ผลิแรก")
  4. เราะบีอุษษานี (رَبِيع ٱلثَّانِي‎, "ฤดูใบไม้ผลิที่สอง (หรือหลัง)")
  5. ญุมาดัลอูลา (جُمَادَىٰ ٱلْأُولَىٰ, "เดือนแรกที่ผืนดินแห้งแล้ง")
  6. ญุมาดัษษานี (جُمَادَىٰ ٱلثَّانِي, "เดือนที่สอง (หรือหลัง) ที่ผืนดินแห้งแล้ง")
  7. เราะญับ (رَجَب, "เคารพ" หรือ "ให้เกียรติ") เป็นเดือนต้องห้ามอีกเดือนหนึ่งซึ่งแต่โบราณแล้วห้ามสู้รบกันในเดือนนี้
  8. ชะอ์บาน (شَعْبَان, "กระจาย) ตรงกับช่วงที่เผ่าอาหรับกระจายกันไปหาน้ำ
  9. เราะมะฎอน (رَمَضَان, "ร้อนจัด") เป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในปฏิทินฮิจเราะห์ ชาวมุสลิมจะถือศีลอดในช่วงเช้าจนถึงตะวันตกดิน
  10. เชาวาล (شَوَّال, "ยก") เป็นช่วงของปีที่อูฐตัวเมียยกหางขึ้นหลังจากเกิดลูกแล้ว
  11. ษุลเกาะอ์ดะฮ์ (ذُو ٱلْقَعْدَة, "เดือนแห่งการพักรบ") เป็นอีกเดือนหนึ่งที่สงครามถูกห้าม
  12. ษุลฮิจญ์ญะฮ์ (ذُو ٱلْحِجَّة, "เดือนแห่งการแสวงบุญ") หมายถึงการแสวงบุญไปยังมักกะฮ์ประจำปีของมุสลิม ที่เรียกว่า ฮัจญ์

วันในสัปดาห์

แก้

ในภาษาอาหรับ เช่นเดียวกับในภาษาฮีบรู "วันแรก" ของสัปดาห์เสมือนกับเป็นวันอาทิตย์แบบสากล วันในศาสนาอิสลามและศาสนายูดาห์เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก ขณะที่ศาสนาคริสต์สมัยกลางและวันแบบสากลเริ่มเมื่อเวลาเที่ยงคืน[3] แต่วันพิธีสวดในศาสนาคริสต์ ซึ่งใช้กันในอารามต่าง ๆ นั้น เริ่มด้วยพิธีทางศาสนาในตอนเย็น (Vespers) ซึ่งเป็นไปตามประเพณีของกลุ่มศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ มุสลิมชุมนุมกันเพื่อสักการะที่มัสยิดเมื่อเวลาเที่ยงวันศุกร์ ดังนั้น วันศุกร์จึงมักถือว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ดังนั้นวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันเสาร์ จึงเป็นวันแรกของสัปดาห์ทำงาน

ลำดับที่ ภาษาอาหรับ ภาษาไทย ภาษาฮินดี ภาษาเบงกอล ภาษาฮีบรู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาอูรดู ภาษาเปอร์เซีย
1 เยามุลอะฮัด
يَوْم الْأَحَد‎
(วันแรก)
วันอาทิตย์ รวิวาร
रविवार
রবিবার Yom Rishon
יום ראשון
มิงกู
Minggu
อาฮัด
Ahad
Itwaar
اتوار
Yek-Shanbeh
یکشنبه
2 เยามุลอิษนัยน์
يَوْم الاِثْنَيْن‎
(วันที่สอง)
วันจันทร์ โสมวาร
सोमवार
সোমবার Yom Sheni
יום שני
เซอนิน
Senin
อิซนิน
Isnin
Pîr
پير
Do-Shanbeh
دوشنبه
3 เยามุษษุลาษาอ์
يَوْم الثُّلَاثَاء‎
(วันที่สาม)
วันอังคาร มงคลวาร
मंगलवार
মঙ্গলবার Yom Shlishi
יום שלישי
เซอลาซา
Selasa
เซอลาซา
Selasa
Mangl
منگل
Seh-Shanbeh
سه شنبه
4 เยามุลอัรบะอาอ์
يَوْم الْأَرْبَعَاء‎
(วันที่สี่)
วันพุธ พุธวาร
बुधवार
বুধবার Yom Revi'i
יום רבעי
ราบู
Rabu
ราบู
Rabu
Budh
بدھ
Chahar-Shanbeh
چهارشنبه
5 เยามุลเคาะมีส
يَوْم الْخَمِيس‎
(วันที่ห้า)
วันพฤหัสบดี คุรุวาร
गुरुवार
বৃহস্পতিবার Yom Khamishi
יום חמישי
กามิซ
Kamis
คามิซ
Khamis
Jumahraat
جمعرات
Panj-Shanbeh
پنجشنبه
6 เยามุลญุมอะฮ์
يَوْم الْجُمْعَة‎
(gathering day)
วันศุกร์ ศุกรวาร
शुक्रवार
শুক্রবার Yom Shishi
יום ששי
จุมอัต
Jumat
จูมาอัต
Jumaat
Jumah
جمعہ
Jom'e หรือ Adineh
جمعه หรือ آدينه
7 เยามุสซับต์
يَوْم ٱلسَّبْت‎
(วันสะบาโต)
วันเสาร์ ศนิวาร
शनिवार
শনিবার Yom Shabbat
יום שבת
ซับตู
Sabtu
ซับตู
Sabtu
Hafta
ہفتہ
Shanbeh
شنبه

ประวัติศาสตร์

แก้

ก่อนปฏิทินฮิจเราะห์

แก้

นักวิชาการบางคน ทั้งมุสลิมและตะวันตก คิดว่าปฏิทินก่อนปฏิทินฮิจเราะห์ในอาระเบียกลางเป็นปฏิทินจันทรคติคล้ายกับปฏิทินฮิจเราะห์สมัยใหม่[4][5] ส่วนนักวิชาการอื่น ๆ ทั้งมุสลิมและตะวันตก เห็นด้วยว่าเดิมปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ ที่ราว 200 ปีก่อนการฮิจเราะห์ ได้แปลงไปเป็นปฏิทินสุริยจันทรคติ ซึ่งมีการเพิ่มอธิกมาสเป็นบางครั้งเพื่อรักษาเวลาในฤดูกาลของปีเมื่อสินค้ามีมากที่สุดสำหรับผู้ซื้อเบดูอิน การแทรกอธิกมาสมีขึ้นทุกสามปี โดยจะเลื่อนเดือนแรกของปีไปหนึ่งเดือน การแทรกอธิกมาสเพิ่มเดือนแสวงบุญอีกหนึ่งเดือน และเดือนที่ตามมานั้นจะมีชื่อเหมือนกัน และเดือนที่เหลือและความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายของเดือนที่ตามมานั้นจะเลื่อนออกไปหนึ่งเดือนทั้งหมด[6][7][8][9]

การห้ามเลื่อนเดือน

แก้

ในปีฮิจเราะห์ที่สิบ ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน (อัลกุรอาน 9:36-37) มุสลิมเชื่อว่าพระเจ้า (อัลลอฮ์) ห้ามการเลื่อนเดือน:

แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์นั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้ามนั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเธอจงอย่าอธรรมแก่ตัวของพวกเธอเองในเดือนเหล่านั้นและจงต่อสู้บรรดามุชริกทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้พวกเธอทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นร่วมกับบรรดาผู้ที่ยำเกรง
แท้จริงการเลื่อนเดือนที่ต้องห้ามให้ล่าช้า ไปนั้นเป็นการเพิ่มในการปฏิเสธศรัทธา ยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นถูกทำให้หลงผิดไป เนื่องด้วยการเลื่อนเดือนต้องห้ามนั้น พวกเขาได้ให้มันเป็นที่อนุมัติปีหนึ่ง และให้มันเป็นที่ต้องห้ามปีหนึ่ง เพื่อพวกเขาจะให้พ้องกับจำนวนเดือนที่อัลลอฮ์ได้ทรงห้ามไว้ (มิเช่นนั้นแล้ว) พวกเขาก็จะทำให้เป็นที่อนุมัติสิ่งทีอัลลอฮ์ได้ทรงให้เป็นที่ต้องห้ามไป โดยที่ความชั่วแห่งบรรดาการงานของพวกเขาได้ถูกประดับประดาให้สวยงามแก่พวกเขา และอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา[10]

การเปลี่ยนระหว่าง ฮ.ศ. กับ ค.ศ.

แก้

หากต้องการทราบว่าวันเดือนปีใน ค.ศ. xxxx ตรงกับวันเดือนปีใดใน ฮ.ศ. ให้ทำดังนี้

วิธีที่ 1

แก้
  1. เปลี่ยนค่า ปี เดือน และวัน ที่ต้องการนั้นให้มีจำนวนเป็นวัน โดยการนำเอาปีนั้นมาลบด้วย 1 แล้วคูณด้วย 365.25 แล้วเอาจำนวนเดือนและวันที่เหลือมาบวก
  2. เอาผลลัพธ์นั้นลบด้วยค่าความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. กับ ฮ.ศ. คือ 227015 วัน
  3. เอาผลลัพธ์หารด้วย 10631 (อันเป็นเวลา 1 รอบน้อย)
  4. เอาผลลัพธ์คูณด้วย 30 และเอาเศษที่เป็นวันนั้น ทำเป็นปีและเดือน ตามกฎของปีปกติและอธิกสุรทิน และบวกเข้ากับผลลัพธ์
  5. เอาหนึ่งบวกกับผลลัพธ์ที่เป็นปีและเอาเศษผลลัพธ์ที่เป็นนั้นนั้นทำเป็นเดือน

ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 มกราคม 1992

1992 – 1 = 1991

1991 x 365.25 = 727212.75 + 11 = 727223

727223 – 227015 = 500208

10631 = 47 รอบ เศษ 551 x 30 = 1410 + 1 + 1 ปีเศษ 197 วัน = 2523 ปี 197 วัน

1411 + 1 ปี = 1412 ปี 197 วัน

197 30 + 29 + 30 + 29 + 30 + 30 + 19 = Rajab 1412

วิธีที่ 2

แก้

โดยใช้ข้อมูลต่อไปนี้เป็นหลัก

  1. วันที่ 1 มุฮัรร็อม 01 ตรงกับ 16 กรกฎาคม 622
  2. ปีจันทรคติ ฮ.ศ. มี 354.36666 วัน
  3. ปีสุริยคติกริกอเรียนมี 365.2425 วันจูเลียน = 365.25
  4. 1 ปี จันทรคติมีค่า = 0.070223 = 0.97
  5. 1 ปี สุริยคติมีค่า = 1.0306909 = 1.0307121

ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 มค. 1992

  1. ลบปีที่ต้องการซึ่งยังไม่บริบูรณ์นั้นด้วย 1992 – 1 = 1991
  2. ความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. กับ ฮ.ศ. ด้วย 1991 – 622 = 1369 ด้วยการหาผลลัพธ์นั้นด้วย 622
  3. ระหว่าง 16 กรกฎาคม ถึง 11 มกราคม เป็นเวลา = 179 วัน
  4. เอาผลลัพธ์จากข้อ 2 ซึ่งเป็นปีนั้นคูณด้วย 1.0306909 = 1411.0158
  5. ทศนิยมจากเศษนั้นเปลี่ยนเป็นโดยการคูณกับ 354.3666 1.0307121 = 1411.0448 = 1411 ปี 5.59 วัน
  6. เอาผลลัพธ์จากข้อ 3 และ 4 รวมกัน ปี 1412 ปี 15.87 วัน +
  7. บวกค่าความแตกต่างระหว่างกรกฎาคมถึงเดือนที่ต้องการ 179 วัน ปี 1412 วัน
  8. บวกค่าความแตกต่างระหว่าง J และ G = 13 วัน = 19 Rajab 1442
  9. เปลี่ยนผลลัพธ์จากวันเป็นเดือนและวัน

ถ้าจะหา ค.ศ. จาก ฮ.ศ. ทำได้ดังนี้

  1. เอา ฮ.ศ. ปีที่ต้องการนั้นลบด้วย 1
  2. เอาผลลัพธ์ที่ได้คูณด้วย ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปีและทศนิยมของปี
  3. เปลี่ยนทศนิยมของผลลัพธ์เป็นวันด้วยการคูณกับ 365.25
  4. เอาระยะเวลาห่างจาก 1 มกราคม ถึง 16 ตุลาคม (200 วัน) บวกกับผลลัพธ์
  5. เอาค่าความแตกต่างระหว่าง ค.ศ. กับ ฮ.ศ. มาบวก
  6. เอาระยะเวลาจาก 1 มุฮัรร็อม ถึงวันที่และเดือนที่ต้องการ
  7. เปลี่ยนค่าของผลลัพธ์เป็นปี – เดือน – และวันที่

อ้างอิง

แก้
  1. Watt, W. Montgomery. "Hidjra". ใน P.J. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel and W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam Online. Brill Academic Publishers. ISSN 1573-3912.{{cite encyclopedia}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  2. วันเดือนปี : เดือนภาษาอาหรับ ที่มาของเดือนอาหรับ เก็บถาวร 2011-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. Trawicky (2000) p. 232
  4. Mahmud Effendi (1858), as discussed by Burnaby, pages 460–470.
  5. F.C. De Blois, "TA'RIKH": I.1.iv. "Pre-Islamic and agricultural calendars of the Arabian peninsula", The Encyclopaedia of Islam X:260.
  6. al-Biruni, "Intercalation of the Ancient Arabs", The Chronology of Ancient Nations, tr. C. Edward Sachau, (London: William H. Allen, 1000/1879) 13–14, 73–74.
  7. Abu Ma'shar al-Balkhi (787–886), Kitab al-Uluf, Journal Asiatique, series 5, xi (1858) 168+. (ฝรั่งเศส) (อาหรับ)
  8. A. Moberg, "NASI'", The Encyclopaedia of Islam VII:977.
  9. A. Moberg, "NASI'", E.J. Brill's first encyclopaedia of Islam
  10. อัลกุรอาน 9:36-37

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้