1 พฤษภาคม
วันที่สร้างสรรค์
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ 121 ของปี (วันที่ 122 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 244 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
แก้- พ.ศ. 2029 (ค.ศ. 1486) - คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นำเสนอแผนการของเขาในการค้นหาเส้นทางตะวันตกไปสู่อินเดียต่อสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา[1]
- พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) - พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 มีผลบังคับใช้ สกอตแลนด์เข้าร่วมกับอังกฤษเพื่อก่อตั้งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[2]
- พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1786) - The Marriage of Figaro อุปรากรของโมซาร์ท เปิดการแสดงครั้งแรกในกรุงเวียนนา
- พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) - พระราชบัญญัติการค้าทาส ค.ศ. 1807 มีผลบังคับใช้ เป็นการยกเลิกการค้าทาสภายในจักรวรรดิอังกฤษ[3]
- พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - แสตมป์เพนนี แบล็กเป็นแสตมป์ชุดแรกที่ออกจำหน่ายและออกใช้อย่างเป็นทางการในสหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) - กองกำลังตำรวจฮ่องกง กองกำลังตำรวจสมัยใหม่แห่งที่ 2 ของโลกและกองกำลังตำรวจแห่งแรกในทวีปเอเชีย ได้รับการจัดตั้งขึ้น
- พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) - สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีเสด็จเปิดนิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ที่วังแก้วหรือคริสตัลพาเลซในลอนดอน
- พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) - ตึกอิเควเทเบิลไลฟ์เปิดใช้งานเป็นครั้งแรกและเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกตึกแรกของโลก
- พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) - รัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนธรรมเนียมออพฟิศใหม่ใช้ยืนและนั่งเก้าอี้แบบฝรั่ง เป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมให้คล้อยตามอารยประเทศ
- พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1884) - วันแรงงาน: ผู้ใช้แรงงานในสหรัฐเรียกร้องให้มีชั่วโมงทำงานนาน 8 ชั่วโมง
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา กองเสือป่า
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - วัคซีนโปลิโอที่พัฒนาโดย โจนัส ซอล์ก ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - รัฐบอมเบย์ของอินเดีย ถูกแยกออกเป็น มหาราษฏระ กับ คุชราต
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - ฟิเดล คาสโตร นายกรัฐมนตรีคิวบา ประกาศให้คิวบาเป็นชาติสังคมนิยม ยกเลิกการเลือกตั้ง
- พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019)
- เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ที่ 126 แห่งญี่ปุ่น ภายหลังการสละราชบัลลังก์ของพระราชบิดาเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้นยังทรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรมีพระราชโองการสถาปนาพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาภายหลังพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในวันเดียวกัน
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 1761 (ค.ศ. 1218) - พระเจ้ารูด็อล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี (สวรรคต 15 กรกฎาคม พ.ศ. 1834)
- พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) - อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (ถึงแก่กรรม 14 กันยายน พ.ศ. 2395)
- พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) พระสงฆ์ชาวไทย (มรณภาพ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517)
- พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) ข้าราชการพลเรือนและนักประพันธ์เพลงชาวไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510)
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - สีสะหวาด แก้วบุนพัน อดีตรองประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว (เสียชีวิต 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)
- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - จ่าง แซ่ตั้ง กวี, จิตรกร และนักปราชญ์ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533)
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - โยโกะ อะกิ นักแต่งเพลง, นักร้อง, นักเขียนชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู นักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - เรย์ พาร์กเกอร์ จูเนียร์ นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ นักร้องชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นักการเมืองหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - ทิม แม็กกรอว์ นักร้องคันทรีและนักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - ฆาบิ กราซิอา อดีตนักฟุตบอลชาวสเปน
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - จามิน เหมพิพัฒน์ นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - โอลิเวอร์ นอยวิลล์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - ศรพิชัย พิษณุราชันย์ นักมวยแชมป์โลกชาวไทย
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - สุธาสินี พุทธินันทน์ นักร้องหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - เจมส์ แบดจ์ เดล นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - อนุชิต สพันธุ์พงษ์ นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - บอล เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชายชาวไทย
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - อเล็กซานเดอร์ เฮล็บ นักฟุตบอลชาวเบลารุส
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ดารียอ เซอร์นา นักฟุตบอลชาวโครเอเชีย
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)
- เจมี่ ดอร์แนน นักแสดง นายแบบและนักดนตรีชาวไอริช
- แบตู (นักฟุตบอล) นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
- เคอิจิโร โคะยะมะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- ซาชา ดาแวน นักแสดงละครเวที,ภาพยนตร์และนักพากย์เสียงชาวอังกฤษ
- อัชชา นามปาน นักแสดงชายชาวไทย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - พิษณุ หารคำตัน อดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - เลโอนาร์โด โบนุชชี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ภัทร์ ฉัตรบริรักษ์ นายแบบ และนักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ดิเยโก คอนเทนโท นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - เดลาโตรี นักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - จิรกิตติ์ คูอาริยะกุล นักแสดงชายชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 1661 (ค.ศ. 1118) - มาทิลดาแห่งสกอตแลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
- พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) - สมเด็จพระสันตะปาปามาร์เซลลุสที่ 2
- พ.ศ. 2115 (ค.ศ. 1572) - สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5
- พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) - สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (ประสูติ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2328)
- พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - อันโตญีน ดโวฌาก คีตกวีชาวเช็ก (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2384)
- พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - เจ้าหญิงมาร์กาเรตแห่งคอนน็อต (ประสูติ 15 มกราคม พ.ศ. 2425)
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - ดิเรก ชัยนาม หนึ่งในคณะราษฎร ผู้พาประเทศไทยเข้าสู่สหประชาชาติ (เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2448)
- พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - สวลี ผกาพันธุ์ นักร้องเพลงลูกกรุงชาวไทย (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474)
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - โอลิมเปีย ดูคาคิส นักแสดง ผู้กำกับ ครูและนักเคลื่อนไหวชาวอเมริกัน (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2574)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้- สากล - เมย์เดย์, วันแรงงานสากล
- โรมันคาทอลิก - วันระลึกถึงนักบุญโยเซฟ กรรมกร
- พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) - วันวิสาขบูชา
อ้างอิง
แก้- ↑ Daniel, Clifton (1989). Chronicle of America. Chronicle publication. p. 14. ISBN 0-13-133745-9.
- ↑ "The Act of Union between England and Scotland". Historic UK. สืบค้นเมื่อ 8 May 2021.
- ↑ An Act for the Abolition of the Slave Trade
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- BBC: On This Day
- Today in History: May 1 เก็บถาวร 2011-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน