มาทิลดาแห่งสกอตแลนด์

สมเด็จพระราชินีมาทิลดาแห่งอังกฤษ แท้จริงแล้วพระนามของพระองค์คือ เอดีธาแห่งสกอตแลนด์ เป็นพระราชินีใน พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ เป็นพระราชินีองค์แรกของ พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

มาทิลดาแห่งสกอตแลนด์
สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ดำรงพระยศ11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1100 - 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1118
ราชาภิเษก11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1100
ประสูติประมาณ ค.ศ. 1080
ดันเฟิร์มลิน สกอตแลนด์
สวรรคต1 พฤษภาคม ค.ศ. 1118 (38 พรรษา)
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์
ฝังพระศพเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
คู่อภิเษกพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชบุตรจักรพรรดินีมาทิลดา
เจ้าชายวิลเลียม ดยุคแห่งนอร์มันดี
ราชวงศ์นอร์มัน
พระราชบิดาพระเจ้าเมลคัมที่ 3 แห่งสกอตแลนด์
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีมากาเร็ตแห่งสกอตแลนด์

พระชนม์ชียในวัยเด็ก แก้

มาทิลดาเสด็จพระราชสมภพราวปี ค.ศ. 1080 ในดันเฟิร์มลิน พระธิดาของกษัตริย์สกอตแลนด์ มัลคอล์มที่ 3 กับเจ้าหญิงแองโกลแซ็กซัน นักบุญมาร์กาเร็ต ทรงได้รับการทำพิธีล้างบาปและตั้งชื่อให้ว่าอีดิธ โดยมีเจ้าชายแองโกลนอร์มัน โรเบิร์ตเคอร์ธูส ยืนเป็นพ่อทูนหัวในพิธี พระราชินีอังกฤษ มาทิลดาแห่งฟลานเดอส์ ก็อยู่ที่อ่างน้ำมนตร์ทำพิธีศีลล้างบาปและทำหน้าที่เป็นแม่ทูนหัวของพระองค์ อีดิธดึงเครื่องประดับศีรษะของพระราชินีมาทิลดา ซึ่งถูกมองว่าเป็นลางบอกเหตุว่าทารกน้อยวันหนึ่งจะกลายเป็นพระราชินี[1]

ชีวิตของนักบุญมาร์กาเร็ต พระราชินีแห่งสกอตแลนด์ ที่ถูกเขียนขึ้นมาในเวลาต่อมา อาจจะโดยเทอร์กอต เดอแรม กล่าวถึงวัยเด็กของพระองค์และความสัมพันธ์กับพระมารดา ในนั้น มาร์กาเร็ตถูกบรรยายไว้ว่าเข้มงวดแต่ก็เป็นแม่ที่รักลูก พระองค์ไม่เคยใช้การลงโทษในการเลี้ยงลูกด้วยคุณงามความดี ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้มาทิลดาประพฤติตัวดี และมาร์กาเร็ตยังเคร่งในศาสนามาก[2]

เมื่อพระชนมายุได้ราว 6 พรรษา อีดิธกับพี่น้องหญิงของพระองค์ แมรี ถูกส่งตัวไปรอมซีย์แอบบีย์ ใกล้กับเซาแธมตันในอังกฤษใต้ ที่ซึ่งพระมาตุจฉาของทั้งคู่ คริสตินา เป็นพระอธิการิณีอยู่ ช่วงที่อยู่ที่แรมซีย์ กับช่วงหนึ่งก่อนปี ค.ศ. 1093 ที่อยู่ที่วิลตันแอบบีย์ ซึ่งทั้งสองแห่งเลื่องชื่อด้านการศึกษา[3] เจ้าหญิงชาวสกอตถูกหมายตาอย่างมากให้ไปเป็นเจ้าสาว ทรงปฏิเสธข้อเสนอจากวิลเลียม เดอ วอเรนน์ เอิร์ลที่ 2 แห่งเซอร์รีย์ กับอาลันรูฟัส ลอร์ดแห่งริมอนด์ เอริม็องแห่งทูร์เนอ้างว่าวิลเลียมรูฟัสสนใจที่จะแต่งงานกับพระองค์ การศึกษาของพระองค์สูงกว่ามาตรฐานของผู้หญิงทั่วไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเพราะพระมารดาของพระองค์รักการอ่านมาก อีดิธเรียนภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละตินบางส่วน และรอบรู้พอที่จะอ่านนักบุญออกัสตินกับคัมภีร์ไบเบิล[4]

ทรงออกจากอารามในปี ค.ศ. 1093 ในตอนที่อันเซล์ม อาร์ชบิชอปแห่แคนเทอร์บรี เขียนจดหมายถึงบิชอปแห่งซัลสบรี สั่งให้พระธิดาของกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์กลับไปอารมณ์ที่ทรงจากมา พระองค์ไม่ได้กลับไปที่วิลตันอีก

การอภิเษกสมรส แก้

หลังการสิ้นพระชนม์ของวิลเลียมที่ 2 ในนิวฟอเรสต์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1100 พระอนุชาของพระองค์ เฮนรี รีบคว้าเอาพระราชสมบัติและราชบัลลังก์มา ภารกิจต่อไปของพระองค์คือการแต่งงานและคนที่เฮนรีเลือกคือมาทิลดา เพราะมาทิลดาใช้เวลาในชีวิตส่วนใหญ่ในคอนเวนต์ จึงมีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรงว่าพระองค์เป็นแม่ชีซึ่งตามวินัยศาสนาแล้วไม่สามารถแต่งงานได้หรือไม่ เฮนรีหาทางให้การแต่งงานได้รับอนุญาตจากอาร์ชบิชอปอันเซล์มที่เพิ่งกลับมาอังกฤษในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1100 หลังถูกขับไล่ออกจากประเทศเป็นเวลานาน ด้วยการแสดงตัวว่าไม่ต้องการตัดสินชี้ขาดในเรื่องของพระองค์ด้วยตัวเอง อัลเซล์มเรียกประชุมสภาบิชอปเพื่อตัดสินความชอบด้วยกฎหมายในทางศานาของการแต่งงาน มาทิลดาให้การว่าพระองค์ไม่เคยรับคำปฏิญาณศักดิ์สิทธิ์ ทรงยืนกรานว่าพ่อแม่ของพระองค์ส่งพระองค์กับพระขนิษฐามาอังกฤษเพื่อศึกษาเล่าเรียน และพระมาตุจฉาของพระองค์ คริสตินา ได้คลุมผมให้พระองค์เพื่อปกป้องพระองค์ "จากความใคร่ของชาวนอร์มัน" มาทิลดาอ้างว่าพระองค์ดึงผ้าคลุมผมออกและย่ำเท้าลงบนมัน และพระมาตุจฉาทุบตีและด่าทอที่พระองค์ทำเช่นนั้น สภาให้ข้อสรุปว่ามาทิลดาไม่ใช่แม่ชี ไม่เคยเป็น และพ่อแม่ของพระองค์ไม่ได้ตั้งใจที่จะให้พระองค์เป็น การแต่งงานได้รับการอนุญาต

มาทิลดากับเฮนรีดูเหมือนจะรู้จักกันมาก่อนการแต่งงาน เป็นไปได้ว่ามาทิลดาใช้เวลาช่วยหนึ่งที่ราชสำนักของวิลเลียมรูฟัสและนั่นทำให้ทั้งคู่ได้เจอกันที่นั่น ยังเป็นไปได้ด้วยว่าเฮนรีถูกแนะนำให้รู้จักกับเจ้าสาวของพระองค์โดยอาจารย์ของพระองค์ บิชอปออสมุนด์ ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ชัดเจนว่าทั้งสองรู้จักกันอย่างน้อยก็ก่อนเข้าพิธีแต่งงาน ทั้งนักพงศาวดาร วิลเลียมแห่งมัล์มสบรี ยังสันนิษฐานด้วยว่ากษัตริย์คนใหม่รักเจ้าสาวของพระองค์[5]

พระมารดาของมาทิลดาเป็นพี่น้องหญิงของเอ็ดการ์ ดิ แอเธลิง ที่ประกาศตนแต่ไม่ได้รับการสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษต่อจากแฮโรลด์ และผ่านทางพระมารดา มาทิลดาสืบเชื้อสายมาจากเอ็ดมุนด์ผู้ทนทาน จึงทำให้มาจากราชตระกูลเวสเซ็กซ์ที่ในคริสตศตวรรษที่ 10 เป็นราชตระกูลของอังกฤษที่เป็นหนึ่งเดียว เรื่องนี้สำคัญอย่างมากเพราะแม้เฮนรีจะเสด็จพระราชสมภพในอังกฤษ แต่พระองค์ต้องการเจ้าสาวที่มีสายสัมพันธ์กับเวสเซ็กซ์โบราณเพื่อเพิ่มความนิยมในชาวอังกฤษและเพื่อเชื่อมชาวนอร์มันเข้ากับชาวแองโกลแซ็กซัน[6] ในรุ่นลูก ๆ ของทั้งคู่ ทั้งสองฝั่งจะรวมกันเป็นหนึ่ง ทำให้ระบอบการปกครองเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ผลประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคืออังกฤษกับสกอตแลนด์จะใกล้ชิดกันมากขึ้นในทางการเมือง พี่น้องชายสามคนของมาทิลดาจะเป็นกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ในการสืบสันตติวงศ์และจะเป็นมิตรกับอังกฤษอย่างผิดปกติวิสัยในช่วงยุคของสันติภาพที่ยากจะสั่นคลอนระหว่างสองชาติ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แต่งงานกับซีบิลลา หนึ่งในลูกสาวนอกสมรสของเฮนรีที่ 1 ส่วนดาวิดที่ 1 อาศัยอยู่ที่ราชสำนักของเฮนรีอยู่ช่วงหนึ่งก่อนขึ้นครองบัลลังก์[7]

มาทิลดามีสินสมรสก้อนเล็กแต่มันมาพร้อมกับสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดิน ทรัพย์สินที่ดินที่เป็นสินสมรสของพระองค์ส่วนใหญ่ได้มาจากดินแดนที่อีดิธแห่งเวสเซ็กซ์เคยถือครอง ทั้งเฮนรียังมอบที่ดินมากมายให้พระมเหสีรวมถึงที่ดินอันมั่งคั่งในลอนดอน นอกเหนือจากความมีน้ำใจ นี่ยังเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเอาชนะใจชาวลอนดอนหัวแข็งที่เป็นผู้สนับสนุนของกษัตริย์เวสเซ็กซ์[8]

ราชินี แก้

หลังมาทิลดากับเฮนรีแต่งงานกันเมื่อ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1100 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์โดยอาร์ชบิชอปอันเซล์มแห่งแคนเทอร์บรี ทรงได้รับการสวมมงกุฎในชื่อ "มาทิลดา" ชื่อแบบชาวนอร์มัน ทว่าไม่นานข้าราชบริพารก็ทำให้พระองค์กับพระสวามีก็มีชื่อเล่นว่า "ก็อดริกกับกอดิวา"[9] ทั้งสองชื่อนี้เป็นชื่อเล่นแบบอังกฤษก่อนการพิชิตและเป็นการล้อเลียนด้วยชื่อที่บ้าน ๆ กว่า โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับวิลเลียมที่ 2 ที่ฟังดูหรูหรา

ทรงให้กำเนิดพระธิดา มาทิลดา สมภพในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1102 กับพระโอรส วิลเลียม ที่เรียกกันว่า "อาเดลิน" ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1103 ในฐานะพระราชินี เริ่มแรกทรงอาศัยอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์ แต่ร่วมเดินทางกับพระสวามีไปทั่วอังกฤษ และในปี ค.ศ. 1106 – 1107 เป็นไปได้ว่าทรงไปเยือนนอร์ม็องดีพร้อมกับพระองค์ มาทิลดาเป็นประมุขที่วางตัวไว้ของคูเรียของเฮนรี และทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในช่วงที่พระองค์ไม่อยู่[10]

ในช่วงของการถกเถียงกันของชาวอังกฤษเรื่องการยกขึ้นสู่ตำแหน่ง (ปี1103 – 07) ทรงทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างพระสวามีกับอาร์ชบิชอปอัลเซล์ม ทรงเขียนจดหมายหลายฉบับในช่วงที่อันเซล์มไม่อยู่ ตอนแรกทรงขอคำแนะนำจากเขาและขอให้เขากลับมา แต่ต่อมาทรงช่วยไกล่เกลี่ยมากขึ้น[11]

บั้นปลาย แก้

หลังสมเด็จพระราชินีมาทิลดาสวรรคตในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1118 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ทรงถูกฝังที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ การสิ้นพระชนม์ของพระโอรส วิลเลียม อาเดลิน ในหายนะสุดเศร้าของเรือขาว (พฤศจิกายน ค.ศ. 1120) และเฮนรีล้มเหลวในการผลิตพระโอรสในสมรสจากการแต่งงานครั้งที่สองที่นำไปสู่วิกฤตการสืบราชบัลลังก์ดิ อานาร์คี (ภาวะอนาธิปไตย)

มรดก แก้

หลังการสวรรคต พระองค์ถูกจดจำโดยไพร่ฟ้าประชาชนว่าเป็น "มาทิลดา พระราชินีผู้ดีงาม" และ "มาทิลดา ความทรงจำที่พระเจ้าทรงประทานให้" และทรงมีความเป็นนักบุญ แม้จะไม่ได้รับการยกย่องเป็นนักบุญ พระมหากษัตริย์ยุคหลังการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันจนถึงปัจจุบันมีสายเลือดของพระมหากษัตริย์ตระกูลเวสเซ็กซ์ชาวแองโกลแซ็กซันผ่านทางมาทิลดาแห่งสกอตแลนด์เนื่องจากทรงเป็นพระปนัดดาหญิง (เหลนสาว) ของพระเจ้าเอ็ดมุนด์ผู้ทนทาน

พระโอรส แก้

อ้างอิง แก้

  • Cook, Petronelle (1998 Thai Translation). ราชินีอังกฤษ อำนาจหลังราชบัลลังค์ : Queen Consorts of England: The Power Behind the Throne. Samut Prakan: Ruanboon Publishing. ISBN 974-8319-42-3.


  1. Huneycutt, Lois (2003). Matilda of Scotland: a Study in Medieval Queenship. Woodbridge: The Boydell Press. p. 10.
  2. "The Life of St Margaret, Queen of Scotland". Archived from the original on 6 July 2011. Retrieved 14 March 2011.
  3. Hollister 2001:128.
  4. Hilton, Lisa (2010). Queen Consort. New York City, New York: Pegasus Books LLC. p. 42. ISBN 978-1-60598-105-5.
  5. Hilton, Lisa (2010). Queen Consort. p. 45.
  6. Hilton, Lisa (2010). Queen Consort. pp. 44–45.
  7. Hollister 2001:126.
  8. Hilton, Lisa (2010). Queen Consort. pp. 46–47.
  9. uneycutt. Matilda of Scotland: a Study in Medieval Queenship. p. 73.
  10. Hilton, Lisa (2010). Queen Consort. p. 50.
  11. Huneycutt. Matilda of Scotland: a Study in Medieval Queenship. p. 76.