พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

พระเจ้าเฮนรีที่ 1[1] แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Henry I of England) (ราว ค.ศ. 1068/ค.ศ. 10691 ธันวาคม ค.ศ. 1135) เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษและเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ของราชวงศ์นอร์มันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 จนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1135 พระองค์เป็นโอรสองค์ที่สี่ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษหรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต โดยพระองค์ได้รับการศึกษาภาษาละตินและศิลปศาสตร์ ในการสวรรคตของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ในปี ค.ศ. 1087 พระเชษฐาของเจ้าชายเฮนรีสององค์คือรอเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์มังดีและวิลเลียม รูฟัสสืบทอดดัชชีนอร์ม็องดีและอังกฤษตามลำดับ แต่เจ้าชายเฮนรีไม่ได้รับที่ดิน พระองค์ซื้อเคาน์ตีโคเทนตินทางตะวันตกของนอร์มังดีจากรอเบิร์ต แต่พระเชษฐาองค์นี้ถูกปลดเสียก่อนในปี ค.ศ. 1091 พระองค์ค่อย ๆ สร้างฐานอำนาจของพระองค์ขึ้นใหม่ในโคเทนตินและร่วมมือกับวิลเลียม รูฟัสหรือพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นพระเชษฐาอีกองค์หนึ่งต่อสู้กับรอเบิร์ต

พระเจ้าเฮนรีที่ 1
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าเฮนรีที่ 1 โดยศิลปินนิรนาม คริสต์ศตวรรษที่ 17
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
ครองราชย์5 สิงหาคม ค.ศ. 1100 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1135
ราชาภิเษก5 สิงหาคม ค.ศ. 1100
ก่อนหน้าพระเจ้าวิลเลียมที่ 2
ถัดไปพระเจ้าสตีเฟน
ดยุกแห่งนอร์ม็องดี
ครองราชย์ค.ศ. 1106 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1135
ก่อนหน้าดยุกรอเบิร์ตที่ 2
ถัดไปดยุกสตีเฟน
พระราชสมภพราว ค.ศ. 1068 ถึง ค.ศ. 1069
เซลบี ยอร์กเชอร์ อังกฤษ
สวรรคต1 ธันวาคม ค.ศ. 1135 ~(66 - 67 ปี)
แซ็งต์-เดอนีส์-ซ็อง-ลียงส์ (ปัจจุบันคือลียงส์-ลา-ฟอเรต์) ดัชชีนอร์ม็องดี
ฝังพระบรมศพเรดิงแอบบีย์ อังกฤษ
ชายา
พระราชบุตรในสมรส 3 พระองค์ และนอกสมรสประมาณ 20-25 คน
ราชวงศ์นอร์มัน
พระราชบิดาพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชมารดามาทิลดาแห่งแฟลนเดิร์ส
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญ

พระองค์อยู่ในสถานที่ที่พระเชษฐาของพระองค์คือ พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 สวรรคตอย่างกะทันหันเนื่องจากการถูกยิงด้วยธนูระหว่างการล่าสัตว์ในอุทยานหลวงในปี ค.ศ. 1100 และเนื่องจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 สวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท เจ้าชายเฮนรีจึงเข้ายึดราชบัลลังก์อังกฤษโดยให้คำมั่นในพิธีราชาภิเษกของพระองค์ว่าจะแก้ไขนโยบายที่ไม่เป็นที่นิยมของพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 ให้ดีขึ้น พระองค์อภิเษกสมรสกับมาทิลดาแห่งสกอตแลนด์ และทั้งสองพระองค์มีพระราชบุตรที่เจริญพระชนม์ 2 พระองค์ได้แก่ จักรพรรดินีมาทิลดา และเจ้าชายวิลเลียม อเดลิน พระองค์มีพระราชบุตรนอกสมรสหลายคนจากพระสนมลับหลายคน เจ้าชายโรเบิร์ต พระเชษฐาของพระองค์เสด็จจากนอร์มังดีในปี ค.ศ. 1101 เพื่อโต้แย้งการปกครองอังกฤษของพระเจ้าเฮนรี การรบครั้งนี้จบลงด้วยการเจรจาข้อตกลงที่ยืนยันว่าพระเจ้าเฮนรีเป็นกษัตริย์ ความสงบสุขเกิดขึ้นได้ไม่นาน เมื่อพระเจ้าเฮนรีนำกองทัพบุกยึดครองดัชชีนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1105 และ ค.ศ. 1106 ในที่สุดพระองค์ก็เอาชนะดยุคโรเบิร์ตได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในยุทธการที่แต็งเชอเบรย์พระเจ้าเฮนรีปลดดยุครอเบิร์ตและจำคุกตลอดพระชนม์ชีพ การปกครองนอร์ม็องดีของพระเจ้าเฮนรีถูกท้าทายโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส เคานต์บอลด์วินที่ 7 แห่งแฟลนเดอร์ส และฟุลค์ที่ 5 แห่งอองฌู ผู้สนับสนุนการอ้างสิทธิ์ของวิลเลียม คลิโต พระโอรสของดยุคโรเบิร์ต และสนับสนุนการก่อกบฏครั้งใหญ่ในดัชชีระหว่างปี ค.ศ. 1116 ถึง ค.ศ. 1119 หลังจากชัยชนะของพระเจ้าเฮนรีในยุทธการที่เบรมิวเล พระองค์ได้ลงพระนามในข้อตกลงสันติภาพซึ่งตกลงกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ในปี ค.ศ. 1120

พระเจ้าเฮนรีถือได้ว่าเป็นกษัตริย์ที่เฉียบขาดแต่มีพระปรีชาสามารถ สามารถจัดการกับเหล่าบารอนในอังกฤษและนอร์มังดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอังกฤษ พระองค์ใช้ระบบยุติธรรม รัฐบาลท้องถิ่น และการจัดเก็บภาษีของแองโกล-แซกซอนที่มีอยู่ แต่เสริมความแข็งแกร่งด้วยกรมสรรพากรและกรมราชทัณฑ์ ขณะที่นอร์มังดีถูกปกครองโดยระบบยุติธรรมและการจัดเก็บภาษีที่กำลังเจริญเติบโต ข้าราชการหลายคนภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฮนรีเป็น "คนใหม่" ที่มีภูมิหลังที่คลุมเครือ มากกว่าจะมาจากครอบครัวที่มีฐานะสูงส่ง พระเจ้าเฮนรีสนับสนุนการปฏิรูปคณะสงฆ์ แต่พระองค์ก็เข้าไปพัวพันกับข้อพิพาทร้ายแรงในปี ค.ศ. 1101 กับอาร์ชบิชอปแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งจบลงด้วยการประนีประนอมในปี ค.ศ. 1105 พระองค์สนับสนุนการปฏิรูปคลูนีแอกและมีบทบาทสำคัญในการเลือกนักบวชอาวุโสในอังกฤษและนอร์มังดี

เจ้าชายวิลเลียม อาเดลิน พระราชโอรสโดยชอบธรรมเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าเฮนรีสวรรคตเนื่องจากจมน้ำในหายนะเรือสีขาวในปี ค.ศ. 1120 ทำให้การสืบราชบัลลังก์เกิดความสงสัย พระเจ้าเฮนรีอภิเษกสมรสกับพระมเหสีองค์ที่ 2 คือ อเดลีซาแห่งลูแว็ง โดยหวังว่าจะมีพระราชโอรสอีกองค์หนึ่ง แต่พวกเขาก็ไม่มีพระราชโอรส เพื่อตอบสนองต่อเรื่องนี้ พระองค์ประกาศว่าพระราชธิดาโดยชอบธรรมเพียงองค์เดียวของพระองค์คือมาทิลดาพระเชษฐภคินีของเจ้าชายวิลเลียมได้เป็นรัชทายาทและอภิเษกกับเจฟฟรีย์แห่งอองฌู ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าเฮนรีกับทั้งคู่เริ่มตึงเครียด และการต่อสู้ก็ปะทุขึ้นตามแนวชายแดนของอองฌู พระเจ้าเฮนรีสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1135 หลังจากประชวรอยู่หนึ่งสัปดาห์ แม้จะมีแผนการสำหรับมาทิลดาแต่พระเจ้าเฮนรีก็ถูกสืบทอดราชบัลลังก์อังกฤษโดยสตีเฟนแห่งบลัวพระราชนัดดาของพระองค์ซึ่งส่งผลให้เกิดสงครามกลางเมืองที่เรียกว่าดิแอนะคี

ชีวิตช่วงต้น แก้

เฮนรีเสด็จพระราชสมภพในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1068 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1069 อาจจะในเซลบี ยอร์กเชอร์[2] ในตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ พระมารดาของพระองค์ พระราชินีมาทิลดา สืบเชื้อสายมาจากอัลเฟรดมหาราช (แต่ไม่ได้ผ่านทางสายหลักของราชวงศ์เวสเซ็กซ์) พระราชินีมาทิลดาตั้งชื่อทารกน้อยว่าเจ้าชายเฮนรีตามชื่อของพระปิตุลา อองรี (Henry) ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส[3] ในฐานะลูกชายคนสุดท้องของครอบครัว พระองค์ถูกคาดหมายให้เป็นบิชอปและได้รับการศึกษามากกว่าขุนนางส่วนใหญ่ในตอนนั้น นักพงศาวดาร วิลเลียมแห่งมัล์มสบรี อ้างว่าเฮนรีเคยให้ความเห็นว่ากษัตริย์ที่ไม่รู้หนังสือคือคนโง่ที่ได้สวมมงกุฎ พระองค์ยังเป็นผู้ปกครองชาวนอร์มันคนแรกที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง

พระโอรสคนที่สามของวิลเลียมที่ 1 สิ้นพระชนม์ก่อนพระบิดาด้วยอุบัติเหตุในระหว่างการล่าสัตว์ในนิวฟอเรสต์ หลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ในปี ค.ศ. 1087 วิลเลียมจึงยกดินแดนที่ตนครอบครองให้พระโอรสสามคนที่ยังมีชีวิตอยู่[4] ดังนี้

  • โรเบิร์ตได้รับดัชชีนอร์ม็องดีและกลายเป็นดยุคโรเบิร์ดที่ 3
  • วิลเลียมรูฟัสได้รับราชอาณาจักรอังกฤษและกลายเป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 2
  • เฮนรีโบเคลิร์กได้รับเงิน 5,000 ปอนด์

นักพงศาวดาร ออร์เดริค วิทาลิส บันทึกว่ากษัตริย์เฒ่าชี้แจงกับเฮนรีว่า "เมื่อถึงเวลาเจ้าจะได้ดินแดนทั้งหมดที่ข้าเคยได้มา และจะยิ่งใหญ่กว่าพี่ชายทั้งสองของเจ้าในด้านความมั่งคั่งและอำนาจ"

เฮนรีพยายามปั่นหัวให้พระเชษฐาทั้งสองผิดใจกัน แต่ท้ายที่สุดด้วยความระวังตัวต่อแผนการที่ตลบแตลงของพระองค์ ทั้งคู่ร่วมมือกันลงนามในสนธิสัญญาที่กันเจ้าชายเฮนรีออกจากบัลลังก์ทั้งสองด้วยการกำหนดเงื่อนไขว่าหากพระเจ้าวิลเลียมหรือดยุคโรเบิร์ตสิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาท ดินแดนทั้งสองของพระบิดาจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งภายใต้อีกคนที่ยังมีชีวิตอยู่

การยึดบัลลังก์แห่งอังกฤษ แก้

 
ภาพวาดมือของพิธีราชาภิเษกของเฮนรีในคริสต์ศตวรรษที่ 17

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1100 ตอนที่วิลเลียมที่ 2 ถูกสังหารโดยลูกธนูในอุบัติเหตุระหว่างการล่าสัตว์อีกครั้งหนึ่งในนิวฟอเรสต์[5] ดยุคโรเบิร์ตยังไม่กลับมาจากครูเสดครั้งที่ 1 การไม่อยู่ของพระองค์กับชื่อเสียงที่ย่ำแย่ในหมู่ขุนนางชาวนอร์มันทำให้เจ้าชายเฮนรียึดพระคลังหลวงที่วินเชสเตอร์ แฮมป์เชอร์[6] ที่พระองค์ฝังพระเชษฐาที่สิ้นพระชนม์มาได้ เฮนรีได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์นำโดยเหล่าบารอนและได้รับการสวมมงกุฎสามวันต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ทรงรักษาตำแหน่งของตนในหมู่ขุนนางไว้ได้ด้วยการเอาอกเอาใจในทางการเมือง ทรงออกกฎบัตรแห่งเสรีภาพที่ถูกมองว่าเป็นรุ่นบุกเบิกของแมกนาคาร์ตา กฎบัตรสัญญาว่ากษัตริย์จะระงับการยึดทรัพย์สินที่ดินของโบสถ์และการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม

การอภิเษกสมรสครั้งที่ 1 แก้

 
พระมเหสีคนแรกของเฮนรี มาทิลดาแห่งสกอตแลนด์

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1100 เฮนรีแต่งงานกับอีดิธ พระธิดาของพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 แห่งสกอตแลนด์[7] อีดิธยังเป็นพระนัดดาหญิง (หลานสาว) ของเอ็ดการ์อาเธลิงและพระปนัดดาหญิง (เหลนสาว) ของพี่น้องร่วมพ่อของเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ เอ็ดมุนด์ผู้ทนทาน การอภิเษกสมรสนี้ทำให้ราชวงศ์นอร์มันเป็นดองกับราชวงศ์เวสเซกซ์ ซึ่งเคยปกครองอังกฤษมาก่อนการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันที่นำโดยพระบิดาของเฮนรี่พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต การแต่งงานไม่เป็นที่พอใจอย่างมากของบารอนชาวนอร์มัน ทว่าเพื่ออ่อนข้อให้กับความอ่อนไหวนี้ อีดิธเปลี่ยนพระนามเป็นมาทิลดาหลังขึ้นเป็นพระราชินี ซึ่งทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นไปอีกในหมู่ประชาชนชาวแองโกลแซ็กซัน

นักพงศาวดาร วิลเลียมแห่งมัล์มสบรี บรยายถึงเฮนรีว่า "ทรงมีรูปร่างปานกลาง ตัวไม่เล็ก แต่ก็ไม่ถึงขั้นสูงมาก ผมของพระองค์สีดำและถอยร่นไปจากหน้าผาก ดวงตาของพระองค์เปล่งประกายอ่อนๆ อกของพระองค์กำยำ ร่างกายของพระองค์เจ้าเนื้อ"

การพิชิตนอร์ม็องดี แก้

ในปีต่อมา ปี ค.ศ. 1101 โรเบิร์ตเคอร์โธสพยายามยึดราชบัลลังก์ด้วยการบุกอังกฤษ ในสนธิสัญญาอัลทอน เคอร์โธสยอมรับพระอนุชา เฮนรี เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษและกลับไปนอร์ม็องดีอย่างสันติ หลังได้รับเงินรายปี 2,000 มาร์คที่เฮนรีจ่ายให้

ในปี ค.ศ. 1105 เพื่อกำจัดการคุกคามต่อเนื่องจากโรเบิร์ตเคอร์โธสและหยุดการเสียเงินไปกับการจ่ายค่ารายปี เฮนรีนำกองทัพออกเดินทางข้ามช่องแคบอังกฤษ

สมรภูมิแห่งแต็งเชอเบรย์ แก้

 
หมู่บ้านแต็งเชอเบรย์ในปี ค.ศ. 2008

เช้าของวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1106 40 ปีหลังวิลเลียมขึ้นฝั่งในอังกฤษ สงครามชี้ขาดระหว่างพระโอรสทั้งสองของพระองค์ โรเบิร์ตเคอร์โธสกับเฮนรีโบเคลิร์ก เกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ ของแต็งเชอเบรย์ การประจันหน้ากันครั้งนี้เหนือความคาดหมายและไม่ได้เตรียมการไว้ เฮนรีกับกองทัพของพระองค์เดินทัพลงใต้มาจากบาร์เฟลอร์ กำลังเดินทางไปดมฟรงต์ ส่วนเคอร์โธสกำลังเดินทัพพร้อมกับกองทัพมาจากแฟเลส กำลังเดินทางไปมอร์แต็ง ทั้งคู่เจอกันที่ทางแยกที่แต็งเชอเบรย์และทำสมรภูมิที่แผ่ขยายไปหลายกิโลเมตร จุดที่การต่อสู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นคือหมู่บ้านที่ทุกวันนี้เป็นทุ่งโล่ง จนตกเย็น เคอร์โธสเหนื่อยจนล่าถอยไปแต่ถูกจับตัวได้โดยคนของเฮนรีที่สามกิโลเมตรทางเหนือของแต็งเชอเบรย์ ที่ฟาร์มที่ชื่อพริสซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้บนถนนดี 22 ป้ายหินหลุมฝังศพของสามอัศวินอยู่ใกล้ๆ กันบนถนนเส้นเดียวกัน

กษัตริย์แห่งอังกฤษและดยุคแห่งนอร์ม็องดี แก้

หลังเฮนรีปราบกองทัพนอร์มันของพระเชษฐาที่แต็งเชอเบรย์ ทรงจำคุกเคอร์โธส ตอนแรกที่หอคอยแห่งลอนดอน ต่อมาที่ปราสาทเดไวเซส และสุดท้ายที่คาร์ดิฟฟ์ วันหนึ่งขณะกำลังขี่ม้า เคอร์โธสพยายามหนีจากคาร์ดิฟฟ์แต่ม้าของพระองค์ตกใจบึงและทรงถูกจับตัวได้อีกครั้ง เพื่อยับยั้งการหนีในอนาคต เฮนรีได้เผาดวงตาของโรเบิร์ตเคอร์โธส เฮนรีแต่งตั้งดัชชีนอร์ม็องดีเป็นดินแดนในครอบครองของราชอาณาจักรอังกฤษและรวมดินแดนของพระบิดาเข้าด้วยกันอีกครั้ง

ในปี ค.ศ. 1113 พระองค์พยายามลดความยากลำบากในนอร์ม็องดีด้วยการหมั้นหมายพระโอรสคนโต วิลเลียมอาเดลิน กับลูกสาวของฟุลค์แห่งเยรูซาเล็ม (หรือฟุลค์ที่ 5) เคานต์แห่งอ็องฌู ที่ตอนนั้นเป็นศัตรูคนสำคัญ ทั้งคู่แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1119 แปดปีต่อมา หลังการสิ้นพระชนม์ของวิลเลียม การแต่งงานที่สำคัญกว่ามากเกิดขึ้นระหว่างพระธิดาของวิลเลียม (อดีตจักรพรรดินี) มาทิลดา กับลูกชายของฟุลค์ จอฟเฟรย์แพลนทาเจเนต ที่ผลลัพธ์สุดท้ายคือการเป็นหนึ่งเดียวกันของสองอาณาจักรภายใต้กษัตริย์แพลนทาเจเนต

การเคลื่อนไหวในฐานะกษัตริย์ แก้

ความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตำแหน่งของตนของเฮนรีนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้นในการบริหารปกครองแบบรวมศูนย์ ในฐานะกษัตริย์ เฮนรีปฏิรูปทางสังคมและระบบยุติธรรม ประกอบด้วย

  • การออกกฎบัตรแห่งเสรีภาพ
  • การฟื้นฟูกฎหมายของเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1103 ถึง 1107 เฮนรีขัดแย้งกับอันเซล์ม อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรี และพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 ในการโต้เถียงครั้งใหญ่เรื่องการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งได้ข้อสรุปในข้อตกลงลอนดอนในปี ค.ศ. 1107 ด้วยการประนีประนอม เฮนรียอมสละสิทธิ์ในการแต่งตั้งบิชอปกับพระอธิการ แต่เก็บธรรมเนียมที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งต้องถวายความเคารพต่อเจ้าของทรัพย์สินที่ดินในทางโลกไว้ ให้บิชอปถวายความเคารพและถวายตัวเป็นข้าราชบริพารตามระบอบศักดินาในพิธีการที่เรียกกันว่า คอมเมนดาติโอ พิธียกย่องสรรเสริญ เหมือนกับข้าราชบริพารในทางโลก การโต้เถียงครั้งรุนแรงที่คล้ายกันว่าใครมีอำนาจในการแต่งตั้งบาทหลวงชั้นสูงและตำแหน่งอื่นๆ ทางโบสถ์เกิดขึ้นระหว่างพระสันตะปาปากับกษัตริย์หลายคนตลอดช่วงยุคนี้ กษัตริย์ขายการแต่งตั้ง เนื่องจากหลายตำแหน่งทำเงินให้มากมาย การปฏิรูปเกรกอเรียนเกิดขึ้นเพื่อยับยั้งการขายตำแหน่งทางศาสนา และเพื่อลดการแทรกแซงกิจการของโบสถ์

เฮนรียังเป็นที่รู้จักในด้านความโหดเหี้ยม พระองค์เคยโยนชาวเมืองที่ทรยศชื่อโคนัน พิลาตุสลงมาจากหอคอยแห่งรูอ็อง หอคอยที่ตั้งแต่นั้นมารู้จักกันในชื่อ "การกระโดดของโคนัน" อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1119 ลูกเขยของเฮนรี ยูซตาสแห่งแปซีกับราล์ฟ ฮาร์เนค ขุนวังแห่งอิฟรี แลกลูกให้เป็นตัวประกันของกันและกัน เมื่อยูซตาสทำลูกชายของฮาร์เนคตาบอด ฮาร์เนคต้องการล้างแค้น พระเจ้าเฮนรีอนุญาตให้ฮาร์เนคทำให้ลูกสาวสองคนของยูซตาส ซึ่งเป็นหลานสาวของเฮนรีเอง ตาบอดและพิการ ยูซตาสกับภรรยา จูเลียง ตะลึงและขู่ว่าจะก่อกบฏ เฮนรีจัดแจงจนได้เจรจาข้อพิพาทกับลูกสาวที่เบรอเตยล์ จูเลียงดึงหน้าไม้และพยายามลอบสังหารพ่อของตน ทำให้เธอถูกจับกุมและกักบริเวณในปราสาท แต่หนีออกมาได้ด้วยการกระโดดจากหน้าต่างลงมาในคูข้างล่าง หลายปีต่อมา เฮนรีคืนดีกับลูกสาวและลูกเขย

พระโอรสธิดาในสมรส แก้

พระองค์มีพระโอรสธิดาสามคนกับมาทิลดา (อีดิธ) ที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1118

  • ยูฟาเมีย (ประสูติและสิ้นพระชนม์ปี ค.ศ. 1101) ประสูติก่อนกำหนดและสิ้นพระชนม์หลังการคลอด
  • มาทิลดา (ปี ค.ศ. 1102 – 1167)
  • วิลเลียม ดยุคแห่งนอร์ม็องดี (ปี ค.ศ. 1103 – 1120)
 
ภาพวาดการจมของเรือขาวเมื่อ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1120 ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14

หายนะโจมตีเมื่อวิลเลียม พระโอรสในสมรสคนเดียว สิ้นพระชนม์ในการอับปางของเรือขาวเมื่อ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1120 นอกชายฝั่งนอร์ม็องดี ในกลุ่มผู้เสียชีวิตยังมีลูกนอกสมรสของเฮนรีอีกสองคน รวมถึงหลานสาว ลูเซีย-มาเฮาต์ เดอ บลัวส์ ความเศร้าของเฮนรีนั้นรุนแรงมาก และการสืบทอดบัลลังก์ตกอยู่ในวิกฤต

การอภิเษกสมรสครั้งที่สอง แก้

เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1121 เฮนรีแต่งงานกับอาเดลิซา ลูกสาวของก็อดเฟรย์ที่ 1 แห่งเลิฟเวน ดยุคแห่งโลธาริงเกียล่างและแลนด์เกรฟแห่งบราบ็องต์ แต่ไม่มีลูกที่เกิดจากการแต่งงานครั้งนี้ ไม่มีทายาทชายทิ้งไว้ เฮนรีเดินหน้าครั้งประวัติการณ์ด้วยการให้เหล่าบารอนของตนสาบานว่าจะยอมรับพระธิดาของพระองค์ จักรพรรดินีมาทิลดา พระมเหสีม่ายของเฮนรีที่ 5 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นทายาทของพระองค์

การสิ้นพระชนม์และมรดก แก้

เฮนรีไปเยือนนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1135 เพื่อพบพระนัดดาชาย (หลานชาย) ลูกของมาทิลดากับจอฟเฟรย์ ทรงปลื้มปิติอย่างยิ่งกับพระนัดดา แต่ไม่นานก็ทะเลาะกับพระธิดาและพระชามาดา (ลูกเขย) และการขัดแย้งครั้งนี้นำพระองค์ไปสู่การพักแรมในนอร์ม็องดีนานกว่าที่ตั้งใจไว้ในตอนแรกมาก

เฮนรีสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1135 ด้วยอาหารเป็นพิษจากการกิน "ปลาแลมเพรย์ (ที่ทรงโปรดปรานมาก) ปริมาณมากเกินไป" ที่แซ็งต์-เดอนีส์-ซ็อง-ลียงส์ (ปัจจุบันคือลียงส์-ลา-ฟอเรต์) ในนอร์ม็องดี ศพของพระองค์ถูกเย็บเก็บไว้ในหนังวัวเพื่อรักษาสภาพระหว่างเดินทาง แล้วนำกลับไปอังกฤษและฝังที่เรดิงแอบบีย์[8] ที่พระองค์ก่อตั้งเมื่อสิบสี่ปีก่อน แอบบีย์ถูกทำลายในช่วงการปฏิรูปและไม่มีร่องรอยของสุสานของพระองค์ที่เหลือรอด ที่ตั้งที่เป็นไปได้ถูกคลุมทับโดยโรงเรียนเซนต์เจมส์ มีแผ่นจารึกเล็กๆ อยู่ใกล้ๆ กับกางเขนรำลึกขนาดใหญ่ในส่วนที่อยู่ติดกับสวนสาธารณะฟอร์บรี

แม้บารอนของเฮนรีจะเคยสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อพระธิดาของพระองค์ในฐานะราชินีของพวกตน แต่เพศและการแต่งงานใหม่เข้าตระกูลอ็องฌู ศัตรูของชาวนอร์มัน ทำให้พระนัดดาชาย (หลานชาย) ของเฮนรี สตีเฟนแห่งบลัวส์ มาที่อังกฤษเพื่ออ้างสิทธิ์ในบัลลังก์พร้อมกับการสนับสนุนในวงกว้าง

ความขัดแย้งระหว่างอดีตจักรพรรดินีกับสตีเฟนได้ผลลัพธ์เป็นสงครามกลางเมืองอันยาวนานที่รู้จักกันในชื่อดิแอนะคี ความขัดแย้งท้ายที่สุดแล้วลงเอยด้วยการที่สตีเฟนประกาศให้ลูกชายของมาทิลดา เฮนรีแพลนทาเจเนต เป็นทายาทของพระองค์ในปี ค.ศ. 1153

บางครั้งมรดกที่สำคัญที่สุดของเฮนรีถูกมองว่าเป็นการทำลายกำแพงระหว่างชาวนอร์มันกับชาวแองโกลแซ็กซัน กับความยินดีที่จะยอมรับสิทธิของไพร่ฟ้าประชาชนของตน

ลูกนอกสมรส แก้

พระเจ้าเฮนรีมีชื่อเสียงจากการครองสถิติเป็นกษัตริย์อังกฤษที่มีลูกนอกสมรสที่เป็นที่รู้จำนวนมากที่สุด ด้วยจำนวนราว 20 หรือ 25 คน ทรงมีภรรยาลับมากมาย และการระบุว่าภรรยาลับคนใดเป็นแม่ของลูกคนใดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เลือดเนื้อเชื้อไขนอกสมรสของพระองค์ที่มีหลักฐานทางเอกสาร มีดังนี้

  1. โรเบิร์ต เอิร์ลที่ 1 แห่งกลอสเตอร์[9]
  2. มาทิลดา ฟิตซ์รอย[10] แต่งงานกับโคน็องที่ 3 ดยุคแห่งบริตทานีก่อนปี ค.ศ. 1113 และมีลูกสามคน โคน็องตัดสิทธิ์ลูกชายคนเดียวของทั้งคู่จากการสืบทอดมรดกบนเตียงที่เสียชีวิต ว่ากันว่าเขาไม่ใช่ลูกของเขา เหตุผลของเรื่องนี้ยังคงเป็นปริศนา และไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามาทิลดามีความผิดฐานคนชู้
  3. คอนสแตนซ์ ฟิตซ์รอย[11] แต่งงานกับริชาร์ด เดอ บูมงต์และมีลูกสี่คน
  4. มาเบล ฟิตซ์รอย[12] แต่งงานกับวิลเลียมที่ 3 กูเอต์ ลอร์ดแห่งมงต์มิรายล์ และมีลูกชายหนึ่งคน
  5. อาลิน ฟิตซ์รอย[13] แต่งงานกับมัตธิวที่ 1 แห่งมงต์โมร็องซีในปี ค.ศ. 1126 และมีลูกหกคน
  6. จิลแบร์ต์ ฟิตซ์รอย ตายหลังปี ค.ศ. 1142 แม่ของเขาอาจเป็นพี่น้องหญิงของวอลแตร์ เดอ ก็องด์[14]
  7. เอ็มมา เกิดในปี ค.ศ. 1138 แต่งงานกับกีย์ เดอ แลแวล ลอร์ดแลแวล[15] ลูกสะใภ้ของเธอ ที่ชื่อเอ็มมาเช่นกัน เป็นลูกสาวของเรจินัลด์ เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์ หนึ่งในลูกชายนอกสมรสของเฮนรี

กับอีดิธ แก้

  1. มาทิลดา ดู แปร์ช[10] แต่งงานกับเคานต์โรทรูที่ 3 แห่งแปร์ชในปี ค.ศ. 1103 และมีลูกสาวสองคน มาทิลดาจมน้ำตายพร้อมกับพี่ชายในสมรส วิลเลียม บนเรือขาว วิลเลียมตอนแรกได้รับการช่วยเหลือจากเรือที่อับปางและกำลังพายเรือชูชีพไปที่อ่าว ทว่าพระองค์ได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของมาทิลดา จึงสั่งให้เรือพายกลับไปที่เรือที่อับปาง เหยื่อคนอื่นๆ ของเรือที่อับปางว่ายกรูกันเข้ามาหาเรือลำเล็ก พยายามปีนขึ้นมาอย่างสิ้นหวัง เป็นเหตุให้เรือแตก

กับกีวา เดอ แทรซี แก้

  1. วิลเลียม เดอ แทรซี[14]

กับอันสฟริดจ์ แก้

อัลสฟริดจ์เกิดในปี ค.ศ. 1070 เธอเป็นภรรยาของอันสกิลล์แห่งซีคอร์ต ที่ไวแธมในบาร์กเชอร์ (ปัจจุบันคืออ็อกฟอร์ดเชอร์)

  1. จูเลียง เดอ ฟ็องเตอโฟรลต์[16] (เกิดปี ค.ศ. 1090) แต่งงานกับยูซตาส เดอ แปซีในปี ค.ศ. 1103 ในปี ค.ศ. 1119 ความขัดแย้งปะทุขึ้นระหว่างสามีของจูเลียงกับราล์ฟ ฮาร์เนค เรื่องปราสาทอิฟรีของราล์ฟ เพื่อสร้างสันติภาพ พระเจ้าเฮนรีตั้งการแลกเปลี่ยนตัวประกันระหว่างยูซตาสกับราล์ฟขึ้นมา ยูซตาฟได้ลูกชายของราล์ฟไป ในขณะที่ราล์ฟได้ลูกสาวสองคนของยูซตาสกับจูเลียงไป ยูซตาสได้ทำให้ลูกชายของราล์ฟตาบอด ด้วยความโกรธราล์ฟทำให้ลูกสาวสองคนของจูเลียงตาบอด และตัดจมูกของทั้งคู่ เขาทำโดยได้รับการอนุญาตจากเฮนรี ด้วยความโกรธจัด จูเลียงป้องกันปราสาทเบรอเตยล์ของสามีต่อต้านพ่อของตน เฮนรีปิดล้อมปราสาท และจูเลียงพยายามฆ่าพระองค์ด้วยหน้าไม้แต่พลาด เฮนรีได้ขังเธอไว้ในปราสาท แต่เธอหนีออกมาได้ด้วยการกระโดดลงไปในคู ยูซตาสกับจูเลียงท้ายที่สุดแล้วก็ยอมจำนนต่อเฮนรี หลังการตายของสามีในปี ค.ศ. 1136 จูเลียงกลายเป็นแม่ชีที่ฟงเตอโฟรลต์แอบบีย์
  2. ฟุลค์ ฟิตซ์รอย (เกิดปี ค.ศ. 1092) พระที่อาบิงดอน[17]
  3. ริชาร์ดแห่งลินคอล์น[18] (ปี ค.ศ. 1094 – 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1120) เสียชีวิตในการอับปางของเรือขาว

กับซีบิล คอร์เบต์ แก้

เลดี้ซีบิล คอร์เบต์แห่งอัล์ซสเตอร์เกิดในปี ค.ศ. 1077 ในอัล์ซสเตอร์ในวอริคเชอร์ เธอแต่งงานกับแอร์แบร์ต์ ฟิตซ์แอร์แบร์ต์ ลูกชายของแอร์แบร์ต์ (มหาดเล็ก) แห่งวินเชสเตอร์กับเอ็มมา เดอ บลัวส์ เธอตายหลังปี ค.ศ. 1157 และเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งคืออาเดลา (หรือลูเซีย) คอร์เบต์ ซีบิลเป็นแม่ของซีบิลกับเรจินัลด์ อาจจะวิลเลียมกับโรเอสด้วย บางแหล่งข้อมูลสันนิษฐานว่ายังมีลูกสาวอีกคนที่เกิดจากความสัมพันธ์ครั้งนี้ กุนด์เรด เพราะเธอเป็นพี่น้องหญิงของเรจินัลด์ เดอ ดันสต็องวีลล์ แต่ว่ามีอีกคนที่ชื่อนี้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับครอบครัวนี้

  1. ซีบิลลา เดอ นอร์ม็องดี[13] อภิเษกสมรสกับอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ราวปี ค.ศ. 1107 และไม่มีลูก เธอเป็นลูกสาวนอกสมรสคนเดียวของเฮนรีที่แต่งงานกับกษัตริย์ แม้ซีบิลลากับอเล็กซานเดอร์จะไม่มีลูกด้วยกัน แต่ทั้งคู่เป็นคู่รักที่ซื่อสัตย์ต่อกัน
  2. วิลเลียม คอนสตาเบิล[19] เกิดก่อนปี ค.ศ. 1105 แต่งงานกับอลิส (คอนสตาเบิล) ตายหลังปี ค.ศ. 1187
  3. เรจินัลด์ เดอ ดันสต็องวีลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งคอร์นวอลล์[20]
  4. กุนด์เรดแห่งอังกฤษ[13] (ปี ค.ศ. 1114 – 46) แต่งงานปี ค.ศ. 1130 กับอองรี เดอ ลา โปเมอรอย ลูกชายของโจสเซอแล็ง เดอ ลา โปเมอรอย
  5. โรเอสแห่งอังกฤษ[13] เกิดในปี ค.ศ. 1114 แต่งงานกับอองรี เดอ ลา โปเมอรอย

กับอีดิธ ฟิตซ์ฟอร์น แก้

  1. โรเบิร์ต ฟิตซ์อีดิธ ลอร์ดแห่งโอคแฮมป์ตัน (ปี ค.ศ.1093 – 1172) แต่งงานกับแดม มอด ดาฟร็องช์ ดู แซป[17]
  2. อาเดลิซา ฟิตซ์อีดิธ[15] ปรากฏตัวในกฎบัตรร่วมกับพี่น้องชายของตน โรเบิร์ต

กับเจ้าหญิงเนสต์ แก้

เนสต์ แฟร์ช ไรซ์เกิดราวปี ค.ศ. 1073 ที่ปราสาทดีเนอเฟวร์ คาร์มาร์เธนเชอร์ ลูกสาวของเจ้าชายไรซ์ แอป ทิวเดวร์แห่งเดอฮิวบาร์ธกับภรรยา เกวลาเดิส แฟร์ช ไรวัลลอน เธอแต่งงานในปี ค.ศ. 1095 กับเจอรัลด์ เดอ วินด์เซอร์ (หรือเจรัลดุส ฟิตซ์วอลแตร์) ลูกชายของวอลแตร์ ฟิตซ์อาเธอร์ ขุนวังแห่งปราสาทวินด์เซอร์ เธอมีคนที่คนหาด้วยหลายคน หนึ่งในนั้นคือสตีเฟนแห่งคาร์ดิกัน ขุนวังแห่งคาร์ดิกัน (ปี ค.ศ. 1136) และตามมาด้วยลูกนอกสมรสหลายคน วันตายของเธอไม่เป็นที่รู้

  1. เฮนรี ฟิตซ์รอย ตายปี ค.ศ. 1157[17]

กับอิซาเบล เดอ บูมงต์ แก้

อิซาเบล (อลิซาเบธ) เดอ บูมงต์ (หลังปี ค.ศ. 1102 – หลังปี ค.ศ. 1172) ลูกสาวของโรเบิร์ต เดอ บูมงต์ พี่น้องหญิงของโรเบิร์ต เดอ บูมงต์ เอิร์ลที่ 2 แห่งเลสเตอร์ เธอแต่งงานกับจิลแบร์ต์ เดอ แคลร์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเพมโบรก ในปี ค.ศ. 1130 เธอเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งคืออิซาเบลลา เดอ มูล็อง

  1. อิซาเบล เฮดวิกแห่งอังกฤษ[13] อาจเป็นลูกสาวคนสุดท้องของเฮนรี เกิดในยุค 1120 เธอเป็นสักขรพยานในกฎบัตรสองฉบับร่วมกับแม่แต่ไม่เคยแต่งงาน
  2. มาทิลดา ฟิตซ์รอย พระอธิการิณีแห่งมงต์วีลลิเยร์ส์ หรือมงต์ปีลแลร์[13] เธอสนับสนุนพี่สาวในสมรส จักรพรรดินีมาทิลดา

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 243
  2. Hollister 2003, pp. 30–31; Green 2009, p. 20
  3. Hollister 2003, pp. 32, 40
  4. Hollister 2003, pp. 37–38
  5. Hollister 2003, p. 102
  6. Hollister 2003, pp. 104–105
  7. Hollister 2003, p. 130
  8. Hollister 2003, pp. 467, 474
  9. Thompson 2003, pp. 141–143
  10. 10.0 10.1 Thompson 2003, p. 147
  11. Thompson 2003, pp. 148–149
  12. Thompson 2003, p. 148
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Thompson 2003, p. 149
  14. 14.0 14.1 Thompson 2003, p. 146
  15. 15.0 15.1 Thompson 2003, p. 150
  16. Thompson 2003, pp. 147–148; Green 2009, p. 322
  17. 17.0 17.1 17.2 Thompson 2003, p. 146; Green 2009, p. 322
  18. Thompson 2003, pp. 143, 146
  19. Thompson 2003, pp. 146–147
  20. Thompson 2003, pp. 143–146

บรรณานุกรม แก้

  • Barlow, Frank (1999). The Feudal Kingdom of England, 1042–1216 (5th ed.). Harlow, UK: Pearson Education. ISBN 978-0-582-38117-9.
  • Bethell, Denis (1971). "The Making of a Twelfth Century Relic Collection". Popular Belief and Practice. 8: 61–72.
  • Brett, Martin (1975). The English Church Under Henry I. Oxford, UK: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-821861-6.
  • Carpenter, David (2004). The Struggle for Mastery: The Penguin History of Britain 1066–1284. London, UK: Penguin. ISBN 978-0-14-014824-4.
  • Chibnall, Marjorie (1992). "Mercenaries and the Familia Regis under Henry I". ใน Strickland, Matthew (บ.ก.). Anglo-Norman Warfare. Woodbridge, UK: The Boydell Press. pp. 93–127. ISBN 978-0-85115-327-8.
  • Chibnall, Marjorie (1993). The Empress Matilda: Queen Consort, Queen Mother and Lady of the English. Oxford, UK: Blackwell. ISBN 978-0-631-19028-8.
  • Crouch, David (2002). The Normans: The History of a Dynasty. London, UK: Hambledon Continuum. ISBN 978-1-85285-595-6.
  • Crouch, David (2008). The Beaumont Twins: The Roots and Branches of Power in the Twelfth Century. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-09013-1.
  • Cooper, Alan (2001). ""The Feet of Those That Bark Shall Be Cut Off": Timorous Historians and the Personality of Henry I". ใน Gillingham, John (บ.ก.). Anglo-Norman Studies: Proceedings of the Battle Conference, 2000. Woodbridge, UK: The Boydell Press. pp. 47–68. ISBN 978-0-85115-825-9.
  • David, Charles W. (1929). "The Claim of King Henry I to Be Called Learned". ใน Taylor, C. H.; LaMonte, J. L (บ.ก.). Anniversary Essays in Medieval History by Students of Charles Homer Haskins. Boston, US and New York, US: Houghton Mifflin. pp. 45–56. OCLC 615486047.
  • Davies, R. R. (1990). Domination and Conquest: The Experience of Ireland, Scotland and Wales, 1100–1300. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-02977-3.
  • Duffy, Mark (2003). Royal Tombs of Medieval England. Stroud, UK: Tempus. ISBN 978-0-7524-2579-5.
  • Green, Judith (1989). The Government of England Under Henry I. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-37586-3.
  • Green, Judith (2003). "Le Gouvernement d'Henri Ier Beauclerc en Normandie". ใน Bouet, Pierre; Gazeau, Véronique (บ.ก.). La Normandie et l'Angleterre au Moyen âge (ภาษาฝรั่งเศส). Caen, France: Publications du CRAHM. pp. 61–73. ISBN 978-2-902685-14-1.
  • Green, Judith (2009). Henry I: King of England and Duke of Normandy. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-74452-2.
  • Hallam, Elizabeth M.; Everard, Judith A. (2001). Capetian France, 987–1328 (2nd ed.). Harlow, UK: Longman. ISBN 978-0-582-40428-1.
  • Haskins, Charles Homer (1918). Norman Institutions. Cambridge, US: Harvard University Press. OCLC 459798602.
  • Hollister, C. Warren; Baldwin, John W. (1978). "The Rise of Administrative Kingship: Henry I and Philip Augustus". The American Historical Review. 83 (4): 867–05. doi:10.2307/1867650. ISSN 0002-8762. JSTOR 1867650.
  • Hollister, C. Warren (2003). Frost, Amanda Clark (บ.ก.). Henry I. New Haven, US and London, UK: Yale University Press. ISBN 978-0-300-09829-7.
  • Huneycutt, Lois L. (2003). Matilda of Scotland: a Study in Medieval Queenship. Woodbridge, UK: The Boydell Press. ISBN 978-0-85115-994-2.
  • King, Edmund (2010). King Stephen. New Haven, US and London, UK: Yale University Press. ISBN 978-0-300-11223-8.
  • Mason, Emma (2008). King Rufus: the Life and Murder of William II of England. Stroud, UK: The History Press. ISBN 978-0-7524-4635-6.
  • Mayr-Harting, Henry (2011). Religion, Politics and Society in Britain, 1066–1272. Harlow, UK: Longman. ISBN 978-0-582-41413-6.
  • Newman, Charlotte A. (1988). The Anglo-Norman Nobility in the Reign of Henry I: the Second Generation. Philadelphia, US: University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-8138-5.
  • Poole, A. L. (1993) [1951]. From Domesday Book to Magna Carta, 1087–1216: Oxford History of England. Oxford, UK: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-285287-8.
  • Prestwich, J. O. (1992). "The Military Household of the Norman Kings". ใน Strickland, Matthew (บ.ก.). Anglo-Norman Warfare. Woodbridge, UK: The Boydell Press. pp. 128–142. ISBN 978-0-85115-327-8.
  • Southern, Richard (1962). "The Place of Henry I in English History". Proceedings of the British Academy. 48: 127–169. ISSN 0068-1202.
  • Thompson, Kathleen (2003). "Affairs of State: the Illegitimate Children of Henry I". Journal of Medieval History. 29 (2): 129–151. doi:10.1016/S0304-4181(03)00015-0. ISSN 0304-4181. S2CID 144398531.
  • Thompson, Kathleen (2007). "From the Thames to Tinchebray: the Role of Normandy in the Early Career of Henry I". ใน Fleming, Donald F.; Pope, Janet M (บ.ก.). Henry I and the Anglo-Norman World: Studies in Memory of C. Warren Hollister. Woodbridge, UK: The Boydell Press. pp. 16–26. ISBN 978-1-84383-293-5.
  • Vaughn, Sally N. (2007). "Henry I and the English Church: the Archbishops and the King". ใน Fleming, Donald F.; Pope, Janet M (บ.ก.). Henry I and the Anglo-Norman World: Studies in Memory of C. Warren Hollister. Woodbridge, UK: The Boydell Press. pp. 133–157. ISBN 978-1-84383-293-5.
  • Ward, Jennifer (2006). Women in England in the Middle Ages. London, UK: Hambledon Continuum. ISBN 978-0-8264-1985-9.
  • White, G. W., บ.ก. (1949). The Complete Peerage. Vol. 11. London, UK: St. Catherine Press. OCLC 568761046.
ก่อนหน้า พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ถัดไป
พระเจ้าวิลเลียมที่ 2    
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์นอร์มัน)

(ค.ศ. 1100ค.ศ. 1135)
  พระเจ้าสตีเฟน