ศิลปศาสตร์ (อังกฤษ: liberal arts) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษะเชิงปัญญา มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง

เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต (ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น

ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไตรศิลปศาสตร์ (trivium) และ จตุรศิลปศาสตร์ (quadrivium)

การศึกษาในกลุ่ม ไตรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ ตรรกศาสตร์ และวาทศาสตร์ (rhetoric) ส่วนการศึกษากลุ่ม จตุรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ เลขคณิต เรขาคณิต ดนตรี และดาราศาสตร์) ศิลปศาสตร์นั้นถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยสมัยกลาง

คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง) ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts) ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะและความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง

ศิลปศาสตร์ 18 ประการ แก้

ในสายวัฒนธรรมตะวันออก มีกล่าวถึงศิลปศาสตร์ 18 ประการ ดังนี้

  1. สูติ ความรู้ทั่วไป
  2. สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียมต่างๆ
  3. สังขยา การคำนวณ
  4. โยคยันตร์ การช่างยนต์
  5. นีติ นีติศาสตร์
  6. วิเสสิกา ความรู้การอันทำให้เกิดมงคล
  7. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์
  8. คณิกา วิชาบริหารร่างกาย
  9. ธนุพเพธา วิชายิงธนู
  10. ปุราณา โบราณคดี
  11. ติกิจฉา วิชาแพทย์
  12. อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์
  13. โชติ ดาราศาสตร์
  14. มายา วิชาพิชัยสงคราม
  15. ฉันทสา การประพันธ์
  16. เกตุ วาทศิลป์
  17. มันตา วิชามนต์
  18. สัททา ไวยากรณ์

คณะศิลปศาสตร์ในประเทศไทย แก้

ปริญญาศิลปศาสตร์ แก้

ผู้เรียนจบปริญญาในสาขาวิชาใดก็ตามในกลุ่มศิลปศาสตร์ จะได้รับปริญญา มีชื่อดังต่อไปนี้

  • ปริญญาตรี คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต ย่อ ศศ.บ.
  • ปริญญาโท คือ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ย่อ ศศ.ม. และ
  • ปริญญาเอก คือ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ย่อ ศศ.ด.

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • ศิลปศาสตร์แนวพุทธ. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พ.ศ. 2534.