พ.ศ. 2561
ปี
พุทธศักราช 2561 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2018 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2561 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2018 MMXVIII |
Ab urbe condita | 2771 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1467 ԹՎ ՌՆԿԷ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6768 |
ปฏิทินบาไฮ | 174–175 |
ปฏิทินเบงกอล | 1425 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2968 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 66 Eliz. 2 – 67 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2562 |
ปฏิทินพม่า | 1380 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7526–7527 |
ปฏิทินจีน | 丁酉年 (ระกาธาตุไฟ) 4714 หรือ 4654 — ถึง — 戊戌年 (จอธาตุดิน) 4715 หรือ 4655 |
ปฏิทินคอปติก | 1734–1735 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3184 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2010–2011 |
ปฏิทินฮีบรู | 5778–5779 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2074–2075 |
- ศกสมวัต | 1940–1941 |
- กลียุค | 5119–5120 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12018 |
ปฏิทินอิกโบ | 1018–1019 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1396–1397 |
ปฏิทินอิสลาม | 1439–1440 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 30 (平成30年) |
ปฏิทินจูเช | 107 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4351 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 107 民國107年 |
เวลายูนิกซ์ | 1514764800–1546300799 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1–3 มกราคม – เกิดการประท้วงรุนแรงทั่วประเทศอิหร่านต่อรัฐบาลและผู้นำสูงสุด อะลี คอเมเนอี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 22 คน และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 550 คน
- 18 มกราคม – นาซาและเอ็นโอเอเอรายงานว่าปี 2560 เป็นปีร้อนที่สุดในบันทึกทั่วโลกโดยไม่มีเอลนีโญ และอยู่ในสามอันดับแรกปีร้อนที่สุด[1][2]
- 20 มกราคม – รัฐบาลตุรกี ภายใต้การนำของประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประกาศเริ่มการโจมตีทางทหารเพื่อชิงดินแดนซีเรียเหนือบางส่วนจากกองกำลังเคิร์ด[3][4]
- 20–22 มกราคม – รัฐบาลกลางสหรัฐยุติการปฏิบัติงานเนื่องจากวุฒิสภาไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายการจัดหาเงินทุน
- 24 มกราคม – นักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนรายงานในวารสาร เซลล์ ว่าสามารถสร้างโคลนลิงครั้งแรกสำเร็จโดยใช้การย้ายนิวเคลียสเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์เพศ ชื่อ จงจงและฮวาฮวา[5][6][7][8]
- 31 มกราคม – เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ปรากฏเป็นซูเปอร์มูน โดยมีจุดโคจรใกล้สุดจากโลกในวันที่ 30 มกราคม นอกจากนี้ยังเป็นอุปราคาบลูมูนครั้งแรกในปี 2561 จึงถูกเรียกว่า ซูเปอร์บลูบลัดมูน
กุมภาพันธ์
แก้- 6 กุมภาพันธ์ – สเปซเอ็กซ์ดำเนินการบินปฐมฤกษ์ของจรวดทรงพลังที่สุดในปัจจุบัน ฟัลคอน เฮฟวี จากฐานปล่อยที่ 39 ที่ศูนย์อวกาศจอห์น เอฟ. เคนเนดี[9]
- 9–25 กุมภาพันธ์ – กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 23 ณ เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้
- 10 กุมภาพันธ์ – เคย์ โกลด์สเวิร์ตธี ได้รับการสถาปนาเป็นอัครมุขนายกหญิงคนแรกของแองกลิคันคอมมิวเนียน โดยการสถาปนาจัดขึ้นที่มุขมณฑลแองกลิคันแห่งเพิร์ธ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย[10]
- 14 กุมภาพันธ์ – จาค็อบ ซูมา ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ หลังครองอำนาจเก้าปี ในข้อกล่าวหาฉ้อราษฎร์บังหลวง[11]
มีนาคม
แก้- 4 มีนาคม – อดีตสายลับสองหน้าชาวรัสเซีย เซอร์เกย์ สกรีปาล และยูเลีย ธิดา ถูกวางยาพิษด้วยสารประสาทโนวีชอกในซอลส์บรี ประเทศอังกฤษ[12] ตำรวจต่อต้านการก่อการร้ายสอบสวนท่ามกลางข้อสังเกตว่ารัฐบาลรัสเซียอาจอยู่เบื้องหลัง[13]
- 9 มีนาคม – ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ตอบรับคำเชิญจากคิม จ็อง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เพื่อหารือเกี่ยวกับการยกเลิกการกักตุนอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ[14]
- 11 มีนาคม – รัฐบาลจีนมีมติยกเลิกบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจำกัดวาระของผู้นำ เป็นผลให้ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสตร์แห่งประเทศจีน ได้รับสถานะ "ประธานาธิบดีตลอดชีพ"[15]
- 18 มีนาคม – วลาดีมีร์ ปูติน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซียสมัยที่สี่[16]
- 19 มีนาคม – แรดขาวเหนือเพศผู้ตัวสุดท้ายของโลกตายในประเทศเคนยา[17][18]
- 25 มีนาคม – สายการบินควอนตัสเปิดตัวเที่ยวบินโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ แบบบินตรงและไม่มีการแวะพัก ระหว่างท่าอากาศยานเพิร์ทกับท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ โดยถือเป็นเที่ยวบินพาณิชย์แบบไม่แวะพักเที่ยวบินแรกที่ให้บริการระหว่างประเทศออสเตรเลียกับสหราชอาณาจักร[19]
- 28 มีนาคม
- คิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ เข้าพบสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยการเข้าพบครั้งนี้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่นอกประเทศครั้งแรกของคิม จ็อง-อึน นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2554[20]
- เกิดเหตุเพลิงไหม้เรือนจำภายในสถานีตำรวจ ที่รัฐการาโบโบ ประเทศเวเนซุเอลา มีผู้เสียชีวิต 68 ราย[21]
เมษายน
แก้- 8 เมษายน – สงครามกลางเมืองซีเรีย: มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70 คนและผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายร้อยคนหลังเหตุโจมตีเคมีด้วยแก๊สซารินในดูมา เขตกูตาตะวันออกซึ่งฝ่ายกบฏถือครองอยู่[22]
- 11 เมษายน – อิลยูชิน อิล-76 ของกองทัพอากาศแอลจีเรียตกใกล้กับกรุงแอลเจียร์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 257 คน[23]
- 14 เมษายน – สงครามกลางเมืองซีเรีย: สหรัฐ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสั่งทิ้งระเบิดฐานทัพซีเรียเพื่อตอบโต้เหตุโจมตีด้วยแก๊สซารินที่อ้างว่ารัฐบาลบัชชาร อัลอะซัดเป็นผู้ลงมือต่อพลเรือนในกูตา[24]
- 18 เมษายน – เกิดการประท้วงในประเทศนิการากัว หลังรัฐบาลประกาศปฏิรูปประกันสังคมซึ่งจะลดประโยชน์ของบำนาญเกษียณอายุ มีผู้เสียชีวิต 448 ราย
- 19 เมษายน – มิเกล ดิอัซ-กาเนลสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคิวบา นับเป็นผู้นำคิวบาคนแรกที่มิใช่ตระกูลกัสโตรนับแต่การปฏิวัติคิวบา
- 27 เมษายน – คิม จ็อง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ข้ามชายแดนมาพบกับมุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นับเป็นผู้นำเกาหลีเหนือคนแรกที่ข้ามเขตปลอดทหารนับแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 2496[25]
พฤษภาคม
แก้- 3 พฤษภาคม – กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเอตาประกาศยุบตัวลงอย่างเป็นทางการ หลังความขัดแย้งนาน 40 ปีในประเทศสเปน อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 คน[26][27]
- 5 พฤษภาคม – มีการปล่อยยานอวกาศ อินไซต์ ที่ไม่มีมนุษย์โดยสารของนาซา คาดว่าจะลงจอดดาวอังคารในเดือนพฤศจิกายน และใช้หัวขุดเจาะเพื่อศึกษาทางธรณีวิทยา[28]
- 8 พฤษภาคม – ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเจตนาถอนสหรัฐจากความตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน[29]
- 9 พฤษภาคม – แนวร่วมแห่งความหวังซึ่งเป็นฝ่ายค้าน อันมีอดีตนายกรัฐมนตรี มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เป็นหัวหน้า ครองเสียงข้างมากในรัฐสภามาเลเซีย ทำให้แนวร่วมแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐบาล 61 ปีนับแต่ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชในปี 2500 หมดอำนาจ[30]
- 25 พฤษภาคม
- ระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรปมีผลใช้บังคับ ซึ่งกำหนดการควบคุมภาวะเฉพาะส่วนตัวอันเข้มงวดแก่พลเมืองยุโรปทั่วโลก[31]
- มีการลงประชามติว่าจะยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการห้ามทำแท้งในประเทศไอร์แลนด์หรือไม่ ผลฝ่ายให้เลิกชนะด้วยเสียงร้อยละ 66.4 ต่อ 33.6[32]
มิถุนายน
แก้- 12 มิถุนายน
- การประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ-สหรัฐ พ.ศ. 2561 โดยการประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำของทั้งสองประเทศประชุมร่วมกัน[33]
- ประเทศกรีซบรรลุข้อตกลงกับประเทศมาซิโดเนียเพื่อยุติข้อพิพาท 27 ปีว่าด้วยการเรียกชื่อประเทศมาซิโดเนีย โดยข้อตกลงได้กำหนดให้เปลี่ยนชื่อทางการของมาซิโดเนียเป็น "สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ"[34]
- 13 มิถุนายน – สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศมีมติให้ประเทศแคนาดา เม็กซิโก และสหรัฐ เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2026[35]
- 14 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม – มีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ณ ประเทศรัสเซีย[36] ทีมชนะเลิศ คือ ฝรั่งเศส
- 19 มิถุนายน
กรกฎาคม
แก้- 5 กรกฎาคม – ประเทศลิทัวเนียเข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในฐานะสมาชิกลำดับที่ 36[39]
- 6 กรกฎาคม
- ภาษีศุลกากรของสหรัฐต่อสินค้าจีนมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมีผลใช้บังคับ ประเทศจีนกล่าวหาสหรัฐว่าเริ่ม "สงครามการค้าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ" และประกาศภาษีศุลกากรตอบโต้ทันที[40][41]
- โชโก อาซาฮาระ อดีตหัวหน้ากลุ่มโอมชินริเกียว และสมาชิกหลักอีกหกคน ผู้ก่อเหตุใช้แก๊สซารินในรถไฟใต้ดินโตเกียวเมื่อปี 2538 ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ[42][43]
- 9 กรกฎาคม –
- ประเทศเอริเทรียและประเทศเอธิโอเปียประกาศยุติความขัดแย้ง 20 ปีอย่างเป็นทางการ[44]
- พายุไต้ฝุ่นมาเรียพัดเข้าประเทศญี่ปุ่นส่งผลให้น้ำท่วมมีผู้เสียชีวิตกว่า 155 ราย[45]
- 10 กรกฎาคม – ภารกิจช่วยเหลือสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีรายสุดท้ายออกจากถ้ำได้เป็นผลสำเร็จ[46]
- 17 กรกฎาคม – มีการลงนามความตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจอียู–ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีใหญ่สุดในโลก สร้างเขตการค้าเปิดที่ครอบคลุมเกือบหนึ่งในสามของจีดีพีโลก[47][48]
- 25 กรกฎาคม – นักวิทยาศาสตร์รายงานว่ามีทะเลสาบใต้ธารนำแข็งบนดาวอังคาร ลึกลงไปจากแผ่นน้ำแข็งขั้วใต้ของดาวและมีความกว้างประมาณ 20 กิโลเมตร[49][50]
- 26 กรกฎาคม – เกิดเหตุไฟป่าแคว้นแอตติกา พ.ศ. 2561 ประเทศกรีซ มีผู้เสียชีวิตรวม 99 ราย[51]
สิงหาคม
แก้- 2 สิงหาคม – บริษัทแอปเปิลเป็นบริษัทมหาชนแรกที่มีมูลค่าตามราคาตลาดถึง 1 ล้านล้านดอลลาห์สหรัฐ[52]
- 7 สิงหาคม – สหรัฐกำหนดวิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่านอีกครั้ง[53]
- 10 สิงหาคม – 20 สิงหาคม – เกิดอุทกภัยรุนแรงในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย นับเป็นอุทกภัยใหญ่สุดในรัฐเกรละในรอบศตวรรษ
- 12 สิงหาคม
- ประเทศริมทะเลแคสเปียน อันได้แก่ประเทศรัสเซีย ประเทศคาซัคสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศอิหร่าน และประเทศเติร์กเมนิสถาน ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพทางกฎหมายของทะเลแคสเปียน ซึ่งยุติความพิพาทเหนือทะเลแคสเปียนนานกว่า 20 ปี[54]
- นาซ่าปล่อยยานอวกาศไร้คนขับ พาร์กเกอร์โซลาร์โพรบ เพื่อศึกษาดวงอาทิตย์และลมสุริยะในระยะใกล้[55][56][57]
- 14 สิงหาคม – สะพานโมเรนดีในนครเจนัว ประเทศอิตาลีพังถล่มบางส่วน มีผู้เสียชีวิต 43 คน[58][59]
กันยายน
แก้- 6 กันยายน – ศาลสูงสุดอินเดียทำให้การรักเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย[60]
- 20 กันยายน – เรือ เอ็มวี นเยเรเร พลิกคว่ำในทะเลสาบวิกตอเรีย มีผู้โดยสารเสียชีวิตกว่า 228 คน[61]
- 22 กันยายน – มือปืนหลายคนกราดยิงใส่ขบวนพาเหรดของทหารอิหร่านในเมืองอวาส ประเทศอิหร่าน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 29 คน รวมทั้งพลเรือน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 50 คน[62]
- 28 กันยายน – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 แมกนิจูด ณ เกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2,256 คน และบาดเจ็บอีกมากกว่า 10,679 ราย[63]
ตุลาคม
แก้- 8 ตุลาคม – ไอพีซีซีจัดพิมพ์รายงานพิเศษว่าด้วยภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ. เตือนว่า "การเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลัน แปลกใหม่ และมีผลกระทบเป็นวงกว้างในทุกแง่มุมของสังคม" ต้องมีขึ้นเพื่อยืนยันว่าภาวะโลกร้อนจะรักษาไว้ต่ำกว่า 1.5 °ซ.[64]
- 17 ตุลาคม – เกิดเหตุโจมตีในวิทยาลัยสารพัดช่างเคียร์ช บนคาบสมุทรไครเมีย 19 คน ถูกสังหารด้วยปืน รวมถึง วลาดิสลัฟ รอสเลียคอฟ ผู้ก่อเหตุ
- 19 ตุลาคม –
- ยานอวกาศไร้คนขับสัญชาติยุโรป-ญี่ปุ่น เบปีโคลอมโบ ปล่อยสู่อวกาศในการเดินทาง 7 ปี มุ่งหน้าสู่ดาวพุธ
- เมือง อมฤตสาร์ ประเทศอินเดีย เกิดเหตุรถไฟชนคนเสียชีวิต 59 ราย[65]
- 27 ตุลาคม
- เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ของสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีตกที่คิงเพาเวอร์สเตเดียม สหราชอาณาจักร ทำให้ผู้โดยสาร 5 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด
- ไมเคิล ดี. ฮิกกินส์ ได้รับการประกาศให้เป็นประธานาธิบดีประเทศไอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ หลังได้รับคะแนนเสียงจากการลงคะแนนจัดอันดับครั้งแรก 822,566 เสียง[66]
- 28 ตุลาคม – ฌาอีร์ โบลโซนารู นักการเมืองขวาจัด ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีบราซิล โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 55[67][68]
- 29 ตุลาคม – ไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 610 เกิดอุบัติเหตุตกที่ทะเลชวา ผู้เสียชีวิต 189 ราย[69]
- 30 ตุลาคม – ยานอวกาศเคปเลอร์ของนาซ่า ยุติภารกิจเนื่องจากเชื้อเพลิงหมด[70]
พฤศจิกายน
แก้- 1 พฤศจิกายน – ยานอวกาศดอว์นของนาซ่า ยุติภารกิจเนื่องจากเชื้อเพลิงไฮดราซีนหมด[71]
- 4 พฤศจิกายน – นิวแคลิโดเนียจัดการลงประชามติเอกราชจากฝรั่งเศส ผลปรากฏว่า ร้อยละ 56.4 คัดค้านเอกราช ส่วนร้อยละ 43.6 สนับสนุน
- 26 พฤศจิกายน – ยานอวกาศ อินไซต์ ของนาซาลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ[72]
- 27 พฤศจิกายน – วิกฤตการณ์ยูเครน: ประเทศยูเครนประกาศกฏอัยการศึกหลังเกิดเหตุปะทะที่ประเทศรัสเซียยึดเรือยูเครนสามลำในพื้นที่พิพาทช่องแคบเคียร์ชเมื่อสองวันก่อน
ธันวาคม
แก้- 1 ธันวาคม–8 ธันวาคม – ประเทศฝรั่งเศสเผชิญกับการก่อความไม่สงบที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงปี พ.ศ. 2511 เนื่องจากขบวนการเสื้อกั้กเหลืองประท้วงในกรุงปารีส นำไปสู่การจลาจลที่รถกว่าร้อยคันถูกเผาและอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวลเกิดความเสียหาย
- 3 ธันวาคม – ยานอวกาศไอไซริส-เร็กซ์ เดินทางถึงดาวเคราะห์น้อย 101955 เบนนู โดยเป็นภารกิจการจัดเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยแรกของนาซา[73]
- 7 ธันวาคม – สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศรายงานว่า จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2561 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกินกว่าครึ่ง (51.2 %) ของประชากรโลกทั้งหมด[74]
วันเกิด
แก้วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม - มานูเอล โอลิเวนเซีย ทนายความและอาจารย์ชาวสเปน (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472)
- 2 มกราคม – เจ้าฟ้าโสริยะวงศ์สว่าง (ประสูติ 22 มกราคม พ.ศ. 2480)
- 7 มกราคม - ฟร็องส์ แกล นักร้องชาวฝรั่งเศส (เกิด 9 ตุลาคม พ.ศ. 2490)
- 15 มกราคม – โดโลเรส โอริออร์แดน นักร้องและนักดนตรีชาวไอร์แลนด์ (เกิด 6 กันยายน พ.ศ. 2514)
กุมภาพันธ์
แก้- 13 กุมภาพันธ์ – เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี (พระราชสมภพ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2477)
- 24 กุมภาพันธ์ – ศรีเทวี นักแสดงชาวอินเดีย (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2506)
มีนาคม
แก้- 4 มีนาคม – ดาวีเด อัสโตรี นักฟุตบอลชาวอิตาลี (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2530)
- 14 มีนาคม – สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชาวอังกฤษ (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2485)
- 17 มีนาคม – ฟาน วัน ขาย นายกรัฐมนตรีเวียดนามคนที่ 5 (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2476)
เมษายน
แก้- 7 เมษายน – ปีเตอร์ กรึนแบร์ก นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวเยอรมัน (เกิด 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2482)
- 17 เมษายน – บาร์บารา บุช อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ (เกิด 8 มิถุนายน พ.ศ. 2468)
- 18 เมษายน – บรูโน ซามมาร์ติโน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอิตาลี (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2478)
- 20 เมษายน – อะวีชี ดีเจและโปรดิวเซอร์เพลงชาวสวีเดน (เกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2532)
- 21 เมษายน – เวิร์น ทรอยเออร์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2512)
พฤษภาคม
แก้- 1 พฤษภาคม - สวลี ผกาพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเพลงลูกกรุงและนักแสดงชาวไทย (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474)
- 10 พฤษภาคม – ดาวิด กูดดอลล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ-ออสเตรเลีย (เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2457)
- 16 พฤษภาคม – ฮิเดกิ ไซโจ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น (เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2498)
- 22 พฤษภาคม – ฟิลิป รอธ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2476)
- 26 พฤษภาคม – นาเซอร์ มาเล็ก โมเทียร์ นักแสดงชาวอิหร่าน (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2473)
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน
- 2 มิถุนายน – อ็องเดร เดอวาก นักแข่งรถจักรยานยนต์มืออาชีพชาวฝรั่งเศส (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2487)
- 3 มิถุนายน
- จอห์นนี่ คียส์ นักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483)
- โรเบิร์ต ฟอร์แฮน นักฮอกกี้น้ำแข็งชาวแคนาดา (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2479)
- 14 มิถุนายน – เอตโตเร โรโมลี นักการเมืองชาวอิตาลี (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2481)
- 15 มิถุนายน – เอนอช ซู กุทเทินแบร์ค วาทยากรชาวเยอรมัน (เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2489)
- 16 มิถุนายน – เกนนาดี โรจเดียซ์เตวนสกี วาทยากรชาวรัสเซีย (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2474)
- 18 มิถุนายน – บิ๊ก แวน เวเดอร์ นักมวยปล้ำอาชีพและนักอเมริกันฟุตบอลชาวอเมริกัน (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498)
- 19 มิถุนายน – เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ประสูติ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2478)
- 20 มิถุนายน – พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2541 (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
- 27 มิถุนายน – โจ แจ็กสัน ผู้จัดการศิลปินชาวอเมริกัน (เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2471)
กรกฎาคม
แก้- 6 กรกฎาคม
- โชโก อาซาฮาระ ผู้นำลัทธิและผู้ก่อการร้ายชาวญี่ปุ่น (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2498)
- สมาน กุนัน วีรบุรุษช่วยเหลือ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2523)
- 8 กรกฎาคม – แท็บ ฮันเตอร์ นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2474)
- 29 กรกฎาคม – ไบรอัน คริสโตเฟอร์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2515)
สิงหาคม
แก้- 11 สิงหาคม – วี เอส ไนพอล นักเขียนรางวัลโนเบลชาวตรินิแดด-อังกฤษ (เกิด 17 สิงหาคม พ.ศ. 2475)
- 16 สิงหาคม – อารีธา แฟรงคลิน นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2485)
- 18 สิงหาคม – โคฟี แอนนัน นักการทูตชาวกานาและอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2481)
- 25 สิงหาคม – จอห์น แมคเคน นักการเมืองชาวอเมริกัน (เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2479)
กันยายน
แก้- 6 กันยายน – เบิร์ต เรย์โนลส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479)
- 7 กันยายน – แม็ก มิลเลอร์ แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2535)
- 11 กันยายน - วรุฒ วรธรรม นักแสดง/พิธีกรชาวไทย (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2512)
- 15 กันยายน – คิริน คิกิ นักแสดงชาวญี่ปุ่น (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2486)
- 21 กันยายน – เจิ่น ดั่ย กวาง ประธานาธิบดีเวียดนามคนที่ 8 (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2499)
- 28 กันยายน – บาร์นาบัส ซีบูซีโซ ดลามีนี นายกรัฐมนตรีเอสวาตีนีคนที่ 8 (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485)
ตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม – โด๋ เหมื่อย นายกรัฐมนตรีเวียดนามคนที่ 3 (เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459)
- 6 ตุลาคม – มุนซาร์รัต กาบัลเย นักร้องเสียงโซปราโนชาวสเปนเชื้อสายกาตาลา (เกิด 12 เมษายน พ.ศ. 2476)
- 15 ตุลาคม – พอล อัลเลน นักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ (เกิด 21 มกราคม พ.ศ. 2496)
- 20 ตุลาคม – วิม โกก นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ (เกิด 29 กันยายน พ.ศ. 2481)
- 27 ตุลาคม – วิชัย ศรีวัฒนประภา นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2501)
- 30 ตุลาคม – กิมย้ง นักเขียนชาวฮ่องกง (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467)
พฤศจิกายน
แก้- 3 พฤศจิกายน – หลัน เจี๋ยอิง นักแสดงหญิงชาวจีน (เกิด 27 เมษายน พ.ศ. 2506)
- 12 พฤศจิกายน – สแตน ลี นักเขียนการ์ตูน บรรณาธิการ นักแสดง โปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465)
- 25 พฤศจิกายน – กุยเลียนา คาลันดา นักแสดงชาวอิตาลี (เกิด 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479)
- 30 พฤศจิกายน – จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 41 (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2467)
ธันวาคม
แก้- 12 ธันวาคม – แฟแร็นตส์ โกชอ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮังการี (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480)
- 18 ธันวาคม – เดวิด ซี. เอช. ออสติน นักผสมพันธุ์กุหลาบชาวอังกฤษ (เกิด 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469)
- 28 ธันวาคม
- โทชิโกะ ฟูจิตะ นักแสดงชาวญี่ปุ่น (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2493)
- ปีเตอร์ ฮิล-วูด นักธุรกิจและผู้บริหารสโมสรฟุตบอลชาวอังกฤษ (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479)
- 30 ธันวาคม – ดอน ลัสก์ นักวาดแอนิเมชันชาวอเมริกัน (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2456)
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
แก้รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – ฟรานเชส อาร์โนลด์, เกรกอรี วินเทอร์ และ จอร์จ พี. สมิธ[75]
- สาขาวรรณกรรม – ออลกา ตอการ์ตชุก[76]
- สาขาสันติภาพ – เดนิส มูเควกี และ นาเดีย มูราด[77]
- สาขาฟิสิกส์ – อาร์เธอร์ แอชกิน, เฌราร์ มูรู และ ดอนนา สตริกแลนด์[78]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เจมส์ พี. แอลลิสัน และ ฮอนโจ ทะสุกุ[79]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – วิลเลียม นอร์ดเฮาส์ และ พอล โรเมอร์[80]
บันเทิงคดีที่อ้างถึงปีนี้
แก้- พ.ศ. 2552 - ภาพยนตร์เรื่อง Terminator 4 มีการดำเนินเรื่องในปีนี้
- พ.ศ. 2555 - ภาพยนตร์แอ็คชั่น นิยายวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไอเริน สกาย 2018 ทัพเหล็กนาซีถล่มโลก ดำเนินเรื่องในปีนี้
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ "2017 Ranked Among Three Hottest Years Ever". Scientific American. 18 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
- ↑ "2017 was the hottest year on record without El Niño boost". The Guardian. 18 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
- ↑ Mert Ozkan. "Turkey shells Syria's Afrin region, minister says operation has begun". Reuters. 19 January 2018. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2561.
- ↑ Stefanie Dekker. "Turkish Afrin operation: Erdogan vows to push out YPG". Aljazeera. 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2561.
- ↑ Liu, Zhen; และคณะ (24 January 2018). "Cloning of Macaque Monkeys by Somatic Cell Nuclear Transfer". Cell. doi:10.1016/j.cell.2018.01.020. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
- ↑ Normile, Dennis (24 January 2018). "These monkey twins are the first primate clones made by the method that developed Dolly". Science. doi:10.1126/science.aa1066. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
- ↑ Briggs, Helen (24 January 2018). "First monkey clones created in Chinese laboratory". BBC News. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
- ↑ Associated Press (24 January 2018). "Scientists Successfully Clone Monkeys; Are Humans Up Next?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 January 2018.
- ↑ "Elon Musk's Falcon Heavy rocket launches successfully". BBC News. สืบค้นเมื่อ February 6, 2018.
- ↑ "First female Archbishop elected in Australia". Anglican Communion News Service. 30 August 2018. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2561.
- ↑ http://www.bbc.com/news/world-africa-43066443
- ↑ "Russian spy 'attacked with nerve agent'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-03-07. สืบค้นเมื่อ 2018-03-08.
- ↑ "Ex-Russian spy collapsed with daughter". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-03-06. สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
- ↑ "Trump and North Korea's Kim Jong-un to hold 'milestone' meeting". BBC. 9 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2561.
- ↑ "China's Xi allowed to remain 'president for life' as term limits removed". BBC News. 11 March 2018.
- ↑ "Russia election: Vladimir Putin wins by big margin". BBC. 19 March 2018. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2561.
- ↑ "Rhino dies: Sudan was the last male northern white". BBC News. 20 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ "World's last male northern white rhino dies". CNN. 20 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ Yonette Joseph. "A First in Flight: Australia to the U.K., in 17 Hours". The New York Times. 25 March 2018. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
- ↑ Phil Helsel. "North Korea's Kim Jong Un visited China's Xi". NBC News. 28 March 2018. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
- ↑ https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_900886
- ↑ "Syria war: At least 100 killed in suspected chemical attack in Douma". BBC News. 8 April 2018. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
- ↑ Walsh, Declan (11 April 2018). "Military Plane Crashes in Algeria, Killing at Least 257". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
- ↑ "As it happened: US, UK and France strike Syria". CNN (ภาษาอังกฤษ). 14 April 2018. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
- ↑ "North Korea's Kim Jong-un crosses into South Korea". BBC News. 27 April 2018. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
- ↑ Jones, Sam (2 May 2018). "Basque separatist group Eta announces dissolution". The Guardian. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 May 2018.
- ↑ "Basque group ETA announces it has 'completely dissolved'". 2 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2 May 2018.
- ↑ Chang, Kenneth (2016-03-09). "NASA Reschedules Mars InSight Mission for May 2018". The New York Times. nytimes.com. สืบค้นเมื่อ 2016-09-05.
- ↑ "Trump pulls US out of Iran nuke deal". The Hill. 2018-05-08. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
- ↑ Zurairi Ar (10 May 2018). "Pakatan takes Putrajaya, buoyed by 'Malay tsunami'". The Malay Mail. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
- ↑ "GDPR: US news sites blocked to EU users over data protection rules". BBC News. 25 May 2018. สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
- ↑ "Irish abortion referendum: Ireland overturns abortion ban". BBC News. 26 May 2018. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.
- ↑ "การประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-เกาหลีเหนือ จะจัดขึ้นที่สิงคโปร์ วันที่ 12 มิ.ย. นี้". BBC. 10 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2561.
- ↑ "Macedonia and Greece: Deal after 27-year row over a name". BBC. 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2561.
- ↑ "ฟุตบอลโลก 2026: แคนาดา, สหรัฐฯ และเม็กซิโก ได้เป็นเจ้าภาพร่วม". BBC. 13 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2561.
- ↑ {{http://www.fifa.com/worldcup/matches/index.html เก็บถาวร 2014-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน}}
- ↑ "สหรัฐฯ เตรียม 'ถอนตัว' จากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ". Voice TV. 20 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2561.
- ↑ "Canada Senate approves recreational use of marijuana". Reuters. 20 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2561.
- ↑ "Lithuania's accession to the OECD." OECD. 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561.
- ↑ "China's Tariff Response Takes Effect as Trump Ignites Trade War". Bloomberg. July 6, 2018. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
- ↑ "US and China fire first shots in $34bn trade war". BBC News. July 6, 2018. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
- ↑ Lewis, Leo; Inagaki, Kana (2018-07-05). "Japan executes cult leader behind 1995 Tokyo subway gas attack". Financial Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.
- ↑ Ryall, Julian (2011-11-21). "Japan rejects clemency appeal of last Aum Shinrikyo cult member" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.
- ↑ Stephanie Busari and Schams Elwazer. "Former sworn enemies Ethiopia and Eritrea have declared end of war." CNN. 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561.
- ↑ https://www.bbc.com/news/world-asia-44775627
- ↑ https://www.bbc.com/thai/live/thailand-44755211
- ↑ "European Union and Japan to sign historic trade deal". Rte.ie. 17 July 2018. สืบค้นเมื่อ 17 July 2018.
- ↑ Boffey, Daniel (17 July 2018). "Japan-EU trade deal 'light in darkness' amid Trump's protectionism". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 July 2018.
- ↑ "Huge reservoir of liquid water detected under the surface of Mars". EurekAlert. 25 July 2018. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ Halton, Mary (25 July 2018). "Liquid water 'lake' revealed on Mars". BBC News. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ https://www.in.gr/2018/09/11/greece/mati-katelikse-26xroni-egkaymatias-stous-99-oi-nekroi/
- ↑ Johnston, Chris (2 August 2018). "Apple is first public company worth $1 trillion". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
- ↑ "Iran sanctions: Trump warns trading partners". BBC News. 7 August 2018. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
- ↑ "Is the Caspian a sea or a lake?". The Economist. 2018-08-16. สืบค้นเมื่อ 2018-08-20.
- ↑ Chang, Kenneth (12 August 2018). "Parker Solar Probe Launches on NASA Voyage to 'Touch the Sun'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 August 2018.
- ↑ Chang, Kenneth (10 August 2018). "NASA's Parker Solar Probe Is Named for Him. 60 Years Ago, No One Believed His Ideas About the Sun - Eugene N. Parker predicted the existence of solar wind in 1958. The NASA spacecraft is the first named for a living person". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 August 2018.
- ↑ Fox, N. J.; Velli, M. C.; Bale, S. D.; Decker, R.; Driesman, A.; Howard, R. A.; Kasper, J. C.; Kinnison, J.; Kusterer, M.; Lario, D.; Lockwood, M. K.; McComas, D. J.; Raouafi, N. E.; Szabo, A. (2015-11-11). "The Solar Probe Plus Mission: Humanity's First Visit to Our Star". Space Science Reviews (ภาษาอังกฤษ). 204 (1–4): 7–48. doi:10.1007/s11214-015-0211-6. ISSN 0038-6308.
- ↑ "Italy bridge: 38 dead as rescuers search for survivors". Al Jazeera. 15 August 2018. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
- ↑ Giuffrida, Angela (15 August 2018). "Italy bridge collapse: 35 dead as minister calls for resignations". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 August 2018.
- ↑ Michael Safi. "Campaigners celebrate as India decriminalises homosexuality". The Guardian. 6 September 2018. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2561.
- ↑ "Death toll reaches 100 in Tanzania ferry disaster, hundreds feared missing". Reuters. 20 September 2018. สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.
- ↑ "Iran's Rouhani fumes at US after Ahvaz parade attack". BBC News. 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 23 September 2018.
- ↑ "Indonesia earthquake: Hundreds dead in Palu quake and tsunami". BBC News. 29 September 2018. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.
- ↑ "Climate report: Scientists urge deep rapid change to limit warming". BBC News. 8 October 2018. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
- ↑ https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_1712908
- ↑ "Michael D Higgins has been re-elected as President of Ireland with 55.8% of the vote." The Journal.ie. 27 October 2018. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2561.
- ↑ "Jair Bolsonaro: Far-right candidate wins Brazil poll". BBC News. 28 October 2018. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
- ↑ "Jair Bolsonaro declared Brazil's next president". The Guardian. 28 October 2018. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
- ↑ "Lion Air crash: Boeing 737 plane crashes in sea off Jakarta". BBC News. 29 October 2018. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
- ↑ RIP, Kepler: NASA's Revolutionary Planet-Hunting Telescope Runs Out of Fuel
- ↑ NASA's Dawn Mission to Asteroid Belt Comes to End
- ↑ Gabbatt, Adam (2018-11-26). "InSight lander: Nasa probe touches down on Mars – live updates". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ Chang, Kenneth (3 December 2018). "NASA's Osiris-Rex Arrives at Asteroid Bennu After a Two-Year Journey - The spacecraft now begins a close study of the primitive space rock, seeking clues to the early solar system". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.
- ↑ More than half of global population now online: UN
- ↑ "The Nobel Prize in Chemistry 2018". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 3, 2018.
- ↑ "The Nobel Prize in Literature 2018". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 10, 2019.
- ↑ "The Nobel Prize in Peace 2018". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 5, 2018.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 2018". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 2, 2018.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2018". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 1, 2018.
- ↑ "The Prize in Economic Sciences 2018". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 8, 2018.