รายงานพิเศษว่าด้วยภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ.

รายงานพิเศษว่าด้วยภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ. (SR15)[a] จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561[1] รายงานดังกล่าวมีแหล่งอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์กว่า 6,000 แหล่ง และมีผู้ประพันธ์ 91 คนจาก 40 ประเทศเป็นผู้จัดเตรียม[2] และได้รับการอนุมัติในอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ในเดือนธันวาคม 2558 การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2558 เรียกร้องให้มีรายงานดังกล่าว[2]

มีรายงานว่าข้อค้นพบกว้าง ๆ ของรายงานฯ มีว่า การบรรลุเป้าหมาย 1.5 °ซ. เป็นไปได้ แต่ต้องการ "การลดการปล่อยอย่างมาก" "รวดเร็ว" "การเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางและไม่เคยปรากฏมาก่อนในทุกภาคส่วนของสังคม และว่า "การจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 °ซ. เมื่อเทียบกับ 2 °ซ. แล้วจะลดผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศ สุขภาพและสุขภาวะของมนุษย์ได้" การเพิ่มอุณหภูมิจะยิ่งเร่งให้เกิดลมฟ้าอากาศสุดขั้ว ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและน้ำแข็งทะเลอาร์กติกที่ลดพื้นที่ลง การฟอกสีของปะการัง การสูญเสียระบบนิเวศ เป็นต้น[2] SR15 ยังมีแบบจำลองซึ่งแสดงว่า "การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากมนุษย์สุทธิทั่วโลกจำเป็นต้องลดลงประมาณร้อยละ 45 จากระดับในปี 2553 ภายในปี 2573 และเหลือ "ศูนย์สุทธิ" ประมาณปี 2593"[2] การลดการปล่อยภายในปี 2573 และการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการลดคาร์บอนอย่างรวดเร็ว เป็นความสนใจสำคัญของเนื้อหารายงานส่วนใหญ่ซึ่งมีการกล่าวซ้ำทั่วโลก[3][4][5][6][7][8]

คำแถลงหลัก แก้

ภาวะโลกร้อนน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 °ซ. เหนือระดับก่อนอุตสาหกรรมระหว่างปี 2573 ถึง 2595 หากอุณหภูมิยังเพิ่มขึ้นในระดับปัจจุบัน[9][10] SR15 ให้บทสรุปเรื่องการวิจัยที่มีอยู่ว่าด้วยผลกระทบของการเพิ่มอุณหภูมิ 1.5 °ซ. ที่จะมีผลต่อโลกด้านหนึ่ง กับขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนอีกด้านหนึ่ง[11]

แม้เมื่อสันนิษฐานว่าทุกประเทศนำการอุดหนุนที่กำหนดของชาติ (Nationally Determined Contributions) ที่แต่ละประเทศเสนอในความตกลงปารีสทั้งที่มีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไขโดยสมบูรณ์แล้ว การปล่อยสุทธิจะยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2553 นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิประมาณ 3 °ซ. ภายในปี 2643 และเพิ่มขึ้นอีกหลังจากนั้น[12][13] ในทางตรงกันข้าม การจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับ 1.5 °ซ. จะต้องลดการปล่อยสุทธิลงประมาณ 45% ภายในปี 2573 และเหลือศูนย์สุทธิภายในปี 2593 (คือ ธำรงให้การปล่อยสะสมอยู่ในงบประมาณคาร์บอน) แม้แต่การจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ต่ำกว่า 2 °ซ. การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ควรลดลง 25% ภายในปี 2573 และ 100% ภายในปี 2618[14]

วิถี (คือ แผนการและยอดรวมของตัวเลือกการบรรเทา) ซึ่งจะทำให้เกิดการลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้ได้ตามนั้นภายในปี 2593 ไฟฟ้าทั่วโลกจะต้องผลิตจากแก๊สเพียงประมาณ 8% เท่านั้น และผลิตจากถ่านหินเพียง 0-2% (คิดส่วนต่างกับการดักจับและจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์) ในวิถีเหล่านี้ พยากรณ์ว่าพลังงานหมุนเวียนจะคิดเป็น 70–85% ของไฟฟ้าภายในปี 2593 และมีแบบจำลองว่าสัดส่วนพลังงานนิวเคลียร์จะเพิ่มขึ้น[15] นอกจากนี้ ยังสันนิษฐานว่าจะมีการดำเนินมาตรการอื่นไปพร้อมกันด้วย เช่น การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกอื่นที่มิใช่คาร์บอนไดออกไซด์ (เช่น มีเทน คาร์บอนดำ ไนตรัสออกไซด์) จะลดลงในทำนองเดียวกัน[16] อุปทานพลังงานไม่เปลี่ยนแปลง โดยลดลง 30% หรือคิดส่วนต่างกับขนาดวิธีการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อย่าที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนซึ่งยังไม่มีผู้ใดพัฒนา ขณะที่มีนโยบายและการวิจัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม[17][18]

ผลกระทบของการร้อนขึ้น 1.5 °ซ. หรือ 2 °ซ. แก้

ตามข้อมูลของรายงานฯ เมื่อโลกร้อนขึ้น 1.5 °ซ. จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อ "สุขภาพ การครองชีพ ความมั่นคงทางอาหาร อุปสงค์น้ำ ความมั่นคงของมนุษย์และการเติบโตทางเศรษฐกิจ"[9] เวกเตอร์ผลกระทบมีการลดผลผลิตธัญพืช และคุณภาพโชนาการ ปศุสัตว์ก็ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นผ่าน "การเปลี่ยนแปลงอาหารสัตว์ การระบาดของโลกและการมีทรัพยากรน้ำ" ทำนายว่าความเสี่ยงจากโรคที่มีตัวนำโรคบางชนิด เช่น มาลาเรียหรือไข้เด็งกี จะเพิ่มขึ้น[19]

"การจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 °ซ. เมื่อเทียบกับ 2 °ซ. สามารถลดจำนวนผู้ที่สัมผัสความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศและอ่อนไหวต่อความยากจนถึงหลักหลายล้านคนภายในปี 2593"[20] ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศซึ่งสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตำแหน่งทางภูมิศาสตร์นั้น "ระดับของการพัฒนาและความอ่อนไหว" และความเร็วและขอบเขตของการปฏิบัติเพื่อบรรเทาภูมิอากาศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[9] ตัวอย่างเช่น "ปรากฏการณ์เกาะความร้อนยิ่งเพิ่มผลกระทบของคลื่นความร้อนในนคร" โดยทั่วไป "พยากรณ์ว่าประเทศในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในซีกโลกใต้จะได้รับผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด"[21]

ลมฟ้าอากาศ ระดับน้ำทะเล น้ำแข็ง แก้

หลายภูมิภาคและฤดูกาลมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยประจำปีของโลก เช่น "สูงกว่า[ค่าเฉลี่ย] 2–3 เท่าในเขตอาร์กติก การเพิ่มอุณหภูมิโดยทั่วไปสูงกว่าเหนือแผ่นดินมากกว่าเหนือมหาสมุทร"[22] และมีสหสัมพันธ์กับอุณหภูมิสุดขั้ว (ซึ่งมีพยากรณ์ว่าจะอุ่นขึ้นอีกสองเท่าบนแผ่นดินและอุณหภูมิผิวเฉลี่ยทั่วโลก) ตลอดจนหยาดน้ำฟ้าสุดขั้ว (ทั้งฝนตกหนักและภัยแล้ง)[23] ระดับความเสี่ยงที่ประเมินนี้โดยทั่วไปเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรายงาน IPCC ฉบับก่อนหน้า[24]

"มีพยากรณ์ว่าระดับน้ำทะเลปานกลางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.26 ถึง 0.77 ม. (เมื่อเทียบกับปี 2529–2548) ภายในปี 2643 สำหรับภาวะโลกร้อน "1.5 °ซ. และอีกประมาณ 0.1 เมตรสำหรับ 2 °ซ. ความแตกต่าง 0.1 ม. อาจส่งผลให้มีประชาชนอีก 10 ล้านคนได้รับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง[25] "การเพิ่มระดับน้ำทะเลจะยังดำเนินต่อพ้นปี 2643 แม้จำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 °ซ." ภาวะโลกร้อนระหว่าง 1.5 °ซ. ถึง 2 °ซ. อาจก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพที่ย้อนกลับไม่ได้ในแอนตาร์กติกา และพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มระดับน้ำทะเลหลายเมตร"[26] มีพยากรณ์ว่าฤดูร้อนที่ปลอดน้ำแข็งในอาร์กติกเกิดขึ้นหนึ่งครั้งต่อศตวรรษสำหรับ 1.5 °ซ. และหนึ่งครั้งต่อทศวรรษสำหรับ 2 °ซ.[27] การจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 °ซ. แทน 2 °ซ. มีพยากรณ์ว่าจะป้องกันการละลายของพื้นที่ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวอายุหลายศตวรรษในพิสัย 1.5 ถึง 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร"[28]

ระบบนิเวศ แก้

แบบจำลองการประมงโลกหนึ่งที่อ้างอิงในรายงานฯ พยากรณ์ว่า การประมงทะเลต่อปีทั่วโลกจะลดลงประมาณ 1.5 หรือ 3 ล้านตันสำหรับภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ. หรือ 2 °ซ. มีพยากรณ์ว่าแนวปะการังจะลดลงอีก 70–90% ที่ 1.5 °ซ. และมากกว่า 99% ที่ 2 °ซ. "จากชนิดที่ศึกษา 105,000 ชนิด มีพยากรณ์ว่าแมลง 18%, พืช 16% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 8% จะเสียขอบเขตภูมิศาสตร์ที่กำหนดด้วยภูมิอากาศของพวกมันเกินครึ่งสำหรับภาวะโลกร้อน 2 °ซ."[29]

มีพยากรณ์ว่าพื้นที่บนดินทั่วโลกประมาณ 4% หรือ 13% จะมีการเปลี่ยนสภาพระบบนิเวศจากชนิดหนึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่งที่ 1 °ซ. หรือ 2 °ซ. ตามลำดับ "ทันดราละติจูดสูงและป่าเขตหนาวมีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการเสื่อมสภาพและการสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยมีพุ่มไม้รุกล้ำเข้าไปในทันดราและจะยิ่งดำเนินไปเมื่ออากาศอุ่นขึ้นอีก"[30]

การจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิ แก้

กิจกรรมของมนุษย์ (การปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากฝีมือมนุษย์) ทำให้อุณหภูมิอุ่นขึ้นแล้ว 0.8–1.2 °ซ.[9] กระนั้น แก๊สที่มีการปล่อยจนถึงปัจจุบันไม่น่าทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 1.5 °ซ. ด้วยสาเหตุเดียว หมายความว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกถึง 1.5 °ซ. เหนือระดับก่อนอุตสาหกรรมเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสันนิษฐานว่าสามารถบรรลุการปล่อยศูนย์สุทธิได้โดยเร็ว[31][32]

งบประมาณคาร์บอน แก้

การจำกัดภาวะโลกร้อนที่ 1.5 °ซ. กำหนดให้อยู่ภายในงบประมาณคาร์บอนรวม คือ จำกัดการปล่อย CO2 สะสมรวม[33] กล่าวได้อีกอย่งหนึ่งว่า หากการปล่อย CO2 ด้วยฝีมือมนุษย์สุทธิยังสูงกว่าศูนย์ (คือเกินงบประมาณคาร์บอน) สุดท้ายจะเกิดภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ. หรือสูงกว่านั้น

ค่าของงบประมาณ CO2 ฝีมือมนุษย์สุทธิรวมตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรมไม่มีการประเมินในรายงาน[34] มีการมอบ 400–800 GtCO2 (กิกะตัน) สำหรับงบประมาณที่เหลือ (580 GtGtCO2 และ 420 GtGtCO2 สำหรับความน่าจะเป็น 66% และ 50% ของการจำกัดการอุ่นขึ้นไว้ที่ 1.5 °ซ. โดยใช้อุณหภูมิอากาศผิวมัชฌิมของโลก (GSAT) หรือ 770 และ 570 GtGtCO2 สำหรับความน่าจเป็น 50% และ 66% โดยใช้อุณหภูมิผิวมิชฌิมของโลก (GMST) ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับรายงานฉบับก่อนของ IPCC 300 GtGtCO2 เนื่องจากมีความเข้าใจมากขึ้นและความก้าวหน้าในวิธีการคำนวณ

การปล่อยประมาณเวลาของรายงานกำลังลดงบประมาณนี้ 42±3 GtCO2 ต่อปี การปล่อยฝีมือมนุษย์ตั้งแต่ระยะก่อนอุตสาหกรรมจนถึงปลายปี 2560 ประมาณว่าลดงบประมาณสำหรับ 1.5 °ซ. ประมาณ 2200±320 GtCO2[33]

การประมาณงบประมาณมีความไม่แน่นอนอย่างสำคัญ โดยสัมพันธ์กับการตอบสนองของภูมิอากาศต่อการปล่อย CO2 และมิใช่ CO2 (คิดเป็น ±400 GtCO2 ในความไม่แน่นอน) ระดับการอุ่นขึ้นเป็นประวัติการณ์ (±250 GtCO2) การปล่อยคาร์บอนเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นจากการละเลยของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวในอนาคต และการปล่อยมีเทนจากพื้นที่ชุมน้ำ (ลดงบประมาณได้มากถึง 100 GtCO2 ในช่วงเวลาหนึ่งศตวรรษ) และระดับการบรรเทาที่มิใช่ CO2 ในอนาคต (±400 GtCO2)[33]

การลดการปล่อยที่จำเป็น แก้

เป้าหมายการบรรเทาที่แต่ละชาติแถลงปัจจุบันที่เสนอภายใต้ความตกลงปารีส จะทำให้เกิดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกทั่วโลก 52–58 GtCO2eq ต่อปีภายในปี 2573[12] "วิถีที่สะท้อนเป้าหมายเหล่านี้จะไม่จำกัดภาวะโลกร้อนที่ 1.5 °ซ. ได้ แม้มีการเพิ่มขอบเขตและเป้าหมายการลดการปล่อยสูงขึ้นมากหลังจากปี 2573" แต่จะ "สมนัยอย่างกว้าง ๆ" กับภาวะโลกร้อนประมาณ 3 °ซ. ภายในปี 2643 และสูงขึ้นอีกหลังจากนั้น

การจำกัดภาวะโลกร้อนที่ 1.5 °ซ. โดยไม่มีหรือพลาดเป้าหมายเพียงเล็กน้อยจะต้องลดการปล่อยให้ต่ำกว่า 35 GtCO2eq ต่อปีในปี 2573 ไม่ว่าเลือกวิถีแบบจำลองใด ส่วนใหญ่ตกอยู่ในช่วง 25–30 GtCO2eq ต่อปี ซึ่งเป็นการลดจากระดับปี 2553 ถึง 40–50%[35]

รายงานระบุว่าการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 1.5 °ซ. "การปล่อย CO2 ที่เกิดจากมนุษย์สุทธิทั่วโลกตกลดลงประมาณ 45% จากระดับปี 2553 ภายในปี 2573 และเหลือศูนย์สถทธิประมาณปี 2593" แม้กระทั่งการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 °ซ. การปล่อย CO2 ควรลดลง 25% ภายในปี 2573 และลดลง 100% ภายในปี 2613[14]

การปล่อยที่มิใช่ CO2 ควรลดลงในทำนองเดียวกัน[17] ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยมีเทนและคาร์บอนดำอย่างมาก คือ อย่างน้อย 35% ทั้งสองอย่างภายในปี 2593 เมื่อเทียบกับปี 2553 เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้ใกล้เคียงกับ 1.5 °ซ. มาตรการดังกล่าวสามารถดำเนินการในภาคพลังงานและโดยการลดไนตรัสออกไซด์และมีเทนจากเกษตรกรรม มีเทนจากภาคขยะ และจากคาร์บอนดำและไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนแหล่งอื่น[16]

ในมาตราเวลายาวกว่าหลักหลายสิบปี ยังอาจมีความจำเป็นต้องคงการปล่อย CO2 ศูนย์สุทธิและ/หรือลดการแผ่รังสีที่มิใช่ CO2 เพิ่มเติม เพื่อป้องกันมิให้อุ่นขึ้นอีก (เนื่องจากผลป้อนกลับของระบบโลก) ย้อนการกลายเป็นกรดของมหาสมุทรและจำกัดการเพิ่มของระดับน้ำทะเลให้น้อยที่สุด[36]

วิถีสู่ 1.5 °ซ. แก้

มีการพิจารณาวิถีต่าง ๆ ซึ่งอธิบายแผนการสำหรับบรรเทาภาวะโลกร้อน ซึ่งรวมทั้งยอดรวมสำหรับอุปสงค์พลังงานและเทคโนโลยีการปล่อยเป็นลบ (อย่างการปลูกป่าหรือการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์)

ตัวอย่างของการกระทำที่ต้องกับวิถี 1.5 °ซ. รวมทั้ง "การเปลี่ยนสู่การผลิตพลังงานที่ปล่อย[แก๊สเรือนกระจก]ต่ำหรือเป็นศูนย์ เช่น พลังงานหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร เช่น การเปลี่ยนอาหารจากผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ต้องใช้ที่ดินเข้มข้น การทำให้การขนส่งเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้า และการพัฒนา 'โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว' เช่น สร้างหลังคาสีเขียว หรือการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานโดยการวางผังเมืองอย่างฉลาด ซึ่งจะเปลี่ยนผังของนครจำนวนมาก"[37] อีกตัวอย่างหนึ่ง จะต้องการเพิ่มพื้นที่ป่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตรภายในปี 2593 เมื่อเทียบกับปี 2553 ด้วย[38]

วิถียังสันนิษฐานว่ามีการเพิ่มการลงทุนต่อปีในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำและประสิทธิภาพพลังงานประมาณ 4 ถึง 10 เท่าภายในปี 2593 เมื่อเทียบกับปี 2558[39]

วิถีแบบจำลองที่ไม่มีหรือพลาดเป้าหมาย 1.5 °ซ เพียงเล็กน้อย[40]
P1 P2 P3 P4
แผนการที่มีอุปทานพลังงานต่ำ (LED) S1, โดยยึด SSP1 S2, โดยยึด SSP2 S5, โดยยึด SSP5
Grubler et al., 2018[41] Shared Socio-Economic Pathway 1 (SSP1: Sustainable development)[42] Shared Socio-Economic Pathway 2 (SSP2: Middle of the road)[42] Shared Socio-Economic Pathway 5 (SSP5: Fossil-fuelled development)[42]

เทคโนโลยีการปล่อยเป็นลบและวิศวกรรมดาวเคราะห์ แก้

วิถีการปล่อยที่บรรลุ 1.5 °ซ. ซึ่งบรรจุอยู่ในรายงานสันนิษฐานการใช้เทคโนโลยีการปล่อยเป็นลบเพื่อหักกลบการปล่อยที่เหลือ[43] สำหรับวิถีที่พลาดเป้าหมายต้องมีการอาศัยเทคโนโลยีดังกล่าวให้สูงกว่าการปล่อยที่เหลือเพื่อให้กลับสู่เป้าหมาย 1.5 °ซ.[44] อย่างไรก็ดี ยังมีความเข้าใจประสิทธิภาพของการปล่อยเป็นลบสุทธิเพื่อลดอถณหภูมิหลังพลาดเป้าหมายจำกัด การย้อนกลับการพลาดเป้าหมาย 0.2 °ซ. อาจไม่สามารถบรรลุได้เมื่อพิจารณาความท้าทายที่เกิดจากการนำไปปฏิบัติพอสมควร[45]

มีประเภทวิศวกรรมดาวเคราะห์ (geoengineering) สองกลุ่มหลักในรายงาน การกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide removal หรือ CDR) และการจัดการการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ (solar radiation management หรือ SRM) สำหรับ CDR รายงานเน้นพลังงานชีวภาพซึ่งมีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (BECCS) รายงานยังหมายเหตุว่านอกจากการปลูกป่าและการฟื้นฟูระบบนิเวศแล้ว "โอกาสการติดตั้งเทคโนโลยี CDR หลายอย่างขนานใหญ่ยังเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ" โดยมีพื้นที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการปรับเทคโนโลยีขึ้น การปกครอง ปัญหาจริยธรรม นโยบายและวัฏจักรคาร์บอน[46][47] รายงานหมายเหตุว่าเทคโนโลยี CDR ยังมีอายุน้อยและความเป็นไปได้ยังเป็นคำถามอยู่ มีการอ้างอิงการประมาณจากวรรณกรรมล่าสุด โดยให้ศักยภาพมากถึง 5 GtCO2 ต่อปีสำหรับ BECCS และมากถึง 3.6 GtCO2 ต่อปีสำหรับการทำให้เป็นป่า[48] การวิเคราะห์ข้อเสนอวิศวกรรมดาวเคราะห์ซึ่งจัดพิมพ์ในเนเจอร์คอมมิวนิเคชันส์ ยืนยันข้อค้นพบของ SR15 โดยระบุว่า "ทั้งหมดอยู่ในการพัฒนาระยะแรก ๆ ซึ่งมีความไม่แน่นอนและความเสี่ยงอยู่มาก และก่อให้เกิดภาวะยุ่งยากใจทางจริยธรรมและการปกครอง" ในความรู้ปัจจุบัน เทคนิควิศวกรรมดาวเคราะห์ด้านภูมิอากาศไม่สามารถพึ่งพาได้เพื่อให้มีส่วนอย่างสำคัญในการบรลุเป้าหมายอุณหภูมิตามความตกลงปารีส"[49]

สำหรับ SRM รายงานเน้นการฉีดสารแขวนลอยในชั้นสตราโทสเฟียร์ (stratospheric aerosol injection) เนื่องจากมีวรรณกรรมแพร่หลายที่สุด อย่าไรก็ดี มันยังเป็นเทคโนโลยีขั้นทดลอง[50] SRM ยัง "เผชิญกับความไม่แน่นอนและช่องว่างความรู้อย่างกว้างขวาง ตลอดจนความเสี่ยง [...] และข้อจำกัดอย่างสำคัญ"[51] ผลกระทบของ SRM (ทั้งกายภาพและสังคม) ราคา ความเป็นไปได้ทางเทคนิค การปกครองและปัญหาจริยธรรมที่สัมพันธ์กันจะต้องมีการพิจารณาอย่างระวัง[47]

เชิงอรรถ แก้

  1. รายงานมีชื่อเรื่องอย่างเป็นทางการเต็มว่า "ภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ.: รายงานพิเศษของ IPCC ว่าด้วยผลกระทบของภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ. สูงกว่าระดับก่อนอุตสาหกรรรมและวิถีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกทั่วโลกที่เกี่ยวข้อง ในบริบทการเสริมกำลังการตอบสนองระดับโลกต่อภัยคุกคามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความพยายามเพื่อกำจัดความยากจน" (Global warming of 1.5 °C: an IPCC special report on the impacts of global warming of 1.5 °C above pre-industrial levels and related global greenhouse gas emission pathways, in the context of strengthening the global response to the threat of climate change, sustainable development, and efforts to eradicate poverty)

อ้างอิง แก้

  1. Special Report on Global Warming of 1.5ºC (Report). Incheon, South Korea: Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 7 October 2018. สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Press release: Special Report on Global Warming of 1.5ºC (PDF) (Report). Incheon, Republic of Korea: Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 7 October 2018. สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.
  3. AfricaNews. ""12 years left to limit climate change catastrophe"- UN [The Morning Call] | Africanews". Africanews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  4. Watts, Jonathan (2018-10-08). "We have 12 years to limit climate change catastrophe, warns UN". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  5. CNN, Brandon Miller and Jay Croft,. "Planet has only until 2030 to stem catastrophic climate change, experts warn". CNN. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.{{cite news}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  6. "Terrifying climate change warning: 12 years until we're doomed". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-08. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  7. "Here's What Humanity Must Do Immediately to Prevent Catastrophic Climate Change". Time (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
  8. Bump, Philip (10 October 2018). "Trump's abdication on the new climate change report is very on-brand". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 SR15 Headline statements
  10. SR15 Summary for policymakers, A.1.
  11. McKenna, Phil (7 October 2018). "Not Just CO2: These Climate Pollutants Also Must Be Cut to Keep Global Warming to 1.5 Degrees". InsideClimate News. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018. A landmark report from the UN's Intergovernmental Panel on Climate Change warns policymakers of the risks ahead and the changes needed to stop global warming.
  12. 12.0 12.1 SR15 Summary for policymakers, D.1.
  13. SR15 Report, ch. 4, Cross-Chapter Box 11, section 3.
  14. 14.0 14.1 SR15 Summary for policymakers, C.1.
  15. SR15 Summary for policymakers, C.2.2.
  16. 16.0 16.1 SR15 Summary for policymakers, C.1.2.
  17. 17.0 17.1 SR15 Summary for policymakers, p. 15.
  18. "Farming in a New Climate Reality with Mark Howden of the IPCC". Young Farmers Podcast, National Young Farmers Coalition. December 6, 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-05-18.
  19. SR15 Summary for policymakers, B.5.2, B.5.3.
  20. SR15 Summary for policymakers, B.5.1.
  21. SR15 Summary for policymakers, B.5.2, B.5.5.
  22. SR15 Summary for policymakers, A.1.2.
  23. SR15 Summary for policymakers, p. 6–9.
  24. SR15 Summary for policymakers, B.5.7.
  25. SR15 Summary for policymakers, B.2.1.
  26. SR15 Summary for policymakers, B.2.2.
  27. SR15 Summary for policymakers, B.4.1.
  28. SR15 Summary for policymakers, B.3.3.
  29. SR15 Summary for policymakers, B.3.1.
  30. SR15 Summary for policymakers, B.3.2, B.3.3.
  31. SR15 Summary for policymakers, A.2.1.
  32. SR15 Report, ch. 1, p. 4.
  33. 33.0 33.1 33.2 SR15 Summary for policymakers, C.1.3.
  34. SR15 Summary for policymakers, p. 14, footnote 13.
  35. SR15 Summary for policymakers, D.1.1.
  36. SR15 Summary for policymakers, A.2.2.
  37. SR15 FAQ.
  38. SR15 Summary for policymakers, C.2.5.
  39. SR15 Summary for policymakers, C.2.6.
  40. IPCC (2018-10-08). SPM Figure 3b, Summary for Policymakers—Global warming of 1.5°C. An IPCC Special Report on the impacts of global warming of 1.5°C above pre-industrial levels and related global greenhouse gas emission pathways, in the context of strengthening the global response to the threat of climate change, sustainable development, and efforts to eradicate poverty (PDF). Geneva, Switzerland: World Meteorological Organization. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-29. สืบค้นเมื่อ 2019-09-28.
  41. Grubler, Arnulf; Wilson, Charlie; Bento, Nuno; Boza-Kiss, Benigna; Krey, Volker; McCollum, David L.; Raor, Narasimha D.; Riahi, Keywan; Rogelj, Joeri (2018-06-04). "A low energy demand scenario for meeting the 1.5 °C target and sustainable development goals without negative emission technologies". Nature Energy (ภาษาอังกฤษ). 3 (6): 515–527. doi:10.1038/s41560-018-0172-6. ISSN 2058-7546.
  42. 42.0 42.1 42.2 SR15 Report, ch. 2.3.1, Pp. 109–121.
  43. SR15 Summary for policymakers, C.3.
  44. SR15 Summary for policymakers, C.3.3.
  45. SR15 Summary for policymakers, D.1.2.
  46. SR15 Report, ch. 1.
  47. 47.0 47.1 SR15 Report, ch. 4.
  48. SR15 Summary for policymakers, C.3.2.
  49. Lawrence, Mark G.; Schäfer, Stefan; Muri, Helene; Scott, Vivian; Oschlies, Andreas; Vaughan, Naomi E.; Boucher, Olivier; Schmidt, Hauke; Haywood, Jim (2018-09-13). "Evaluating climate geoengineering proposals in the context of the Paris Agreement temperature goals". Nature Communications (ภาษาอังกฤษ). 9 (1): 3734. Bibcode:2018NatCo...9.3734L. doi:10.1038/s41467-018-05938-3. ISSN 2041-1723. PMC 6137062. PMID 30213930.
  50. Watts, Jonathan (2018-10-08). "Geoengineering may be used to combat global warming, experts say". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-26.
  51. SR15 Summary for policymakers, C.1.4.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

รายงาน SR15 แก้

IPCC, 2018: Global Warming of 1.5°C. An IPCC Special Report on the impacts of global warming of 1.5°C above pre-industrial levels and related global greenhouse gas emission pathways, in the context of strengthening the global response to the threat of climate change, sustainable development, and efforts to eradicate poverty [V. Masson-Delmotte, P. Zhai, H. O. Pörtner, D. Roberts, J. Skea, P.R. Shukla, A. Pirani, W. Moufouma-Okia, C. Péan, R. Pidcock, S. Connors, J. B. R. Matthews, Y. Chen, X. Zhou, M. I. Gomis, E. Lonnoy, T. Maycock, M. Tignor, T. Waterfield (eds.)].