ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง

ความร่วมมือในปฏิบัติการกู้ชีพของนานาชาติ ในการช่วยเหลือกลุ่มของเด็ก 12 ชีวิต และ ผู้ใหญ่ 1

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง เป็นปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัย 13 ชีวิต ที่ติดภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย[15] ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2561 ประกอบด้วยสมาชิกทีมฟุตบอลเยาวชนในท้องถิ่น 12 คน และผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน ที่เข้าไปสำรวจและหายตัวไป[16][17] ทั้งหมดได้เข้าไปในถ้ำหลวงและไม่สามารถกลับออกมาได้เนื่องจาก หลังจากทั้ง 13 คนเข้าไปในถ้ำหลวงในขณะนั้นมีฝนตกหนัก และทำให้น้ำฝนไหลเอ่อเข้าท่วมถ้ำตามเส้นทางน้ำภายในถ้ำ จากทั้งดอยผาหมี จากปากทางเข้าถ้ำ รวมไปถึงรอยแยกบนเขาและสันเขาจนท่วมเอ่อบริเวณที่เป็นเหวหรือจุดต่ำสุดของถ้ำที่ทั้ง 13 คนต้องเดินทางผ่าน และน้ำได้ท่วมปิดทางออก จึงทำให้ทั้ง 13 คนออกมาไม่ได้ โดยเริ่มปฏิบัติการค้นหาโดยทันทีตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561[18] เป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัย การดำน้ำ การขุดเจาะ นักภูมิศาสตร์ นักปีนเขา ตำรวจ ทหาร เอกชนจากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ[19] ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นวงกว้าง[20][21][22]

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง
หน่วยกู้ภัยได้นำอุปกรณ์ช่วยชีวิตเข้ามาที่ปากถ้ำ
วันที่
ตั้งแต่23 มิถุนายน พ.ศ. 2561[1]
ถึง2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 21:38 น.[2]
พบตัว
10 กรกฎาคม 2561[3]
ผู้ประสบภัยรายสุดท้ายออกจากถ้ำ
รวมระยะเวลา9 วัน 5 ชั่วโมง 41 นาที 15 วินาที[4]
นับตั้งแต่เวลา 17:00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ถึงเวลาที่ผบ.ศอร.แถลงข่าวการค้นพบ
17 วัน 4 ชั่วโมง 29 นาที 5 วินาที[5]
นับตั้งแต่เวลา 17:00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ถึงเวลาที่ผบ.ศอร.แถลงข่าวการนำผู้ประสบภัยออกจากถ้ำ
ที่ตั้งถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน[6][7]
พิกัด20°22′54″N 99°52′06″E / 20.38167°N 99.86833°E / 20.38167; 99.86833
ประเภทการกู้ภัยถ้ำ
สาเหตุน้ำท่วมขังภายในถ้ำหลวง[8][9]
เสียชีวิต2 ราย
น.ต. สมาน กุนัน อดีตหน่วยซีล[10]
ร.ท. เบรุต ปากบารา จากหน่วยซีล[11]
บาดเจ็บไม่ถึงตายแผลถลอกเล็กน้อย ผื่นคันเล็กน้อย[12][13] ปอดบวมน้ำ[14]

ปฏิบัติการนี้มีผู้เข้าร่วมในการช่วยชีวิตกว่า 10,000 คน ซึ่งรวมถึงนักดำน้ำกว่า 100 คน, นักกู้ภัยจำนวนมาก, ตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐประมาณ 100 แห่ง, เจ้าหน้าที่ตำรวจ 900 คน และทหาร 2,000 คน รวมทั้งจำเป็นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ตำรวจสิบลำ, รถพยาบาลตำรวจเจ็ดคัน, ถังดำน้ำมากกว่า 700 ถัง และสูบน้ำมากกว่าหนึ่งพันล้านลิตรออกจากถ้ำ

กระทั่งเวลาประมาณ 22.33 น. ของวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่า พบผู้ประสบเหตุแล้วทั้ง 13 ชีวิต อยู่บริเวณที่เรียกว่า "เนินนมสาว" ซึ่งอยู่เลยพัทยาบีชไปอีกประมาณ 300-400 เมตร ซึ่งในตอนแรกกู้ภัยคาดว่าทั้ง 13 คนจะอยู่บริเวณนั้น รวมเวลาการปฏิบัติภารกิจจนพบตัวเป็นเวลา 9 วัน 5 ชั่วโมง 41 นาที ซึ่งพบว่าทั้ง 13 ชีวิตปลอดภัย[23] และระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 กรกฎาคม 2561 ได้เริ่มมีการลำเลียงผู้ติดถ้ำออกมาจนครบหมดทุกคนได้สำเร็จ รวมระยะเวลาปฏิบัติภารกิจทั้งสิ้น 17 วัน 4 ชั่วโมง 29 นาที[24]

สูญหาย

แก้

เวลา 10.00 น. เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และนักฟุตบอลเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย เดินทางมาฝึกซ้อมฟุตบอลที่สนามบ้านจ้อง ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังจากฝึกซ้อมฟุตบอลเสร็จทั้งผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อายุ 26 ปี 1 คน และนักฟุตบอลเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย อายุระหว่าง 11–16 ปี 12 คนได้ชักชวนกันขี่จักรยานเดินทางไปสำรวจบริเวณถ้ำหลวง ภายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน และขาดการติดต่อเป็นเวลานานจนผู้ปกครองแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ[25] จึงประสานกู้ภัยและนักดำน้ำดำเนินการค้นหา[26] และในเหตุการณ์นี้ยังมีนักฟุตบอลเยาวชนในทีมอีก 3 คน ที่ถูกชักชวนให้ไปสำรวจถ้ำด้วยกัน แต่ปฏิเสธที่จะเดินทางไปด้วยเนื่องด้วยเหตุผลส่วนตัว จึงไม่ได้ประสบเหตุกับทีม[27]

ผู้สูญหายมีรายชื่อดังต่อไปนี้:[28][29]

ลำดับที่ ชื่อ ชื่อเล่น ระดับการศึกษาในขณะนั้น โรงเรียน อาชีพ
1 ด.ช.ประจักษ์ สุธรรม โน้ต มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ นักเรียน/นักกีฬา
2 ด.ช.ณัฐวุฒิ ทาคำทรง เติ้ล มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ นักเรียน/นักกีฬา
3 นายพิพัฒน์ โพธิ นิค มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันทราย นักเรียน/นักกีฬา
4 ด.ช.ภาณุมาศ แสงดี มิกซ์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ นักเรียน/นักกีฬา
5 ด.ช.ดวงเพชร พรหมเทพ ดอม มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ นักเรียน/นักกีฬา
6 ด.ช.ชนินท์ วิบูลย์รุ่งเรือง ไตตั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลแม่สาย นักเรียน/นักกีฬา
7 ด.ช.เอกรัฐ วงค์สุขจันทร์ บิว มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดรุณราษฎร์วิทยา นักเรียน/นักกีฬา
8 ด.ช.สมพงศ์ ใจวงศ์ พงศ์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ นักเรียน/นักกีฬา
9 นายพีรภัทร สมเพียงใจ ไนท์ มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ นักเรียน/นักกีฬา
10 นายพรชัย คำหลวง ตี๋ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านป่ายาง นักเรียน/นักกีฬา
11 ด.ช.มงคล บุญเปี่ยม มาร์ค​ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนป่าเหมือด นักเรียน/นักกีฬา
12 ด.ช.อดุลย์ สามอ่อน ดุล มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเวียงพาน นักเรียน/นักกีฬา
13 นายเอกพล จันทะวงษ์ เอก - - ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน

การปฏิบัติการค้นหา

แก้

การค้นหาช่วงแรก

แก้

เวลา 15.00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน 2561 เจ้าหน้าที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน สังเกตเห็นรถจักรยานจอดอยู่ 11 คัน จนเวลา 22.00 น. ในวันเดียวกันทีมกู้ภัยของมูลนิธิสยามรวมใจแม่สาย และศูนย์วิทยุ 191 สภ. แม่สาย ได้รับแจ้งเหตุว่ามีเด็กหายตัวเข้าไปในถ้ำหลวง จึงได้ประสานงานส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในพื้นที่ เข้าไปตรวจสอบเวลา ตี 1 ของวันที่ 24 มิถุนายน เป็นการค้นหาภายในถ้ำเป็นครั้งแรก ออกจากถ้ำเวลาตี 3 รายงานว่าพบรองเท้าแตะและข้าวของจำนวนหนึ่งวางทิ้งไว้บนพื้นถ้ำ และระดับน้ำภายในถ้ำที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ พอรุ่งเช้า 7.30 น. ของวันที่ 24 มิถุนายน เริ่มกลับไปค้นหาต่อ พบว่าระดับน้ำภายในถ้ำสูงขึ้นกว่าเดิม สภาพอากาศข้างในมีความชื้นและอากาศไม่ถ่ายเท ตอนบ่ายโมงได้พยายามสูบน้ำออก แต่ก็เลิกไปเพราะน้ำขุ่นและมีทรายไหล จนเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่ประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม ได้ส่งทีมประดาน้ำชุดแรกเข้าไป พบรอยนิ้วมือคนเกาะตามถ้ำ[30]

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน ตั้งแต่เที่ยงคืน เริ่มมีการค้นหาจากหลายหน่วยงานทั้งของทหารและตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) จนเวลา 2.30 น. หน่วยซีลซึ่งมีนาวาเอก อนันต์ สุราวรรณ เป็นหัวหน้างาน มาถึงบริเวณถ้ำหลวง เพื่อร่วมวางแผนค้นหา โดยแบ่งเป็น 4 ทีมเพื่อค้นหา จนเวลา 17.30 น. หน่วยซีล รายงานว่าพบรอยเท้าและสายผูกเปล จนเวลา 19.30 น. หน่วยซีลถอนกำลังออกจากถ้ำเนื่องจากปริมาณน้ำสูงขึ้นจนถึงระดับอันตราย

ตั้งแต่เช้าวันอังคารที่ 26 มิถุนายน เริ่มค้นหาอีกครั้ง โดยมีเครื่องสูบน้ำเข้ามา ขณะเดียวกันก็สำรวจภายนอกถ้ำ วันพุธที่ 27 มิถุนายน ฝนยังคงตกต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ที่ปักหลักอยู่ข้างในจึงต้องถอยมาอยู่ที่โถง 2 ยังมีการสำรวจโพรง 3 แห่ง แต่ไม่สามารถโรยตัวเข้าไปได้ จนเวลา 20.00 น. ทีมกู้ภัยจำนวน 3 คน จากองค์กร British Cave Rescue Council -BCRC มาถึงบริเวณถ้ำหลวง หลังจากนี้ยังคงสำรวจโพรงถ้ำและระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง มีการซ้อมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินในวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 1 กรกฎาคม มีคำสั่งให้ระดมถังออกซิเจนเข้าถ้ำ[31]

ค้นพบ

แก้
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
  คลิปวิดีโอการพบตัวเด็กและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนรวม 13 คน โดยนักดำน้ำจากประเทศอังกฤษ 2 คนที่เจอ จากเพจเฟซบุก "Thai NavySEAL"

2 กรกฎาคม 2561 เวลา 21.38 น. นักประดาน้ำชาวอังกฤษ 2 คนได้ค้นพบผู้รอดชีวิตทั้ง 13 คน เวลา 22:15 น. ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ เชียงราย ออกแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ พบ 13 ชีวิตทีมหมูป่าแล้ว[32] พบ 13 ชีวิตบริเวณบนเนินนมสาว เลยจากหาดพัทยาไป 400 เมตร โดยอยู่ห่างจากปากถ้ำ 4 กม. ผู้พบคือริชาร์ด สแตนตัน และจอห์น โวลันเธน ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นชุดปฏิบัติการแนวหน้าเพื่อวางเส้นนำทางในถ้ำสำหรับทีมซีล และทีมกู้ภัยนานาชาติคนอื่น ๆ แต่เมื่อโวลันเทนวางเส้นนำทางจนสุดปลายเชือกแล้ว จึงโผล่เหนือน้ำก็พบทั้ง 13 ชีวิตรอคอยอยู่บนเนินนมสาว[33]

วิดีโอการพบผู้รอดชีวิต ที่ถ่ายโดยนักประดาน้ำชาวอังกฤษ ได้โพสต์ลงบนเฟซบุ๊กของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ[34] ในวิดีโอแสดงให้เห็นว่า เด็ก ๆ ไม่รู้ว่าตัวเองติดอยู่ในถ้ำนานแล้วเท่าใด จากที่เด็กคนหนึ่งถามว่า วันนี้คือวันอะไร[35]

3 กรกฎาคม ทีมดำน้ำ 7 คน รวมถึงแพทย์และพยาบาล เข้าร่วมกับ 13 ชีวิตภายในถ้ำ ยังมีคลิปที่ 2 ออกมา หลายคนได้ห่มฟอยล์เพื่อเพิ่มความอบอุ่น มีการปฐมพยาบาลรอยถลอก แพทย์ประเมินว่า สภาพร่างกายสมบูรณ์ โดยดูจากกิจกรรม หากเดินได้ 15 ก้าว ถือว่าปกติดี[36]

วางแผนและเตรียมการ

แก้
 
มีการติดตั้งปั๊มน้ำสูบออกจากถ้ำ
 
ท่อสูบน้ำภายในถ้ำ
 
กระดานบันทึกข้อมูล

ปฏิบัติการครั้งนี้ต้องเผชิญกับระดับน้ำที่สูงขึ้น แผนคือ การฝึกใช้อุปกรณ์ดำน้ำ หรือรออีกหลายเดือนจนกว่าระดับน้ำจะลดลง[37][38] โดยปกติแล้ว ถ้ำจะมีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน คือท่วมตั้งแต่กันยายนถึงตุลาคม[39] แต่น้ำก็ยังอาจสูงท่วมได้มากกว่านี้เพราะเพิ่งเข้าฤดูฝน และจะตกหนักสุดในเดือนสิงหาคม การให้เด็ก ๆ รอคอย 4 เดือน อาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจและเสี่ยงต่อการป่วยและเป็นโรค[40]

จากการสำรวจทางน้ำไหลภายในถ้ำ จุดที่เด็ก ๆ อยู่นั้นอยู่ห่างจากปากถ้ำ 3.75 กิโลเมตร (2.33 ไมล์) และอยู่ต่ำกว่ายอดเขา 800–1,000 เมตร (2,600–3,300 ฟุต)[41] โถงที่อยู่มีความกว้างราว 8 ม. ความสูงราว 3 ม.[40] เส้นทางที่จะเข้าถึงมีน้ำท่วมขังหลายจุดและบางช่วงก็แคบมาก[42] และบางช่วงกระแสน้ำไหลเชี่ยวและทัศนวิสัยเท่ากับ 0[43] การเดินทางเข้าไปในถ้ำใช้เวลาหลายชั่วโมงแม้จะเป็นนักประดาน้ำที่มีประสบการณ์[38] จากข้อมูลของหน่วยซีลรายงานว่าการเข้า-ออกถ้ำใช้เวลาถึง 11 ชม. เป็นขาเข้า 6 ชม. และขาออก 5 ชม.[44] ทีมจึงได้ค้นหาทางออกอื่นที่อาจเป็นเส้นทางที่ง่ายกว่า[45] การเจาะถ้ำก็ใช้เป็นการช่วยระบายน้ำออกจากถ้ำได้ และพิจารณาการเปิดช่องทางสำหรับการออกจากถ้ำด้วย อย่างไรก็ดียังไม่พบจุดเจาะถ้ำที่เหมาะสม[42][41] บริเวณโถงพัทยาบีช หากขุดเจาะจากด้านบน คาดว่ามีระยะ 1.2 กิโลเมตร (0.75 ไมล์) แต่การขุดเจาะอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเต็มไปด้วยชั้นหินปูนและอาจใช้เวลานานหลายอาทิตย์[40]

มีการติดตั้งระบบปั๊มน้ำออกจากถ้ำและได้ทำการเปลี่ยนทางน้ำไหล จากการวัดระดับน้ำในวันที่ 5 กรกฎาคม สามารถลดระดับน้ำได้ 1.5 เซนติเมตร (0.59 นิ้ว) ต่อชั่วโมง ส่งผลทำให้ทีมผู้ช่วยเหลือสามารถเดินเข้าไปได้ในถ้ำ 1.5 กิโลเมตร (0.93 ไมล์) อย่างไรก็ดี คาดว่าฝนจะตกหนักในวันที่ 8 กรกฎาคม อาจจะต้องหยุดดำเนินการหรือเปลี่ยนวิธี เพราะอาจทำให้น้ำท่วมไปถึงผู้ติดอยู่ภายใน[46][39][41]

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ อดีตหน่วยซีลที่รับภารกิจให้ลำเลียงขวดอากาศจากโถงสามภายในถ้ำหลวง ไปยังจุดต่าง ๆ บริเวณสามแยก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม โดยเริ่มดำน้ำตั้งแต่เวลา 20.37 น. เมื่อเสร็จภารกิจขณะดำน้ำกลับได้หมดสติในน้ำ คู่ดำน้ำได้ทำการปฐมพยาบาล (CPR) แต่ไม่ได้สติ จึงนำกลับมายังโถงสามเพื่อปฐมพยาบาลอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้สติและเสียชีวิตลงเวลาประมาณ 01.00 น เจ้าหน้าที่จึงได้นำพาร่างออกมาถึงหน้าถ้ำหลวง และส่งไปยัง โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช ภายหลังทราบชื่อคือ จ่าเอกสมาน กุนัน[47][48] โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งจัดงานศพและพระราชทานน้ำหลวงอาบศพแด่จ่าเอกสมาน กุนัน[49]

การช่วยเหลือ

แก้

ช่วยเหลือออกจากถ้ำ

แก้
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
  คลิปวิดีโอการช่วยเหลือเด็กและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนออกจากถ้ำ จากเพจเฟซบุก "Thai NavySEAL"
 
การลำเลียงผู้ประสบภัยภายในถ้ำหลวงทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์

วันที่ 8 กรกฎาคม เริ่มปฏิบัติการช่วยเหลือออกจากถ้ำ เนื่องจากความพร้อมในหลาย ๆ ด้านทั้งระดับน้ำ ร่างกายของน้อง ๆ และทีมงาน เริ่มปฏิบัติการลำเลียงในเวลา 10.00 น. โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญดำน้ำจากต่างประเทศ 13 คนและหน่วยซีล 5 คน มีเจ้าหน้าที่ดำน้ำเข้าร่วมปฏิบัติการทั้งหมด 90 คน ในจำนวนนี้เป็นนักดำน้ำจากต่างชาติ 50 คน โดยสามารถนำคนแรกออกจากถ้ำได้เวลา 17.40 น. ซึ่งถือว่าเร็วกว่าประมาณการเดิมถึง 3 ชม. ส่วนคนที่ 2 ออกมาในอีก 10-20 นาทีต่อมา ส่วนคนที่ 3 และ 4 ออกมาเวลา 19.40 น. และ 19.50 น. ทั้งหมดถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลสนามซึ่งตั้งขึ้นบริเวณหน้าปากถ้ำ เพื่อประเมินอาการและปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนเคลื่อนย้ายไปที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งห่างจากถ้ำหลวงไปราว 58 กม.[50] ปฏิบัติการของวันแรก ต้องหยุดลง เนื่องจากต้องวางขวดอากาศและเชือกใหม่ เพราะขวดอากาศหมด อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องทำใหม่ โดยใช้เวลา 10 ถึง 20 ชั่วโมง[51][52] ปฏิบัติการช่วยเหลือในวันถัดมา 9 กรกฎาคม สภาพแวดล้อมพร้อม เช่นเดียวกับเมื่อวาน จึงเริ่มปฏิบัติการ เวลา 11.00 น.[53] โดยทีมนักประดาน้ำทีมเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย[54] ภารกิจในวันนี้ช่วยเหลือออกมาได้อีก 4 คน[55] จนวันที่ 10 กรกฎาคม มีรายงานข่าวว่า สามารถช่วยนักฟุตบอลและผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ได้ครบทั้ง 13 คน[24]

ในการลำเลียงทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำ ภารกิจไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากระดับน้ำที่ยังสูงอยู่ จนวันที่ 7-8 กรกฎาคม ระดับน้ำจึงลดลง มีภาครัฐ และเอกชน เข้ามาช่วยสูบน้ำ ให้ลดลงวันละ 1-2 เซนติเมตร แต่บริเวณโถง 3 น้ำยังคงท่วมขังอยุ่ โดยได้เตรียมขวดอากาศ 200 ขวด ไปใต้น้ำตลอดทางไปจนถึงบริเวณที่เด็ก ๆ อยู่[56] จากนั้นลำเลียงผู้ประสบภัย โดยให้สวมเวทสูท ขนาด 5 มิลลิเมตร และสวมเครื่องชุดหายใจแบบเต็มหน้าพิเศษที่มีท่อหน้ากากเต็มหน้าต่อกับขวดออกซิเจน เมื่อดำน้ำลงไปพร้อมขวดอากาศที่มีการปรับความกดอากาศ ทำให้ไม่ลอยขึ้นมา และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย โดย 1 คน จะมีนักดำน้ำลำเลียงไป ผู้ประสบภัยเพียงนอนอยู่นิ่ง ๆ ใช้ทีมงานเคลื่อนย้ายกว่า 100 คน ระหว่างทางจะมีการตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะ[57]

การฟื้นฟูร่างกาย

แก้

เมื่อถึงห้องผู้ป่วย แพทย์ได้รับการประเมินระดับความรู้สึก สัญญาณชีพ และสภาพความอบอุ่นของร่างกาย มีการเจาะเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจวัดคลื่นหัวใจ และให้น้ำเกลือ ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก พิษสุนัขบ้า และมีการให้วิตามินบี 1 และยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำตามแผนการรักษา ผู้ป่วยชุดแรก 4 คน มีภาวะร่างกายอุณหภูมิต่ำ นำเครื่องให้ความอบอุ่น มี 2 คนมีความผิดปกติที่ปอด สงสัยว่าปอดอักเสบ และ 1 ราย มีแผลถลอกที่ข้อเท้าขวา ผู้ป่วยชุด 2 เมื่อแรกรับ ทุกคนอุณหภูมิร่างกายต่ำ และมี 1 คนอุณหภูมิร่างกายต่ำมากและมีภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ แพทย์ให้ยาจนมีอาการปกติ เช้ารุ่งขึ้นทุกคนสดชื่นดี ตอบโต้ได้ ไม่มีไข้[58] และกลุ่มที่ 3 อีก 5 คน มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย[59]

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็ก ๆ มีน้ำหนักลดเฉลี่ย 2 กิโลกรัม[60] ยังอยู่ในอาการ Refeeding syndrome ยังไม่สามารถรับประทานอาหารปกติได้ทันที[61] แต่สามารถรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้อย่างเช่น โจ๊ก สำหรับอาหารปกติน่าจะรับประทานได้ใน 10 วัน[62]

ความช่วยเหลือและกำลังใจ

แก้

ในประเทศ

แก้

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
 
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสชื่นชม ทรงขอบใจทุกคนทุกฝ่ายที่ปฏิบัติการณ์ช่วยเหลือออกจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
  • พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงติดตามการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเด็กและโค้ชฟุตบอล จำนวน 13 ราย ที่ยังติดอยู่ในภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวมทั้งทรงห่วงใยกลุ่มผู้ประสบภัยทุกคน และทรงให้กำลังใจไปยังครอบครัวผู้ประสบภัยทุกคน[63] รวมถึงทรงพระราชทานสิ่งของและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการกู้ภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ตามที่มีการร้องขอการสนับสนุนเช่นอุปกรณ์ดำน้ำ ชุดดำน้ำ หลอดไฟให้ความสว่างในถ้ำชนิดมีแบตเตอรี่ในตัว หลอดและถังเก็บอากาศสำหรับนักดำน้ำไว้สับเปลี่ยนระหว่างการดำน้ำในถ้ำ ทั้งยังทรงพระราชทานกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการติดตามค้นหาขอให้ประสบความสำเร็จ[64] และได้ทรงพระกรุณาฯ พระราชทานจัดตั้งโรงครัวพระราชทานซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเลี้ยงเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนในภารกิจค้นหาทีมนักฟุตบอลเยาวชน 13 คนที่พลัดหลงไปในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีบรรดาจิตอาสาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาช่วยกันประกอบอาหารเพิ่มขึ้นอีกแห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ วันที่ 24 มิ.ย. ทหาร มทบ.37 ได้ใช้รถเคลื่อนที่ตั้ง "ครัวพระราชทาน" แห่งแรก ด้านทิศใต้ของวนอุทยานฯ เลี้ยงประชาชนวันละ 1,000 คน[65] และหลังจากที่ทรงทราบว่า จ.อ.สมาน กุนัน ได้เสียชีวิต จึงมีรับสั่งให้จัดงานศพอย่างสมเกียรติและทรงมีรับสั่งให้ดูแลครอบครัวและบุตรหลานอย่างดีที่สุด[66]
  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี และโค้ช รวม 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานเงิน จำนวน 500,000 บาท ให้แก่ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ เชียงราย เพื่อนำไปจัดซื้ออาหาร ยา สิ่งของจำเป็นต่างๆ ในการปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และพระราชทานกำลังใจ และมีพระดำรัส "ให้ทุกคนปลอดภัย และประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือเด็ก 13 ชีวิตที่ติดถ้ำ ทั้งเจ้าหน้าที่และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ขอให้พระคุ้มครองทั้งคนช่วยและคนถูกช่วย"[67]
  • ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์ข้อความทางอินสตาแกรม ประทานกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ 13 ชีวิต ระบุว่า “ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ 13 ชีวิตที่ติดถ้ำ ขอให้พระคุ้มครองทั้งคนช่วยและคนถูกช่วย”[68] และได้ทรงโพสต์ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์แสดงความดีพระทัย หลังทรงทราบข่าวพบ 13 ชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ในถ้ำหลวงแล้ว โดยมีข้อความบรรยายภาพว่า "พบหมูป่าแล้ว ดีใจจัง ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือน้องๆ ทั้ง 13 คน"[69]
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามของลูกเสือ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ประจำปี 2561 ที่สนามกีฬาแห่งชาติ โดยก่อนเสด็จกลับ ทรงมีพระปฏิสันถารกับพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี โดยทรงห่วงใยเด็กๆ และโค้ช 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ มีพระดำรัสว่า “ไม่ทราบตอนนี้ เด็กๆ ยังหาไม่เจอหรอคะ ที่เชียงราย …ก็ติดตามข่าว เป็นห่วง ก็ขอฝากให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เพราะว่าพระองค์หญิงก็ทราบว่าคงลำบาก เพราะว่าน้ำสูงและก็ถ้ำมันมืดมาก ก็ขอภาวนาให้หาได้โดยเร็ว เพราะว่าเป็นห่วงเด็ก ๆ”[70]
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงติดตามข่าว นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมี ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ด้วยความห่วงใย การนี้ ได้ประทานโปสการ์ดเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน เป็นภาพโปสการ์ดภาพก้อนหินที่มีสีและขนาดแตกต่างกันจัดเรียงซ้อนกัน ในแต่ละก้อนมีข้อความภาษาเยอรมัน ที่สื่อถึงการประทานกำลังใจ ได้แก่ คำว่า Mut (กล้าหาญ), Glück (มีโชคดี), Gelassenheit (มีความสุข), Erfolg (ประสบความสำเร็จ), Freude (มีความยินดี), Gesundheit (ให้มีสุขภาพดี) ด้านในของภาพโปสการ์ด สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ได้มีลายพระหัตถ์ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ที่ทรงแสดงถึงความห่วงใยต่อนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนเป็นภาษาเยอรมัน โดยมีข้อความที่แปลเป็นภาษาไทยว่า

“เด็ก ๆ ที่รัก

พวกเธอคงกลัวกันมากอย่างแน่นอน แต่ฉันก็นึกถึงพวกเธออยู่เสมอ ฉันมีความยินดีมากที่ทุกคนปลอดภัยและสุขภาพแข็งแรง ฉันขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนในการช่วยเหลือในครั้งนี้และขอให้ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี

(ลงพระนาม) ทีปังกรรัศมีโชติ”[71]

รัฐบาล

แก้

ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ[74][75]

แก้

เอกชนและพลเรือน[74]

แก้

ต่างประเทศ

แก้
  •   เยอรมนี ส่งนักประดาน้ำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในถ้ำหลวง[97]
  •   สหราชอาณาจักร นักสำรวจ เวิร์น อันสเวิร์ธ[98] และผู้ชำนาญการดำน้ำในถ้ำจาก British Cave Rescue Council (BCRC) รอเบิร์ต ชาร์ลี ฮาร์เปอร์, ริชาร์ด วิลเลียม สแตนตัน และจอห์น โวลันเธน[99] พร้อมด้วย คริส จีเวลล์, เจสัน มัลลินสัน จากสมาคมดำน้ำในถ้ำ Cave Diving Group (CDG) และทิม แอคตัน พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ได้เดินทางมาช่วยเหลือนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนพร้อมผู้ฝึก จำนวน 13 คน ที่ติดค้างอยู่ในถ้ำ[98] 10 กรกฎาคม เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรี ทวิตเตอร์ข้อความกล่าวว่า “ยินดีที่ภารกิจการช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในถ้ำในประเทศไทยสำเร็จลุล่วง โลกได้ติดตามและจะยกย่องความกล้าหาญของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน”[100]
  •   สหรัฐ 27 มิถุนายน พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ เปิดเผยว่าได้รับแจ้งจากหน่วยบัญชาการอินโดแปซิฟิกสหรัฐ (USPACOM) ของสหรัฐอเมริกา ได้ประสานส่งเจ้าหน้าที่ ทหารและพลเรือนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบรรเทาสาธารณภัยมาช่วยเหลือ[101][102] และยังมีความช่วยเหลือจากนายอีลอน มัสก์ ผู้บริหารของบริษัทสเปซเอ็กซ์ โดยได้นำเรือดำน้ำจิ๋ว "หมูป่า" มาช่วยในการปฏิบัติการในครั้งนี้และมอบให้รัฐบาลไทยในการใช้ในกรณีฉุกเฉินครั้งต่อไป[103] 8 กรกฎาคม ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี ทวิตเตอร์ข้อความกล่าวว่า กำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะช่วยเด็กออกมาจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย ด้วยคนที่มีความกล้าหาญ และความเชี่ยวชาญ[104] และวันที่ 10 กรกฎาคม ทวิตเตอร์ข้อความกล่าวว่า “ในนามของสหรัฐอเมริกา ขอแสดงความยินดีกับหน่วยซีลของประเทศไทย และแสดงความยินดีที่ภารกิจช่วยเหลือเด็ก ๆ 12 ชีวิต และโค้ช จากถ้ำในประเทศไทย เป็นช่วงเวลาที่สวยงาม ทั้งหมดออกมาแล้ว เยี่ยมมาก!”[105]
  •   พม่า 28 มิถุนายน ทำเนียบประธานาธิบดีพม่าได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พม่าจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อปฏิบัติการค้นหาเยาวชนนักฟุตบอลทีมหมูป่าและผู้ฝึกสอน รวม 13 คน ที่ได้หายเข้าไปในถ้ำ[109] และได้มีการส่งเจ้าหน้าที่สำรวจถ้ำหลวงด้านที่ติดกับฝั่งประเทศพม่า[110]
  •   ออสเตรเลีย พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกล่าวว่า รัฐบาลออสเตรเลียพร้อมสนับสนุนที่จะส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัย ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งยังพร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ที่ทันสมัยร่วมปฏิบัติภารกิจค้นหานักฟุตบอลเยาวชนและโค้ช[111] รวมทั้ง ดร.ริชาร์ด แฮร์ริส พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ จากออสเตรเลีย[112]
  •   ญี่ปุ่น ส่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำซึ่งได้รับมอบหมายจากโครงการความร่วมมือของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อช่วยเหลือเรื่องการระบายน้ำออกจากถ้ำ[113]
  •   จีน สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยแถลงว่าหน่วยงานของรัฐบาลจีนกำลังเตรียมส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัยและการค้นหาผู้ประสบภัยในถ้ำจำนวน 6 คน โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากจีนได้นำอุปกรณ์ช่วยชีวิตมาด้วย เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำ อุปกรณ์ดำน้ำ สเปกโทรมิเตอร์สามมิติ[114]
  •   ฝรั่งเศส นักดำน้ำเพื่อนร่วมทีม Ben Reymenants[117] และทางรัฐบาลฝรั่งเศสเองยังเสนอส่งทีมผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ แต่เจ้าหน้าที่ของไทยเชื่อว่ามีเพียงพออยู่ในสถานที่แล้ว[118]
  •   นครรัฐวาติกัน วันอาทิตย์ที่ 1 ก.ค. พระสันตะปาปาฟรานซิสประกอบพิธีสวดมนต์ประจำวัน ที่ จัตุรัส เซนต์ ปีเตอร์ ในนครรัฐวาติกัน โดยหลังจากเสร็จพิธี พระองค์สวดภาวนาเพื่อขอให้เกิดความสงบสุขแก่พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังประสบปัญหา และยังส่งกำลังใจถึงเหล่านักฟุตบอลเยาวชนทีม ‘หมูป่าอะคาเดมี’ 12 คนและโค้ชอีก 1 คน ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ในอ.แม่สาย จ.เชียงราย มานานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว โดยพระองค์ตรัสว่า พระองค์กำลังสวดอธิษฐานให้กับพวกเขา[119]
  •   สวีเดน มีทีมนักประดาน้ำในเบื้องต้น 6 คน เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือ[120]
  •   อิสราเอล ทีมนักดำน้ำประเทศอิสราเอลจากบริษัทอุปกรณ์สื่อสารฉุกเฉิน เดินทางมาช่วยทันทีที่ทราบข่าว นับตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน โดยสายการบินแอล อัล ได้ระดมทุนค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่พวกเขา เพื่อมาช่วยเหลือเด็ก ๆ[121][122][123]
  •   เช็กเกีย เสนอเครื่องสูบน้ำประสิทธิภาพสูงจากประเทศของตน ที่สามารถสูบน้ำได้ 400 ลิตรต่อวินาที[127]
  •   เดนมาร์ก[128]มาร์ติน (ผู้เขียนแผนที่ถ้ำหลวง)[129] อิวาน คาราดิช นักดำน้ำชาวเดนมาร์ก[130]
  •   แคนาดา[135] เอริค ริชาร์ด บราวน์ นักดำน้ำชาวแคนาดา[136]
  •   สิงคโปร์ ดักลาส ดีแลน เหยา นักดำน้ำชาวสิงคโปร์ วัย 50 ปี[139]

ผลสืบเนื่อง

แก้
  • วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้สั่งการให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติบันทึกเหตุการณ์ และภาพประวัติศาสตร์ของการช่วย 13 ชีวิต เนื่องด้วยเป็นเหตุการณ์สำคัญที่คนทั้งโลกให้ความสนใจ[140]
  • มีการมอบสัญชาติไทย ให้เอกพล จันทะวงษ์, พรชัย คำหลวง, ด.ช.มงคล บุญเปี่ยม และ ด.ช.อดุลย์ สามอ่อน[141]
  • จากเดิมถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีนักท่องเที่ยวปีละประมาณ 4 หมื่นคน แต่หลังเหตุการณ์ จำนวนนักท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึงมิถุนายน มีมากกว่า 1 ล้าน 3 แสนคน[142]

หนังสือ

แก้

เพลง

แก้
  • เพลง ฮีโรส์ออฟไทยแลนด์ แต่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561 โดยวิล โรบินสัน โปรดิวเซอร์เพลงชาวอังกฤษ[144] โดยมีเนื้อเพลงเป็นภาษาอังกฤษและภาษาถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย และขับร้องโดยอีสานโปรเจกต์ ร่วมกับ รณณรงค์ คำภา[145]
  • เพลง วอนเจ้าแม่ดอยนางนอน ขับร้องโดย เปี๊ยก ปัญญา สุวรรณทิพย์ เผยแพร่ 27 มิถุนายน 2561
  • เพลง ถ้ำหลวงนางนอน ขับร้องโดย เสก โลโซ เผยแพร่ 1 กรกฎาคม 2561
  • เพลง วอนนางนอน ขับร้องโดย จินตหรา พูนลาภ เผยแพร่ 2 กรกฎาคม 2561
  • เพลง ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว เผยแพร่ 4 กรกฎาคม 2561
  • เพลง ขอบคุณเจ้าแม่นางนอน ขับร้องโดย เย็นจิตร พรเทวี เผยแพร่ 9 กรกฎาคม 2561
  • เพลง วีรบุรุษจ่าแซม ขับร้องโดย แบ๊ว แซมบ้า เผยแพร่ 16 กรกฎาคม 2561
  • เพลง น้ำตาไหลอาลัยจ่าแซม ขับร้องโดย เย็นจิตร พรเทวี เผยแพร่ 28 กรกฎาคม 2561

ภาพยนตร์และซีรีส์

แก้
  • 2561: Against The Elements: Tham Luang Cave Rescue – สารคดีพร้อมบทสัมภาษณ์พิเศษที่จัดทำโดยแชนเนลนิวส์เอเชีย ในสิงคโปร์[146]
  • 2561: Thai Cave Rescue – ตอนหนึ่งของซีรีส์วิทยาศาสตร์ โนวา (ฤดูกาลที่ 45 ตอนที่ 14)[147]
  • 2019: นางนอน (The Cave) – ภาพยนตร์สารคดีที่เขียนบทและกำกับโดยผู้สร้างภาพยนตร์ไทย-ไอริช ทอม วอลเลอร์ นำเสนอนักดำน้ำตัวจริงในภารกิจ[148][149]
  • 2563: ติดถ้ำ (The Caved Life) – ภาพยนตร์ไทยสารคดี เล่าเรื่องราวผ่านภาพยนตร์สั้น 4 เรื่องจาก 5 ผู้กำกับ ได้แก่ พัฒนะ จิรวงศ์, อุรุพงศ์ รักษาสัตย์, โสภาวรรณ บุญนิมิตร, พีรชัย เกิดสินธุ์ และญาณิน พงศ์สุวรรณ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ลิโด้วันที่ 10 ธันวาคม 2563[150]
  • 2564: The Rescue [en] – สารคดีเนชั่นแนลจีโอกราฟิก เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ฟุตเทจจากบอดี้แคมที่บันทึกโดยนักดำน้ำที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ[151][152]
  • 2565: สิบสามชีวิต (Thirteen Lives) – ภาพยนตร์ แอมะซอน ออริจินัล กำกับโดยรอน ฮาวเวิร์ด (พร้อมบทภาพยนตร์โดย วิลเลียม นิโคลสัน) เข้าฉายในโรงภาพยนตร์สหรัฐเดือนกรกฎาคม 2565 และทางแอมะซอน ไพร์ม เดือนสิงหาคม 2565 ซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก Pure Flix ในปี 2563[153] การถ่ายทำเริ่มขึ้นในควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในเดือนมีนาคม 2564[154][155]
  • 2565: ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง (Thai Cave Rescue) – ซีรีส์แบบจำกัดของเน็ตฟลิกซ์กำกับโดยเควิน ตันเจริญ ออกฉายเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 เป็นผลงานละครเพียงเรื่องเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสมาชิกของทีม หมูป่า[151]
  • 2565: 13 หมูป่า: เรื่องเล่าจากในถ้ำ [en] – สารคดีของเน็ตฟลิกซ์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 สารคดีมีการสัมภาษณ์สมาชิกที่ได้รับเลือกของทีม หมูป่า[156]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Порятунок знайдених у печері Таїланду школярів затягується - DW (ยูเครน)
  2. "ย้อนรอย 221 ชั่วโมง ก่อน 'ไชโย' ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงสำเร็จ". ไทยรัฐออนไลน์. July 3, 2018.
  3. "จบภารกิจกู้ชีพ 13 ชีวิตหมูป่า 'หมอภาคย์-ซีล3นาย' ถึงปากถ้ำปลอดภัย". ไทยรัฐออนไลน์. July 10, 2018.
  4. อ้างอิงตามนาฬิกาจับเวลาบนหน้าจอไทยรัฐทีวี วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
  5. อ้างอิงตามนาฬิกาจับเวลาบนหน้าจอไทยรัฐทีวี วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
  6. Seit Samstag ist eine Jugend-Fußballmannschaft in einer Höhle in der nordthailändischen Provinz Chiang Rai eingeschlossen. - ad hoc news[ลิงก์เสีย] (เยอรมัน)
  7. Safi, Michael; Thoopkrajae, Veena (8 July 2018). "Thailand cave rescue begins as four of 12 boys freed in day of drama". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  8. Thailand cave rescue: fresh flooding halts search for missing boys (อังกฤษ)
  9. "Former Thai Navy SEAL dies in rescue operation for soccer team trapped in cave". MassLive. 6 July 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  10. "Diver dies in Thailand cave rescue attempt". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.
  11. "Thai navy SEAL who rescued boys trapped in cave dies".
  12. "Thailand cave rescue: Boys appear in new video, 'I am healthy'". CNN. 4 กรกฎาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018.
  13. "Monsoon rains could damper rescue efforts to save soccer team in Thailand cave". ABC News. 5 July 2018.
  14. McKirdy, Euan; Olarn, Kocha; Berlinger, Joshua. "Thai rescue: Hopes high 4 boys, coach will be freed from cave Tuesday". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2018. สืบค้นเมื่อ 10 July 2018.
  15. Знайдена в печері Таїланду футбольна команда може залишитись там на місяці (ยูเครน)
  16. "เปิดคลิป เด็ก 12 ชีวิตทีม 'หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย' ซ้อมบอลก่อนหายตัวในถ้ำ". ไทยรัฐออนไลน์. 24 มิถุนายน 2561.
  17. 동굴서 사라진 아이들… - 부산일보 (เกาหลี)
  18. "กู้ภัยเร่งค้นหา นักบอลรุ่นเยาว์ 11 คนบวกโค้ช หายตัวในถ้ำหลวงแม่สาย". ไทยรัฐออนไลน์. 24 มิถุนายน 2561.
  19. Enfants bloqués dans une grotte en Thaïlande : Américains et Britanniques en renfort - Paris Match (ฝรั่งเศส)
  20. "แรงใจโซเชียล"ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงปลอดภัย". ไทยพีบีเอส. 26 มิถุนายน 2561.
  21. "สื่อทั่วโลก!! เกาะติดปฏิบัติการช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง จ.เชียงราย". สปริงนิวส์. 27 มิถุนายน 2561.
  22. "สื่อนอกเกาะติดปฏิบัติการค้นหา 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง". โพสทูเดย์. 27 มิถุนายน 2561.
  23. ด่วน! เจอทั้ง 13 ชีวิตในถ้ำหลวงแล้ว ทุกคนปลอดภัย-เร่งนำตัวออกมา
  24. 24.0 24.1 Paddock, Richard C. (10 July 2018). "How Rescuers Pulled Off the Impossible in a Treacherous Thai Cave". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 July 2018.
  25. "11นร.-โค้ชบอล'หายในถ้ำ ค้นหาไร้วี่แวว-เจอแต่รองเท้า". เดลินิวส์. 24 มิถุนายน 2561.
  26. Новости: В Таиланде футбольная команда потерялась в пещере (รัสเซีย)
  27. เปิดปากทั้งน้ำตา! เพื่อนร่วมทีมฟุตบอล13ชีวิต เผยสาเหตุไม่เข้าถ้ำหลวง!
  28. เผยรายชื่อทีมหมูป่าผู้แข็งแกร่งทั้ง 13 ชีวิต เจอตัวแล้วในถ้ำหลวง,ไทยรัฐออนไลน์, 3 กรกฎาคม 2561
  29. เปิด13รายชื่อ ‘ทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย’ หลังติดถ้ำหลวงนาน10วัน, มติชนออนไลน์, 3 กรกฎาคม 2561
  30. ภารกิจถ้ำหลวง: เกิดอะไรขึ้นบ้างหลังจากทีมฟุตบอลหมูป่าติดอยู่ในถ้ำ
  31. ย้อนรอย 221 ชั่วโมง ก่อน 'ไชโย' ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงสำเร็จ
  32. ผวจ.เชียงราย ยืนยัน พบ 13 ชีวิตทีมหมูป่าแล้ว - One31
  33. นักดำน้ำอังกฤษเผยพบเด็ก ๆ ทีมหมูป่าฯ ในถ้ำหลวง หลังวางเส้นนำทางจนเชือกหมดพอดี
  34. "Thai NavySEAL". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
  35. Olarn, Kocha; Said-Moorhouse, Lauren (3 July 2018). "Thai cave rescue: Soccer team found alive one kilometer underground". edition.cnn.com. CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  36. ถ้ำหลวง: ยังไม่พา 13 ชีวิตทีมหมูป่าออกจากถ้ำวันนี้ ใครพร้อม ออกก่อน
  37. "Thai boys 'could be in cave for months'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 3 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  38. 38.0 38.1 "Thai cave rescue: 12 boys and coach to get 4 months' food, diving training". The Straits Times. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  39. 39.0 39.1 "Thai cave rescuers in 'race against the rain'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
  40. 40.0 40.1 40.2 "Thai cave rescue: boys laugh and joke in new video". The Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-07-04. สืบค้นเมื่อ 2018-07-07.
  41. 41.0 41.1 41.2 Safi, Michael (2018-07-05). "Thai cave rescue: army drains site in bid to free boys before monsoon". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
  42. 42.0 42.1 "How might the trapped Thai boys be rescued?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-07-04. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
  43. Reymenants, Ben (3 July 2018). "Thailand cave rescue: medics reach boys". The Guardian (live updates). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  44. ถ้ำหลวง: ปรับแผนนำ 13 ทีมหมูป่าออกจากถ้ำ ไม่ต้องรอพร้อม 100%
  45. "Thai rescuers search for other entrances to flooded cave" (ภาษาอังกฤษ). The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
  46. Staff (5 July 2018). "Thailand cave: Rescuers in race against weather as rains close in". BBC News. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
  47. อดีตหน่วยซีลเสียชีวิต 1 คน ขณะดำน้ำออกจากถ้ำหลวงฯ
  48. อดีตซีลเสียชีวิตในถ้ำหลวง
  49. ในหลวง’ ทรงรับสั่ง จัดงานศพ “อาสาซีล” เสียชีวิตในถ้ำหลวง อย่างสมเกียรติ
  50. "ถ้ำหลวง: ภารกิจถ้ำหลวงคืบหน้าอีกขั้น พาหมูป่า 4 ชีวิตออกจากถ้ำแล้ว". BBC Thai. 2018-07-08. สืบค้นเมื่อ 2018-07-09.
  51. "Thailand Cave Rescue Live Updates: Four Boys Are Out, 9 to Go". The New York Times. 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  52. "Thailand cave rescue: navy Seals confirm four boys have been rescued – live". 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018 – โดยทาง www.theguardian.com.
  53. ช่วยหมูป่า ลอต 2 ยัน เริ่ม 11 โมง ลุ้นข่าวดี ไม่เกินคืนนี้
  54. ออกมาแล้ว! ซีลพาหมูป่าคนที่ 5 ออกจากถ้ำหลวง เตรียมส่งขึ้นฮ.ไปร.พ.
  55. หน่วยซีลโพสต์! หลังเสร็จภารกิจวันที่ 2 ช่วยอีก 4 หมูป่าออกจากถ้ำ
  56. "Exclusive: เปิดใจ พล.ร.ต. อาภากร อยู่คงแก้ว ผบ. หน่วยซีล ใน ภารกิจถ้ำหลวง". BBC Thai. 2018-07-11. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
  57. "คำต่อคำ : ขั้นตอนลำเลียง "หมูป่า" แค่นอนนิ่งๆ เหมือนไข่ในหิน!". Spring News. 2018-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
  58. 13 หมูป่าพ้นถ้ำหลวง ปิดฉาก ‘17 วันใต้โลกมืด’
  59. ภาพชัดๆ หมูป่าสุดสตรอง หมอ ยันสุขภาพกาย-ใจ ไม่น่าห่วง
  60. "Thai cave rescue: Boys lost two kilograms during weeks in cave". CNN. 11 July 2018. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
  61. เข้าใจภาวะ Refeeding syndrome อดอาหารมานาน แต่ยังรีบกินไม่ได้ !
  62. "Cave divers ready to rescue last five". BBC News. 9 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  63. Thailandia, fiato sospeso per 12 giovani calciatori intrappolati in una grotta (อิตาลี)
  64. "ในหลวง" ทรงห่วงเด็กติดถ้ำหลวง พระราชทานกำลังใจจนท. ขอให้ทุกคนปลอดภัย
  65. ตั้งครัวพระราชทาน เพื่อเลี้ยง จนท.-ปชช.ที่มาช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
  66. 'ในหลวง' ทรงรับสั่ง จัดงานศพ "อาสาซีล" เสียชีวิตในถ้ำหลวง อย่างสมเกียรติ
  67. ปลื้มปีติ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ พระราชทาน 5 แสนช่วยทีมค้นหา 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
  68. ในหลวง ให้กำลังใจ ทรงห่วง 13ชีวิตเด็กนร.ติดถํ้า หน่วยซีลระดมทีมดำน้ำค้น พบรอยเท้า-ญาติเฝ้าลุ้นระทึก ส่งฮ.บินสำรวจทางเข้าทุกจุด
  69. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์แสดงความดีพระทัย
  70. "พระองค์โสม" ทรงห่วงเด็กๆ ที่ถ้ำหลวง ประทานกำลังใจจนท. ภาวนาให้เจอโดยเร็ว
  71. "พระองค์ที" ทรงห่วง13 ชีวิต ประทานการ์ดเป็นกำลังใจ-ทรงขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคน
  72. นายกฯ นำคณะ มุ่งหน้าถ้ำหลวง ตรวจพื้นที่ ให้กำลังใจครอบครัว 13 ชีวิต - ไทยรัฐ
  73. Enfants disparus dans une grotte inondée en Thaïlande: 6e jour de recherche (ฝรั่งเศส)
  74. 74.0 74.1 "รวมตัวฮีโร่! เปิดรายชื่อหน่วยงาน ระดมพลังช่วยเด็กติดถ้ำหลวง". ไทยรัฐออนไลน์. 26 มิถุนายน 2561.
  75. "ประสาน3หน่วยงานร่วมช่วยค้นหา13ชีวิตติดถ้ำหลวง". Siamsport. 28 มิถุนายน 2561.
  76. "บิ๊กตู่"แจงย้าย"ผู้ว่าฯเชียงราย"ตามวงรอบปกติ-เชื่อคนดีอยู่ไหนก็เจริญ
  77. ผบ.ศอร. เผยยังไม่นำ ทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวงวันนี้
  78. ผู้บัญชาการทหารบก สั่งเตรียม ฮ. และชุดปฏิบัติการรบพิเศษ เข้าช่วยเหลือ "ทีมหมูป่า" ติดถ้ำหลวง
  79. ซีลเริ่มแล้ว ค้นถ้ำหลวงวัน 2 ต้องหาให้เจอ'13 หมูป่าอะคาเดมี' - ไทยรัฐ
  80. 'ซีล'เพิ่มกำลัง'ถ้ำหลวง' ขนนักทำลายใต้น้ำช่วย 13 ชีวิต - เดลินิวส์
  81. กองบินตำรวจ เตรียมเฮลิคอปเตอร์ รอสนับสนุนพา 13 หมูป่ากลับบ้าน
  82. ต้องรอด! ส่งหุ่นยนต์ดำน้ำ-โดรน หา 13 ชีวิต ติดในถ้ำหลวง - ไทยรัฐ
  83. ขนท่อสูบน้ำจากมูลนิธิชัยพัฒนา โครงการพระราชดำริ จ.ลพบุรี ติดตั้งในถ้ำหลวง แล้ว 3 ตัว - ไทยรัฐ
  84. การบินไทย – ไทยสมายล์ พร้อมพาฮีโร่ ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงกลับบ้าน
  85. ทีมนักดำน้ำชาวไทยที่ไปอบรมที่อิตาลี โดยใช้อุปกรณ์จากสวีเดนและอิตาลี
  86. อีกกำลังสำคัญ! ส.น้ำบาดาลไทย เผย เจาะบ่อมากยิ่งสูบน้ำช่วย 13 ชีวิตได้ไว
  87. เมืองทองยูไนเต็ด รอต้อนรับ'ทีมหมูป่า' ส่งกำลังใจ 13 ชีวิต ทำตามฝันโค้ช
  88. คนวงการบอลแห่ส่งกำลังใจทีมหมูป่าฯ-เมืองทองให้คำมั่นสานฝันให้เป็นจริง
  89. "ป๋อง เมืองทอง" ประกาศพา13เด็กติดถ้ำมาดูบอลที่เอสซีจีสเตเดี้ยม - siamsport
  90. นักเตะเมืองทองฯ ล้อมวงส่งกำลังใจให้เยาวชน "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย" - โพสต์ทูเดย์
  91. ทั่วโลกติดตามให้กำลังใจภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง : PPTVHD36
  92. ทีมเก็บรังนก จ.ตรัง บินไปเชียงราย ขอช่วยปีนหาทางเข้าถ้ำหลวง ลั่นไม่เจอไม่กลับ พีพีทีวี 30 มิถุนายนย 2561
  93. เปิดใจ ทีมพญานาค เบื้องหลังเครื่องสูบน้ำ ช่วย 13 หมูป่าจากถ้ำหลวง พีพีทีวี 30 มิถุนายนย 2561
  94. "ทีมสูบน้ำซิ่งพญานาค" เก็บของกลับนครปฐม หายเหนื่อย 13 ชีวิตปลอดภัย[ลิงก์เสีย]
  95. ชาวนาน้ำท่วมพอใจรับเยียวยา-เผยแม้เสียหายแต่อย่างน้อยก็ได้ช่วยเด็ก
  96. "นักดำน้ำอิตาลีออกจากถ้ำ กลับที่พักชั่วคราว". เฟชบุ๊ก. Workpoint News - ข่าวเวิร์คพอยท์. 29 มิถุนายน 2561.
  97. "ปฏิบัติการวันที่ 5! ค้นหา 13 ชีวิตในถ้ำหลวง". The Bangkok Insight. 27 มิถุนายน 2561.
  98. 98.0 98.1 รู้จัก7หัวหอกชาวอังกฤษ ผู้นำทางพา'หมูป่า'ออกจากถ้ำ
  99. "3 นักดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษถึงไทยแล้ว". ไทยพีบีเอส. 27 มิถุนายน 2561.
  100. ผู้นำโลกยินดีช่วย 13 หมูป่า สำเร็จ! “ทรัมป์-เมย์” ทวีตยกย่องจนท.และซีลไทยกล้าหาญ
  101. "'USPACOM' ส่ง จนท. ร่วมค้นหา 13 ชีวิต ติดในถ้ำหลวง". กรุงเทพธุรกิจ. 27 มิถุนายน 2561.
  102. กองทัพสหรัฐฯถึงแล้ว ระดมพลิกถ้ำหลวง ช่วยค้นหา 13 ชีวิต - ข่าวสด
  103. "เจอกันแล้ว! 'ประยุทธ์' และ 'อีลอน มัสก์' พบกันที่สนามบินกลางดึก!". ข่าวสดออนไลน์. 10 กรกฎาคม 2561.
  104. ทรัมป์ ทวีต สหรัฐฯ ร่วมมือรัฐบาลไทย ช่วยเด็กออกจากถ้ำอย่างปลอดภัย
  105. ผู้นำโลกยินดีช่วย 13 หมูป่า สำเร็จ! “ทรัมป์-เมย์” ทวีตยกย่องจนท.และซีลไทยกล้าหาญ
  106. "ซาบซึ้งน้ำใจ ลาวส่งทีมกู้ภัยช่วยเด็กติดถ้ำ ในถ้ำหลวงเชียงราย". ไทยรัฐออนไลน์. 27 มิถุนายน 2561.
  107. ภารกิจถ้ำหลวง: รู้จักทีมกู้ภัยนานาชาติที่มาช่วยค้นหาทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี
  108. "บ้านเมือง - สถานทูตสหรัฐแถลงการณ์ห่วง 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 2018-07-03.
  109. "ประกาศจากสำนักประธานาธิบดีพม่า". เฟซบุ๊ก. Myanmar President Office. 28 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  110. "รัฐบาลเมียนมา สั่งด่วน!!สำรวจถ้ำหลวงฯ ฝั่งท่าขี้เหล็ก ช่วยค้นหา 13 ชีวิต". news.ch3thailand. 29 มิถุนายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-01. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  111. ""ออสเตรเลีย" เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ร่วมค้นหา 13 ชีวิตติดถ้ำ". sanook.com. 28 มิถุนายน 2561.
  112. เปิดประวัติ “หมอริชาร์ด แฮร์ริส” นักดำน้ำผู้ฟันธงทีมหมูป่าพร้อมออกจากถ้ำ
  113. "ญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมระบายน้ำถ้ำหลวง". mcot.net. 29 มิถุนายน 2561.
  114. "รัฐบาลจีนห่วง 13 ชีวิต! เร่งส่งผู้เชี่ยวชาญ-หุ่นยนต์ใต้น้ำ ลุยช่วยหาผู้สูญหายถ้ำหลวง". ข่าวสด. 29 มิถุนายน 2561.
  115. นำผู้เชี่ยวชาญการดำน้ำในถ้ำ ชาวเบลเยียม มือ 1 ของไทย ช่วยทีมหมูป่า
  116. เปิดโฉมหน้า 13 นักดำน้ำต่างชาติ ผู้ร่วมภารกิจพาหมูป่ากลับบ้าน
  117. 117.0 117.1 “มาเงียบๆ…กลับเงียบๆ” นักดำน้ำต่างชาติ ทยอยเดินทางกลับ - Workpoint News[ลิงก์เสีย]
  118. "French team ready to join cave rescue – if Thailand asks". khaosodenglish.com. 7 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  119. ‘โป๊ปฟรานซิส’ สวดอธิษฐาน ส่งกำลังใจถึง 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
  120. "ผู้ว่าฯ สั่งเดินหน้าพร่องน้ำถ้ำหลวงคืนนี้ นักประดาน้ำทีมสวีเดนถึงเชียงรายแล้ว". 25 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  121. "น้ำตาซึม!! เปิดใจ ‘นักดำน้ำอิสราเอล’ หลังบินมาช่วย 13 ชีวิต ถ้ำหลวง – สิ่งที่เจอภายในถ้ำ อาจถึงแก่ชีวิตได้ !??". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  122. "Israelis join week-long operation to rescue 12 boys trapped in Thailand cave". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  123. How radios are helping Thailand cave rescue - CNN Video, สืบค้นเมื่อ 2018-07-05
  124. "Вода продолжает прибывать в пещеру, где застряли дети". vesti.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  125. "МЧС готово помочь в спасении заблокированных в пещере в Таиланде школьников". RT на русском (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
  126. "Finnish diver helping Thai rescuers says possible crack in cave may save boys". YLE. 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
  127. Kft., Webra International (4 กรกฎาคม 2018). "The Visegrad Group: the Czech Republic, Hungary, Poland and Slovakia - Babis offers help in rescuing Thai boys from flooded cave". www.visegradgroup.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2018.
  128. "Thai cave rescue could happen 'today or tomorrow', diver says". Sky News. 6 กรกฎาคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2018.
  129. "Throng of volunteers gather to rescue Thai boys trapped in cave". Reuters. 6 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  130. ทำไมเจ๋งขนาดนี้! นักดำน้ำเดนมาร์ก ทึ่งเด็กๆทีมหมูป่า แกร่งเหลือเชื่อ
  131. "Next 24 hours will be crucial in Thai cave rescue drama". news.com.au. 5 กรกฎาคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2018.
  132. นายกดัตช์ ตอบจม.หนูน้อยลูกครึ่งไทย
  133. บ.สูบน้ำดัตช์ส่งคน-อุปกรณ์ถึงไทย รองรับ‘แผน2’ หากทีมหมูป่าออกถ้ำไม่หมด
  134. "'ส.บอลไทย' ขอบคุณ 'ฟีฟ่า' เชิญทีมหมูป่าดูนัดชิงบอลโลก". ไทยรัฐออนไลน์. 10 กรกฎาคม 2561.
  135. "Cave rescue: The divers who got the Thai boys out". BBC. 10 July 2018. สืบค้นเมื่อ 10 July 2018.
  136. ชาวสุราษฎร์ เตรียมต้อนรับครูฝรั่งนักดำน้ำเกาะเต่าที่ช่วยทีมหมูป่า
  137. "Rescue from Thai cave: Indian firm experts pitch in with tech support". 11 July 2018.
  138. "Filipino teacher part of Thai cave rescue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
  139. Yusof, Zaihan (12 July 2018). "Thai cave rescue: Singaporean diver who took part in risky operation says it was 'touch and go'". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
  140. วธ.ให้บันทึกเหตุการณ์ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง เข้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ - ไทยรัฐ
  141. ทีมหมูป่า กับ ความหวังของคนไร้สัญชาติเกือบ 1 ล้านคน
  142. ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน นักท่องเที่ยวเพิ่มต่อเนื่อง[ลิงก์เสีย] สทท.เชียงใหม่
  143. เผยโฉม “เนชั่นแนล จีโอกราฟิก” ปก “วีรบุรุษถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน”- mgronline
  144. "Singing for our heroes". The Nation. 17 October 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2019.[ลิงก์เสีย]
  145. "Heroes of Thailand – The Isan Project ft Ronnarong Khampha" – โดยทาง youtube.
  146. Johnson, Dean (8 August 2018). "Against The Elements". Channel News Asia. สืบค้นเมื่อ 9 August 2022.
  147. "Thai Cave Rescue". PBS.
  148. Cheung, Helier (25 December 2018). "A sneak peek at the first Thai cave rescue film". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 26 December 2018.
  149. เก้า มีนานนท์ (2019-10-05). "'The Cave นางนอน' ความรู้สึกจริงจากปาก จิม วาร์นีย์ 'Unsung Hero' นักดำน้ำตัวจริงในภารกิจช่วย 13 ชีวิตหมูป่า". The Standard.
  150. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2020-12-11). "ติดถ้ำ ภาพยนตร์สารคดีสำรวจผู้คน 'รอบข้าง' ที่ยัง 'ติดถ้ำ' หลังผ่านปฏิบัติการช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าถ้ำหลวงมาแล้ว 2 ปี". The Standard.
  151. 151.0 151.1 Frater, Patrick (2022-07-27). "Netflix 'Thai Cave Rescue' Series Sets September Release, Claims Maximum Authenticity Amid Similar Projects". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-06.
  152. Pinitkarn Tulachom (2021-10-18). "เปิดตัวหนังสารคดี 'The Rescue' ในสหรัฐฯ เผยเบื้องหลังช่วย 13 ชีวิตทีมหมูป่าถ้ำหลวง". VOA thai.
  153. McNary, Dave (4 May 2020). "Film News Roundup: MGM Boards Thai Cave Rescue Movie With Director Ron Howard". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2020.
  154. Ramachandran, Naman (27 November 2020). "Ron Howard's Thai Caves Rescue Film 'Thirteen Lives' to Shoot in Australia". Variety. สืบค้นเมื่อ 22 March 2021.
  155. Jeaneration (2022-06-29). "ดาราอัดแน่น! กับทีเซอร์แรก "Thirteen Lives" หนังถ้ำหลวงฉบับฮอลลิวูดสร้าง". trueid.
  156. "Hear From the Boys Themselves in 'The Trapped 13: How We Survived the Thai Cave' Documentary" (Press release). Netflix Media Center. September 9, 2022. สืบค้นเมื่อ September 10, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้