รางวัลโนเบลสาขาเคมี

รางวัลโนเบลสาขาเคมี (สวีเดน: Nobelpriset i kemi, อังกฤษ: Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438) เพื่อมอบให้แก่ผู้อุทิศตนอย่างโดดเด่นในสาขาเคมี ฟิสิกส์ วรรณกรรม สันติภาพ และสรีรวิทยาหรือการแพทย์ มูลนิธิโนเบลเป็นผู้รับผิดชอบรางวัลนี้ และผู้มอบรางวัลคือคณะกรรมการโนเบลอันประกอบด้วยสมาชิก 5 คนที่เลือกโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน

รางวัลโนเบลสาขาเคมี
(สวีเดน: Nobelpriset i kemi)
รางวัลสำหรับผลงานที่โดดเด่นในด้านเคมี
ที่ตั้งสต็อกโฮล์ม
ประเทศประเทศสวีเดน Edit this on Wikidata
จัดโดยราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
รางวัล11 ล้านครูนาสวีเดน (2023)[1]
รางวัลแรก1901
ผู้รับรางวัลมูนกี บาแวนดี, หลุยส์ อี. บรูส และอะเลกเซย์ เอคิมอฟ (2023)
รางวัลมากที่สุดเฟรเดอริก แซงเงอร์ และคาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส (2)
เว็บไซต์nobelprize.org

รางวัลโนเบลสาขาเคมีครั้งแรกมอบในปี ค.ศ. 1901 (พ.ศ. 2444) แก่ยาโกบัส เฮนริกุส ฟานติฮุฟฟ์ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบกฎของพลศาสตร์เคมีและแรงดันออสโมติกในสารละลาย" การมอบรางวัลจัดขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีที่สต็อกโฮล์มเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบล

รายนามผู้ได้รับรางวัล

แก้

ตารางดังต่อไปนี้เป็นรายนามผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีเรียงตามปีที่มอบรางวัล โดยเริ่มจากปี ค.ศ. 1901 เป็นต้นไป และใช้ข้อมูลพื้นฐานตามคณะกรรมการรางวัลโนเบล

พ.ศ. 2444–2453 (ค.ศ. 1901–1910)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2444
(1901)
  ยาโกบึส แฮ็นรีกึส วันต์โฮฟฟ์
(Jacobus Henricus van 't Hoff)
  เนเธอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบกฎพลศาสตร์เคมีและแรงดันออสโมติกในสารละลาย"
2445
(1902)
  แฮร์มัน เอมิล ฟิชเชอร์
(Hermann Emil Fischer)
  เยอรมนี "สำหรับผลงานด้านการสังเคราะห์น้ำตาลและพิวรีน"
2446
(1903)
  สวานเต ออกัส อาร์เรเนียส
(Svante August Arrhenius)
  สวีเดน "สำหรับทฤษฎีการแตกตัว (dissociation) ของอิเล็กโทรไลต์"
2447
(1904)
  เซอร์ วิลเลียม แรมเซย์
(Sir William Ramsay)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบแก๊สมีสกุลในอากาศ และความพยายามจัดธาตุดังกล่าวลงในตารางธาตุ"
2448
(1905)
  โยฮัน ฟรีดริช วิลเฮล์ม อด็อล์ฟ ฟ็อน เบเออร์
(Johann Friedrich Wilhelm Adolf von Baeyer)
  เยอรมนี "สำหรับความก้าวหน้าด้านเคมีอินทรีย์และอุตสาหกรรมเคมี จากผลงานเรื่องสีย้อมจากวัตถุอินทรีย์และสารประกอบไฮโดรอะโรมาติก"
2449
(1906)
  อ็องรี มัวซ็อง
(Henri Moissan)
  ฝรั่งเศส "สำหรับการวิจัยและแยกธาตุฟลูออรีนออกจากสารประกอบ และสำหรับเตาไฟฟ้า (electric arc furnace, EAF) อันตั้งตามชื่อของท่าน"
2450
(1907)
  เอดูอาร์ท บูคเนอร์
(Eduard Buchner)
  เยอรมนี "สำหรับงานวิจัยทางชีวเคมีและการค้นพบกระบวนการหมักแบบไม่ใช้เซลล์"
2451
(1908)
  เออร์เนสต์ รูเทอร์ฟอร์ด
(Ernest Rutherford)
  สหราชอาณาจักร
  นิวซีแลนด์
"สำหรับการวิจัยการสลายตัวของธาตุเคมี และศาสตร์เคมีด้านสารกัมมันตรังสี"
2452
(1909)
  วิลเฮล์ม ออสท์วัลท์
(Wilhelm Ostwald)
  เยอรมนี "สำหรับผลงานด้านตัวเร่งปฏิกิริยา และการวิจัยที่นำไปสู่หลักการพื้นฐานในเรื่องสมดุลเคมีและอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี"
2453
(1910)
  อ็อทโท วัลลัค
(Otto Wallach)
  เยอรมนี "สำหรับงานริเริ่มเรื่องสารประกอบอะลิไซคลิก (alicyclic compounds) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อศาสตร์เคมีอินทรีย์และอุตสาหกรรมเคมี"

พ.ศ. 2454–2463 (ค.ศ. 1911–1920)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2454
(1911)
  มารี กูว์รี
(Maria Skłodowska-Curie)
  โปแลนด์
  ฝรั่งเศส
"สำหรับการค้นพบธาตุเรเดียมและพอโลเนียม โดยการทำให้เรเดียมแตกสลาย รวมทั้งการศึกษาธรรมชาติและสารประกอบของธาตุดังกล่าว"
2455
(1912)
  วิกตอร์ กรีญาร์
(Victor Grignard)
  ฝรั่งเศส "สำหรับการค้นพบกริกนาร์ดรีเอเจนต์ (Grignard reagent) ทำให้ศาสตร์เคมีอินทรีย์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว"
  ปอล ซาบัตเย
(Paul Sabatier)
  ฝรั่งเศส "สำหรับการคิดค้นกระบวนการไฮโดรจีเนชันสารประกอบอินทรีย์จากโลหะที่สลายตัวโดยละเอียด"
2456
(1913)
  อัลเฟรท แวร์เนอร์
(Alfred Werner)
  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับผลงานเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างพันธะของอะตอมในโมเลกุล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อศาสตร์เคมีอนินทรีย์"
2457
(1914)
  ธีโอดอร์ วิลเลียม ริชาดส์
(Theodore William Richards)
  สหรัฐ "สำหรับผลงานการตรวจวัดน้ำหนักอะตอมของธาตุจำนวนมาก"
2458
(1915)
  ริชาร์ท มาร์ทีน วิลชเท็ทเทอร์
(Richard Martin Willstätter)
  เยอรมนี "สำหรับผลงานค้นคว้าด้านรงควัตถุในพืช โดยเฉพาะคลอโรฟิลล์"
2459
(1916)
ไม่มีการมอบรางวัล
2460
(1917)
ไม่มีการมอบรางวัล
2461
(1918)
  ฟริทซ์ ฮาเบอร์
(Fritz Haber)
  เยอรมนี "สำหรับการค้นพบวิธีการสังเคราะห์แอมโมเนีย"
2462
(1919)
ไม่มีการมอบรางวัล
2463
(1920)
  วัลเทอร์ แฮร์มัน แนนสท์
(Walther Hermann Nernst)
  เยอรมนี "สำหรับผลงานด้านอุณหพลศาสตร์"

พ.ศ. 2464–2473 (ค.ศ. 1921–1930)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2464
(1921)
  เฟรเดอริก ซอดดี
(Frederick Soddy)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับผลงานด้านสารกัมมันตรังสีและงานวิจัยเรื่องไอโซโทป"
2465
(1922)
  ฟรานซิส วิลเลียม แอสตัน
(Francis William Aston)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบไอโซโทปของธาตุที่ไม่ใช่ธาตุกัมมันตรังสีจำนวนมาก และการคิดค้นกฎของเลขจำนวนเต็ม"
2466
(1923)
  ฟริทซ์ เพรเกิล
(Fritz Pregl)
  ออสเตรีย "สำหรับการคิดค้นวิธีการวิเคราะห์ไมโคร (microanalysis) สำหรับสารอินทรีย์"
2467
(1924)
ไม่มีการมอบรางวัล
2468
(1925)
  ริชาร์ด อดอล์ฟ ซิกมอนดี
(Richard Adolf Zsigmondy)
  เยอรมนี "สำหรับการสาธิตเรื่องธรรมชาติของสารละลายคอลลอยด์และวิธีที่ใช้ในการสาธิต อันเป็นรากฐานสำคัญของเคมีคอลลอยด์สมัยใหม่"
2469
(1926)
  เทออดอร์ สเวดแบร์ย
(Theodor Svedberg)
  สวีเดน "สำหรับผลงานด้านระบบกระจายตัว (disperse systems) (ประกอบด้วยสารแขวนลอย คอลลอยด์ และสารละลาย)"
2470
(1927)
  ไฮน์ริช อ็อทโท วีลันท์
(Heinrich Otto Wieland)
  เยอรมนี "สำหรับการวิจัยเรื่องกรดน้ำดีและสสารที่เกี่ยวข้อง"
2471
(1928)
  อด็อล์ฟ อ็อทโท ไรน์ฮอลท์ วินเดาส์
(Adolf Otto Reinhold Windaus)
  เยอรมนี "สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับสเตอรอลและความเชื่อมโยงระหว่างสารดังกล่าวกับวิตามิน"
2472
(1929)
  อาร์เธอร์ ฮาร์เดน
(Arthur Harden)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการศึกษาเรื่องการหมักน้ำตาลและเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการดังกล่าว"
  ฮันส์ ฟอน ออยเลอร์-เชลปิน
(Hans von Euler-Chelpin)
  สวีเดน
2473
(1930)
  ฮันส์ ฟิชเชอร์
(Hans Fischer)
  เยอรมนี "สำหรับการวิจัยส่วนประกอบของเฮมีน (haemin) และคลอโรฟิลล์ โดยเฉพาะการสังเคราะห์เฮมีน"

พ.ศ. 2474–2483 (ค.ศ. 1931–1940)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2474
(1931)
  คาร์ล บอช
(Carl Bosch)
  เยอรมนี "สำหรับส่วนร่วมในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการเคมีความดันสูง"
  ฟรีดริช แบร์กิอุส
(Friedrich Bergius)
  เยอรมนี
2475
(1932)
  เออร์วิง แลงมิวร์   สหรัฐ "สำหรับผลงานในด้านเคมีพื้นผิว (surface chemistry)"
2476
(1933)
ไม่มีการมอบรางวัล
2477
(1934)
  แฮโรลด์ เคลย์ตัน ยูเรย์
(Harold Clayton Urey)
  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบไฮโดรเจนหนัก" (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ดิวเทอเรียม)
2478
(1935)
  เฟรเดริก ฌอลีโย-กูว์รี
(Frédéric Joliot-Curie)
  ฝรั่งเศส "สำหรับผลงานการสังเคราะห์ธาตุกัมมันตรังสีชนิดใหม่"
  อีแรน ฌอลีโย-กูว์รี
(Irène Joliot-Curie)
  ฝรั่งเศส
2479
(1936)
  Petrus (Peter) Josephus Wilhelmus Debye   เนเธอร์แลนด์ "สำหรับผลงานเกี่ยวกับโครงสร้างโมเลกุล โดยการศึกษาไดโพลโมเมนต์และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์และอิเล็กตรอนในแก๊ส"
2480
(1937)
  นอร์แมน ฮาเวิร์ธ
(Norman Haworth)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับผลงานด้านการศึกษาคาร์โบไฮเดรตและวิตามินซี"
  เพาล์ คาร์เรอร์
(Paul Karrer)
  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับผลงานด้านการศึกษาแคโรทีนอยด์ ฟลาวิน วิตามินเอ และวิตามินบี 2"
2481
(1938)
  ริชาร์ท คูห์น
(Richard Kuhn)
  ไรช์เยอรมัน "สำหรับผลงานด้านการศึกษาแคโรทีนอยด์และวิตามิน"
2482
(1939)
  อาด็อล์ฟ บูเทอนันท์
(Adolf Butenandt)
  ไรช์เยอรมัน "สำหรับผลงานด้านการศึกษาฮอร์โมนเพศ"
  เลโอพ็อลท์ รูฌิทช์คา
(Leopold Ruzicka)
  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับผลงานด้านพอลิเมทิลีนและเทอร์พีนชั้นสูง"
2483
(1940)
ไม่มีการมอบรางวัล

พ.ศ. 2484–2493 (ค.ศ. 1941–1950)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2484
(1941)
ไม่มีการมอบรางวัล
2485
(1942)
ไม่มีการมอบรางวัล
2486
(1943)
  George de Hevesy   ฮังการี "สำหรับผลงานว่าด้วยการใช้ไอโซโทปเป็นตัวตามรอยเพื่อศึกษากระบวนการทางเคมี"
2487
(1944)
  อ็อทโท ฮาน
(Otto Hahn)
  ไรช์เยอรมัน "สำหรับการค้นพบปฏิกิริยาฟิชชันของนิวเคลียสหนัก"
2488
(1945)
  อาร์ตตูรี อิลมารี วีร์ตาเนน
(Artturi Ilmari Virtanen)
  ฟินแลนด์ "สำหรับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ในเคมีการเกษตรและเคมีโภชนา โดยเฉพาะวิธีการถนอมอาหารสัตว์"
2489
(1946)
  เจมส์ แบตเชลเลอร์ ซัมเนอร์
(James Batcheller Sumner)
  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบว่าเอนไซม์สามารถตกผลึกได้"
  จอห์น โฮเวิร์ด นอร์ทรอป
(John Howard Northrop)
  สหรัฐ "สำหรับการเตรียมเอนไซม์และโปรตีนไวรัสในรูปบริสุทธิ์"
  เวนเดล เมเรดิธ สแตนลีย์
(Wendell Meredith Stanley)
  สหรัฐ
2490
(1947)
  โรเบิร์ต โรบินสัน
(Robert Robinson)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการวิจัยเรื่องความสำคัญเชิงชีวภาพของผลิตภัณฑ์จากพืช โดยเฉพาะแอลคาลอยด์"
2491
(1948)
  Arne Wilhelm Kaurin Tiselius   สวีเดน "สำหรับการวิจัยอิเล็กโตรโฟรีซิสและการวิเคราะห์การดูดซับ โดยเฉพาะการค้นพบเกี่ยวกับธรรมชาติที่ซับซ้อนของโปรตีนในเซรุ่มของเลือด"
2492
(1949)
วิลเลียม ฟรานซิส จีโอก
(William Francis Giauque)
  สหรัฐ "สำหรับคุณูปการในแวดวงอุณหเคมี โดยเฉพาะการศึกษาพฤติกรรมสสาร ณ อุณหภูมิต่ำสุดขีด"
2493
(1950)
  อ็อทโท ดีลส์
(Otto Diels)
  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับการค้นพบและพัฒนาปฏิกิริยาดีลส์–อัลเดอร์"
  ควร์ท อัลเดอร์
(Kurt Alder)
  เยอรมนีตะวันตก

พ.ศ. 2494–2503 (ค.ศ. 1951–1960)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2494
(1951)
  เอดวิน แมตทิสัน แมกมิลลัน
(Edwin Mattison McMillan)
  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบทางเคมีเรื่องธาตุหลังยูเรเนียม"
  เกลนน์ ธีโอดอร์ ซีบอร์ก
(Glenn Theodore Seaborg)
  สหรัฐ
2495
(1952)
  อาร์เชอร์ มาร์ติน
(Archer Martin)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการคิดค้นวิธีโครมาโทกราฟีแบบแบ่งส่วน"
  ริชาร์ด ลอเรนซ์ มิลลิงตัน ซินจ์
(Richard Laurence Millington Synge)
  สหราชอาณาจักร
2496
(1953)
  แฮร์มัน ชเตาดิงเงอร์
(Hermann Staudinger)
  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับการค้นพบในสาขาเคมีโมเลกุลใหญ่"
2497
(1954)
  ไลนัส พอลิง
(Linus Pauling)
  สหรัฐ "สำหรับการวิจัยธรรมชาติของพันธะเคมีและการนำไปประยุกต์ใช้อธิบายโครงสร้างสสารที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจนยิ่ง"
2498
(1955)
Vincent du Vigneaud   สหรัฐ "สำหรับผลงานเกี่ยวกับสารประกอบกำมะถัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์ฮอร์โมนพอลิเพปไทด์ได้เป็นครั้งแรก"
2499
(1956)
  เซอร์ไซริล นอร์แมน ฮินเชลวุด
(Sir Cyril Normal Hinshelwood)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกของปฏิกิริยาเคมี"
  นีโคไล นีโคลาเอวิช เซมอนอฟ
(Nikolay Nikolaevich Semenov)
  สหภาพโซเวียต
2500
(1957)
  เซอร์อเล็กซานเดอร์ ทอดด์
(Sir Alexander Todd)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับผลงานเกี่ยวกับนิวคลีโอไทด์และโคเอนไซม์นิวคลีโอไทด์"
2501
(1958)
  เฟรเดอริก แซงเงอร์
(Frederick Sanger)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับผลงานเรื่องโครงสร้างของโปรตีน โดยเฉพาะอินซูลิน"
2502
(1959)
  ยาโรสลัฟ แฮย์โรฟสกี
(Jaroslav Heyrovský)
  เชโกสโลวาเกีย "สำหรับการค้นพบและพัฒนาวิธีวิเคราะห์โพลาโรกราฟี"
2503
(1960)
วิลลาร์ด แฟรงก์ ลิบบี
(Willard Frank Libby)
  สหรัฐ "สำหรับผลงานวิธีการนำคาร์บอน-14 มาใช้ระบุอายุ"

พ.ศ. 2504–2513 (ค.ศ. 1961–1970)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2504
(1961)
  เมลวิน แคลวิน
(Melvin Calvin)
  สหรัฐ "สำหรับการวิจัยการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพืช"
2505
(1962)
  มัคส์ เพอรุทซ์
(Max Perutz)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการศึกษาโครงสร้างของไมโยโกลบิน"
  จอห์น เคนดรูว์
(John Kendrew)
  สหราชอาณาจักร
2506
(1963)
  คาร์ล ซีเกลอร์
(Karl Ziegler)
  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับการค้นพบเกี่ยวกับพอลิเมอร์ชั้นสูง"
  จูลีโย นัตตา
(Giulio Natta)
  อิตาลี
2507
(1964)
  โดโรธี ฮอดจ์กิน
(Dorothy Hodgkin)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการอธิบายโครงสร้างสารชีวเคมีที่สำคัญด้วยการใช้รังสีเอกซ์"
2508
(1965)
  โรเบิร์ต เบินส์ วูดเวิร์ด
(Robert Burns Woodward)
  สหรัฐ "สำหรับความสำเร็จในด้านการสังเคราะห์อินทรีย์"
2509
(1966)
  โรเบิร์ต แซนเดอร์สัน มัลลิเคน
(Robert Sanderson Mulliken)
  สหรัฐ "สำหรับผลงานด้านพันธะเคมีและโครงสร้างอิเล็กตรอนของโมเลกุล"
2510
(1967)
  มันเฟรท ไอเกน
(Manfred Eigen)
  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับการศึกษาปฏิกิริยาเคมีที่เกิดเร็วมากโดยการรบกวนสมดุลด้วยการใส่พลังงานเป็นจังหวะสั้น ๆ"
  โรนัลด์ จอร์จ เรย์ฟอร์ด นอร์ริช
(Ronald George Wreyford Norrish)
  สหราชอาณาจักร
  จอร์จ พอร์เทอร์
(George Porter)
  สหราชอาณาจักร
2511
(1968)
  Lars Onsager   สหรัฐ "สำหรับการค้นพบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันที่ตั้งชื่อตามชื่อของเขา"
2512
(1969)
เดเรก แฮโรลด์ ริชาร์ด บาร์ตัน
(Derek Harold Richard Barton)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวคิดคอมฟอร์เมชัน"
  Odd Hassel   นอร์เวย์
2513
(1970)
  ลุยส์ เฟเดริโก เลอลัวร์
(Luis Federico Leloir)
  อาร์เจนตินา "สำหรับการค้นพบนิวคลีโอไทด์ของน้ำตาลและบทบาทในด้านชีวสังเคราะห์ของคาร์โบไฮเดรต"

พ.ศ. 2514–2523 (ค.ศ. 1971–1980)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2514
(1971)
  แกร์ฮาร์ท แฮทซ์แบร์ค
(Gerhard Herzberg)
  แคนาดา
  เยอรมนีตะวันตก
"สำหรับส่วนร่วมในการศึกษาโครงสร้างอิเล็กตรอนและเรขาคณิตของโมเลกุล โดยเฉพาะอนุมูลอิสระ"
2515
(1972)
  คริสเตียน บี. แอนฟินเซน
(Christian B. Anfinsen)
  สหรัฐ "สำหรับงานด้านไรโบนิวคลีเอส โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างลำดับกรดอะมิโนและปฏิกิริยาคอนฟอร์เมชันที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ"
สแตนฟอร์ด มอร์
(Stanford Moore)
  สหรัฐ "สำหรับส่วนร่วมที่มีต่อความเข้าใจในความเชื่อมโยงระหว่างระหว่างโครงสร้างทางเคมีกับความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของแกนกลางของโมเลกุลไรโบนิวคลีเอส"
วิลเลียม เอช. สไตน์
(William H. Stein)
  สหรัฐ
2516
(1973)
แอนสท์ อ็อทโท ฟิชเชอร์
(Ernst Otto Fischer)
  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับผลงานริเริ่มที่ทั้งสองทำแยกกัน ว่าด้วยสมบัติเคมีของสารประกอบโลหอินทรีย์ ที่เรียกว่าสารประกอบแซนด์วิช"
  เจฟฟรีย์ วิลคินสัน
(Geoffrey Wilkinson)
  สหราชอาณาจักร
2517
(1974)
พอล เจ. ฟลอรี
(Paul J. Flory)
  สหรัฐ "สำหรับผลงานอันเป็นรากฐานทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ เกี่ยวกับเคมีเชิงฟิสิกส์ของมาโครโมเลกุล"
2518
(1975)
จอห์น วอร์คัป คอร์นฟอร์ท
(John Warcup Cornforth)
  ออสเตรเลีย
  สหราชอาณาจักร
"สำหรับผลงานด้านสเตอริโอเคมีของปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง"
  Vladimir Prelog
()
  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับผลงานด้านสเตอริโอเคมีของโมเลกุลและปฏิกิริยาในเคมีอินทรีย์"
2519
(1976)
  วิลเลียม นันน์ ลิปสกัมบ์ จูเนียร์
(William Nunn Lipscomb, Jr.)
  สหรัฐ "สำหรับการศึกษาโครงสร้างของสารกลุ่มบอเรนที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับพันธะเคมี"
2520
(1977)
อีลยา ปรีโกจีน
(Ilya Pregogine)
  เบลเยียม "สำหรับส่วนร่วมต่อวิชาอุณหพลวัตศาสตร์ นอกสมดุล โดยเฉพาะทฤษฎีของโครงสร้างกระจาย (dissipative structures)"
2521
(1978)
ปีเตอร์ ดี. มิตเชลล์
(Peter D. Mitchell)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับส่วนร่วมต่อความเข้าใจกระบวนการถ่ายโอนพลังงานทางชีววิทยา ผ่านการคิดค้นทฤษฎีเคมิออสโมซิส"
2522
(1979)
เฮอร์เบิร์ต ซี. บราวน์
(Herbert C. Brown)
  สหรัฐ "สำหรับการใช้สารประกอบโบรอนและฟอสฟอรัสเป็นตัวทำปฏิกิริยาในการสังเคราะห์ทางอินทรีย์"
เกออร์ค วิททิก
(Georg Wittig)
  เยอรมนีตะวันตก
2523
(1980)
  พอล เบิร์ก
(Paul Berg)
  สหรัฐ "สำหรับการศึกษาชีวเคมีของกรดนิวคลีอิกในระดับพื้นฐาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์"
  วอลเทอร์ กิลเบิร์ต
(Walter Gilbert)
  สหรัฐ "สำหรับส่วนร่วมเกี่ยวกับวิธีการสืบหาลำดับเบสของกรดนิวคลีอิก"
  เฟรเดอริก แซงเงอร์
(Frederick Sanger)
  สหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2524–2533 (ค.ศ. 1981–1990)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2524
(1981)

 

เค็งอิจิ ฟูกูอิ
(Kenichi Fukui, 福井謙一)
  ญี่ปุ่น "สำหรับทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการของปฏิกิริยาเคมี"
  โรอัลด์ ฮ็อฟมัน
(Roald Hoffmann)
  สหรัฐ
2525
(1982)
  อารอน คลุก
(Aaron Klug)
  แอฟริกาใต้
  สหราชอาณาจักร
"สำหรับการพัฒนาผลึกศาสตร์อิเล็กตรอนและการชี้แจงโครงสร้างของสารเชิงซ้อนกรดนิวคลีอิก-โปรตีนที่สำคัญทางชีววิทยา"
2526
(1983)
เฮนรี เทาเบอ
(Henry Taube)
  สหรัฐ "สำหรับผลงานเกี่ยวกับกลไกของปฏิกิริยาถ่ายโอนอิเล็กตรอน โดยเฉพาะในสารเชิงซ้อนโลหะ"
2527
(1984)
โรเบิร์ต บรูซ เมร์ริฟีลด์
(Robert Bruce Merrifield)
  สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาระเบียบวิธีการสังเคราะห์สารเคมีบนเมทริกซ์ที่เป้นของแข็ง"
2528
(1985)
  เฮอร์เบิร์ต เอ. เฮาพท์มัน
(Herbert A. Hauptman)
  สหรัฐ "สำหรับความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการหาโครงสร้างของผลึกโดยตรง"
  เจอโรม คาร์ล
(Jerome Karle)
  สหรัฐ
2529
(1986)
  ดัดลีย์ อาร์ เฮิร์ชบัค
(Dudley R. Herschbach)
  สหรัฐ "สำหรับส่วนร่วมเกี่ยวกับพลศาสตร์ของกระบวนการเคมีขั้นเบื้องต้น"
หลี ยฺเหวี่ยนเจ๋อ
(Yuan T. Lee, 李遠哲)
  ไต้หวัน
  สหรัฐ
จอห์น ซี. โพลานี
(John C. Polanyi)
  แคนาดา
2530
(1987)
ดอนัลด์ เจ. คราม
(Donald J. Cram)
  สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาและใช้งานโมเลกุลที่มีปฏิกิริยาอย่างจำเพาะต่อโครงสร้างมาก"
  ฌ็อง-มารี เลน
(Jean-Marie Lehn)
  ฝรั่งเศส
ชาลส์ เจ. เพเดอร์เซน
(Charles J. Pedersen)
  สหรัฐ
2531
(1988)
โยฮัน ไดเซินโฮเฟอร์
(Johann Deisenhofer)
  เยอรมนีตะวันตก "สำหรับการหาโครงสร้างสามมิติของศูนย์เกิดปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสง"
  โรแบร์ท ฮูเบอร์
(Robert Huber)
  เยอรมนีตะวันตก
ฮาร์ทมุท มิเชิล
(Hartmut Michel)
  เยอรมนีตะวันตก
2532
(1989)
  ซิดนีย์ ออลต์แมน
(Sidney Altman)
  แคนาดา
  สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของอาร์เอ็นเอ"
  โทมัส อาร์. เซ็ก
(Thomas R. Cech)
  สหรัฐ
2533
(1990)
  อิลยาส เจมส์ คอรีย์
(Elias James Corey)
  สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาทฤษฎีและระเบียบวิธีของการสังเคราะห์สารเคมีอืนทรีย์"

พ.ศ. 2534–2543 (ค.ศ. 1991–2000)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2534
(1991)
  ริชาร์ด แอนสท์
(Richard R. Ernst)
  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับส่วนร่วมในการพัฒนานิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโคปีความละเอียดสูง"
2535
(1992)
  รูดอล์ฟ เอ. มาร์คัส
(Rudolph A. Marcus)
  สหรัฐ "สำหรับส่วนร่วมต่อทฤษฎีของปฏิกิริยาถ่ายโอนอิเล็กตรอนในระบบเคมี"
2536
(1993)
  คารี บี. มัลลิส
(Kary B. Mullis)
  สหรัฐ "สำหรับการคิดค้นปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส"
ไมเคิล สมิท
(Michael Smith)
  แคนาดา "สำหรับส่วนร่วมอันเป็นรากฐานของการก่อตั้งวิธีมิวทาเจเนซิสที่ขึ้นกับโอลิโกนิวคลีโอไทดฺ์และถูกนำสู่เป้าหมาย และการพัฒนาวิธีเพื่อใช้ศึกษาโปรตีน"
2537
(1994)
  จอร์จ โอลาห์
(George A. Olah)
  สหรัฐ "สำหรับส่วนร่วมต่อเคมีของคาร์โบแคตไอออน"
2538
(1995)
  Paul J. Crutzen   เนเธอร์แลนด์ "สำหรับผลงานในวิชาเคมีบรรยากาศ โดยเฉพาะการลดลงของโอโซน"
  มาริโอ เจ. โมลินา
(Mario J. Molina)
  เม็กซิโก
  เอฟ. เชอร์วูด โรว์แลนด์
(F. Sherwood Rowland)
  สหรัฐ
2539
(1996)
  โรเบิร์ต เคิร์ล
(Robert Curl)
  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบฟูลเลอรีน"
  เซอร์แฮโรลด์ โครโต
(Sir Harold Kroto)
  สหราชอาณาจักร
  ริชาร์ด สมอลลีย์
(Richard Smalley)
  สหรัฐ
2540
(1997)
พอล ดี. บอเยอร์
(Paul D. Boyer)
  สหรัฐ "สำหรับการอธิบายกลไกของเอนไซม์ที่เป็นพื้นฐานของการสังเคราะห์อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต"
จอห์น อี. วอล์กเกอร์
(John E. Walker)
  สหราชอาณาจักร
  เยนส์ ซี. สกอว์
(Jens C. Skou)
  เดนมาร์ก "สำหรับการค้นพบ Na+/K+-ATPase ซึ่งเป็นเอนไซม์ขนส่งไอออน"
2541
(1998)
  วัลเทอร์ โคห์น
(Walter Kohn)
  สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาทฤษฎีฟังก์ชันนอลความหนาแน่น (density functional theory)"
  จอห์น เอ. โพเพิล
(John A. Pople)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับการพัฒนาวิธีการคำนวณในเคมีควอนตัม"
2542
(1999)
  Ahmed H. Zewail
(أحمد زويل)
  อียิปต์
  สหรัฐ
"สำหรับการศึกษาสภาวะทรานซิชันของปฏิกิริยาเคมีโดยสเปกโตรสโกปีเฟมโตวินาที "
2543
(2000)
  อลัน เจ. ฮีเกอร์
(Alan J. Heeger)
  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบและพัฒนาพอลิเมอร์นำไฟฟ้า"
  อลัน จี. แมกเดอร์มิด
(Alan G. MacDiarmid)
  นิวซีแลนด์
  สหรัฐ
  ฮิเดกิ ชิรากาวะ
(白川英樹)
  ญี่ปุ่น

พ.ศ. 2544–2553 (ค.ศ. 2001–2010)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2544
(2001)
William S. Knowles   สหรัฐ "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล"
  เรียวจิ โนโยริ
(野依良治)
  ญี่ปุ่น
K. Barry Sharpless   สหรัฐ "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล"
2545
(2002)
  John B. Fenn   สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาวิธีการ soft desorption ionisation สำหรับการวิเคระห์แมสสเปกโตเมทรีของ มาโครโมเลกุลในชีวเคมี"
โคอิจิ ทานากะ
(田中耕一)
  ญี่ปุ่น
  คัวร์ท วืทริช
(Kurt Wüthrich)
  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับการพัฒนานิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโกปีเพื่อการหาโครงสร้างสามมิติของมาโครโมเลกุลทางชีววิทยาในสารละลาย"
2546
(2003)
  Peter Agre   สหรัฐ "สำหรับการค้นพบวอเตอร์แชนเนล(water channels)"
  Roderick MacKinnon   สหรัฐ "สำหรับการศึกษาโครงสร้างและกลศาสตร์ของไอออนแชนเนล"
2547
(2004)
  Aaron Ciechanover   อิสราเอล "สำหรับการค้นพบกระบวนการสลายโปรตีนโดยมียูบิควิตินเป็นตัวช่วย"
  Avram Hershko   อิสราเอล
  Irwin Rose   สหรัฐ
2548
(2005)
  Robert Grubbs   สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สารเคมีอินทรีย์ด้วยปฏิกิริยาเมตาธีซิส (metathesis)"
  Richard Schrock   สหรัฐ
Yves Chauvin   ฝรั่งเศส
2549
(2006)
  Roger D. Kornberg   สหรัฐ "สำหรับการศึกษารากฐานทางโมเลกุลของการถอดรหัสในยูแคริโอต"
2550
(2007)
  แกร์ฮาร์ด แอร์ทึล
(Gerhard Ertl)
  เยอรมนี "สำหรับการศึกษากระบวนการทางเคมีบนพื้นผิวของของแข็ง"
2551
(2008)
  Martin Chalfie   สหรัฐ "สำหรับการค้นพบและพัฒนาโปรตีนเรืองแสงสีเขียว จีเอฟพี"[2]
  โอซามุ ชิโมมูระ   ญี่ปุ่น[3][4][5][6][7]
  Roger Y. Tsien   สหรัฐ
2552
(2009)
  Venkatraman Ramakrishnan   สหราชอาณาจักร "สำหรับการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม"[8]
  Thomas A. Steitz   สหรัฐ
  Ada E. Yonath   อิสราเอล
2553
(2010)
  Richard F. Heck   สหรัฐ "สำหรับปฏิกิริยาคู่ควบแบบไขว้ในเคมีอินทรีย์ที่มีแพลเลเดียมเร่งปฏิกิริยา"[9]
  เออิจิ เนงิชิ   สหรัฐ
  อากิระ ซูซูกิ   ญี่ปุ่น

พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน (ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน)

แก้
ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ภาพ ชื่อ ประเทศ ได้รับรางวัลในฐานะ
2554
(2011)
  แดน เชชท์มัน
(Dan Shechtman)
  อิสราเอล "สำหรับการค้นพบควอซีคริสตัล (quasicrystal)" [10]
2555
(2012)
  โรเบิร์ต เลฟโควิตซ์
(Robert Lefkowitz)
  สหรัฐ "สำหรับการศึกษาหน่วยรับความรู้สึกคู่จีโปรตีน (G-protein-coupled receptors)"[11]
  ไบรอัน โคบิลก้า
(Brian Kobilka)
  สหรัฐ
2556
(2013)
  มาร์ติน คาร์พลุส
(Martin Karplus)
  สหรัฐ
  ออสเตรีย
"สำหรับการพัฒนาแบบจำลองมัลติสเกล (multiscale modeling) ของระบบเชิงเคมีที่ซับซ้อน"[12] (พัฒนาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่สามารถอธิบายปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อนได้)
  ไมเคิล เลวิตต์
(Michael Levitt)
  สหรัฐ
  สหราชอาณาจักร
  อิสราเอล[13]
  อารีห์ วอร์เชล
(Arieh Warshel)
  สหรัฐ
  อิสราเอล
2557
(2014)
  เอริค เบตซิก
(Eric Betzig)
  สหรัฐ "สำหรับการพัฒนากล้องจุลทรรศน์แบบฟลูออเรสเซนต์ความละเอียดสูง"[14]
  ชเทฟาน เฮ็ล
(Stefan W. Hell)
  เยอรมนี
  วิลเลียม อี. มัวร์เนอร์
(William E. Moerner)
  สหรัฐ
2558
(2015)
  โทมัส ลินดาห์ล
(Tomas Lindahl)
  สวีเดน
  สหราชอาณาจักร
"สำหรับการศึกษากลไกการซ่อมแซมดีเอ็นเอ"[15]
  พอล แอล. มอดริช
(Paul L. Modrich)
  สหรัฐ
  อะซิซ แซนคาร์
(Aziz Sancar)
  ตุรกี
  สหรัฐ
2559
(2016)
  ฌ็อง-ปีแยร์ ซูวาจ
(Jean-Pierre Sauvage)
  ฝรั่งเศส "สำหรับการออกแบบและสังเคราะห์จักรกลโมเลกุล"[16]
  เฟรเซอร์ สท็อดดาร์ท
(Fraser Stoddart)
  สหราชอาณาจักร
  สหรัฐ
  เบน เฟริงกา
(Ben Feringa)
  เนเธอร์แลนด์
2560
(2017)
  ฌัก ดูบอเชต์
(Jacques Dubochet)
  สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับการพัฒนาวิธีไครโออิเล็กตรอนไมโครสโคปี (cryo-electron microscopy) เพื่อกำหนดโครงสร้างความละเอียดสูงของสารชีวโมเลกุลในสารละลาย"[17]
  โยอาคิม ฟรังค์
(Joachim Frank)
  เยอรมนี
  ริชาร์ด เฮนเดอร์สัน
(Richard Henderson)
  สหราชอาณาจักร
2561
(2018)
  ฟรานเชส อาร์โนลด์
(Frances Arnold)
  สหรัฐ "สำหรับวิธีการกำกับวิวัฒนาการของเอนไซม์"[18]
  เกรกอรี วินเทอร์
(Gregory Winter)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับเทคนิค phage display ของเพปไทด์และแอนติบอดี"[18]
จอร์จ พี. สมิธ
(George P. Smith)
  สหรัฐ
2562
(2019)
  จอห์น บี. กูดอีนาฟ
(John B. Goodenough)
  สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาแบตเตอรีลิเทียม-ไอออน"[19]
เอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม
(M. Stanley Whittingham)
  สหราชอาณาจักร
  สหรัฐ
  อากิระ โยชิโนะ
(Akira Yoshino)
  ญี่ปุ่น
2563
(2020)
  แอมานุแอล ชาร์ป็องตีเย
(Emmanuelle Charpentier)
  ฝรั่งเศส "สำหรับการพัฒนาวิธีสำหรับการปรับแต่งจีโนม"[20]
  เจนนิเฟอร์ เอ. เดาด์นา
(Jennifer A. Doudna)
  สหรัฐ
2564
(2021)
  เบ็นยามีน ลิสท์
(Benjamin List)
  เยอรมนี "สำหรับการพัฒนาการเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร"[21]
  เดวิด แมคมิลลัน
(David MacMillan)
  สหราชอาณาจักร
2565
(2022)
  แคโรลีน เบอร์ทอซซี
(Carolyn R. Bertozzi)
  สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาเคมีคลิกและเคมีไบโอออร์โทโกนอล"[22]
ม็อตเติน พี. เมิลดัล
(Morten P. Meldal)
  เดนมาร์ก
  คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลส
(Karl Barry Sharpless)
  สหรัฐ
2566
(2023)
มูนกี บาแวนดี
(Moungi G. Bawendi)
  ตูนิเซีย
  ฝรั่งเศส
"สำหรับการค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอต"[23]
  หลุยส์ อี. บรูส
(Louis E. Brus)
  สหรัฐ
อะเลกเซย์ เอคิมอฟ
(Alexei I. Ekimov)
  รัสเซีย

อ้างอิง

แก้
  1. "The Nobel Prize amounts". The Nobel Prize. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
  2. "The Nobel Prize in Chemistry 2008". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
  3. "The Nobel Prize in Chemistry 2008-Press Release". Nobelprize.org. 2008-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
  4. [1]
  5. [2]
  6. 1 Japanese, 2 Americans win Nobel chemistry prize เก็บถาวร 2008-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Associated Press
  7. Two Americans, one Japanese win 2008 chemistry Nobel reuters
  8. "The Nobel Prize in Chemistry 2009". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2010-02-08.
  9. "The Nobel Prize in Chemistry 2010". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
  10. "The Nobel Prize in Chemistry 2011". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2011-10-05.
  11. [3]
  12. "The Nobel Prize in Chemistry 2013". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
  13. 3 Jewish professors -- two of them Israeli -- share 2013 Nobel Prize in chemistry | The Times of Israel
  14. "The Nobel Prize in Chemistry 2014". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2014-10-08.
  15. The Nobel Prize in Chemistry 2015
  16. "The Nobel Prize in Chemistry 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  17. "The Nobel Prize in Chemistry 2017". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 4 October 2017.
  18. 18.0 18.1 "The Nobel Prize in Chemistry 2018". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  19. "The Nobel Prize in Chemistry 2019". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 October 2019.
  20. "The Nobel Prize in Chemistry 2020". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 October 2020.
  21. "The Nobel Prize in Chemistry 2021". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  22. "The Nobel Prize in Chemistry 2022". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 October 2022.
  23. "The Nobel Prize in Chemistry 2023". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 October 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้