ชีวเคมี (อังกฤษ: biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ

ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุก ๆ ด้าน

วัตถุดิบเริ่มต้น: ธาตุเคมีของชีวิต

แก้
 
ธาตุหลักที่ประกอบเป็นร่างกายมนุษย์แสดงตั้งแต่มีมากที่สุด (ตามมวล) จนถึงมีน้อยที่สุด

ธาตุเคมีประมาณสองโหลมีความจำเป็นต่อชีวิตทางชีววิทยา (biological life) หลายชนิด ธาตุหายากส่วนใหญ่บนโลกไม่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต (ยกเว้นซีลีเนียมและไอโอดีน) [1] ในขณะที่ธาตุทั่วไปบางชนิด (อะลูมิเนียมและไทเทเนียม) ไม่ได้ถูกนำไปใช้ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีความต้องการธาตุต่างๆ เหมือนกัน แต่พืชกับสัตว์ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น สาหร่ายทะเลใช้โบรมีน แต่พืชและสัตว์บกดูเหมือนไม่ต้องการมัน

ดูเพิ่มเติม

แก้

รายการ

แก้

ดูเพิ่มเติม

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Cox, Nelson, Lehninger (2008). Lehninger Principles of Biochemistry. Macmillan.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

เอกสารอ้างอิง

แก้

อ่านเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:WVD