วิตามิน
วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อย[1] เรียกสารประกอบเคมีอินทรีย์ (หรือชุดสารประกอบที่สัมพันธ์กัน) ว่า วิตามิน ต่อเมื่อสิ่งมีชีวิตไม่สามารถสังเคราะห์สารนั้นได้ในปริมาณเพียงพอ และต้องได้รับจากอาหาร ฉะนั้น คำว่า "วิตามิน" จึงขึ้นอยู่กับทั้งสภาวะแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ตัวอย่างเช่น กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) ถือเป็นวิตามินสำหรับมนุษย์ แต่ไม่ถือเป็นวิตามินสำหรับสัตว์อื่นส่วนใหญ่ การเสริมวิตามินสำคัญต่อการรักษาปัญหาสุขภาพบางอย่าง แต่มีหลักฐานประโยชน์การใช้ในผู้มีสุขภาพดีน้อย
ตามธรรมเนียม คำว่า วิตามิน ไม่รวมสารอาหารสำคัญอื่น เช่น แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็น หรือกรดอะมิโนจำเป็น (ซึ่งร่างกายต้องการสารเหล่านี้ในปริมาณมากกว่าวิตามินมาก) หรือสารอาหารอื่นอีกมากที่ส่งเสริมสุขภาพแต่ต้องการไม่บ่อย[2] ในปัจจุบัน ระดับสากลรับรองวิตามินอย่างสากลสิบสามชนิด วิตามินจำแนกโดยกัมมันตภาพทางชีวภาพและเคมี ไม่ใช่โครงสร้าง ฉะนั้น วิตามินแต่ละชนิดจึงหมายถึงสารประกอบวิตาเมอร์ (vitamer) ซึ่งล้วนแสดงกัมมันตภาพทางชีวภาพที่สัมพันธ์กับวิตามินหนึ่ง ๆ ชุดสารเคมีดังกล่าวจัดกลุ่มตามชื่อวิตามิน "ระบุทั่วไป" เรียงตามอันดับอักษร เช่น "วิตามินเอ" ซึงรวมสารประกอบเรตินัล เรตินอล และแคโรทีนอยด์ที่ทราบกันอีกสี่ชนิด วิตาเมอร์ตามนิยามสามารถเปลี่ยนเป็นรูปกัมมันต์ของวิตามินในร่างกายได้ และบางครั้งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตาเมอร์อีกชนิดหนึ่งได้เช่นกัน
วิตามินมีหน้าที่ทางชีวเคมีหลากหลาย วิตามินบางตัวมีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเป็นตัวควบคุมเมแทบอลิซึมของแร่ธาตุ (เช่น วิตามินดี) บางตัวควบคุมการเจริญและการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะของเซลล์และเนื้อเยื่อ เช่น วิตามินเอบางรูป หน้าที่อื่นของวิตามิน เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (เช่น วิตามินอีและวิตามินซีในบางครั้ง) วิตามินจำนวนมากที่สุด วิตามินบีคอมเพล็กซ์ มีหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของโคแฟกเตอร์เอนไซม์ ซึ่งช่วยเอนไซม์ทำงานเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเมแทบอลิซึม ในบทบาทนี้ วิตามินอาจสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเอนไซม์ที่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่พรอสเธติก (prosthetic group) ตัวอย่างเช่น ไบโอตินเป็นส่วนของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกรดไขมัน วิตามินยังอาจสัมพันธ์ใกล้ชิดน้อยกว่ากับตัวเร่งปฏิกิริยาเอนไซม์ คือ โคเอนไซม์ ซึ่งเป็นโมเลกุลจับได้ซึ่งมีหน้าที่นำหมู่เคมีหรืออิเล็กตรอนระหว่างโมเลกุลต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น กรดโฟลิกอาจนำหมู่เมทิล ฟอร์มิล และเมทีลินในเซลล์ แม้ว่าบทบาทเหล่านี้ในการสนับสนุนปฏิกิริยาเอนไซม์-สารตั้งต้นจะเป็นหน้าที่ของวิตามินซึ่งทราบกันดีที่สุด ทว่า หน้าที่อื่นของวิตามินก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน[3]
เมื่อกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 มีเม็ดเสริมอาหารวิตามินบีคอมเพลกซ์ที่สกัดจากยีสต์และวิตามินซีกึ่งสังเคราะห์เชิงพาณิชย์วางขายเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้น วิตามินได้รับจากอาหารเพียงทางเดียว และปกติการเปลี่ยนอาหาร (ตัวอย่างเช่น ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฤดูเพาะปลูกหนึ่ง ๆ) เปลี่ยนชนิดและปริมาณวิตามินที่ได้รับอย่างมาก ทว่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา มีการผลิตวิตามินเป็นสารเคมีโภคภัณฑ์และมีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสารปรุงแต่งวิตามินรวมทั้งกึ่งสังคราะห์และสังเคราะห์ราคาไม่แพงอย่างแพร่หลายมาก
รายการวิตามิน
แก้วิตามินแต่ละชนิดใช้ในหลายปฏิกิริยา ฉะนั้น ส่วนใหญ่จึงมีหลายหน้าที่[4]
ชื่อบอกทั่วไปของวิตามิน | ชื่อเคมีวิตาเมอร์ (รายการไม่สมบูรณ์) | สภาพละลายได้ | ปริมาณที่แนะนำ (ชาย อายุ 19–70 ปี)[5] |
โรคจากการขาด | ระดับปริมาณได้รับบน (UL/วัน)[5] |
โรคจากขนาดเกิน | แหล่งอาหาร |
---|---|---|---|---|---|---|---|
วิตามินเอ | เรตินอล, เรตินาล, และ แคโรทีนอยด์สี่ชนิด รวมทั้ง บีตา-แคโรทีน |
ไขมัน | 900 ไมโครกรัม | ตาบอดกลางคืน, หนังคางคก, และ กระจกตาน่วม[6] | 3,000 ไมโครกรัม | ภาวะวิตามินเอเกิน | ตับ ไข่ ส้ม ผลไม้สีเหลืองสุก ผักใบเขียว แครอท ฟักทอง ผักโขมฝรั่ง ปลา นมถั่วเหลือง นม |
วิตามินบี1 | ไทอามีน | น้ำ | 1.2 มิลลิกรัม | โรคเหน็บชา, กลุ่มอาการเวอร์นิเก–คอร์ซาคอฟ | N/D[7] | ง่วงนอนหรือกล้ามเนื้อผ่อนคลายในขนาดสูง[8] | เนื้อหมู โอ๊ตมีล (oatmeal) ข้าวซ้อมมือ ผัก มันฝรั่ง ตับ ไข่ |
วิตามินบี2 | ไรโบเฟลวิน | น้ำ | 1.3 มิลลิกรัม | โรคขาดวิตามินบี 2, ลิ้นอักเสบ, โรคปากนกกระจอก | N/D | ผลิตภัณฑ์นม กล้วย ป๊อปคอร์น ถั่วสีเขียว หน่อไม้ฝรั่ง | |
วิตามินบี3 | ไนอาซิน, ไนอะซินาไมด์ | น้ำ | 16.0 มิลลิกรัม | โรคเพลแลกรา | 35.0 มิลลิกรัม | ตับเสียหาย (ขนาด > 2 ก./วัน)[9] และปัญหาอื่น | เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ผักหลายชนิด เห็ด ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว |
วิตามินบี5 | กรดแพนโทเทนิก | น้ำ | 5.0 มิลลิกรัม[10] | ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน | N/D | ท้องร่วง อาจมีคลื่นไส้และอาการแสบร้อนกลางอก[11] | เนื้อสัตว์ บล็อกโคลี อะโวคาโด |
วิตามินบี6 | ไพริด็อกซีน, ไพริด็อกซามีน, ไพริด็อกซัล | น้ำ | 1.3–1.7 มิลลิกรัม | โลหิตจาง[12] โรคเส้นประสาทหลายเส้น | 100 มิลลิกรัม | การรับรู้อากัปกิริยาบกพร่อง เส้นประสาทเสียหาย (ขนาด > 100 มิลลิกรัม/วัน) | เนื้อสัตว์ ผัก ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว กล้วย |
วิตามินบี7 | ไบโอติน | น้ำ | 30.0 ไมโครกรัม | ผิวหนังอักเสบ ลำไส้เล็กอักเสบ | N/D | ไข่แดงดิบ ตับ ถั่วลิสง ผักใบเขียว | |
วิตามินบี9 | กรดโฟลิก, กรดโฟลินิก | น้ำ | 400 ไมโครกรัม | โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ (megaloblastic anemia) และการขาดระหว่างตั้งครรภ์สัมพันธ์กับความพิการของทารกแรกเกิด เช่น นิวรัลทิวบ์ (neural tube) บกพร่อง | 1,000 ไมโครกรัม | อาจบดบังอาการของการขาดวิตามินบี12 และผลอย่างอื่น | ผักใบ พาสตา ขนมปัง ธัญพืช ตับ |
วิตามินบี12 | ไซยาโนโคบาลามิน, ไฮดรอกซีโคบาลามิน, เมทิลโคบาลามิน | น้ำ | 2.4 ไมโครกรัม | โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่[13] | N/D | ผื่นคล้ายสิว [สาเหตุยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด] | เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อื่นจากสัตว์ |
วิตามินซี | กรดแอสคอร์บิก | น้ำ | 90.0 มิลลิกรัม | ลักปิดลักเปิด | 2,000 มิลลิกรัม | วิตามินซีขนาดสูง (Vitamin C megadosage) | ผลไม้และผักหลายชนิด ตับ |
วิตามินดี | คลอเลแคลซิเฟรอล, เออร์โกแคลซิเฟรอล | ไขมัน | 10 ไมโครกรัม[14] | โรคกระดูกอ่อนในเด็กและโรคกระดูกน่วม | 50 ไมโครกรัม | ภาวะวิตามินดีเกิน | ปลา ไข่ ตับ เห็ด |
วิตามินอี | โทโคเฟอรอล, โทโคไตรอีนอล | ไขมัน | 15.0 มิลลิกรัม | การขาดน้อยมาก; การเป็นหมันในชายและการแท้งในหญิง โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกเล็กน้อยในทารกแรกเกิด[15] | 1,000 มิลลิกรัม | พบภาวะหัวใจวายเพิ่มขึ้นในการศึกษาแบบสุ่มขนาดใหญ่ครั้งหนึ่ง[16] | ผักและผลไม้หลายชนิด ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวกับเมล็ดพืช |
วิตามินเค | ฟิลโลควิโนน, เมนาควิโนน | ไขมัน | 120 ไมโครกรัม | เลือดออกง่าย | N/D | เพิ่มเลือดจับลิ่มในผู้ป่วยที่ได้วาร์ฟาริน[17] | ผักใบเขียว ไข่แดง ตับ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Lieberman, S and Bruning, N (1990). The Real Vitamin & Mineral Book. NY: Avery Group, 3, ISBN 0-89529-769-8
- ↑ Maton, Anthea; Jean Hopkins; Charles William McLaughlin; Susan Johnson; David LaHart; Jill D. Wright (1993). Human Biology and Health. Englewood Cliffs, New Jersey, USA: Prentice Hall. ISBN 0-13-981176-1. OCLC 32308337.
- ↑ Bolander FF (2006). "Vitamins: not just for enzymes". Curr Opin Investig Drugs. 7 (10): 912–5. PMID 17086936.
- ↑ Kutsky, R.J. (1973). Handbook of Vitamins and Hormones. New York: Van Nostrand Reinhold, ISBN 0-442-24549-1
- ↑ 5.0 5.1 Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001.
- ↑ Vitamin and Mineral Supplement Fact Sheets Vitamin A เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dietary-supplements.info.nih.gov (2013-06-05). Retrieved on 2013-08-03.
- ↑ N/D= "Amount not determinable due to lack of data of adverse effects. Source of intake should be from food only to prevent high levels of intake" (see Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001).
- ↑ "Thiamin, vitamin B1: MedlinePlus Supplements". U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health.
- ↑ Hardman, J.G., บ.ก. (2001). Goodman and Gilman's Pharmacological Basis of Therapeutics (10th ed.). p. 992. ISBN 0071354697.
- ↑ Plain type indicates Adequate Intakes (A/I). "The AI is believed to cover the needs of all individuals, but a lack of data prevent being able to specify with confidence the percentage of individuals covered by this intake" (see Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001).
- ↑ "Pantothenic acid, dexpanthenol: MedlinePlus Supplements". MedlinePlus. สืบค้นเมื่อ 5 October 2009.
- ↑ Vitamin and Mineral Supplement Fact Sheets Vitamin B6 เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dietary-supplements.info.nih.gov (2011-09-15). Retrieved on 2013-08-03.
- ↑ Vitamin and Mineral Supplement Fact Sheets Vitamin B12 เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dietary-supplements.info.nih.gov (2011-06-24). Retrieved on 2013-08-03.
- ↑ Value represents suggested intake without adequate sunlight exposure (see Dietary Reference Intakes: Vitamins เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The National Academies, 2001).
- ↑ The Merck Manual: Nutritional Disorders: Vitamin Introduction Please select specific vitamins from the list at the top of the page.
- ↑ Gaby, Alan R. (2005). "Does vitamin E cause congestive heart failure?". Townsend Letter for Doctors and Patients.
- ↑ Rohde LE, de Assis MC, Rabelo ER (2007). "Dietary vitamin K intake and anticoagulation in elderly patients". Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 10 (1): 1–5. doi:10.1097/MCO.0b013e328011c46c. ISSN 1535-5942. PMID 17143047.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)