ไบโอติน (อังกฤษ: biotin) หรือ วิตามินเอช (อังกฤษ: vitamin H) หรือ วิตามินบี7 (อังกฤษ: vitamin B7) เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบีซึ่งสามารถละลายน้ำได้[1] สำคัญต่อการเจริญของเซลล์ การผลิตกรดไขมัน การเผาผลาญไขมัน[2]และกรดอะมิโน[1]

Biotin
ชื่อ
IUPAC name
5-​[(3aS,​4S,​6aR) -​2-​oxohexahydro-​1H-​thieno​[3,4-d]imidazol-​4-​yl]​pentanoic acid
ชื่ออื่น
Vitamin B7; Vitamin H
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.000.363 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  • InChI=1/C10H16N2O3S/c13-8 (14) 4-2-1-3-7-9-6 (5-16-7) 11-10 (15) 12-9/h6-7,9H,1-5H2, (H,13,14) (H2,11,12,15)/t6-,7-,9-/m0/s1
  • O=C1N[C@@H]2[C@H](CCCCC (=O) O) SC[C@@H]2N1
คุณสมบัติ
C10H16N2O3S
มวลโมเลกุล 244.31 g·mol−1
ละลายได้
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ประโยชน์ แก้

ภาวะการได้รับไม่เพียงพอ แก้

หากได้รับไบโอตินไม่เพียงพอ อาจเกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้

  • อ่อนเพลีย และอาจเจ็บปวดกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
  • มีอาการทางระบบประสาท เช่น ซึมเศร้า ประสาทหลอน นอนไม่หลับ
  • เกิดความผิดปกของระบบผิว เช่น เป็นผื่น ผิวแห้ง ผิวคล้ำ
  • ผมร่วง
  • ระบบการเผาผลาญไขมันผิดปกติ ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง[2]

ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับไบโอตินไม่เพียงพอ คือ ผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรม ผู้ที่รับประทานไข่ดิบจำนวนมาก ผู้ติดสุราเรื้อรัง หรือผู้ป่วยทางเดินอาหาร[1]

แหล่งที่พบ แก้

ไบโอตินพบได้มากในอาหารหลายประเภท เช่น ไข่แดง ตับ ไต ยีสต์ น้ำนม ผักและผลไม้สด และพบได้น้อยมากในเนื้อสัตว์ ธัญพืชและแป้ง[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 [http://health.haijai.com/3608/ ไบโอติน ต่อสุขภาพ], วันที่สืบค้น 17 เมษายน 2559 จาก www.health.haijai.com.
  2. 2.0 2.1 2.2 vitamin-h-biotin เก็บถาวร 2016-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 17 เมษายน 2559 จาก www.foodnetworksolution.com.
  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2550