ระบบประสาท
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ระบบประสาท มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง)
ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรืออาจถึงตายได้
ลักษณะทางกายวิภาค
แก้ระบบประสาทประกอบด้วยเซลล์สองประเภท คือ
- เซลล์ประสาท (nerve cell) หรือ นิวรอน (neuron) เป็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักของระบบประสาท
- เซลล์เกลีย (glia) เป็นเซลล์สำคัญรองจากนิวรอนมีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารมาให้เซลล์ประสาท และเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของระบบประสาท
การส่งสัญญาณภายในระบบประสาทเกิดขึ้นได้ด้วยกลไกสองอย่าง คือ
- การส่งสัญญาณภายในเส้นใยประสาท (nerve fiber) โดยวิธีของศักยะงาน (action potential)
- การส่งสัญญาณระหว่างนิวรอนโดยอาศัยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) บริเวณจุดประสานประสาท (synapse)
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
แก้ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอส(central nervous system - CNS) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส (peripheral nervous system - PNS) ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่า เส้นประสาท (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็น แกนประสาท หรือ แอกซอน (axon) ของเซลล์ประสาท) ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)
ระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system)
|
ระบบประสาทกาย (somatic nervous system)
| |
ระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)
|
ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system)
| |
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system)
| ||
ระบบประสาทเอนเทอริก (enteric nervous system)
| ||
ระบบประสาทกลาง (central nervous system)
|
ระบบประสาทกาย มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับสิ่งเร้า (stimulus) ต่าง ๆ จากภายนอกร่างกาย ระบบประสาทอิสระเป็นส่วนที่ไม่สามารถสั่งงานได้และมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ, ปอด เป็นต้น
ระบบประสาทอิสระ ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหาร, ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย
ระบบประสาทกลาง
แก้ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง
สมอง
แก้- ดูบทความหลักที่ สมอง
สมอง (brain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
- สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
- สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) และคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina) ซึ่งแบ่งออกเป็น ซุพีเรียร์ คอลลิคูไล (superior colliculi) 2 พู (lob) และอินฟีเรียร์ คอลลิคูไล (inferior colliculi) 2 พู
- สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) สมองน้อย หรือ ซีรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
- เนื้อเทา (Gray matter) เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
- เนื้อขาว (White matter) เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เยื่อหุ้มสมอง
แก้เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) 3 ชั้น คือ
- เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
- เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบาง ๆ
- เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
ไขสันหลัง
แก้ไขสันหลัง (spinal cord) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
- เนื้อขาว (White matter) เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
- เนื้อเทา (Gray matter) เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง
โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
แก้- ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
- ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
- ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาท
เซลล์ประสาท
แก้- ดูบทความหลักที่ เซลล์ประสาท
เซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
- ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma) มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย
- ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิดคือ เซลล์ประสาทขั้วเดียว เซลล์ประสาท 2 ขั้ว และเซลล์ประสาทหลายขั้ว
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Neuroscience for Kids
- The Human Brain Project Homepage เก็บถาวร 2017-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kimball's Biology Pages, CNS เก็บถาวร 2010-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kimball's Biology Pages, PNS เก็บถาวร 2010-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Addrena Reviews