สมองส่วนกลาง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ในทางกายวิภาคศาสตร์ สมองส่วนกลาง หรือ มีเซนเซฟาลอน (อังกฤษ: Mesencephalon; Midbrain) เป็นโครงสร้างหนึ่งของสมอง ประกอบด้วยเทคตัม (tectum) (หรือคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina)), เทกเมนตัม (tegmentum), เวนทริคิวลาร์ มีโซซีเลีย (ventricular mesocoelia), และซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) นอกจากนี้ก็มีนิวเคลียสและมัดใยประสาทจำนวนมากมาย ด้านบนของสมองส่วนกลางเชื่อมกับไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) ซึ่งประกอบด้วยทาลามัส ไฮโปทาลามัส ฯลฯ ส่วนด้านท้ายของสมองส่วนกลางเชื่อมกับพอนส์ (pons)
สมองส่วนกลาง (Mesencephalon) | |
---|---|
มุมมองด้านล่างของสมอง แสดงสมองส่วนกลาง (2) | |
ก้านสมองของมนุษย์ แสดงสมองส่วนกลาง (B) | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | mesencephalon |
MeSH | D008636 |
นิวโรเนมส์ | 462 |
นิวโรเล็กซ์ ID | birnlex_1667 |
TA98 | A14.1.03.005 |
TA2 | 5874 |
FMA | 61993 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
สมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ภายในมีส่วนเรียกว่าซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบสั่งการของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งริเริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
สมองส่วนกลางพัฒนามาจากกระเปาะกลางของท่อประสาทหรือนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งจะพัฒนาเป็นสมองส่วนต่างๆ ต่อไป ในจำนวนกระเปาะทั้งสามของนิวรัล ทูบ พบว่าสมองส่วนกลางเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างพัฒนาการน้อยที่สุดทั้งในแง่รูปแบบพัฒนาการและโครงสร้างภายในของมัน
สมองส่วนกลางของมนุษย์มีต้นกำเนิดเดียวกับ archipallium ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังโบราณส่วนใหญ่ สารโดพามีนซึ่งสร้างในซับสแตนเชีย ไนกรามีบทบาทในการปรับตัวและการจูงใจในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่มนุษย์ไปจนถึงสัตว์ชั้นต่ำอย่างเช่นแมลง
คอร์พอรา ควอไดรเจมินา
แก้คอร์พอรา ควอไดรเจมินา (อังกฤษ: Corpora quadrigemina) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสี่ก้อนที่ด้านหลังของท่อน้ำสมอง (cerebral aqueduct) ตุ่มนูนคู่ที่บนเรียกว่าซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส (superior colliculus) ส่วนคู่ล่างเรียกว่าอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส (inferior colliculus) โครงสร้างนี้ช่วยในการไขว้ทแยงของเส้นใยประสาทตา โดยซุพีเรียร์ คอลลิคูลัสเกี่ยวข้องกับการกลอกตาไปหาวัตถุ ส่วนอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัสทำหน้าที่ในการเชื่อมการมองเห็นกับสัญญาณเสียง กล่าวคือช่วยในการมองตามเสียงที่ได้ยิน บริเวณนี้มีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 ชื่อว่าเส้นประสาททรอเคลียร์ (trochlear nerve) ออกจากพื้นผิวด้านหลังของสมองส่วนกลางใต้อินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส
ซีรีบรัล พีดังเคิล
แก้ซีรีบรัล พีดังเคิล (อังกฤษ: cerebral peduncles) หรือฐานซีรีบรัม มีลักษณะเป็นคู่อยู่ที่ด้านหลังของท่อน้ำสมอง ทำหน้าที่เป็นเส้นทางผ่านของลำเส้นใยประสาทคอร์ติโคสไปนัล (corticospinal tract) ซึ่งมาจากอินเทอร์นัล แคปซูล (internal capsule) ไปยังไขสันหลังเพื่อสั่งการการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตรงกลางของซีรีบรัล พีดังเคิลมีซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra; แปลว่า "เนื้อสีดำ") ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่วนนี้เป็นเพียงส่วนเดียวของสมองที่มีเม็ดสีเมลานิน
ระหว่างฐานซีรีบรัมทั้งสองมีแอ่งเรียกว่า อินเตอร์พีดังคิวลาร์ ฟอซซา (interpeduncular fossa) เป็นแอ่งที่เต็มไปด้วยน้ำหล่อสมองไขสันหลัง บริเวณนี้มีเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (oculomotor nerve) ออกมาจากระหว่างฐานซีรีบรัม เส้นประสาทนี้ทำหน้าที่หดรูม่านตาและกลอกตา นอกจากนี้บริเวณนี้จะเห็นเส้นประสาททรอเคลียร์วิ่งโอบรอบด้านนอกของซีรีบรัล พีดังเคิล
ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลาง
แก้ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับซุพีเรียร์ คอลลิคูลัสแสดงเรด นิวเคลียส นิวเคลียสของเส้นประสาทกล้ามเนื้อตารวมทั้งเอดิงเงอร์-เวสท์ฟัล นิวเคลียส (Edinger-Westphal nucleus) รวมทั้งซับสแตนเชีย ไนกรา
ซับสแตนเชีย ไนกรายังปรากฏในภาพตัดขวางที่ระดับอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส นอกจากนี้ที่ระดับนี้ยังมีนิวเคลียสของเส้นประสาททรอเคลียร์ และเส้นทางไขว้ทแยงของฐานซีรีเบลลัม (superior cerebellar peduncles)
ท่อน้ำสมองวิ่งผ่านตลอดความยาวของสมองส่วนกลาง เชื่อมระหว่างโพรงสมองที่สามและโพรงสมองที่สี่
ภาพอื่นๆ
แก้-
สมองส่วนกลาง
-
ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส
-
เอ็มบริโอของไก่ อายุฟักตัว 34 ชั่วโมง มุมมองจากด้านหลัง ขยาย 30 เท่า
-
เอ็มบริโออายุระหว่าง 18-21 วัน
-
ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับอินฟีเรียร์ คอลลอคูลัส
-
ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส
-
แผนภาพแสดงการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
-
ซีรีบรัมของมนุษย์ มุมมองด้านข้าง
-
ภาพตัดแนวหน้าหลังของสมองของมนุษย์
-
สมองส่วนกลาง (Animation)
-
มุมมองภายในของเบซัล แกงเกลีย
-
มุมมองภายนอกของเบซัล แกงเกลีย
-
พื้นผิวด้านหน้าของก้านสมอง
-
พื้นผิวด้านหลังของก้านสมอง
-
พื้นผิวด้านนอกของก้านสมอง