เซลล์เกลีย (อังกฤษ: glial cell) หรือ นิวโรเกลีย (อังกฤษ: neuroglia) หรือ เกลีย (อังกฤษ: glia) เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในระบบประสาท เช่น ช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนเซลล์ประสาท เป็นแหล่งอาหาร รักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน และการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น จำนวนเซลล์เกลียมีมากกว่าจำนวนเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าตัว

เซลล์เกลีย
Glia
ภาพแสดงเซลล์เกลียทั้งสี่ชนิดที่พบในระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ เซลล์อีเพนไดมอล (ชมพูอ่อน), แอสโทรไซต์ (เขียว), เซลล์ไมโครเกลีย (แดงเข้ม), และโอลิโกเดนโดรไซต์ (น้ำเงินอ่อน)
รายละเอียด
คัพภกรรมแมกโครเกลีย มาจากนิวโรเอ็กโทเดิร์ม และไมโครเกลีย มาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
ระบบระบบประสาท
ตัวระบุ
MeSHD009457
TA98A14.0.00.005
THH2.00.06.2.00001
FMA54536 54541, 54536
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์

ชนิดของเซลล์เกลีย แก้

ไมโครเกลีย แก้

ไมโครเกลีย (microglia) เป็นเซลล์แมคโครฟาจ (macrophage) ชนิดพิเศษที่สามารถเกิดกระบวนการการกลืนกินของเซลล์ (phagocytosis) ได้ เชื่อว่าไมโครเกลียนี้เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในระบบเลือดมากกว่าเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในชั้นเอ็กโทเดิร์ม (ectoderm) แต่ที่ไมโครเกลียถูกจัดอยู่ในเซลล์ระบบประสาทเนื่องจากช่วยเหลือการทำงานของเซลล์ประสาท จำนวนไมโครเกลียในระบบประสาทส่วนกลางมีประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนเซลล์ทั้งหมด สามารถพบเซลล์ชนิดนี้ได้ในสมองและไขสันหลังทุกบริเวณ หากเนื้อเยื่อดังกล่าวถูกทำลายไมโครเกลียก็จะแบ่งตัวเพิ่มขึ้นและเคลื่อนที่ไปยังบริเวณดังกล่าว

แอสโทรไซต์ แก้

แอสโทรไซต์ (astrocyte) หรือ แอสโทรเกลีย (astroglia) เป็นเซลล์เกลียที่มีจำนวนมากที่สุด แอสโทรไซต์ช่วยควบคุมปริมาณสารเคมีต่างๆ ที่อยู่รอบเซลล์ประสาท เช่น กำจัดโพแทสเซียมไอออนที่มีอยู่มากในสารละลายภายนอกเซลล์ ตลอดทั้งช่วยดูดกลับสารสื่อประสาทที่ถูกหลั่งในระหว่างการส่งสัญญาณประสาทผ่านไซแนปส์ แอสโทรไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดโปรโตพลาสมิค และชนิดไฟบรัส ทั้งสองชนิดมีการทำงานที่คล้ายคลึงกันแต่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและตำแหน่งที่พบเซลล์เหล่านี้ที่แตกต่างกัน แอสโทรไซต์ชนิดโปรโตพลาสมิคมีเส้นใยที่มีขนาดหนา สั้น แต่มีกิ่งก้านเยอะ พบเซลล์ประเภทนี้ได้มากที่ชั้นเนื้อเทา (gray matter) สำหรับแอสโทรไซต์ชนิดไฟบรัสนั้นมีเส้นใยที่เรียวยาว และมีการแตกกิ่งค่อนข้างน้อย พบเซลล์ประเภทนี้ได้มากที่เนื้อขาว (white matter)

โอลิโกเดนโดรไซต์ แก้

โอลิโกเดนโดรไซต์ (oligodendrocyte) เป็นเซลล์ที่สร้างเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ห่อหุ้มแอกซอนที่อยู่ในระบบประสาทกลาง เยื่อไมอีลินนี้เป็นส่วนเยื่อหุ้มเซลล์ของโอลิโกเดนโดรไซต์ที่ไปล้อมรอบแอกซอนทำให้เกิดเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นผลให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เซลล์อีเพนไดมอล แก้

เซลล์อีเพนไดมาอล (ependymal cell) หรือ อีเพนไดโมไซต์ (ependymocyte)เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในระบบประสาท โดยพบเป็นเยื่อบุที่โพรงสมองและโพรงของไขสันหลัง

เรเดียลเกลีย แก้

เรเดียลเกลียที่อยู่ในสมองส่วนสมองน้อย (cerebellum) เรียกว่า เบอร์กแมนเกลีย (Bergmann glia) ซึ่งมีส่วนในกระบวนการไซแนปติกพลาสติซิตี้ ในดวงตาชั้นเรตินาเรียกเซลล์นี้ว่า เซลล์มูลเลอร์ (Müller cell)

เซลล์ชวานน์ แก้

เซลล์ชวานน์ (Schwann cell) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้าง myelin sheath ห่อหุ้ม axon อีกเซลล์หนึ่ง แต่จะพบใน Peripheral nervous system หรือ ระบบประสาทส่วนปลาย นอกจากนี้ยังสามารถเกิดการกลืนกินของเซลล์ ช่วยในการจัดเก็บองค์ประกอบของเซลล์ที่เสียแล้วซึ่งจำเป็นในการเจริญของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนปลาย

เซลล์แซทเทลไลท์ แก้

เซลล์แซทเทลไลท์ (Satellite cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็กที่เกาะอยู่ที่ผิวของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนปลายซึ่งทำหน้าที่ช่วยปรับสภาพองค์ประกอบทางเคมีภายนอกเซลล์

อ้างอิง แก้