พอนส์ (อังกฤษ: pons) เป็นโครงสร้างหนึ่งในก้านสมอง คำว่าพอนส์มาจากภาษาละติน แปลว่า สะพาน ตั้งชื่อโดยนักกายวิภาคศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวอิตาลี กอสตันโซ วาโรลิโอ (Costanzo Varolio)[1] พอนส์อยู่เหนือเมดัลลา ออบลองกาตา อยู่ใต้สมองส่วนกลาง และอยู่ด้านหน้าซีรีเบลลัม ส่วนเนื้อขาวของพอนส์ประกอบด้วยลำเส้นใยประสาทที่นำสัญญาณจากซีรีบรัมลงมายังซีรีเบลลัมและเมดัลลา และมีลำเส้นใยประสาทรับสัญญาณความรู้สึกส่งขึ้นไปยังทาลามัส[2]

พอนส์
(Pons)
แผนภาพแสดงตำแหน่งแอ่งน้ำหล่อสมองไขสันหลังที่สำคัญสามแห่ง (พอนส์อยู่ตรงกลางภาพ)
มุมมองด้านหน้าล่างของเมดัลลา ออบลองกาตา และพอนส์
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของก้านสมอง
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงพอนส์ (pontine arteries)
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำทรานสเวิร์ส พอนทีน และหลอดเลือดดำแลเทอรัล พอนทีน (transverse and lateral pontine veins)
ตัวระบุ
MeSHD011149
นิวโรเนมส์547
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_733
TA98A14.1.03.010
TA25921
FMA67943
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์
พอนส์และเมดัลลาออบลองกาตา

พอนส์มีขนาดยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร โครงสร้างส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นกระเปาะยื่นมาทางด้านหน้าเหนือต่อเมดัลลา ทางด้านหลังเป็นโครงสร้างคล้ายก้านหนาๆ อยู่หนึ่งคู่ เรียกว่า ฐานซีรีเบลลัม (cerebellar peduncles) ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและพอนส์กับสมองส่วนกลาง[2]

ภายในพอนส์มีนิวเคลียสทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณจากสมองส่วนหน้าลงมายังซีรีเบลลัม และยังมีนิวเคลียสที่ทำหน้าที่หลักในการนอนหลับ การหายใจ การกลืน การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ การได้ยิน การรักษาสมดุล การรับรส การกลอกตา การแสดงสีหน้า การรับความรู้สึกบริเวณใบหน้า และท่าทาง นอกจากนี้ในพอนส์ยังมีศูนย์ควบคุมการหายใจ (pneumotaxic center) ซึ่งเป็นนิวเคลียสในพอนส์ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนจังหวะจากหายใจเข้าเป็นหายใจออก[2] พอนส์ยังมีศูนย์ที่ทำให้ร่างกายหยุดเคลื่อนไหวในขณะนอนหลับ และมีบทบาทในการฝัน

อ้างอิง

แก้
  1. Henry Gray (1862). Anatomy, descriptive and surgical. Blanchard and Lea. pp. 514–. สืบค้นเมื่อ 10 November 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 Saladin Kenneth S. (2007) Anatomy & physiology the unity of form and function. Dubuque, IA: McGraw-Hill

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้