สมองน้อย

(เปลี่ยนทางจาก ซีรีเบลลัม)

สมองน้อย[1], เซรีเบลลัม[1] หรือ ซีรีเบลลัม[2] (อังกฤษ: Cerebellum) เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากสมองน้อยทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างสมองน้อยและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์ (spinocerebellar tract) (ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังสมองน้อย) สมองน้อยทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา[3]

สมองน้อย
(Cerebellum)
ตำแหน่งสมองน้อย (สีม่วง) ของมนุษย์ (มุมมองด้านข้าง)
ภาพเคลื่อนไหวของสมองน้อย
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองส่วนท้าย
หลอดเลือดแดงมีหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงทั้งหมด ดังนี้
หลอดเลือดดำมีหลอดเลือดดำที่รับเลือดทั้งหมด ดังนี้
ตัวระบุ
MeSHD002531
นิวโรเนมส์643
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1489
TA98A14.1.07.001
TA25788
FMA67944
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

รอยโรคที่เกิดในสมองน้อยไม่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำให้เกิดอัมพาต แต่จะเกิดความผิดปกติในการส่งข้อมูลกลับซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวละเอียด, การรักษาสมดุล, ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย, และการเรียนรู้การสั่งการ การสังเกตของนักสรีรวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 18 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายที่สมองน้อยจะมีปัญหาในการประสานการสั่งการ (motor coordination) และการเคลื่อนไหว การวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของสมองน้อยในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 จะศึกษาจากรอยโรคและการลองตัดสมองน้อยในสมองของสัตว์ทดลอง นักวิจัยทางสรีรวิทยาได้บันทึกว่ารอยโรคดังกล่าวทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, ท่าเดินเงอะงะ, และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการสังเกตในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อสรุปว่าสมองน้อยเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการ[3] อย่างไรก็ตามในการวิจัยสมัยใหม่แสดงว่าสมองน้อยมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด (ประชาน; cognition) , เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่นๆ[4]

ลักษณะโดยทั่วไป

แก้

สมองน้อยตั้งอยู่บริเวณด้านหลังเยื้องด้านล่างของศีรษะ (บริเวณสมองส่วนท้าย (rhombencephalon)) ด้านหลังของพอนส์ (pons) และด้านล่างกลีบท้ายทอย (occipital lobe) ของซีรีบรัม สมองน้อยประกอบด้วยเซลล์แกรนูล (granule cell) ขนาดเล็กๆ จำนวนมาก ส่วนนี้จึงมีเซลล์ประสาทมากกว่า 50% ของสมองทั้งหมด แต่มีปริมาตรเพียง 10% ของปริมาตรสมองรวม[5] สมองน้อยรับใยประสาทนำเข้ามากถึงประมาณ 200 ล้านใย ในขณะที่เส้นประสาทตา (optic nerve) ประกอบด้วยใยประสาทเพียงหนึ่งล้านใย

สมองน้อยแบ่งออกเป็นครึ่งซ้ายและขวาเช่นเดียวกับซีรีบรัม และแบ่งออกเป็นกลีบย่อยๆ 10 กลีบ การเรียงตัวของเซลล์ประสาทในสมองน้อยมีลักษณะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด คือเชื่อมต่อเป็นชุดของวงจรในแนวตั้งฉาก การเรียงตัวเป็นแบบเดียวกันดังกล่าวทำให้ง่ายต่อการศึกษาวงจรประสาท

เซลล์ประสาทสองประเภทที่มีบทบาทโดดเด่นในวงจรสมองน้อยคือ เซลล์เปอร์กินเจ(Purkinje cells) และ เซลล์แกรนูล(granule cell) เซลล์เปอร์กินเจควบคุมการแสดงผลของสมองน้อยโดยยับยั้งจากการยิงของนิวเคลียสลึก ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับเซลล์เปอร์กินเจ มักจะมีผลเสียต่อการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยได้ เซลล์แกรนูลคือหนึ่งในเซลล์ประสาทที่เล็กที่สุดในสมองน้อย เซลล์แกรนูลรับเส้นประสาททั้งหมดจาก mossy fibre

การเจริญพัฒนาและวิวัฒนาการ

แก้
 
ภาพวาดของเซลล์ภายในสมองน้อยของไก่ โดย ซานเตียโก รามอน อี กาคาล

ระหว่างช่วงต้นของการเจริญของเอ็มบริโอ สมองจะเริ่มแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหรือปล้อง ได้แก่ สมองส่วนหน้า (prosencephalon) , สมองส่วนกลาง (mesencephalon) , และสมองส่วนท้าย (rhombencephalon) สมองส่วนท้ายจะเป็นปล้องที่อยู่ท้ายที่สุดซึ่งจะเจริญไปเป็นสมองน้อย ส่วนนี้จะเจริญโดยพัฒนาเป็นกระเปาะ 8 อัน เรียกว่า รอมโบเมียร์ (rhombomere) สมองน้อยจะเจริญมาจากรอมโบเมียร์ 2 อันที่อยู่ตรงแผ่นเอลาร์ (alar plate) ของนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งเป็นท่อที่จะเจริญไปเป็นสมองและไขสันหลัง

ภาพอื่นๆ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (สืบค้นคำว่า cerebellum)". สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2025.
  2. ชาญชัย ชอบธรรมสกุล (2004). "บทที่ 6 ระบบประสาท" (PDF). กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. p. 81-108. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2025.
  3. 3.0 3.1 Fine EJ, Ionita CC, Lohr L (2002). "The history of the development of the cerebellar examination". Semin Neurol. 22 (4): 375–84. doi:10.1055/s-2002-36759. PMID 12539058.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Rapp, Brenda (2001). The Handbook of Cognitive Neuropsychology: What Deficits Reveal about the Human Mind. Psychology Press. p. 481. ISBN 1841690449.
  5. The Brain From Top To Bottom