เลือด เป็นของเหลวชนิดหนึ่งในร่างกาย ประกอบด้วย น้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ร่างกายเรามีเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตรหรือคิดเทียบกับน้ำหนักตัวเท่ากับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว[1]

เลือดไหลจากบาดแผล

ส่วนประกอบของเลือด แก้

เมื่อนำเลือดไปปั่นเหวี่ยงเพื่อทำการแยกชั้น จะพบส่วนประกอบของเลือดต่าง ๆ ดังนี้

น้ำเลือด (พลาสมา) แก้

น้ำเลือดหรือพลาสมา เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่มีอยู่ร้อยละ 55 ของเลือดทั้งหมดมีสภาวะเป็นเบส ค่าพีเอช 7.4 ประกอบด้วย น้ำ 91% สารอื่น ๆ เช่น โปรตีน 7% วิตามิน เกลือแร่ เอ็นไซม์ ฮอร์โมน ก๊าซ 2% (ทำหน้าที่ลำเลียงเอมไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารประเภทต่าง ๆ ที่ผ่านการย่อยมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย)

เม็ดเลือด แก้

  • เม็ดเลือดแดง (มีอายุ 110-120 วัน) ถูกสร้างมาจากไขกระดูก ตับ ม้าม
  • เม็ดเลือดขาว (มีอายุ 7-14 วัน) โตกว่าเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวโดนทำลายโดย เชื้อโรค 80% ไขกระดูก และ ม้าม ร่างกายคนมีเม็ดเลือดขาว 5,000-10,000 เซลล์/เลือด 1 มิลลิลิตร แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
    • ฟาโกไซต์ (phagocyte) มีวิธีการทำลายเชื้อโรคเรียกว่า "ฟาโกไซโตซีส" (Phagocytosis)โดยการเอาเซลล์ที่มีขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ที่เรียกว่าเอนโดไซโตซิส
    • ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) สร้าง "แอนติบอดี้" (Antibody) เพื่อต่อต้านเชื้อโรค

เกล็ดเลือด แก้

เกล็ดเลือดไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ รูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็ก ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 3-4 วัน ถูกสร้างมาจากไขกระดูก มีปริมาณประมาณ 150,000-300,000 ชิ้น/เลือด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร นอกจากนี้เกล็ดเลือดจะหลั่งสารเคมี (ไฟบริน) ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล

ชนิดและสีของเลือดที่พบในสิ่งมีชีวิต แก้

  • เลือดสีแดงเกิดจากเลือดกระทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็ก[2]
  • เลือดสีเขียวเกิดจากเลือดกระทำปฏิกิริยากับกำมะถัน[3][4]
  • เลือดสีน้ำเงินเกิดจากเลือดกระทำปฏิกิริยากับทองแดง[5]

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
  3. http://www.foxnews.com/story/2007/06/11/man-oozes-green-blood-before-operation/
  4. http://article.wn.com/view/WNAT164fd5dfb7160d6fb1775c1d79cbf82e/#/related_news
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.