ม้าม

อวัยวะในร่างกายของสิ่งมีชีวิต

ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตับ

ม้าม
Spleen
Laparoscopic view of a horse's spleen (the purple and grey mottled organ)
รายละเอียด
คัพภกรรมMesenchyme of dorsal mesogastrium
หลอดเลือดแดงSplenic artery
หลอดเลือดดำSplenic vein
ประสาทSplenic plexus
ตัวระบุ
ภาษาละตินsplen, lien
MeSHD013154
TA98A13.2.01.001
TA25159
FMA7196
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์
ภาพจำลองภายในม้าม (Gray's Anatomy)

สรีรวิทยาของม้าม

แก้

ม้ามทำหน้าที่ในการดึงเอาธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดง นำมาใช้ในร่างกาย และยังทำหน้าที่เอาของเสียออกจากกระแสเลือดในรูปของน้ำปัสสาวะเช่นเดียวกับที่ตับ ม้ามสร้างแอนตีบอดี ในการต่อต้านเชื้อโรค และยังผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ได้ด้วย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด (ยกเว้นมนุษย์) ม้ามจะทำหน้าที่เก็บเซลล์เม็ดเลือดแดง และส่งไปยังกระแสเลือด เพื่อควบคุมปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง ในกรณีที่เสียเลือดมาก ในทารกที่ยังไม่คลอด ม้ามมีหน้าที่หลักในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และหลังจากคลอด หน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ของไขกระดูกแทน แต่ถ้าไขกระดูกทำงานได้น้อยลงเนื่องจากโรคบางอย่าง ม้ามจะทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงอีกครั้งหนึ่ง

โรคของม้าม

แก้

อาการหลายชนิดมีผลต่อม้าม เช่น Splenomegaly (อาการม้ามโตผิดปกติ) อาการนี้เป็นอาการที่บอกถึงการมีแบคทีเรีย ปรสิต หรือไวรัสติดเชื้อในร่างกาย เช่น เชื้อวัณโรค เชื้อมาลาเรีย ข้อต่ออักเสบ ฯลฯ โรคนี้ยังอาจเกิดจากโรคตับแข็งได้, Hypersplenism (อาการม้ามทำงานผิดปกติหรือทำงานมากเกินปกติ) โรคนี้ทำให้การกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางแทรกซ้อนขึ้นมา นอกจากนี้ ภาวะม้ามเลือดออกอาจชี้ถึงภาวะโลหิตจาง และการขาดธาตุเหล็กอีกด้วย และมะเร็งในม้าม

อาการม้ามผิดปกติต่างๆ อาจรักษาโดยการฉายรังสี หรือใช้ยาคอร์ริโคสเตียรอยด์ หรือบางโรคที่ร้ายแรงก็จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนม้าม ในกรณีที่ม้ามเกิดการแตกหรือฉีกขาด จะทำให้เชื้อโรคในม้ามไหลกลับเข้าสู่กระแสเลือดเกือบทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ที่ม้ามแตกหรือฉีกขาดจากอุบัติเหตุเสียชีวิต

ในปัจจุบัน ยังไม่มีม้ามเทียมที่สามารถเปลี่ยนทดแทนเมื่อม้ามในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ


อ้างอิง

แก้
  • สสวท., กระทรวงศึกษาธิการ:หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 3,4 ; 2544