บีตา-แคโรทีน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บีตา-แคโรทีน (อังกฤษ: β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
β,β-carotene
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ECHA InfoCard | 100.027.851 |
เลขอี | E160a (colours) |
ผับเคม CID
|
|
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
คุณสมบัติ | |
C40H56 | |
มวลโมเลกุล | 536.87 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | red-purple solid |
ความหนาแน่น | 0.941 ± 0.06 g/cm3 |
จุดหลอมเหลว | 180-182 °C |
Insoluble in cold water or hot water. Soluble in diethyl ether, acetone, benzene, chloroform, carbon disulfide. Moderately soluble in petroleium ether, oils.Very slightly soluble in methanol.
Soluble in fat solvents | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้
แหล่งอาหาร
แก้บีตา-แคโรทีนมีในพืชสีเหลืองและสีส้ม และผักที่มีสีเขียว เช่น
- แคร์รอต
- ฟักทอง
- หน่อไม้ฝรั่ง
- ข้าวโพดอ่อน
- แตงโม
- แคนตาลูป
- มะละกอสุก
- บรอกโคลี
- มะระ
- ผักบุ้ง
- ต้นหอม
- ผักคะน้า
- ผักตำลึง
ส่วนเหตุที่อาหารบางชนิดมีสีเขียว เป็นเพราะสีของบีตา-แคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบัง
ผลข้างเคียง
แก้บีตา-แคโรทีนนับเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญสำหรับสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีรายงานของการขาดบีตา-แคโรทีนเลย แม้ว่าการวิจัยจำนวนมากจะระบุว่า การเสริมด้วยบีตา-แคโรทีนใช้ในคนที่มีอาการขาดวิตามินเอ แต่ก็ยังคงไม่มีข้อมูลแน่ชัดที่แสดงถึงอาการขาดบีตา-แคโรทีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และนักโภชนาการแนะนำว่าเราควรรับประทานบีตา-แคโรทีนเข้าสู่ร่างกายโดยการบริโภคผักสดและผลไม้สด
สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจากบีตา-แคโรทีน ขณะนี้ได้พบแล้ว แม้จากการวิจัยพบว่าวิตามินเออาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 25,000 หน่วยสากล (IU) ต่อวัน แต่ไม่พบว่าบีตา-แคโรทีนมีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานในปริมาณสูง ส่วนการมีปฏิกิริยากับสารอื่นไม่พบรายงานว่ามีปฏิกิริยาของบีตา-แคโรทีนกับยาสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใดๆ