อาหารเสริม
ความหมายของอาหารเสริม
แก้อาหารเสริม (Dietary Supplements) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เสริมอาหารปกติของเรา มีรูปแบบต่างๆ เช่น เม็ด แคปซูล ผง หรือของเหลว อาหารเสริมมักประกอบไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สมุนไพร กรดอะมิโน และสารอื่นๆ ที่ใช้เสริมสุขภาพ
อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีเจตนาให้สารอาหารที่เราอาจบริโภคในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน
โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าอาหารเสริมมีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร กรดไขมันหรือกรดอะมิโน ตลอดจนสารอื่น ทางการสหรัฐนิยามอาหารเสริมว่าเป็นอาหาร แต่ที่อื่นอาจจำแนกเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์อื่น
มีอาหารเสริมกว่า 50,000 อย่าง ประชากรผู้ใหญ่สหรัฐกว่าครึ่ง (53-55%) บริโภคอาหารเสริมโดยที่ใช้มากที่สุดคือ วิตามินรวม[1][2]
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มิได้เจตนาใช้ป้องกันหรือรักษาโรคใด ๆ และในบางกรณีก็เป็นอันตรายตามข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถบริโภคอาหารสมดุลได้ สำนักงานดังกล่าวว่าอาหารเสริมบางอย่าง "อาจมีคุณ"[3]
ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมส่วนใหญ่ และปกติบุคคลไม่ควรกินสารอาหารรองยกเว้นบุคคลที่มีการขาดแสดงชัดเจน[4] บุคคลควรปรึกษาแพทย์ก่อน[5] มีข้อยกเว้นคือ วิตามินดี ซึ่งมีการแนะนำในประเทศนอร์ดิก[6] เนื่องจากมีแสงแดดน้อย
ความเสี่ยงของอาหารเสริม
แก้การใช้เกินขนาด: การบริโภคอาหารเสริมมากเกินไปอาจทำให้เกิดพิษได้ เช่น การบริโภควิตามิน A ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดปัญหาตับ
ปฏิกิริยากับยารักษาโรค: อาหารเสริมบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ เช่น วิตามิน K ที่อาจลดประสิทธิภาพของยาละลายลิ่มเลือด
ความปลอดภัย: ไม่ใช่ทุกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวด อาหารเสริมที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีส่วนประกอบที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่ได้ผล
คำแนะนำในการใช้อาหารเสริม
แก้ปรึกษาแพทย์: ก่อนเริ่มใช้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือใช้ยารักษาโรค
อ่านฉลาก: ควรอ่านฉลากอย่างละเอียด เพื่อทราบถึงส่วนประกอบ ปริมาณการใช้ และคำเตือนต่างๆ
เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง: เลือกอาหารเสริมที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น อย. (องค์การอาหารและยา)
อ้างอิง
แก้- ↑ Park, Madison. "Half of Americans use supplements". CNN. สืบค้นเมื่อ 3 October 2013.
- ↑ Grace, Emily. "How to choose the best supplement". Health Beacon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-26. สืบค้นเมื่อ 3 October 2013.
- ↑ Staff, FDA/ FDA FAQ's on Dietary Supplements
- ↑ Guallar E, Stranges S, Mulrow C, Appel LJ, Miller ER (December 2013). "Enough is enough: Stop wasting money on vitamin and mineral supplements". Ann. Intern. Med. (Editorial). 159 (12): 850–1. doi:10.7326/0003-4819-159-12-201312170-00011. PMID 24490268.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Questions To Ask Before Taking Vitamin and Mineral Supplements เก็บถาวร 2017-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Nutrition.gov, accessed 2013-12-22.
- ↑ New Nordic Nutrition Recommendations: Focus on quality and the whole diet เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Norden.org 03.10.2013.