มะระ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
มะระขี้นก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Momordica charantia) เป็นผักผลไม้พื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก
มะระ | |
---|---|
ภาพวาดพืชส่วนลำต้น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | อันดับแตง Cucurbitales |
วงศ์: | วงศ์แตง Cucurbitaceae |
สกุล: | Momordica Momordica L. |
สปีชีส์: | Momordica charantia |
ชื่อทวินาม | |
Momordica charantia L. |
มะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับน้ำพริกก็ได้ บางครั้งราดด้วยกะทิสดเพื่อเพิ่มรสชาติ
การปรุงแกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ ต้องต้มนานหน่อยให้ความขมจางลง หรือปรุงอาหารเผ็ด เช่น พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือเป็นแกงเผ็ดก็ได้ ถ้าจะนำไปปรุงอาหารผัด เช่น ผัดกับไข่ ให้ต้มน้ำแล้วเททิ้งหนึ่งครั้ง
นอกจากใช้ผลเป็นอาหารแล้ว ใบของมะระขี้นกก็นำมาทำอาหารได้ แต่ไม่นิยมกินสดเพราะมีรสขม ยอดมะระลวกเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก หรือกับปลาป่นของชาวอีสาน ยิ่งเด็ดยิ่งแตกยอดเพิ่มอีก ทางภาคเหนือนิยมนำยอดมะระสดมากินกับลาบ หรือนำไปทำแกงคั่ว แกงเลียง และแกงป่า ได้รสน้ำแกงที่ขมเฉพาะตัว
ทางอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดแบบพื้นบ้านจะทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ กลมกล่อมมาก บ้างนิยมนำใบมะระมาต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก
คุณค่าทางโภชนาการ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประโยชน์ทางยา
แก้สรรพคุณของมะระขี้นก คือช่วยเจริญอาหาร การที่ผลมะระขี้นกช่วยเจริญอาหารได้ เพราะในเนื้อผลมีสารที่มีรสขมกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมามากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้น ใช้ผลมะระปิ้งไฟ หรือลวกจิ้มน้ำพริก และยับยั้งเชื้อ HIV หรือเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ใช้เมล็ดจากผลสุก 30 กรัม แกะเมล็ด ล้างเนื้อเยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดออก ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ กะเทาะเมล็ดเปลือกมะระ ควรกะเทาะในภาชนะที่เย็น เช่น ในที่มีอุณหภูมิต่ำ จะได้เนื้อในสีขาว ควรสวมถุงมือยางขณะทำ
- นำเนื้อใน มาล้างน้ำให้สะอาด เติมน้ำหรือน้ำเกลือที่แช่เย็นลงไป 90-100 มิลลิลิตร ปั่นในเครื่องปั้นที่แช่เย็น แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น จะได้น้ำยาสีขาวขุ่น
- น้ำยาสีขาวขุ่น ใช้สวนทวารหนัก ครั้งละ 10 มิลลิลิตร วันละครั้ง
- ถ้านำน้ำ ที่ปั่นไปแช่ตู้เย็น จะแยกเป็น 2 ชั้น ให้ใช้ชั้นบนที่มีลักษณะใส
ข้อควรระวัง
- การสวนทวาร ควรใช้วาสลินช่วยหล่อลื่นก่อนการสวน
- ทุกขั้นตอนให้ระวังเรื่องความสะอาด
- ต้องรักษาความเย็นตลอดเวลา
มะระ
แก้คุณค่าทางโภชนาการ
แก้คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 79 กิโลจูล (19 กิโลแคลอรี) |
4.32 g | |
น้ำตาล | 1.95 g |
ใยอาหาร | 2 g |
0.18 g | |
0.84 g | |
วิตามิน | |
วิตามินเอ | (1%) 6 μg(1%) 68 μg1323 μg |
ไทอามีน (บี1) | (4%) 0.051 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (4%) 0.053 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (2%) 0.28 มก. |
(4%) 0.193 มก. | |
วิตามินบี6 | (3%) 0.041 มก. |
โฟเลต (บี9) | (13%) 51 μg |
วิตามินซี | (40%) 33 มก. |
วิตามินอี | (1%) 0.14 มก. |
วิตามินเค | (5%) 4.8 μg |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 9 มก. |
เหล็ก | (3%) 0.38 มก. |
แมกนีเซียม | (5%) 16 มก. |
แมงกานีส | (4%) 0.086 มก. |
ฟอสฟอรัส | (5%) 36 มก. |
โพแทสเซียม | (7%) 319 มก. |
โซเดียม | (0%) 6 มก. |
สังกะสี | (8%) 0.77 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 93.95 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
ประโยชน์ทางยา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |