วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน[1] มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง

โครงสร้างของเรตินอล วิตามินเอที่พบได้บ่อย

ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน

วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา
  2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

ประโยชน์ แก้

ช่วยในการมองเห็นในที่มืดและป้องกันการแพ้แสงต่างๆที่เป็นผลเสียต่อสายตาอีกด้วย

แหล่งวิตามินเอ แก้

ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ

ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU

แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ผักตำลึง น้ำหนัก 100 กรัม 18,608 IU
ยอดชะอม น้ำหนัก 100 กรัม 10,066 IU
คะน้า น้ำหนัก 100 กรัม 9,300 IU
แครอท น้ำหนัก 100 กรัม 9,000 IU
ยอดกระถิน น้ำหนัก 100 กรัม 7,883 IU
ผักโขม น้ำหนัก 100 กรัม 7,200 IU
ฟักทอง น้ำหนัก 100 กรัม 6,300 IU
มะม่วงสุก 1 ผล(โดยเฉลี่ย) 4,000 IU
บรอกโคลี 1 หัว(โดยเฉลี่ย) 3,150 IU
แคนตาลูบ น้ำหนัก 100 กรัม 3,060 IU
แตงกวา 1 กิโลกรัม 1,750 IU
ผักกาดขาว น้ำหนัก 100 กรัม 1,700 IU
มะละกอสุก 1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย) 1,500 IU
หน่อไม้ฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 810 IU
มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 800 IU
พริกหวาน 1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) 500-700 IU
แตงโม 1 ชิ้นใหญ่ 700-1,000 IU
กระเจี๊ยบเขียว น้ำหนัก 100 กรัม 470 IU

อันตรายจากการขาดวิตามินเอ แก้

  • โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
  • ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
  • ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกินขนาด แก้

  • แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
  • อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
  • เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป
  • ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ
  • ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ

อ้างอิง แก้

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2550
  1. วิตามินที่ละลายในไขมัน เก็บถาวร 2017-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 17 เมษายน 2559 จาก www.healthlabclinic.com.