แคโรทีน (อังกฤษ: carotene) เป็นสารเคมีที่พบมากในผักผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เหลือง และเขียว หากร่างกายได้รับสารนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์จะเกิดการสะสมและทำให้ตับทำงานหนัก เนื่องจากต้องขับสารแคโรทีนอยด์ออกจากร่างกายอยู่ตลอดเวลา และจะทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มโดยเฉพาะที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ป้องกันได้โดยเพียงหยุดกิน ร่างกายจะค่อย ๆ ปรับสภาพและกลับมาเป็นปกติ

แคโรทีนทำให้แครอทและผักอีกหลายชนิดหรือแม้กระทั่งสัตว์มีสีส้ม

แคโรทีนเป็นสารโมเลกุลใหญ่มีสูตรทางเคมี C40H56 และมีคุณสมบัติเป็นโปรวิตามินเอ (provitamin A) คือเมื่อแคโรทีนแตกตัวจะได้วิตามินเอ ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นภายในตับ

แคโรทีนบริสุทธิ์จะมีผลึกเป็นสีแดงทับทิม (ruby–red crystal) ไม่ละลายในน้ำแต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ แคโรทีนจะถูกออกซิไดส์ได้ง่ายโดยออกซิเจนในอากาศ แหล่งธรรมชาติของแคโรทีนได้แก่พืชผักที่มีสีส้มเหลือง เช่น ฟักทองและแครอท สาหร่าย เช่น คลอเรลลา (Chlorella) และดูนาลิเอลลา (Dunaliella) โดยแคโรทีนจะมีบทบาทที่สำคัญคือเป็นรงควัตถุ (เม็ดสี) ในการสังเคราะห์แสงและป้องกันเซลล์จากการเสียสภาพเนื่องจากแสง

ตัวอย่างพืช แก้

โครงสร้างทางเคมี แก้

แคโรทีนมีโครงสร้างทางเคมีเป็นสองไอโซเมอร์หลัก คือ อัลฟาแคโรทีนและบีตา-แคโรทีน

 
α-carotene
 
β-carotene

อ้างอิง แก้

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549

แหล่งข้อมูลอื่น แก้