สาหร่าย เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา เอกซ์คาวาตา ไรซาเรีย มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอกหรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี อย่าสับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายเหล่านี้ คือพืชดอกไม่ใช่โพรทิสต์

สาหร่าย
ชื่อเรียกไม่เป็นทางการสำหรับยูแคริโอตสังเคราะห์ด้วยแสงหลากหลายกลุ่ม
สาหร่ายหลายแบบที่เติบโตในก้นทะเลน้ำตื้น
สาหร่ายหลายแบบที่เติบโตในก้นทะเลน้ำตื้น
สาหร่ายน้ำจืดแบบเซลล์เดียวและแบบกลุ่มหลายแบบในกล้องจุลทรรศน์
สาหร่ายน้ำจืดแบบเซลล์เดียวและแบบกลุ่มหลายแบบในกล้องจุลทรรศน์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์Edit this classification
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
กลุ่มที่รวมอยู่ด้วย
มักไม่รวม
  • Cyanobacteria (สาหร่ายสีน้ำเงิน-เขียว)

แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา

สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศได้อย่างอิสระ (Nonsymbiotic Nitrogen Fixer) Anabaena, Oscillatoria, nostoc

การบริโภค

แก้

มีการนำสาหร่ายบางสายพันธ์มาบริโภค เช่น จี้ฉ่าย หรือ สาหร่ายโนริ (Nori) เป็นสาหร่ายสีแดงลักษณะแผ่นคล้ายใบมีด นำมาใส่กับต้มจืดใส่หมูสับด้วย และประยุกต์นำมาทอดกรอบเป็นอาหารว่างได้ [3]

อ้างอิง

แก้
  1. Butterfield, N. J. (2000). "Bangiomorpha pubescens n. gen., n. sp.: Implications for the evolution of sex, multicellularity, and the Mesoproterozoic/Neoproterozoic radiation of eukaryotes". Paleobiology. 26 (3): 386–404. Bibcode:2000Pbio...26..386B. doi:10.1666/0094-8373(2000)026<0386:BPNGNS>2.0.CO;2. ISSN 0094-8373. S2CID 36648568. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2007.
  2. T.M. Gibson (2018). "Precise age of Bangiomorpha pubescens dates the origin of eukaryotic photosynthesis". Geology. 46 (2): 135–138. Bibcode:2018Geo....46..135G. doi:10.1130/G39829.1.
  3. http://naffi.trf.or.th/document/algae_doc/22y7is2p4-5.pdf[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Guiry, Michael; Guiry, Wendy. "AlgaeBase". – a database of all algal names including images, nomenclature, taxonomy, distribution, bibliography, uses, extracts
  • "Algae – Cell Centered Database". CCDb.UCSD.edu. San Diego: University of California.
  • Anderson, Don; Keafer, Bruce; Kleindinst, Judy; Shaughnessy, Katie; Joyce, Katherine; Fino, Danielle; Shepherd, Adam (2007). "Harmful Algae". US National Office for Harmful Algal Blooms. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2008. สืบค้นเมื่อ 19 December 2008.
  • "About Algae". NMH.ac.uk. Natural History Museum, United Kingdom.