ฟลูออรีน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฟลูออรีน (อังกฤษ: fluorine) (จากภาษาละติน Fluere แปลว่า "ไหล") เป็นธาตุเคมีที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาได้มากที่สุด มีสัญลักษณ์ F และเลขอะตอม 9 เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นเบาที่สุดและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุด มักปรากฏอยู่ในรูปของแก๊สสีเหลืองที่ภาวะอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาได้เกือบทุกธาตุรวมทั้งแก๊สมีตระกูลบางตัว มีสมบัติเป็นอโลหะมากที่สุด (ถ้าไม่รวมแก๊สมีตระกูล)
ฟลูออรีน | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||||||||||||||||||
ฟลูออรีนในตารางธาตุ | ||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะปรากฏ | ||||||||||||||||||||||||||||
เมื่ออยู่ในสถานะแก๊สจะมีสีเหลืองอ่อนมาก เมื่ออยู่ในสถานะของเหลวจะมีสีเหลืองเข้ม เมื่ออยู่ในของแข็งจะไม่มีสีและทึบขึ้นอยู่กับชนิดของของแข็ง ![]() ฟลูออรีนเหลว | ||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อ สัญลักษณ์ และเลขอะตอม | ฟลูออรีน, F, 9 | |||||||||||||||||||||||||||
การออกเสียง | /ˈflʊəriːn/ fluu-reen, /ˈflʊərɪn/, /ˈflɔːriːn/ | |||||||||||||||||||||||||||
อนุกรมเคมี | อโลหะวาเลนซ์เดียว | |||||||||||||||||||||||||||
หมู่ คาบและบล็อก | 17 (แฮโลเจน), 2, p | |||||||||||||||||||||||||||
มวลอะตอมมาตรฐาน | 18.998403163(6) | |||||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | [He] 2s2 2p5[1] 2, 7 | |||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||
การตั้งชื่อ | ตามแร่ฟลูออไรต์ ตัวมันเองตั้งชื่อตามละตินว่า fluo (ไหล, ในการหลอม) | |||||||||||||||||||||||||||
การค้นพบ | อ็องเดร-มารี อ็องแปร์ (1810) | |||||||||||||||||||||||||||
การแยกครั้งแรก | เฮนริ มัวซอง[1] (26 มิถุนายน 1886) | |||||||||||||||||||||||||||
ตั้งชื่อโดย | ฮัมฟรี เดวี | |||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติกายภาพ | ||||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | gas | |||||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่น | (0 °C, 101.325 kPa) 1.696[2] g/L | |||||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่นของเหลวที่จุดเดือด | 1.505[3] g·cm−3 | |||||||||||||||||||||||||||
จุดหลอมเหลว | 53.48 K, −219.67 °C, −363.41[4] °F | |||||||||||||||||||||||||||
จุดเดือด | 85.03 K, −188.11 °C, −306.60[4] °F | |||||||||||||||||||||||||||
จุดร่วมสาม | 53.48 K, 90[4] kPa | |||||||||||||||||||||||||||
จุดวิกฤต | 144.41 K, 5.1724[4] MPa | |||||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการกลายเป็นไอ | 6.51[2] kJ·mol−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ความจุความร้อนโมลาร์ | (Cp) (21.1 °C) 825[3] J·mol−1·K−1 (Cv) (21.1 °C) 610[3] J·mol−1·K−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ความดันไอ | ||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติอะตอม | ||||||||||||||||||||||||||||
สถานะออกซิเดชัน | −1 (สามารถออกซิไดส์ออกซิเจนได้) | |||||||||||||||||||||||||||
อิเล็กโตรเนกาติวิตี | 3.98[1] (Pauling scale) | |||||||||||||||||||||||||||
พลังงานไอออไนเซชัน | ค่าที่ 1: 1,681[5] kJ·mol−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ค่าที่ 2: 3,374[5] kJ·mol−1 | ||||||||||||||||||||||||||||
ค่าที่ 3: 6,147[5] kJ·mol−1 | ||||||||||||||||||||||||||||
รัศมีอะตอม (คำนวณ) | 42 pm | |||||||||||||||||||||||||||
รัศมีโควาเลนต์ | 64[6] pm | |||||||||||||||||||||||||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 135[7] pm | |||||||||||||||||||||||||||
จิปาถะ | ||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้างผลึก | มอโนคลินิกฐาน-กลาง
![]() สถานะแอลฟา (อุณหภูมิต่ำ)[8] | |||||||||||||||||||||||||||
Cubic.svg
สถานะเบต้า (อุณหภูมิสูง) | ||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นแม่เหล็ก | diamagnetic, −1.2×10−4 (SI)[9][10] | |||||||||||||||||||||||||||
สภาพนำความร้อน | 0.02591[11] W·m−1·K−1 | |||||||||||||||||||||||||||
เลขทะเบียน CAS | 7782-41-4[1] | |||||||||||||||||||||||||||
ไอโซโทปเสถียรที่สุด | ||||||||||||||||||||||||||||
บทความหลัก: ไอโซโทปของฟลูออรีน | ||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง |
ลักษณะแก้ไข
ไอโซโทปแก้ไข
นิวเคลียสของฟลูออรีนประกอบด้วย 9 โปรตอน 9 นิวตรอน แต่ไอโซโทปที่เสถียรของฟลูออรีนนั้น คือ ฟลูออรีน-19 มีโปรตอน 10 โปรตอน ส่วนไอโซโทปของฟลูออรีนที่สังเคราะห์ขึ้นมี 17 ไอโซโทปมีมวลอะตอมตั้งแต่ 14-31 (ยกเว้น 19) ในบรรดาไอโซโทปเหล่านี้ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ ฟลูออรีน-18 ด้วยครึ่งชีวิต 109.77 นาที ไอโซโทปที่มวลเบาส่วนใหญ่จะสลายตัวด้วยวิธีการจับยึดอิเล็กตรอน ฟลูออรีน-17 และฟลูออรีน-18 สลายตัวด้วยการแบ่งแยกโพซิตรอน ส่วนไอโซโทปที่หนักกว่าฟลูออรีน-19 จะสลายด้วยวิธีการสลายให้อนุภาคบีตา
โครงสร้างอะตอมแก้ไข
อะตอมฟลูออรีนในธรรมชาติมี 9 อิเล็กตรอน มีอิเล็กตรอนน้อยกว่านีออนอยู่ 1 อิเล็กตรอน ดังในการจัดเรียงอิเล็กตรอนของฟลูออรีน [He] 2s2 2p5[13] อะตอมของฟลูออรีนมีรัศมีโควาเลนซ์แค่ 64 พิโกเมตร ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับอะตอมออกซิเจนและอะตอมนีออน[note 1][14][15]
พลังงานไอออไนเซชั่นของฟลูออรีนสูงเป็นอันดับ 2 ในคาบเดียวกัน คือมีพลังงานไอออไนเซชั่นลำดับที่ 1 1,681 กิโลจูล/โมล ซึ่งรองจากนีออนที่มีพลังไอออไนเซชั่นลำดับที่ 1 2,080 กิโลจูล/โมล[16] แต่ในหมู่เดียวกันแล้วฟลูออรีนมีพลังงานไอออเนเซชั่นมากที่สุด ทำให้อิเล็กตรอนยากที่จะหลุดออกจากอะตอมฟลูออรีนแต่จะได้รับอิเล็กตรอนเข้ามาง่าย แต่ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron Affinity)ของฟลูออรีนควรจะมากที่สุดในหมู่เดียวกันจากล่างขึ้นบนแต่กลับเป็นอันดับ 2 ซึ่งรองจากคลอรีน[17]ที่มีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนอยู่ 352.4 แต่ฟลูออรีนมีค่านี้อยู่ 331.4 ส่วนค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีหรือสภาพไฟฟ้าลบของธาตุของฟลูออรีนมีมากที่สุดในบรรดาธาตุใดๆคือมีค่าเท่ากับ 4.0[18]
โครงสร้างโมเลกุลแก้ไข
โมเลกุลของฟลูออรีนส่วนใหญ่จะเป็นรูปของ F2 หรือไดฟลูออไรด์ พลังงานระหว่างพันธะของ F2 มีค่าน้อยกว่าพลังงานระหว่างพันธะของ Cl2 และ Br2 ถ้าฟลูออรีนไม่ได้อยู่เป็นคู่จะมีเป็นแม่เหล็กไดอะแมกเนติกแต่ถ้าอยู่กันเป็นคู่แล้วจะมีแม่เหล็กเป็นพาราแมกเนติก ซึ่งคล้ายกับออกซิเจนและไนโตรเจน
สถานะแก้ไข
ฟลูออรีนมีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง[19] เป็นแก๊สที่มีสีเหลืองอ่อนฟลูออรีนบริสุทธิ์มีสีเหลืองอ่อนมาก[20] ฟลูออรีนจะควบแน่นเป็นฟลูออรีนเหลวที่อุณหภูมิ -188 องศาเซลเซียส (-307 องศาฟาเรนไฮต์)[21] ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่ออกซิเจนและไนโตรเจนควบแน่นเป็นของเหลว
ฟลูออรีนจะเป็นของแข็งได้ที่อุณหภูมิ -220 องศาเซลเซียส (-363 องศาฟาเรนไฮต์)[21] ซึ่งอะตอมฟลูออรีนในฟลูออรีนแข็งนี้จะจัดเรียงเป็นรูปลูกบาศก์ หรือที่เรียกว่าบีตา-ฟลูออรีน ในสถานะนี้ฟลูออรีนจะมีลักษณะเป็นของแข็งโปร่งใสและนุ่ม ในอุณหภูมิ -228 องศาเซลเซียส (-378 องศาฟาเรนไฮต์) ฟลูออรีนจะสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นของแข็งโดยที่โครงสร้างคริสตัลจะเปลี่ยนไปเท่านั้นคือเป็นมอโนคลินิกหรือที่เรียกว่าแอลฟา-ฟลูออรีน ซึ่งจะมีสีทึบและยากที่จะปิดตัว พลังงานที่เปลี่ยนโครงสร้างคริสตัลนี้มากกว่าพลังงานที่ใช้เปลี่ยนสถานะที่จุดหลอมเหลวและสามารถจะรุนแรงขึ้นไปอีก[8][22] ในปกติ ฟลูออรีนแข็งค้อนข้างที่จะคล้ายกับออกซิเจนแข็งมากกว่าธาตุในหมู่แฮโลเจนที่อยู่ในสถานะของแข็ง[8][22]
การเกิดปฏิกิริยาเคมีแก้ไข
ฟลูออรีนเมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วบ่อยครั้งที่จะเกิดอย่างฉับพลันหรือเกิดระเบิดขึ้น สารหลายอย่างที่ถือว่าโดยทั่วไปว่าเป็นปฏิกิริยาทางเคมีเช่นผงเหล็ก เศษแก้วและใยหิน เส้นใยนี้เกิดปฏิกิริยากับฟลูออรีนเย็นได้ง่าย น้ำและไม้สามารถถูกเผาไฟได้โดยนำไปใกล้กับฟลูออรีนโดยที่ไม่ต้องมีจุดประกายไฟเลย[19][23]
วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
Bright flames during fluorine reactions | |
Fluorine reacting with caesium |
ฟลูออรีนได้ถูกนำไปใช้ในการเกิดสารประกอบของแก๊สมีตระกูลโดยที่ฟลูออรีนทำปฏิกิริยากับแพลตทินัม แพลเลเดียม หรือเหล็กเกิดเป็น PtF6 PdF6 FeF6 แล้วนำไปใช้เป็นตัวออกซิไดส์ที่สามารถดึงอิเล็กตรอนของแก๊สมีตระกูลแล้วให้ความร้อน ดังสมการ
Xe + PtF6(g) → [Xe+][(PtF6)-]
การปรากฏแก้ไข
เอกภพแก้ไข
เอกภพมีฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบที่ 40 ส่วนในพันล้านส่วน ฟลูออรีนเป็นที่คาดกันว่าจะเป็นธาตุที่พบมากที่สุดเป็นอันดับที่ 24 ในเอกภพ มันเป็นธาตุเบาที่หายาก (ธาตุที่เบากว่ามีแนวโน้มที่จะพบมาก) ธาตุทั้งหมดตั้งแต่ ธาตุที่ 6-14 ยกเว้นธาตุที่ 11[24] มีในเอกภพมากกว่าฟลูออรีน 100-1,000 เท่า ในลำดับการทำปฏิกิริยาฟิวชันบนดาวฤกษ์จะผลิต ออกซิเจน คาร์บอน นีออน และอื่นๆ โดยที่ไม่มีฟลูออรีนผลิตออกมา ถึงจะผลิตได้แต่มันจะถูกทำลายอย่างรวดเร็วโดยปฏิกิริยาฟิวชันอื่นๆ[24][25]
โลกแก้ไข
ฟลูออรีนเป็นธาตุลำดับที่ 13 ตามธาตุที่พบมากในเปลือกโลก ในเปลือกโลกประกอบไปด้วยฟลูออรีน 600-700 ส่วนในล้านส่วน โดยมวล ส่วนใหญ่แล้วเราพบฟลูออรีนในรูปของสารประกอบ ซึ่งเป็นแร่[26][27] แร่ที่สำคัญที่มีฟลูออรีน ได้แก่
- แร่ฟลูออไรต์ - (CaF2) หรือ ฟลูออสปาร์ เป็นแหล่งที่มาหลักของฟลูออรีนในเชิงพาณิชย์ ฟลูออไรต์นี้พบได้ทั่วโลก ประเทศจีนเป็นประเทศที่ต้องการแร่นี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการของโลก รองลงมาเป็นประเทศแม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตฟลูออไรต์ได้มากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่เหมืองแร่แห่งสุดท้ายในรัฐอิลลินอยได้ถูกปิดลงในปี ค.ศ. 1995[27][28][29][30][31]
- ฟลูออร์อะพาไทด์ - (Ca5(PO4)3F) และอะพาไทด์อื่นๆ ถูกขุดออกมาในปริมาณที่มากเนื่องจากอะพาไทด์จะถูกนำไปสกัดเอาฟอสฟอรัสมาทำปุ๋ยฟอสเฟต ฟลูออรีนบนโลกส่วนใหญ่อยู่ในแร่ชนิดนี้ แต่เศษของฟลูออรีนที่น้อยมาก (3.5 %) จะถูกทิ้งเป็นของเสีย มีแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่เก็บฟลูออรีนนี้ไว้เพื่อทำเฮกซะฟลูออโรซิลิเกต (SiF6) เพื่อใช้ในการจัดหาน้ำโดยการฟลูออไรเดชั่น[27]
- ไครโอไลต์ - (Na3AlF6) เป็นที่มีแร่ที่มีฟลูออรีนที่มีในโลกน้อยที่สุด แต่เดิมแร่นี้ใช้ในการผลิตอะลูมิเนียม เหมืองแร่เชิงพาณิชย์หลักที่ชายฝั่งตะวันตกของกรีนแลนด์ได้ถูกปิดลงในปี ค.ศ. 1987[27]
แร่หลักที่มีฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบ | ||
ฟลูออไรต์ | ฟลูออร์อะพาไทด์ | ไครโอไลต์ |
นอกจากนี้ยังมีแร่อื่นๆอีกเช่น พลอย บุษราคัม อยู่ในรูปของฟลูออไรด์ ฟลูออไรด์นั้นพบในน้ำทะเลซึ่งต่างจากแฮไลด์อื่นๆ เพราะโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทจะตกตะกอนเมื่อนำมันออกจากน้ำ ฟลูออรีนนั้นยังถูกพบในขณะที่ภูเขาไฟระเบิดและจากน้ำพุร้อนใต้ดิน จุดกำเนิดของฟลูออรีนที่ดีที่สุดนี้นยังไม่แน่ชัด[32]
สารประกอบแก้ไข
ฟลูออรีนส่วนใหญ่มีเลขออกซิเดชั่น -1 เพราะฟลูออรีนขาดอิเล็กตรอนอีก 1 ก็จะเกิดความเสถียร ดั้งนั้นฟลูออรีนจึงเกิดสารประกอบกับโลหะแอลคาไลและธาตุที่มีเลขออกซิเดชั่น +1 ได้ง่าย
ไฮโดรเจนฟลูออไรด์แก้ไข
ฟลูออรีนเกิดปฏิกิรยากับไอโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบที่เราเรียกมันว่า ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF) หรือที่มันละลายน้ำแล้วจะเป็นกรดไฮโดรฟลูออริก (H+F) จุดเดือดของไฮโดรเจนฟลูออไรด์สูงกว่าไฮโดรเจนแฮไลด์อื่นๆ[33][34][35] เช่นเดียวกับไดไฮโดรเจนออกไซด์ ที่มีจุดเดือดสูงกว่าไดไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไดไฮโดรเจนซีลีไนด์ ไดไฮโดรเจนเทลลูไรด์
ในสารละลายน้ำ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์เป็นกรดอ่อน ในขณะที่ไฮโดรแฮลิกอื่นๆเป็นกรดแก่[36][note 2] กรดไฮโดรฟลูออริกนำไปใช้เป็นงานศิลปะที่ทำโดยกระจกเพื่อใช้ให้มันกัดกระจก[38][39]
สารประกอบกับแก๊สมีตระกูลแก้ไข
สารประกอบแรกที่เกิดสารประกอบฟลูออรีนกับแก๊สมีตระกูลคือ ซีนอนเททระฟลูออไรด์ ต่อมาก็สามารถสร้างสารประกอบที่มีฟลูออรีน 2 อะตอมได้คือ เรดอนไดฟลูออไรด์แล้วคาดว่าจะเกิดกับซีนอนและคริปทอนได้ ส่วนสารประกอบที่เกิดขึ้นกับแก๊สมีตระกูลที่เบากว่าจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว และจะเกิดขึ้นในสภาพที่มีความดันสูง อุณหภูมิต่ำ เช่นอาร์กอนเฮกซะฟลูออโรไฮเดรต (ArHF6) และฮีเลียมเฮกซะฟลูออโรไฮเดรต (HeHF6) ส่วนนีออนนั้นยังไม่พบสารประกอบกับฟลูออรีน
การนำไปใช้ประโยชน์แก้ไข
- โซเดียมฟลูออไรด์ ใช้ปริมาณเล็กน้อยเติมลงในยาสีฟัน จะทำให้แคลเซียมที่ผิวฟันแปลงสภาพเป็นแคลเซียมฟลูออไรด์ที่ไม่ละลายน้ำ และป้องกันฟันผุได้
- กรดไฮโดรฟลูออริก หรือกรดกัดแก้ว ใช้ในงานศิลปะเพื่อกัดกระจกให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการ
ความอันตรายแก้ไข
ฟลูออรีนนั้นมีความอันตรายสูงมากถ้ามันบริสุทธิ์ มันจะทำให้เกิดรอยไหม้เหมือนโดนผิวหนัง เมื่อมีปริมาณ 25 ส่วนในล้านส่วนมันจะสามารถทำร้ายดวงตา ทางเดินหายใจ ปอดรวมถึงตับและไตด้วย ถ้ามีปริมาณ 100 ส่วนในล้านส่วนจะทำให้ตาและจมูกของมนุษย์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
เชิงอรรถแก้ไข
รายการอ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Aigueperse et al. 2005, "Fluorine", p. 1.
- ↑ 2.0 2.1 Aigueperse et al. 2005, "Fluorine", p. 2.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Compressed Gas Association (1999). Handbook of compressed gases. Springer. p. 365. ISBN 9780412782305.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 4.121. ISBN 1439855110.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Dean 1999, p. 4.6.
- ↑ Dean 1999, p. 4.35.
- ↑ Kim, Sung-Hoon (2006). Functional dyes. Elsevier. p. 257. ISBN 9780444521767.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Young, David A. (1975). Phase Diagrams of the Elements (Report). Springer. p. 10. สืบค้นเมื่อ 10 June 2011.
- ↑ Mackay, Mackay & Henderson 2002, p. 72.
- ↑ Cheng, H.; Fowler, D. E.; Henderson, P. B.; Hobbs, J. P.; Pascaloni, M. R. (1999). "On the magnetic susceptibility of fluorine". Journal of Physical Chemistry A. 103 (15): 2861–2866. doi:10.1021/jp9844720.
- ↑ Yaws & Braker 2001, p. 385.
- ↑ Chiste, V. (2006). "F-18" (PDF). Table de radionucleides. Laboratoire National Henri Becquerel. สืบค้นเมื่อ 15 June 2011.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Jaccaud et al. 2005, p. 1.
- ↑ Cordero et al. 2008 .
- ↑ Pyykkö & Atsumi 2009 .
- ↑ Dean 1999, p. 564.
- ↑ Lide 2004, pp. 10.137–10.138.
- ↑ Moore, Stanitski & Jurs 2010, p. 156 .
- ↑ 19.0 19.1 Jaccaud et al. 2005, p. 2.
- ↑ Burdon, Emson & Edwards 1987 .
- ↑ 21.0 21.1 Dean 1999, p. 523.
- ↑ 22.0 22.1 Barrett, Meyer & Wasserman 1967 .
- ↑ Nelson 1947 .
- ↑ 24.0 24.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCrosswell
- ↑ Handbook of Isotopes in the Cosmos: Hydrogen to Gallium; Donald Clayton; pages 101-104
- ↑ Jaccaud et al. 2005, p. 4.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 Greenwood & Earnshaw 1998, p. 795.
- ↑ Villalba, Ayres & Schroder 2008 .
- ↑ Kelly 2005 .
- ↑ Lusty et al. 2008 .
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKGS fluorite terminology
- ↑ Gribble 2002 .
- ↑ Pauling 1960, pp. 454–464 .
- ↑ Atkins & Jones 2007, pp. 184–185 .
- ↑ Emsley 1981 .
- ↑ Wiberg, Wiberg & Holleman 2001, p. 425.
- ↑ Clark, Jim (2002). "The acidity of the hydrogen halides". สืบค้นเมื่อ 4 September 2011.
- ↑ Chambers & Holliday 1975, pp. 328–329 .
- ↑ TMH 2010, p. 15.22 .
บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |