ฟันผุ

ความผิดปกติของฟันที่เกิดจากกรดของแบคทีเรีย

ฟันผุ (อังกฤษ: tooth decay, cavities, caries) เป็นการสลายตัวของฟันจากกรดที่ผลิตโดยแบคทีเรีย[6] สีของฟันผุมีตั้งแต่เหลืองถึงดำ[1] ผู้ป่วยมีอาการปวดฟันและทานอาหารลำบาก[1][2] อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น เนื้อเยื่อรอบฟันอักเสบ การสูญเสียฟัน การติดเชื้อและการเกิดหนอง[1][3]

ฟันผุ
ชื่ออื่นdental cavities, dental caries, cavities, caries
ฟันที่เสียหายจากฟันผุและโรค
การออกเสียง
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
อาการปวดฟัน, สูญเสียฟัน, ทานอาหารลำบาก[1][2]
ภาวะแทรกซ้อนการอักเสบรอบ ๆ ฟัน, การสูญเสียฟัน, การติดเชื้อและเกิดหนอง[1][3]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว
สาเหตุแบคทีเรียผลิตกรดจากเศษอาหาร[4]
ปัจจัยเสี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง, เบาหวาน, กลุ่มอาการโชเกรน, ยาที่ลดน้ำลาย[4]
การป้องกันอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ, การแปรงฟัน, ฟลูออไรด์, การขัดฟัน[2][5]
ยาพาราเซตามอล (อะเซตามีโนเฟน), ไอบิวพรอเฟน[6]
ความชุก3.6 พันล้านคน (ค.ศ. 2016)[7]

ฟันผุมีสาเหตุจากกรดที่แบคทีเรียใช้สลายเนื้อเยื่อแข็งของฟัน (เคลือบฟัน เดนทินและเคลือบรากฟัน)[4] แบคทีเรียใช้กรดนี้ในการย่อยสลายเศษอาหารและน้ำตาลบนผิวฟัน[4] เนื่องจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวนี้เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของแบคทีเรีย การทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงจึงเสี่ยงต่อฟันผุ[4] ปัจจัยเสี่ยงอื่นรวมถึงภาวะก่อน้ำลายน้อย เช่น เบาหวาน กลุ่มอาการโชเกรนและยาบางชนิด[4] ยาที่ลดการผลิตน้ำลาย ได้แก่ สารต้านฮิสตามีนและยาแก้ซึมเศร้า[4] ฟันผุยังมีสาเหตุมาจากความยากจน อนามัยช่องปากไม่ดีและเหงือกร่นจนถึงรากฟัน[6][8]

การป้องกันฟันผุ ได้แก่ การทำความสะอาดฟันเป็นประจำ การทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อยและการใช้ฟลูออไรด์[2][4] มีการแนะนำการแปรงฟันสองครั้งต่อวันและขัดฟันหนึ่งครั้งต่อวัน[4][6] ผลิตภัณฑ์ที่มีฟลูออไรด์ ได้แก่ ยาสีฟัน น้ำผสมฟลูออไรด์และเกลือ[2] มีวิธีรักษาหลากหลายตามสภาพฟันตั้งแต่การอุดฟันไปจนถึงการถอนฟัน[6] ยังไม่พบวิธีฟื้นฟูฟันที่เสียหายขึ้นใหม่[9] แต่มีการใช้ฟลูออไรด์เพื่อคืนแร่ธาตุในการรักษารอยโรคขนาดเล็ก[10] มีการใช้พาราเซตามอลหรือไอบิวพรอเฟนในการระงับปวด[6] การรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีฟันผุอาจลดความเสี่ยงในการแพร่แบคทีเรียสู่ทารกในครรภ์[4]

ประชากรประมาณ 3.6 พันล้านคน (48% ของจำนวนประชากร) มีฟันผุในฟันแท้ (ค.ศ. 2016)[7] ขณะที่ประชากรประมาณ 620 ล้านคน (9% ของจำนวนประชากร) มีฟันผุในฟันน้ำนม[11] องค์การอนามัยโลกประเมินว่าผู้ใหญ่เกือบทั้งหมดมีฟันผุในช่วงหนึ่งของชีวิต[2] พบฟันผุในเด็กและผู้ใหญ่มากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[12] ฟันผุพบมากในประเทศพัฒนาแล้วเนื่องจากการบริโภคน้ำตาลมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา[6] คำว่า caries มาจากภาษาละตินแปลว่า "เน่าเสีย"[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Laudenbach, JM; Simon, Z (November 2014). "Common Dental and Periodontal Diseases: Evaluation and Management". The Medical Clinics of North America. 98 (6): 1239–1260. doi:10.1016/j.mcna.2014.08.002. PMID 25443675.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Oral health Fact sheet N°318". who.int. April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2014. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 Taber's cyclopedic medical dictionary (Ed. 22, illustrated in full color ed.). Philadelphia: F.A. Davis Co. 2013. p. 401. ISBN 9780803639096. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-13.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 SECTION ON ORAL, HEALTH; SECTION ON ORAL, HEALTH (December 2014). "Maintaining and improving the oral health of young children". Pediatrics. 134 (6): 1224–9. doi:10.1542/peds.2014-2984. PMID 25422016. S2CID 32580232.
  5. de Oliveira, KMH; Nemezio, MA; Romualdo, PC; da Silva, RAB; de Paula E Silva, FWG; Küchler, EC (2017). "Dental Flossing and Proximal Caries in the Primary Dentition: A Systematic Review". Oral Health & Preventive Dentistry. 15 (5): 427–434. doi:10.3290/j.ohpd.a38780. PMID 28785751.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Silk, H (March 2014). "Diseases of the mouth". Primary Care: Clinics in Office Practice. 41 (1): 75–90. doi:10.1016/j.pop.2013.10.011. PMID 24439882. S2CID 9127595.
  7. 7.0 7.1 "Oral health". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-14.
  8. Schwendicke, F; Dörfer, CE; Schlattmann, P; Page, LF; Thomson, WM; Paris, S (January 2015). "Socioeconomic Inequality and Caries: A Systematic Review and Meta-Analysis". Journal of Dental Research. 94 (1): 10–18. doi:10.1177/0022034514557546. PMID 25394849. S2CID 24227334.
  9. Otsu, K; Kumakami-Sakano, M; Fujiwara, N; Kikuchi, K; Keller, L; Lesot, H; Harada, H (2014). "Stem cell sources for tooth regeneration: current status and future prospects". Frontiers in Physiology. 5: 36. doi:10.3389/fphys.2014.00036. PMC 3912331. PMID 24550845.
  10. MedlinePlus Encyclopedia Dental Cavities
  11. Vos, T (Dec 15, 2012). "Years lived with disability (YLDs) for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990–2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". The Lancet. 380 (9859): 2163–96. doi:10.1016/S0140-6736(12)61729-2. PMC 6350784. PMID 23245607.
  12. Bagramian, RA; Garcia-Godoy, F; Volpe, AR (February 2009). "The global increase in dental caries. A pending public health crisis". American Journal of Dentistry. 22 (1): 3–8. PMID 19281105.