ทันตแพทยศาสตร์ (อังกฤษ: dentistry) เป็นสาขาวิชาที่ประเมิน วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรค ความผิดปกติ หรือภาวะในช่องปาก บริเวณใบหน้าขากรรไกร และ/หรือบริเวณใกล้เคียงและโครงสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์[1] บุคคลที่ประกอบอาชีพที่กระทำหัตถการดังกล่าวจะเรียกว่า ทันตแพทย์ (dentist)

ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์กำลังผ่าตัดช่องปากผู้ป่วย.

ทันตแพทยศาสตร์เป็นวิชาชีพทางสาธารณสุขที่ผ่านการศึกษาและฝึกฝนจนสำเร็จการศึกษา ซึ่งในประเทศไทยจะได้รับปริญญาบัตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.) หรือเทียบเท่ากับ Doctor of Dental Surgery (DDS) สำหรับในต่างประเทศยังมีวุฒิการศึกษาอื่น ๆ ที่เทียบเท่า เช่น Doctor of Dental Medicine (DMD) , Bachelor of Dentistry (BDent) , Bachelor of Dental Science (BDSc) , หรือ Bachelor of Dental Surgery/Chirurgiae (BDS หรือ BChD) ในประเทศไทยนอกจากจะต้องผ่านการศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์เป็นเวลา 6 ปี แล้วจะต้องได้รับอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งออกโดยทันตแพทยสภาผ่านการสอบทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จึงจะสามารถประกอบอาชีพทันตแพทย์(dentist)ในประเทศไทยได้

หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ในไทย

แก้

การเรียนการสอน

แก้

หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ในไทยมักจะแบ่งการเรียนการสอนของระดับปริญญาตรีออกเป็น 2 ช่วงคือ “ชั้นพรีคลินิก” และ “ชั้นคลินิก” โดยส่วนมากจะแบ่งตามชั้นปีที่ศึกษาและความสามารถในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจริง ในการเรียนการสอนนั้นจะประกอบไปด้วยวิชาพื้นฐานทางการแพทย์และทางทันตกรรมเป็นหลักสำคัญ และจะแบ่งการเรียนออกเป็นสองรูปแบบหลักคือ การเรียนแบบเลคเชอร์หรือฟังบรรยาย และ การเรียนแบบภาคปฏิบัติทั้งในห้องแลปและในผู้ป่วยจริง ทั้งนี้เมื่อเรียนจนจบหลักสูตรทันแพทยศาสตร์ในระดับปริญญาตรีแล้ว ก็ยังสามารถสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาต่อไปได้

ชั้นพรีคลินิก

แก้

“ชั้นพรีคลินิก” ในประเทศไทยมักจะหมายถึงนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-3 ของระดับปริญญาตรี โดยเนื้อหาการเรียนการสอนจะเน้นหนักไปที่การเรียนแบบฟังบรรยายและการฝึกปฏิบัติในห้องแลป เช่น ฝึกทำฟันเทียมทั้งปาก ฝึกการทำทันตกรรมหัตถการเบื้องต้น เป็นต้น ทั้งนี้จะไม่มีการทำหัตถการใดใดกับผู้ป่วยจริงทั้งสิ้น

ชั้นคลินิก

แก้

“ชั้นคลินิก” ในประเทศไทยมักจะหมายถึงนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4-6 ของระดับปริญญาตรี โดยเนื้อหาการเรียนการสอนจะเน้นหนักไปที่การฝึกปฏิบัติในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจริง ภายใต้การดูแลที่เข้มงวดของอาจารย์ผู้สอน เช่น การถอนฟัน การผ่าฟันคุด เป็นต้น แต่ก่อนที่จะเริ่มให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจริงได้นั้นจะต้องผ่านการสอบวัดความรู้ทางทันตกรรมระดับประเทศหรือ “National license” ที่จัดขึ้นโดยทันตแพทย์สภา ซึ่งจะมีการจัดสอบเพียง 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น

ระดับบัณฑิตศึกษา

แก้

โดยปกติแล้วผู้ที่จะศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึษาได้นั้นจะต้องได้รับปริญญาบัตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.) มาก่อนหรืออาจเป็นไปตามเกณฑ์ที่สถาบันที่เปิดสอนกำหนด โดยจะมีหลักสูตรให้เลือกศึกษาต่อ ดังนี้

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
  • หลักสูตรปริญญาโท
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
  • หลักสูตรปริญญาเอก

ทั้งนี้เนื้อหาและระยะเวลาของแต่ละหลักสูตรจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบันที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ในไทย

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Dentistry Definitions[ลิงก์เสีย], hosted on the American Dental Association website. เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 This definition was adopted the association's House of Delegates in 1997

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้