จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อังกฤษ: Chulalongkorn University; อักษรย่อ: จฬ. หรือ จุฬาฯ – CU or Chula) เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย[13] ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[14] ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 โดยมี "พระเกี้ยว" เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน[15] พ.ศ. 2459 (นับแบบเก่า) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"[16]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตราพระเกี้ยว
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อย่อจฬ. / CU [1]
คติพจน์ความรู้คู่คุณธรรม (ทางการ)
เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน (ไม่เป็นทางการ)[2]
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา26 มีนาคม พ.ศ. 2460; 106 ปีก่อน (2460-03-26)[3]
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
งบประมาณ22,126,265,864 บาท
(ปีการศึกษา 2563)[4]
นายกสภาฯศ.กิตติคุณ นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล[5][6]
อธิการบดีศ.ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
อาจารย์2,821 (2561)[7]
เจ้าหน้าที่5,145 (2561)[8]
ผู้ศึกษา37,546 คน[9] (2565)
ที่ตั้ง
เลขที่ 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เพลงมหาจุฬาลงกรณ์[10]
สี  สีชมพู[11][12]
เครือข่ายAPRU, AUN, ASAIHL
เว็บไซต์www.chula.ac.th

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และได้รับเลือกให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1 โดยผู้จัดอันดับหลายสำนัก[17][18] หนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมากจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN)[19] และเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (APRU)[20][21] ในส่วนของการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษานั้นพบว่า ผู้สมัครสอบที่ทำคะแนนรวมสูงสุดในแต่ละปีส่วนใหญ่เลือกเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[22] ในปี พ.ศ. 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่มีมูลค่าของการเล่นแชร์ลูกโซ่สูงสุด[23] ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วย 19 คณะ 1 สำนักวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และมีหน่วยงานประเภท วิทยาลัย 3 แห่ง บัณฑิตวิทยาลัย 1 แห่ง สถาบัน 14 แห่ง และสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน[24] จำนวนหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 506 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 113 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 393 หลักสูตร ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร[25]

ประวัติ แก้

 
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับแบบเก่า) ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง หลังสำเร็จการศึกษาให้นักเรียนเหล่านี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก[ต้องการอ้างอิง] จึงมีการเปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445[26] เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไป[27] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดยใช้วังวินด์เซอร์เป็นสถานที่เรียน เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"[28] และใช้ทุนที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้ามาใช้เป็นทุนโรงเรียน[29] และโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,309 ไร่เป็นเขตโรงเรียน[30] โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา (โรงเรียนฝึกหัดครู) โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา (โรงเรียนกฎหมาย) และโรงเรียนยันตรศึกษา[31]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สังกัดกระทรวงธรรมการ[32] ในระยะแรก การจัดการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่เพียงระดับประกาศนียบัตรพร้อมกับเตรียมการเรียนการสอนในระดับปริญญา โดยจัดการศึกษาออกเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตปทุมวัน และวิทยาเขตโรงพยาบาลศิริราช จัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[33] (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อตั้งโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิการบดีกรมมหาวิทยาลัยในกระทรวงธรรมการพระองค์แรก[34] ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูย้ายกลับไปสังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ และโรงเรียนกฎหมายย้ายกลับไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม[35] (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปัจจุบัน)

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดต่อขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[36] เป็นผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาได้[37][38][39] หลังจากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายการจัดการศึกษาโดยจัดตั้งคณะและแผนกอิสระเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ โดยการรวมโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน (คณะรัฐประศาสนศาสตร์เดิม) เข้าไว้ด้วยกัน[40][41], แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์, แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์, แผนกอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์[42] นอกจากนี้ ยังเริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในปัจจุบัน)

ระหว่าง พ.ศ. 2476–2486 มีการโอนย้ายส่วนราชการออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้น กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2476 มีการโอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน)[43] และ พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ และแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ เพื่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)[44] อย่างไรก็ตาม คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ยังคงใช้สถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อจัดการศึกษาอยู่ ดังนั้น ทั้ง 3 คณะจึงโอนกลับมาเป็นคณะวิชาในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในระยะต่อมา[45][46]

 
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมประจำมหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2479 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ขอพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้รับเช่า จึงได้มีการเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าจะยกกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นให้แก่มหาวิทยาลัยได้หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอความเห็นไว้ว่า เงื่อนไขในพระบรมราชโองการรัชกาลที่ 5 ซึ่งให้ยกที่ดินรายนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์ เพื่อเก็บผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินนั้น เฉลี่ยส่วนให้บาทบริจาริกาเป็นคราว ยังคงใช้ได้อยู่

ในปี พ.ศ. 2482 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ร่างราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีความเห็น เห็นชอบ และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร[47] อันเป็นที่มาของประกาศเป็นพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482 ลงนามโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ณ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2482[48]

เมื่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านภาษาและหนังสือหลายประการ[49] จึงได้ปรากฏการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่นอีก ได้แก่ "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย"[50] อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ใน พ.ศ. 2487 ก็มีการประกาศยกเลิกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้กลับไปใช้การเขียนภาษาในรูปแบบเดิม การเขียนชื่อมหาวิทยาลัยจึงกลับเป็นแบบเดิม นอกจากนี้ในช่วง พ.ศ. 2497–2514 ยังพบการเขียนนามมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่ ""[51]

ระหว่าง พ.ศ. 2486–2503 มหาวิทยาลัยก็ได้ขยายการศึกษาไปยังสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก โดยมีการจัดตั้งคณะขึ้นใหม่หลายสาขา และตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และก่อตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและงานบริการทางวิชาการแก่สังคม

สัญลักษณ์ แก้

การบริหารงาน แก้

นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แก้

ผู้บัญชาการและอธิการบดี แก้

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดี ดังรายพระนามและรายนาม ต่อไปนี้[62]

ผู้บัญชาการ
ลำดับ รายชื่อผู้บัญชาการ วาระ อ้างอิง
1
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 6 เมษายน พ.ศ. 2460 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 [63]
2
มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 1 กันยายน พ.ศ. 2475 [64]
อธิการบดี
ลำดับ รายชื่ออธิการบดี (ยศและคำนำหน้าขณะดำรงตำแหน่ง) วาระ อ้างอิง
3
ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส 21 ตุลาคม พ.ศ. 2478 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 [65]
4
ศาสตราจารย์วิสามัญ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 [66][67][68][69]
5
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล 1 กันยายน พ.ศ. 2487 – 5 กันยายน พ.ศ. 2492 [70][71][72]
6
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2493 – 6 กันยายน พ.ศ. 2504 [73][74][75][76][77][78]
7
จอมพล ประภาส จารุเสถียร 7 กันยายน พ.ศ. 2504 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2512 [79][80][81][82]
8
ศาสตราจารย์อุปการคุณ ดร.แถบ นีละนิธิ 27 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2514 [83]
9
ศาสตราจารย์อุปการคุณ ดร.อรุณ สรเทศน์ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2514 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2518 [84][85]
10
ศาสตราจารย์กิตติคุณเติมศักดิ์ กฤษณามระ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520 [86]
11
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เกษม สุวรรณกุล 4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 – 2 มกราคม พ.ศ. 2532 [87][88][89]
12
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา 2 มกราคม พ.ศ. 2532 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 [90][91]
13
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ 1 เมษายน พ.ศ. 2539 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2543 [92]
14
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร 1 เมษายน พ.ศ. 2543 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 [93]
15
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 [94]
16
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล 1 เมษายน พ.ศ. 2551 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 [95][96]
17
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน [97][98]

การศึกษา แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเรียนและสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 19 คณะ 1 สำนักวิชา 3 วิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน 2 สถาบัน และยังมีสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน ในปีการศึกษา 2556 เปิดสอนด้วยจำนวนหลักสูตรทั้งหมด 506 สาขาวิชา โดยจำแนกเป็นระดับปริญญาตรี 113 สาขาวิชา, หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 9 สาขาวิชา หลักสูตรระดับปริญญาโท 230 สาขาวิชา หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 39 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับปริญญาเอก 115 สาขาวิชา[99] ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร[100] ปัจจุบันประกอบด้วยส่วนงานทางวิชาการที่จัดการเรียนการสอน ได้แก่[101][102]

คณะกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แก้

คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก้

คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ แก้

หลักสูตรนานาชาติ แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติทั้งหมด 87 หลักสูตร[103]

ส่วนที่จัดการสอนและงานวิจัยเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา แก้

สถาบันสมทบ แก้

งานวิจัย แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วนงานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันวิจัยในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

หน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก ได้แก่ ศูนย์บริการวิชาการ (Unisearch)[105] มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนำผลการศึกษาวิจัยออกสู่สังคมและหน่วยงานนอกมหาวิทยาลัย ส่วนหน่วยงานสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผลงานศึกษาวิจัยได้พัฒนาและนำไปสู่การจดสิทธิบัตรประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนทุนสำหรับการสร้างหน่วยปฏิบัติการวิจัย (RU) และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (CE) ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหน่วยปฏิบัติการวิจัยมากกว่า 100 หน่วย และมีศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งในระดับชาติและมหาวิทยาลัยมากกว่า 20 ศูนย์[106]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีกลุ่มวิจัยหลักซึ่งเป็นการรวมศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักวิชาการที่มีเฉพาะเรื่องเข้ามาบูรณาการให้เป็นการวิจัยแบบสหศาสตร์ รวมทั้ง เน้นการบริหารจัดการการวิจัยที่เป็นองค์รวม มีการติดตามและประเมินผลแบบอัตโนมัติ[106] โดยแบ่งออกเป็น 10 กลุ่มวิจัยหลัก[107] ได้แก่

ปี พ.ศ. 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับของ Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก[108]

ใน พ.ศ. 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Web of Science ของสถาบัน ISI บริษัท Thomson Reuters จำนวน 1,567 เรื่อง[109] และผลงานตีพิมพ์ฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier B.V. จำนวน 1988 เรื่อง[110]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติของประเทศไทยในหลายด้าน เช่น องค์การอนามัยโลก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) และ สมาคมสถาบันการศึกษาชั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL)[111]

ศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลกที่ตั้งอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีดังนี้

ทรัพยากรวิชาการ แก้

ระบบการให้บริการทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสำนักงานวิทยทรัพยากรเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการในหลายลักษณะ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ เช่น สถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุด (Chulalinet) และ CHULA MOOC

สำนักงานวิทยทรัพยากร แก้

 
อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษาหรืออาคารจามจุรี 10

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มมีการให้บริการทางวิชาการขึ้นในมหาวิทยาลัยแก่บุคลากร นิสิตและประชาชนทั่วไปตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งห้องสมุดโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นใน พ.ศ. 2453 และมีพัฒนาการด้านการบริการไปพร้อมกับการวิวัฒน์ขึ้นของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน[117] เพื่อเป็นการรองรับกิจการที่กว้างขวางขึ้นของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ใน พ.ศ. 2458 ห้องสมุดโรงเรียนข้าราชการพลเรือนจึงเปลี่ยนชื่อเป็นหอสมุดกลางและขยายการบริการทางวิชาการให้กว้างขวางขึ้น โดยตั้งอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จนกระทั่ง วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[118] ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยการรวมหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน คือ หอสมุดกลาง ศูนย์เอกสารประเทศไทย และศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง เมื่อสถาบันวิทยบริการมีการขยายงานบริการที่หลากหลายขึ้นจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานวิทยทรัพยากรพร้อมทั้งปรับการบริหารภายในองค์กร สำนักงานวิทยทรัพยากรตั้งอยู่ที่อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ บนพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท[119]

ปัจจุบัน สำนักงานวิทยทรัพยากรประกอบด้วย 4 ฝ่าย และ 1 ศูนย์ดังนี้

หอสมุดกลาง (สำนักงานวิทยทรัพยากร) แก้

สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ "หอกลาง" ตั้งอยู่ภายในอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ เป็นอาคารสูง 8 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยห้องสมุดสาขาวิชาและหน่วยงานอื่น ๆ ดังนี้[120]

  • ชั้น B ชั้นเก็บหนังสือปีพิมพ์เก่า (Stack)
  • ชั้น 1 เป็นชั้นอำนวยการบริการต่าง ๆ เช่น บริการยืม-คืน บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการเครื่องพิมพ์ บริการถ่ายเอกสาร ร้านกาแฟ
  • ชั้น 2 เป็นพื้นที่อ่านหนังสือและห้องอ่านหนังสือกลุ่ม ส่วนวิทยานิพนธ์ ได้ย้ายสถานที่ให้บริการไปยังอาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา หรืออาคารจามจุรี 10 และยังให้บริการแบบออนไลน์ในคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR – Chulalongkorn University Intellectual Repository)
  • ชั้น 3 บริการผลิตสื่อมัลติมีเดีย บริการห้องประชุม และศูนย์สัมผัสวัฒนธรรมจีน สถาบันขงจื่อศึกษา
  • ชั้น 4 ห้องหนังสือมนุษยศาสตร์และวรรณกรรม ห้องหนังสือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และห้องอบรมคอมพิวเตอร์
  • ชั้น 5 ห้องหนังสือสังคมศาสตร์
  • ชั้น 6 ศูนย์สารสนเทศประเทศไทยและประชาคมอาเซียน ห้องหนังสือหายากและสิ่งพิมพ์พิเศษ
  • ชั้น 7 นิทรรศการจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย สำนักงานวิทยทรัพยากรร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพุทธศักราช 2560 โดยจัดทำนิทรรศการและคลังสารสนเทศดิจิทัล “จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย” ประกอบด้วยพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณ ข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และเรื่องราวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน ย้ายไปให้บริการในรูปแบบนิทรรศการและคลังสารสนเทศดิจิทัลออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2566

ระบบสารสนเทศ แก้

 
ด้านนอกอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566

ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 สถาบันวิทยบริการ (สำนักงานวิทยทรัพยากร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทย[121] ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง[122][123][124]

  • เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalinet) เป็นระบบเครือข่ายห้องสมุดบนอินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นห้องสมุดอัตโนมัติแห่งแรกของประเทศไทย
  • คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR – Chulalongkorn University Intellectual Repository) เป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาทิ ผลงานวิจัยทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย และหนังสือทุกประเภทในรูปแบบดิจิตอล[125]
  • ฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย (CU Reference Databases) เป็นแหล่งรวบฐานข้อมูลวิชาการสาขาต่าง ๆ จำนวนมากโดยกำหนดให้ใช้งานฐานข้อมูลที่บอกรับผ่านเครือค่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUNet) บุคคลภายนอกสามารถใช้งานได้ที่คอมพิวเตอร์ที่ต่อกับเครื่อข่ายของมหาวิทยาลัยเท่านั้น[126]
  • ฐานข้อมูลศูนย์เอกสารประเทศไทย (Thailand Information Center Database) เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลเอกสาร บทความ วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าถึงต้นฉบับเอกสารทางวิชาการที่ได้ศึกษาแง่มุมต่าง ๆ ของประเทศไทย และสามารถเข้าสืบค้นด้วยตนเองที่อาคารมหาธีรราชานุสรณ์
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ (Chula e-Resource) ประกอบด้วย e-Book มุ่งรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีคุณค่าทางวิชาการ เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยแก่ประชาคมจุฬาฯ และสังคม เปิดให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ (Open Access) ประกอบด้วย หนังสือชุดจุฬาฯ 100 ปี : ศิลป์ในศาสตร์บนเส้นทางแห่งการเสาะหาวิชา หนังสือของศูนย์เอกสารประเทศไทยเป็นเอกสารสนับสนุนการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในยุคสงครามเย็น หนังสือหายากทรงคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมไทย
  • จุฬาวิทยานุกรม (Chulapedia) เป็นระบบสารานุกรมออนไลน์ สามารถสืบค้นเนื้อหาด้วยคำสำคัญซึ่งแก้ไขพัฒนาบทความโดยคณาจารย์และนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเปิดให้ประชาชนใช้บริการสืบค้นได้แต่ไม่สามารถร่วมแก้ไขพัฒนาบทความได้[127]
  • สำนักงานวิทยทรัพยากร โดยฝ่ายบริการข้อมูลสารสนเทศ มีหน้าที่ผลิตสื่อวีดิทัศน์สื่อผสมรูปแบบสื่อใหม่ สื่อภาพถ่ายดิจิทัล สื่อเสียง สื่อกราฟิก ให้แก่มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีหน่วยผลิตสื่อเคลื่อนที่ (Mobile Unit) เพื่อไปบันทึกกิจกรรมตามสถานที่ต่าง ๆ และส่งสัญญาณภาพและเสียงนำมาถ่ายทอดรายการ ผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการสำคัญ ๆ ได้[128]

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ แก้

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เป็นศูนย์สนับสนุนทางนวัตกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่สนับสนุนเทคโนโลยีในการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน[129] นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นแหล่งนำองค์ความรู้จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่สังคมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต[130] บริการด้านวิชาการในส่วนนี้คือ "ห้องสมุดออนไลน์"[131]

จุฬาฯ มูค แก้

จุฬาฯ มูค (CHULA MOOC) เป็นคอร์สเรียนออนไลน์ไม่จำกัดบุคคล สถานที่ และเวลา ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นให้บริการโดยไม่คิดค่าใช่จ่ายใด ๆ เมื่อเรียนสำเร็จในแต่ละคอร์สจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมอบประกาศนียบัตร (Certificate of Completion) ให้แก่ผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ตามที่รายวิชากำหนดไว้[132]

สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แก้

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz เป็นสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาโดยเผยแพร่เอกสารสื่อการสอนบนเว็บไซต์และจัดรายการข่าวสารเชิงวิชาการ และยังเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการให้ความรู้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อการสอบเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ในทุก ๆ ปี สถานีวิทยุจุฬาฯ จะจัดสอนพิเศษให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถ่ายทอดสดในชื่อรายการ "เปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย"[133]

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย แก้

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย แก้

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ (อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
ARWU (2017) 1 (401-500)
CWTS (2017) 1 (458)
CWUR (2017) 1 (308)
Nature Index (2017) 1 (-)
QS (Asia) (2018) 1 (44)
QS (World) (2023) 1 (224)
RUR (2018) 1 (465)
RUR Reputation (2017) 1 (194)
RUR Research (2016) 1 (424)
SIR (2017) 2 (456)
THE (Asia) (2018) 3 (164)
THE (World) (2018) 2 (601-800)
THE (BRICS) (2017) 3 (117)
URAP (2017) 2 (474)
U.S. News (2018) 2 (539)

เมื่อ พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจัดให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ[134] นอกจากนี้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้เข้าประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับรองมาตรฐานในระดับดีมากแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[135]

ส่วนการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 3 ในปี 2554 พบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการประเมินในระดับ 5 หรือในระดับดีเยี่ยมในกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มสาขาเทคโนโลยี กลุ่มสาขาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทยศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ[136][137]

อันดับมหาวิทยาลัย แก้

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมักได้รับเลือกให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1 ของประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 คอกโครัลลีไซมอนส์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่ง จัดอันดับให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 96 ของโลกในด้านวิชาการ นับเป็นอันดับของมหาวิทยาลัยไทยที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา[138] ก่อนหน้านี้ใน พ.ศ. 2561 คอกโครัลลีไซมอนส์เคยจัดอันดับให้สาขาวิศวกรรมเคมีและสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ติดอันดับต่ำกว่า 100 ของโลกมาแล้ว[139][140] นอกจากนี้ ยังมีอีก 19 สาขาวิชาของมหาวิทยาลัยที่ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศ[141]

หน่วยงานอื่น ๆ ที่จัดอันดับให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง,[18][142] CWTS Leiden University,[143] Center for World University Rankings,[144] Nature Index,[108][145][146] RUR Rankings Agency[147][148] [149][150] และ Webometrics[151] ในขณะที่ SCImago Institutions Ranking,[152] The Times Higher Education,[153][154] University Ranking by Academic Performance[155] และ U.S. News & World Report จัดอันดับให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอันดับที่ 2 ประเทศ

พื้นที่มหาวิทยาลัย แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพื้นที่ทั้งหมด 1,153 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ และพื้นที่เขตพาณิชย์[156] พื้นที่ในปัจจุบันลดลงจากในอดีต เนื่องจากส่วนที่เป็นถนนและซอยต่าง ๆ ในเขตที่ดินของมหาวิทยาลัยถูกตัดออกไป[157][158]

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ภูมิทัศน์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถ่ายจากประตูใหญ่ ริมถนนพญาไท
1
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
2
คณะอักษรศาสตร์
3
หอประชุมจุฬาฯ
4
พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล
5
คณะวิศวกรรมศาสตร์
6
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์
7
หอนาฬิกา 100 ปีที่ระลึกการสถาปนาฯ
8
คณะวิทยาศาสตร์
9
จัตุรัสจามจุรี
10
คณะวิทยาศาสตร์

พื้นที่การศึกษา แก้

 
ภูมิทัศน์บริเวณประตูใหญ่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท

พืนที่การศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีทั้งหมด 6 ส่วน ดังนี้

พื้นที่ให้ส่วนราชการเช่าใช้ แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสรรพื้นที่ไว้สำหรับให้หน่วยงานราชการเช่าใช้ เป็นจำนวน 184 ไร่ สถานที่สำคัญในพื้นที่ส่วนนี้ได้แก่ กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามกีฬาแห่งชาติ) ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน และสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง

พื้นที่พาณิชยกรรม แก้

ที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อจัดหาผลประโยชน์[162][163] ซึ่งพื้นที่พาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นแยกออกจากพื้นที่การศึกษาเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน[164] โดยจะเป็นส่วนมุมของที่ดินซึ่งมีถนนสายสำคัญตัดผ่าน มีพื้นที่ทั้งหมด 374 ไร่[165] ปัจจุบันสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานพัฒนาพื้นที่เขตพาณิชย์เหล่านี้[166]

  • สยามสแควร์ เป็นศูนย์การค้าแนวราบและเปิดโล่ง มีเนื้อที่ 63 ไร่ มีถนนพญาไทตัดผ่านทางทิศตะวันตก ถนนพระรามที่ 1 ตัดผ่านทางทิศเหนือและถนนอังรีดูนังต์ตัดผ่านทางทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนนี้ประกอบไปด้วยศูนย์การค้าสยามสแควร์วันและเซ็นเตอร์พอยท์ โรงเรียนกวดวิชาสยามกิตติ์ และโรงแรมโนโวเทลกรุงเทพ ฝั่งตรงข้ามกับสยามแควร์เป็นที่ตั้งของเอ็มบีเคเซ็นเตอร์
  • จัตุรัสจามจุรี เป็นศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ตั้งอยู่บนมุมแยกสามย่านฝั่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • ตลาดสามย่าน เป็นตลาดสดสองชั้น ชั้นล่างเป็นตลาดสดและชั้นบนเป็นร้านอาหาร มีพื้นที่ใช้สอย 6,200 ตารางเมตร เดิมเคยตั้งอยู่ที่แยกสามย่านติดกับคณะนิติศาสตร์ แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปตั้งอยู่ด้านหลังสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พื้นพาณิชยกรรม สวนหลวง-สามย่าน ตั้งอยู่ด้านหลังพื้นที่การศึกษาฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท ประกอบด้วย อุทยาน 100 ปี แอมพาร์ค สวนหลวงสแควร์ และพื้นที่จำหน่ายอุปกรณ์กีฬา[167]
 
อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเส้นขอบฟ้ากรุงเทพมหานครทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มองเห็นเขตธุรกิจถนนสีลม สาธรและนราธิวาสราชนครินทร์อยู่ด้านขวา (สังเกตจากตึกมหานคร)

พื้นที่ต่างจังหวัด แก้

 
พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในจังหวัดสระบุรี
  • พื้นที่จังหวัดนครปฐม จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยโอนที่ดินของกระทรวงมหาดไทยที่ขณะนั้นว่างเปล่าอยู่ 79 ไร่ ในเขตตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม เพื่อจัดเป็นไร่ฝึกแก่นิสิตใช้ฝึกปฏิบัติวิชาสัตวบาลจนพัฒนาเป็น "ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และ "โรงพยาบาลปศุสัตว์" ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงใช้ชื่อว่า "ไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร"[168]
  • พื้นที่จังหวัดน่าน เป็นที่ตั้งของ "ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ประกอบด้วย อาคารวิชชาคาม 1 อาคารวิชชาคาม 2 และกลุ่มอาคารชมพูภูคา[169]
  • พื้นที่จังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ในอำเภอแก่งคอย พัฒนาขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 3,364 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่กรมป่าไม้และพื้นที่ที่มูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้ใช้ประโยชน์ โดยมีการแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 5 เขต ได้แก่ เขตพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ เขตศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เขตโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี เขตบริการวิชาการและการศึกษา และเขตบริหารจัดการ[170][171]

พื้นที่การศึกษาเหล่านี้เป็นเพียงพื้นที่ใช้สนับสนุนการสอนและการวิจัยเท่านั้น มิได้มีสถานะเป็นวิทยาเขต[172] นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยแห่งอื่น เช่น พระตำหนักดาราภิรมย์ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และพระจุฑาธุชราชฐานกับพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน ในเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี[173]

ชีวิตนิสิต แก้

การเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้เวลาใกล้เคียงกับการเรียนในมหาวิทยาลัยอื่น โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีในการเรียน แต่สำหรับคณะครุศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้เวลา 5 ปี ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์จะใช้เวลา 6 ปี ตลอดระยะเวลาการเรียน มีทั้งการเรียนในคณะของตนเอง และการเรียนวิชานอกคณะ ได้พบปะกับบุคคลและบรรยากาศการเรียนการสอนที่แตกต่างออกไปของคณะอื่น นอกจากนี้ ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้าชมรมของคณะ การเล่นกีฬา การร่วมเป็นอาสาสมัครในงานสำคัญต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่ทางองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับนิสิตเสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีมากมายในทุก ๆ คณะ หรือการพบปะกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่มาจากโรงเรียนเดียวกันที่โต๊ะโรงเรียน[174]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่นิสิตเดินทางเข้ามาเรียนจากหลายภาคของประเทศไทย ทำให้ความแตกต่างของรูปแบบการดำเนินชีวิตมีมาก หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ทำให้นิสิตได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคลในทุกด้าน ช่วยเสริมสร้างให้นิสิตผู้ที่จะเป็นบัณฑิตในอนาคตเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

คำว่า "นิสิต" แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษาในสังกัดของสถาบัน เพราะเมื่อแรกก่อตั้ง ที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือว่าอยู่ไกลจากเขตพระนครซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญในขณะนั้น จึงมีการสร้างหอพักเพื่อให้ผู้เข้าศึกษาสามารถพักอาศัยในบริเวณมหาวิทยาลัยและใช้คำว่า "นิสิต" ในภาษาบาลีที่แปลว่า "ผู้อยู่อาศัย" เรียกผู้เข้าศึกษา ด้วยมีลักษณะเช่นเดียวกับการไปฝากตัวเป็นศิษย์และอยู่อาศัยกับสำนักอาจารย์ต่าง ๆ ของนักเรียนในระบบการศึกษาแบบโบราณ เช่น การฝากตัวเป็นศิษย์ที่สำนักของบาทหลวงหรือวิทยาลัยแบบอาศัยของมหาวิทยาลัยในยุโรป ส่วนในประเทศไทย นักเรียนจะไปฝากตัวที่วัดเป็นศิษย์ของพระภิกษุและอาศัยวัดเป็นสถานที่ศึกษา ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษจึงใช้คำว่า "Matriculated Student"[175] ที่แปลว่า "นักศึกษาที่ได้รับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว" เรียกผู้เข้าศึกษา เช่นเดียวกับคำว่า "นิสิต"[176] ทั้งนี้ ในอดีต โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้จบการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและเรียนเพื่อสอบวิชาเป็นบัณฑิต[177] แม้ว่าในปัจจุบันการคมนาคมจะสะดวกขึ้นอย่างมาก เขตปทุมวันซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปเป็นย่านธุรกิจการค้าใจกลางกรุงเทพมหานคร นิสิตไม่มีความจำเป็นต้องพักในหอพักนิสิตทุกคนอีกต่อไป แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษา เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาของสถาบันเช่นเดิม[178]

การพักอาศัยของนิสิต แก้

 
พื้นที่ภายในหอพักนิสิตจุฬาฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหอพักภายในมหาวิทยาลัย เรียกว่า "หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" หรือชื่อที่นิสิตหอพักเรียกกันมายาวนานกว่า 70 ปี ว่า "ซีมะโด่ง"[179] เปิดดำเนินการใน พ.ศ. 2461 มีพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของถนนพญาไท ตรงข้ามกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

เนื่องจากหอพักมีจำนวนจำกัดและราคาถูกกว่าหอพักภายนอกที่ตั้งอยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอพักนิสิตฯ จึงมีขั้นตอนการคัดกรองนิสิตที่สมัครหลายด้าน เช่น รายได้และภาระหนี้สินของครอบครัว ประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมและที่พักในกรุงเทพมหานครของนิสิต โดยหอจะแบ่งออกเป็น

หอพักนิสิตหญิง
  • หอพุดตาน (อาคารสูง 14 ชั้น สีน้ำตาล) เป็นหอพักแบบอาคารสูงหลังแรกของของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง
  • หอพุดซ้อน (อาคารสูง 14 ชั้น สีขาว) เป็นหอพักหญิงล้วนหลังใหม่ที่สุด นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง ชั้นสองของอาคารหอพุดซ้อนเป็นที่ตั้งของสำนักงานหอพักนิสิตฯ
หอพักนิสิตชาย
  • หอจำปี (อาคารสีขาว สูง 14 ชั้น) นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง
  • หอจำปา (อาคารสูง 5 ชั้น สีขาว อยู่ถัดจากหอจำปี ) เมื่อแรกสร้างหอจำปาเคยเป็นหอพักชาย ปรับเปลี่ยนเป็นหอพักหญิง แบ่งชั้นให้พักทั้งหญิงและชาย จนในปีการศึกษา 2557 หอพักจำปากลับมามีสถานะเป็นหอพักหญิงล้วน แต่ในปัจจุบันหอจำปามีสถานะเป็นหอพักชายแล้ว นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง
หอพักแบบแยกชั้นนิสิตชาย-หญิง
  • หอชวนชม (อาคารหลังใหม่สูง 17 ชั้นใกล้ทางเข้าด้านถนนพญาไท) นิสิตพักได้ 2 คนต่อหนึ่งห้อง ห้องพักนิสิตหญิงจะอยู่ชั้นที่ 2-13 ส่วนห้องพักนิสิตชายจะอยู่ชั้น 14-17

หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นพร้อมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2459 แต่เดิมหอพักตั้งอยู่ในบริเวณวังวินด์เซอร์ ปัจจุบันพื้นที่นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ตั้งของกรีฑาสถานแห่งชาติ หอพักนิสิตฯ มีพัฒนาการขึ้นตามลำดับจนกระทั่งย้ายมาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบัน ถือเป็นหอพักภายในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีหอพักพวงชมพู หรือเรียกว่า หอ U-center ตั้งอยู่บริเวณหลังตลาดสามย่านแห่งเดิมซึ่งตั้งอยู่บริเวณมุมแยกสามย่าน ด้านข้างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2546[180]

ชมรม แก้

การเข้าร่วมกิจกรรมชมรมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่มีการจำกัดชั้นปี โดยชมรมของมหาวิทยาลัยนั้นเปิดให้นิสิตในแต่ละคณะรวมกัน และเจอกับนิสิตคณะอื่น พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีชมรมที่จัดขึ้นเฉพาะคณะต่าง ๆ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตึกจุลจักรพงษ์ โดยชมรมต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่[181]

  1. ชมรมสังกัดฝ่ายวิชาการ เช่น ชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี ชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ ชมรมประดิษฐ์และออกแบบ ชมรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  2. ชมรมสังกัดฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา ชมรมสลัม ชมรมโรตาแรคท์ เป็นต้น
  3. ชมรมสังกัดฝ่ายศิลปและวัฒนธรรม เช่น ชมรมอีสาน ชมรมล้านนา ชมรมจุฬา-ทักษิณ ชมรมนักร้องประสานเสียง ชมรมศิลปการถ่ายภาพ เป็นต้น
  4. ชมรมฝ่ายกีฬา เช่น ชมรมฟุตบอล ชมรมบริดจ์และหมากกระดาน เป็นต้น

กิจกรรมในมหาวิทยาลัย แก้

 
เวทีกลางงานจุฬาวิชาการ พ.ศ. 2555
งานลอยกระทง
งานลอยกระทงจัดขึ้นทุกทุกปีในวันลอยกระทง จัดขึ้นโดยในงานมีจัดทำกระทงของแต่ละคณะ ขบวนพาเหรด และนางนพมาศจากแต่ละคณะมาประชันกัน และในตัวงานได้มีการจัดงานรื่นเริง พร้อมเกมการละเล่นโดยรอบบริเวณสระน้ำหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาลอยกระทงและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่นิสิตจัดขึ้นทุกปี[182]
การประชุมเชียร์
คือ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อประสานความสัมพันธ์ของนิสิตปี 1 จุดประสงค์ของงานเพื่อให้นิสิตเรียนรู้เพลง ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมายาวนานของมหาวิทยาลัย โดยมักจัดขึ้นในห้องเชียร์ของแต่ละคณะ เพื่อให้นิสิตได้รู้จักเพื่อนในรุ่น งานรับน้องจัดโดยนิสิตรุ่นพี่ในคณะ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อเนื่องกันมาทุกรุ่น[183]
จุฬาฯ วิชาการ
จุฬาฯ วิชาการ เป็นนิทรรศการวิชาการที่จัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี จัดขึ้นในตัวมหาวิทยาลัยโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคคลภายนอก รวมทั้งนักเรียนจากระดับประถมถึงมัธยม ได้เรียนรู้ รวมทั้งเปิดให้นักศึกษาจากต่างมหาวิทยาลัย และบุคคลอื่นอื่นได้มาเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นและพัฒนาในมหาวิทยาลัย[184] ในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงาน “จุฬาฯ วิชาการ” ภายใต้ชื่องาน “จุฬาฯ Expo 2017” ระหว่างวันที่ 15 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2560 แนวคิดหลักของการจัดงานคือ “จุฬาฯ 100 ปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม” “CU@100 toward greater innovation for society” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรม ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตจุฬาฯ ที่ครบครันและครอบคลุมทุกสาขาวิชา นำเสนอต่อสาธารณชน รวมทั้งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[185]
รับน้องก้าวใหม่
งานก้าวใหม่จัดขึ้นทุกปี ช่วงก่อนเปิดการศึกษาภาคเรียนที่ 1 จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำนิสิตให้รู้จักมหาวิทยาลัย รวมทั้งฝึกให้นิสิตเข้าใหม่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการละลายพฤติกรรมเข้าหากันระหว่างเพื่อน พี่ น้อง เป็นการรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัยซึ่งนิสิตชั้นปีที่ 1 จะได้รู้จักเพื่อนต่างคณะและทำกิจกรรมร่วมกันตลอดระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปงานรับน้องก้าวใหม่จะจัดทั้งหมด 3 วัน[186]
 
สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถานที่จัดพิธีเปิดและปิดกีฬาเฟรชชี่
กีฬาเฟรชชี่
งานกีฬาระหว่างคณะจัดขึ้นช่วงสองเดือนแรกของการเปิดเทอม 1 ระหว่างนิสิตชั้นปี 1 ของแต่ละคณะ กีฬาแต่ละชนิดจัดขึ้นกระจายไปตามแต่ละที่ในมหาวิทยาลัย รวมทั้ง สนามกีฬาในร่ม อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน (Sport Complex) และสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่เรียกกันติดปากในหมู่นิสิตว่า "สนามจุ๊บ"[187]
กีฬา 5 หมอ
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์[188]
ซียู อินเตอร์ เกม
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ หลักสูตร BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, หลักสูตร EBA คณะเศรษฐศาสตร์, หลักสูตร INDA คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, หลักสูตร COMMDE คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, หลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะนิเทศศาสตร์ (COMM'ARTS), หลักสูตร JIPP คณะจิตวิทยา, หลักสูตร ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์, หลักสูตร BSAC คณะวิทยาศาสตร์, และ หลักสูตร BALAC คณะอักษรศาสตร์[189]

องค์การบริหารสโมสรนิสิต แก้

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกโดยย่อว่า “อบจ.” เป็นองค์กรของนิสิตที่จัดตั้งขึ้นตาม ระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2529 มีหน้าที่บริหาร (ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารในสโมสรนิสิต) และดำเนินกิจกรรมส่วนกลางของมหาวิทยาลัย[190] เช่น จุฬาฯวิชาการ หรือ จุฬาฯ Expo[191] งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ งานรับน้องก้าวใหม่ และงานลอยกระทงจุฬาฯ เป็นต้น[192]

ผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตคือบุคคลเดียวกับนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสโมสรนิสิตในอดีตที่มีชื่อเสียง เช่น ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ เจรจากับรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ให้ปล่อยตัวสมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 13 คน จนเป็นผลสำเร็จ[193]

โดยตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตเป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคนเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

สภานิสิต แก้

สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นองค์การนักศึกษาที่อยู่ภายในสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สจม.) เช่นเดียวกับ อบจ. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยมีหน้าที่ควบคุมดูแลองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) และส่งเสริม คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[194][190] อาจกล่าวได้ว่าสภานิสิตเป็นฝ่ายนิติบัญญัติของสโมสรนิสิต ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจและการใช้งบประมาณกับ อบจ. การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของนิสิต และการเสนอความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยก็ได้

ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สภานิสิตฯ ได้มีบทบาททางการเมืองในการเรียกร้องเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ[195] โดยตำแหน่งประธานสภานิสิตเป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม สมาชิกสภานิสิตจากแต่ละคณะและสำนักวิชาที่ได้รับเลือกตั้งมาแล้วในขั้นแรกเท่านั้นที่จะมีสิทธิออกเสียงเลือกตำแหน่งประธานสภานิสิต อีกทั้งยังไม่มีระบบพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิสิตของแต่ละคณะเหมือนกับสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถคาดเดาหรือหาความเกี่ยวข้องทางอุดมการณ์ของผู้สมัครในเขตของตนกับเขตอื่นได้ ระบบเลือกตั้งของสภานิสิตจึงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับการออกเสียงในรัฐสภาไทยเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แต่สภานิสิตมีลักษณะทางโครงสร้างขององค์กรคล้ายกับสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา โดยมีที่มาของสมาชิกสภานิสิตคล้ายกับสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ เป็นไปตามระบบการปกครองแบบประธานาธิบดี (Presidential system) หรือการแบ่งแยกอำนาจแบบเด็ดขาดออกจากฝ่ายบริหารหรือ อบจ.

แม้ว่าสมาชิกสภานิสิตจะได้รับเลือกตั้งเพื่อเป็นผู้แทนนิสิตจากคณะหรือสำนักวิชาของตนเอง แต่ก็เป็นผู้แทนนิสิตเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์โดยรวมของนิสิตทั้งมหาวิทยาลัยในสภานิสิตด้วย อีกทั้งสภานิสิตสามารถตั้งคณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอันอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ของสโมสรนิสิตเช่นเดียวกับคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย

อดีตสมาชิกสภานิสิตที่มีชื่อเสียงมีด้วยกันหลายคน เช่น ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และรองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จุฬาฯ ที่มีชื่อเสียงจากการนำหลักวิทยาศาสตร์มาตอบโต้กับความเชื่อต่าง ๆ เป็นต้น

กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย แก้

กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วม มีความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นการแข่งขันกีฬา งานด้านวิชาการ ทั้งกิจกรรมระดับมหาวิทยาลัย กิจกรรมระดับคณะ หรือกิจกรรมระดับภาควิชา เช่น

ระดับมหาวิทยาลัย
ระดับคณะและระดับภาควิชา

คือกิจกรรมที่แต่ละคณะได้จัดการแข่งขันกับคณะหรือภาควิชาเดียวกันในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น เกียร์เกมส์, กีฬาสามเส้า, กีฬาวิศวกรรมเคมีสัมพันธ์, อะตอมเกมส์, กีฬาเคมีสัมพันธ์, กีฬาเคมีสัมพันธ์, กีฬาสัมพันธภาพฟิสิกส์, กีฬาคณิตศาสตร์สัมพันธ์, กีฬาสิ่งแวดล้อมนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, งานกีฬา-วิชาการจุลชีววิทยาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย(โคโลนีเกมส์), กีฬาเข็มสัมพันธ์, กีฬาสองเข็ม, กีฬาเภสัชสัมพันธ์, งานกอล์ฟประเพณีสัตวแพทย์จุฬาฯ - เกษตร, กีฬาสหเวชศาสตร์-เทคนิคการแพทย์สัมพันธ์, กีฬาเศรษฐสัมพันธ์, กีฬานิติสัมพันธ์, กีฬาสิงห์สัมพันธ์, กิจกรรมประเพณีสัมพันธ์ สิงห์ดำ-สิงห์แดง, งานจ๊ะเอ๋ลูกนก, ไม้เรียวเกมส์, วิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์, งานวันอาร์ทส์, กีฬาสถิติสัมพันธ์, งานโลจิสติกส์สัมพันธ์, กีฬาเปิดกระป๋อง เป็นต้น[196]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก้

 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในการพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อ พ.ศ. 2473

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประเทศไทยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473[197] ณ ตึกบัญชาการ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ในปัจจุบัน) โดยทางพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต)[198] และได้รับฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษด้วย[199][200] หลังจากพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนั้น สภามหาวิทยาลัยได้เสนอให้กระทรวงธรรมการกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสงวนธรรมเนียมนี้ไว้[201]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2493[202][203] และได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรเรื่อยมา ในปัจจุบัน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[204]

การเดินทาง แก้

 
รถโดยสารภายในจุฬาฯ

ระบบขนส่งมวลชน แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสามสถานี ได้แก่ สถานีสยาม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีศาลาแดง เชื่อมต่อกับอาคาร ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้ามหานครสองสถานี คือ สถานีสามย่าน[205] และสถานีสีลม ซึ่งเชื่อมต่อกับคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[206]

มีรถโดยสารประจำทางหลายสายที่ผ่านบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ให้บริการผ่านถนนพระรามที่ 1[207] ถนนพระรามที่ 4[208] และถนนพญาไท[209] ส่วนถนนอังรีดูนังต์[210][211] และถนนบรรทัดทอง[212][213] มีรถโดยสารประจำทางผ่านน้อย

รถโดยสารภายใน แก้

การเดินทางในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า "รถ ปอพ." ให้บริการแก่นิสิต บุคลากร และผู้มาติดต่อภายในพื้นที่การศึกษาและพื้นที่พาณิชยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยไม่คิดค่าบริการใด ๆ รถโดยสารนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มี 6 สาย[214][215] ให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์ (เฉพาะสาย 1, สาย 2 และสาย 4) ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูข้อมูลรถโดยสารได้จากโปรแกรมประยุกต์ CU Popbus[216] และจอแสดงตำแหน่งรถที่ป้ายศาลาพระเกี้ยว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยมีจักรยานสาธารณะ CU BIKE ให้บริการแก่นิสิตและบุคลากรที่สมัครเป็นสมาชิกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีศูนย์บริการอยู่ที่ชั้น 1 อาคารมหิตลาธิเบศร สถานีจักรยานมีอยู่หลายจุดทั่วพื้นที่ส่วนการศึกษา จักรยานแต่ละคันยังมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยแปลงพลังงานกลจากการปั่นจักรยานเป็นพลังงานไฟฟ้า[217] ยกเลิกแล้วใน ปี 2563 ช่วงการระบาดของโควิด-19

บุคคลสำคัญ แก้

ดูบทความหลักที่ รายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณาจารย์ ศิษย์เก่าและบุคลากร แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาได้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2473 ผู้สำเร็จการศึกษาและคณาจารย์รวมถึงบุคลากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรอิสระเป็นจำนวนมาก

เจ้าฟ้าอาจารย์ แก้

ตลอดระยะเวลานับแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมวงศ์หลายพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานการสอน ดังนี้

คณาจารย์ แก้

 
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตเก่าจำนวนมากที่ปัจจุบันกลับมาเป็นอาจารย์และมีชื่อเสียงในวงการวิชาการ เช่น

  • ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ - นักวิจัยผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติระดับโลก[236] เจ้าของผลงานทางวิชาการที่มีประโยชน์เชิงพาณิชและสังคมจำนวนมาก เป็นผู้ค้นพบว่าโปรตีนรังไหมสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมนุษย์สร้างคอลลาเจนได้ จนนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อยกระดับการรักษาหลายชนิด[237][238][239][240][241]
     
    ศ. ดร.สุชนา ชวนิชย์

บุคลากร แก้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่ไม่ใช่นิสิตเก่ามาทำหน้าที่สำคัญทางวิชาการ เช่น การสอน การวิจัยรวมถึงบริหารในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก โดยมีหลายท่านเป็นบุคคลสำคัญของประเทศและนานาชาติ เช่น

นอกจากนี้ยังมีนิสิตเก่า คณาจารย์และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ ปลัดกระทรวง ข้าราชการระดับสูง นักวิจัยระดับนานาชาติ คณะองคมนตรีไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[261] และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา[262] นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ 8 คน นักเขียนผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ 3 คน นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (พ.ศ. 2427-2559) กว่า 103 คน[263][264][265][266] นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 13 คน (2525-2557) เมธีวิจัยอาวุโส สกว. 55 คน ศิลปินแห่งชาติ 38 คน (2528-2559) นิสิตเก่าและบุคลากรผู้ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภาแห่งประเทศไทย 12 คน[267][268][269][270] และแพทย์เกียรติยศแพทยสภา 2 คน[271] นักกีฬาโอลิมปิค[272][273][274] นักธุรกิจ เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ ศิลปิน นักแสดง นักดนตรีของประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก

อ้างอิง แก้

  1. การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาวจุฬาฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26 มีนาคม 2549. http://w3.chula.ac.th/about/cupeople/index.htm เก็บถาวร 2014-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (7 กรกฎาคม 2559 ที่เข้าถึง)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่มที่ 34, หน้า 21, วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2460
  4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 24 กรกฎาคม 2564.
  5. ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ratchakitcha.soc.go.th. 05 มีนาคม 2561. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/11.PDF (07 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
  6. ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ratchakitcha.soc.go.th. 28 พฤษภาคม 2564. [1] (29 พฤษภาคม 2564 ที่เข้าถึง).
  7. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สถิติจำนวนบุคลากรสายวิชาการจุฬาฯ 24 กรกฎาคม 2564.
  8. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สถิติจำนวนบุคลากรสายปฏิบัติงานจุฬาฯ 24 กรกฎาคม 2564.
  9. จำนวนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564. สถิติจำนวนนิสิตทั้งหมด เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ข้อมูลล่าสุดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
  10. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพลงมหาวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2560 จาก เว็บไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.chula.ac.th/symbol_songs เก็บถาวร 2016-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. Chulalongkorn University. CU at a Glance: Chulalongkorn University . april 30, 2016. http://www.chula.ac.th/en/about/cu-at-a-glance เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (accessed july 7, 2016).
  12. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คู่มือเอกลักษณ์องค์กร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . กันยายน 28, 2557. http://www.chula.ac.th/docs/ubyi/manual_cu.pdf เก็บถาวร 2014-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เข้าถึง กันยายน 7, 2560).
  13. "กำเนิดอุดมศึกษาไทย." กำเนิดอุดมศึกษาไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. Accessed March 05, 2018. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=38&chap=3&page=t38-3-infodetail02.html[ลิงก์เสีย].
  14. 14.0 14.1 ราชกิจจานุเบกษา. “ พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๘๒: Ratchakitcha .” เว็บไซต์ Ratchakitcha. 20 ตุลาคม 2482. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/1364.PDF (2 พฤษภาคม 2560 ที่เข้าถึง).
  15. ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชกำหนดเข็มโรงเรียนข้าราชการพลเรือน.” เว็บไซต์ ratchakitcha. 17 พฤษภาคม 2457. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/A/129.PDF เก็บถาวร 2009-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (21 เมษายน 2560 ที่เข้าถึง).
  16. ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชดำรัสตอบ ในวันพระราชพิธีก่อพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๘.” ratchakitcha.soc.go.th. 23 มกราคม 2458. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2573.PDF (15 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
  17. ขติยา, วรวิทย์, สุพัด, and ปริศนา. "จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหา'ลัยไทยติดต่อกันเป็นปีที่ 7 จากการจัดอันดับ QS." มติชนออนไลน์. March 21, 2017. Accessed March 22, 2017. http://www.matichon.co.th/news/503359.
  18. 18.0 18.1 ShanghaiRanking Consultancy. "Academic Ranking of World Universities 2017." World University Rankings - 2017 | Thailand Universities in Top 500 universities | . Accessed August 26, 2017. http://shanghairanking.com/World-University-Rankings-2017/Thailand.html เก็บถาวร 2021-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  19. สมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, ไซต์อย่างเป็นทางการของเครื่อข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, AUN Member[ลิงก์เสีย], เข้าถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  20. Chulalongkorn University, APRU, Member University เก็บถาวร 2016-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เข้าถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  21. "Chulalongkorn University เก็บถาวร 2017-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Association of Pacific Rim Universities. 2013-01-10. Retrieved 2016-12-10.
  22. ดูที่
  23. ออกหมายจับ! รศ.ดร.ดังโกงกว่าพันล้าน
  24. Chulalongkorn University. "คณะและหน่วยงาน." Chulalongkorn University. 2016. Accessed May 11, 2017. [2] เก็บถาวร 2017-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  25. สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หลักสูตรที่เปิดสอน. 2557. http://www.academic.chula.ac.th/program/table.html เก็บถาวร 2016-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (10 เมษายน 2560 ที่เข้าถึง).
  26. "พระบรมราชโองการประกาศตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-02-17.
  27. http://www.memohall.chula.ac.th/article/112-ปีพระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 112 ปีพระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  28. ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ บรรจุในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” ratchakitcha.soc.go.th. 23 มกราคม 2458. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2562.PDF (15 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
  29. ราชกิจจานุเบกษา. “พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” ratchakitcha.soc.go.th. 11 มกราคม 2453. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/A/123.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (20 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ บรรจุในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เล่ม 32, ตอน 0ง, 23 มกราคม พ.ศ. 2458, หน้า 2562
  31. สวัสดิ์ จงกล, จุฬาสาระ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  32. "พระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-02-17.
  33. กระทรวงธรรมการ. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย." ราชกิจจานุเบกษา. April 15, 1917. Accessed April 7, 2017. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/21.PDF.
  34. "ประวัติความเป็นมา". คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 15 July 2022.
  35. ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2459-2509 พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบห้าสิบปีของการสถาปนา วันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2510, หน้า 37
  36. William H. Becker. “Assets: Rockefellerfoundation.” Rockefellerfoundation. 2013. https://assets.rockefellerfoundation.org/app/uploads/20131001203515/Innovative-Partners.pdf เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (29 November 2016 ที่เข้าถึง).
  37. วิวัฒนาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  38. Becker, W. H. (2013). Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York, United States of America: The Rockefeller Foundation .
  39. 39.0 39.1 Becker, William H. Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York: The Rockefeller Foundation, 2013. William H. Becker. “Assets: Rockefellerfoundation.” Rockefellerfoundation. 2013. https://assets.rockefellerfoundation.org/app/uploads/20131001203515/Innovative-Partners.pdf เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (29 November 2016 accessed).
  40. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง การศึกษาวิชาข้าราชการพลเรือนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 48, ตอน 0 ง, 31 มกราคม พ.ศ. 2474, หน้า 4459
  41. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ โอนโรงเรียนกฎหมายไปขึ้นแก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 50, ตอน 0 ก, 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2476, หน้า 144
  42. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2477, เล่ม 52, ตอน 0 ก, 21 เมษายน พ.ศ. 2478, หน้า 82
  43. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476, เล่ม 50, ตอน 0ก, 20 มีนาคม พ.ศ. 2476, หน้า 1007
  44. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช 2486, เล่ม 60, ตอน 7 ก, 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486, หน้า 212
  45. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 121 มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ กำหนดให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ ข้าราชการ ลูกจ้าง นักศึกษาและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดลเฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 89, ตอน 60 ก ฉบับพิเศษ, 14 เมษายน พ.ศ. 2515, หน้า 9
  46. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ไปเป็นของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510, เล่ม 84, ตอน 126 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2510, หน้า 1
  47. เอกสารรัฐบาลคณะราษฏร ยกที่ดินปทุมวัน
  48. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 หน้า 1364 วันที่ 30 ตุลาคม 2482 พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482
  49. "ตามรอยโบราณ "ค้นคว้าอักขระโบราณ" ตัวหนังสือไทย ตอน 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.
  50. พระราชบัญญัติ จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย พุทธสักราช2486
  51. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
  52. เว็บไซต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  53. เว็บไซต์หอประวัติจุฬาฯ บทความเรื่อง พระเกี้ยวจุลมงกุฏ สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  54. "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เพลงมหาจุฬาลงกรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-10. สืบค้นเมื่อ 2007-02-20.
  55. "เพลงมหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2016-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Retrieved 2017-01-15.
  56. เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ CU CHORUS". cuchorus.clubs.chula.ac.th. Retrieved 2017-01-15.
  57. "พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2473" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-29.
  58. "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เสื้อครุยพระราชทาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-27.
  59. "รายละเอียดต้นจามจุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-16. สืบค้นเมื่อ 2005-08-26.
  60. "รายละเอียดสีชมพูจุฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-16. สืบค้นเมื่อ 2005-08-26.
  61. Prasongbundit, สุชิน ประสงค์บัณฑิต, Suchin. "เหตุใดจุฬาฯ จึงใช้สีชมพูเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย และใช้มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ใช้สีใด และเพราะเหตุใดจึงใช้สีนั้น | หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". www.memocent.chula.ac.th. Retrieved 2016-12-18.
  62. รายนามผู้บัญชาการ และอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  63. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและตั้งผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 34, ตอน 0 ก, 15 เมษายน พ.ศ. 2460, หน้า 23
  64. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ตั้งผู้รั้งตำแหน่งปลัดทูลฉลอง ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์และผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง, เล่ม 46, ตอน 0 ง, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472, หน้า 3350
  65. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2018-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 52, ตอน 0 ง, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478, หน้า 2327
  66. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ลิงก์เสีย], เล่ม 53, ตอน 0 ง, 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479, หน้า 2271
  67. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 56, ตอน 0 ง, 18 ธันวาคม พ.ศ. 2482, หน้า 2702
  68. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เก็บถาวร 2018-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 56, ตอน 0 ง, 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482, หน้า 809
  69. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 66, ตอน 60 ง, 25 ตุลาคม พ.ศ. 2492, หน้า 4969
  70. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 61, ตอน 54 ง, 5 กันยายน พ.ศ. 2487, หน้า 1722
  71. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ลิงก์เสีย], เล่ม 63, ตอน 58 ง, 3 กันยายน พ.ศ. 2489, หน้า 1230
  72. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 65, ตอน 48 ง, 24 สิงหาคม พ.ศ. 2491, หน้า 2473
  73. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 67, ตอน 48 ง, 12 กันยายน พ.ศ. 2493, หน้า 3832
  74. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 69, ตอน 54 ง, 9 กันยายน พ.ศ. 2495, หน้า 2914
  75. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 71, ตอน 47 ง, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2497, หน้า 1630
  76. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 73, ตอน 76 ง, 25 กันยายน พ.ศ. 2499, หน้า 2730
  77. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 75, ตอน 82 ง, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501, หน้า 2793
  78. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 77, ตอน 73 ง, 6 กันยายน พ.ศ. 2503, หน้า 1982
  79. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 78, ตอน 72 ง ฉบับพิเศษ, 8 กันยายน พ.ศ. 2504, หน้า 6
  80. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 80, ตอน 100 ง ฉบับพิเศษ, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2506, หน้า 1
  81. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 82, ตอน 89 ง ฉบับพิเศษ, 14 ตุลาคม พ.ศ. 2508, หน้า 13
  82. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 84, ตอน 92 ง ฉบับพิเศษ, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510, หน้า 5
  83. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 86, ตอน 56 ง ฉบับพิเศษ, 20 มิถุนายน พ.ศ. 2512, หน้า 4
  84. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 88, ตอน 83 ง ฉบับพิเศษ, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2514, หน้า 2
  85. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 90, ตอน 92 ง ฉบับพิเศษ, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2516, หน้า 5
  86. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 92, ตอน 109 ง, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518, หน้า 1379
  87. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 94, ตอน 55 ง ฉบับพิเศษ, 22 มิถุนายน พ.ศ. 2520, หน้า 4
  88. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายเกษม สุวรรณกุล), เล่ม 98, ตอน 95 ง ฉบับพิเศษ, 15 มิถุนายน พ.ศ. 2524, หน้า 5
  89. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 102, ตอน 48 ง ฉบับพิเศษ, 17 เมษายน พ.ศ. 2528, หน้า 23
  90. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 105, ตอน 236 ง, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2531, หน้า 9594
  91. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายจรัส สุวรรณเวลา), เล่ม 110, ตอน 11 ง, 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536, หน้า 2
  92. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันทน์ แทนนายจรัส วรรณเวลา ซึ่งลาออก), เล่ม 113, ตอน 20 ง, 7 มีนาคม พ.ศ. 2539, หน้า 8
  93. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายธัชชัย สุมิตร แทน ศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันท์ซึ่งครบวาระ), เล่ม 117, ตอน 29 ง, 11 เมษายน พ.ศ. 2543, หน้า 2
  94. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 212, ตอน 30 ง, 13 เมษายน พ.ศ. 2547, หน้า 14
  95. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายภิรมย์ กมลรัตนกุล), เล่ม 125, ตอน 36 ง, 27 มีนาคม พ.ศ. 2551, หน้า 3
  96. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายภิรมย์ กมลรัตนกุล), เล่ม 129, ตอนพิเศษ 84 ง, 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555, หน้า 5
  97. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์), เล่ม 133, ตอนพิเศษ 90 ง, 20 เมษายน พ.ศ. 2559, หน้า 2
  98. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์] วาระที่ 2
  99. "Programs Offered at Chulalongkorn University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-27. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
  100. "หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรภาษาอังกฤษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-26. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
  101. "ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
  102. [https://web.archive.org/web/20140727103647/http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/049/3.PDF เก็บถาวร 2014-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
  103. http://www.academic.chula.ac.th/Curriculum/Curr_inter50.html เก็บถาวร 2010-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556
  104. ราชกิจจานุเบกษา. “ พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ กรมตำรวจ เข้าสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐.” ราชกิจจานุเบกษา. 28 ธันวาคม 2530. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/269/84.PDF (22 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  105. "Chulalongkorn University". www.nectec.or.th. Retrieved 2016-12-10.
  106. 106.0 106.1 จุฬาฯ มุ่งพัฒนางานวิจัยเน้น 8 คลัสเตอร์กลุ่มวิจัย เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  107. คลัสเตอร์วิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2014-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  108. 108.0 108.1 http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/all/all/countries-Thailand
  109. https://webofknowledge.com
  110. www.scopus.com
  111. "Contact US" เก็บถาวร 2020-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนAssociation of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL). Retrieved 3 July 2017.
  112. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-73&cc_city=bangkok&.
  113. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017.http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-19&cc_city=bangkok&.
  114. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-57&cc_city=bangkok&.
  115. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-68&cc_city=bangkok&.
  116. "WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017.http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-54&cc_city=bangkok&
  117. "ข้อมูลองค์กรของสำนักงานวิทยทรัพยากร,2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-02. สืบค้นเมื่อ 2015-12-16.
  118. ประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ.เอกสารหอประวัติจุฬาฯ.หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2558
  119. "อาคารมหาธีรราชานุสรณ์." ข้อมูลอาคาร มหาธีรราชานุสรณ์ | สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed September 20, 2017. http://www.prm.chula.ac.th/ins04.html.
  120. ข้อมูลอาคารมหาธีรราชานุสรณ์. เข้าถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559.
  121. "ความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย". สืบค้น 2259-12-15
  122. "อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เก็บถาวร 2017-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - krupratum". sites.google.com. Retrieved 2016-12-14.
  123. "page3 เก็บถาวร 2017-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". pirun.ku.ac.th. Retrieved 2016-12-14.
  124. สถาบันวิทยบริการ 2543 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2558
  125. ข้อมูลเบื้องต้นของ CUIR,2558
  126. คู่มือการใช้งาน CURef,2558
  127. ข้อมูลเบื้องต้นของจุฬาฯ วิทยานุกรม,2558
  128. "บริการผลิตสื่อ. สำนักงานวิทยทรัพยากร,2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-02. สืบค้นเมื่อ 2015-12-20.
  129. CU Learning Innovation Center, Super. "POLICY." Chulalongkorn University. May 29, 2017. Accessed May 29, 2017. http://www.lic.chula.ac.th/index.php/about-us/policy.
  130. CU Learning Innovation Center. "“ห้องสมุดออนไลน์” ความรู้จากจุฬาฯ สู่สังคมไทย." Chulalongkorn University. May 29, 2017. Accessed May 29, 2017. http://www.chula.ac.th/th/archive/60365 เก็บถาวร 2017-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  131. Media.lic.chula.ac.th. (2016). Learning Innovation Center Chulalongkorn University - ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [online] Available at: www.media.lic.chula.ac.th [Accessed 21 Oct. 2017].
  132. CHULA MOOC. (2017). FAQ คำถามที่พบบ่อย | CHULA MOOC. [online] Available at: https://mooc.chula.ac.th/faq เก็บถาวร 2019-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [Accessed 21 Oct. 2017].
  133. 101.5 MHz, สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Radio) FM 101.5. "รายการเปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย ทุกวัน เวลา 19.30 - 21.30 น. : ห้องเรียน On Air คลังความรู้ Admissions ที่ใหญ่ที่สุด". www.curadio.chula.ac.th. Retrieved 2016-12-10.
  134. "จุฬาฯ 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-15.
  135. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2007-04-22.
  136. จุฬาฯ : มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนหน่วยงานได้รับการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการระดับดีเยี่ยมมากที่สุดจาก สกว. ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  137. ประเมินงานวิจัยวิทย์ สกว.จัดประชุมถกคุณภาพ[ลิงก์เสีย], ข่าวสด, วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8142
  138. "จุฬาฯปลื้มติดอันดับ 96 Top 100 มหาวิทยาลัยโลก". เดลินิวส์. 12 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  139. "Engineering - Mineral & Mining:QS World University Rankings by Subject 2018". Top Universities. Retrieved 2018-02-28.
  140. "QS World University Rankings by Subject 2018". Top Universities. Retrieved 2018-02-28.
  141. "Out now: QS World University Rankings by Subject 2017". Top Universities. 2017-03-06. Retrieved 2017-03-09.
  142. ShanghaiRanking Consultancy. "Academic Ranking of World Universities 2017." World University Rankings - 2017 | Thailand Universities in Top 500 universities | . Accessed August 26, 2017. http://shanghairanking.com/ARWU2017.html เก็บถาวร 2020-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  143. http://www.leidenranking.com/ranking/2017/list, เข้าถึง 23 มิถุนายน 2560.
  144. CWUR 2017 - World University Rankings
  145. http://www.natureindex.com/institution-outputs/thailand/chulalongkorn-university-cu/513906bb34d6b65e6a000175
  146. https://www.natureindex.com/institution-outputs/generate/All/countries-Thailand/All/weighted_score. เข้าถึง 23 มิถุนายน 2560.
  147. http://roundranking.com/ranking/world-university-rankings.html#world
  148. http://roundranking.com/universities/chulalongkorn-university.html?sort=O&year=2018&subject=SO. เข้าถึง 30 มิถุนายน 2561.
  149. http://roundranking.com/ranking/reputation-rankings.html
  150. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-20.
  151. http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand?sort=asc&order=World%20Rank
  152. [3]
  153. "World University Rankings." Times Higher Education (THE). September 06, 2018. Accessed September 06, 2017. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2018/world-ranking#survey-answer.
  154. the Times Higher Education . “Chulalongkorn University.” เว็บไซต์ times Higher Education. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/chulalongkorn-university#ranking-dataset/629337 (06 กันยายน 2560 ที่เข้าถึง).
  155. http://www.urapcenter.org/2016/world.php?q=MjUxLTUwMA==[ลิงก์เสีย]. เข้าถึง 23 มีนาคม 2560.
  156. ความเป็นมาขององค์กร:สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  157. [4] วิดีโอวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใต้ร่มพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เข้าถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  158. ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 30 ตุลาคม 2482.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/549.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  159. http://www.prm.chula.ac.th/cen28.html หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  160. http://www.asa.or.th/01about/c2530/2530h.htm เก็บถาวร 2005-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น : ตึกอักษรศาสตร์ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
  161. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. ประกาศผลการคัดเลือก รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2559. 27 เมษายน 2559. http://www.asa.or.th/th/node/140800 เก็บถาวร 2016-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (30 เมษายน 2559 ที่เข้าถึง).
  162. บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, เอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2453-2475
  163. บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, การออกแบบวางผังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2453-2475. สาระศาสตร์สถาปัตย์ ฉบับที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
  164. [5] ข้อเท็จจริงกรณีที่ดินจุฬาฯ, เข้าถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  165. http://www.property.chula.ac.th/web/sites/default/files/area-map-04-10-56-zoom.jpg แผนผังที่ดินเชิงพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  166. http://www.property.chula.ac.th/web/units หน่วยธุรกิจในความรับผิดชอบของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน
  167. "เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่าน." เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่าน | สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed March 10, 2017. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1376.
  168. ประวัติการจัดการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2021-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  169. ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2013-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  170. โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  171. "โครงการ | สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย." โครงการ | สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed March 30, 2017. http://www.prm.chula.ac.th/projects03.html.
  172. http://www.olnr.chula.ac.th/page1_1_n.html#P
  173. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (7 พฤศจิกายน 2552). พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/article/พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน/
  174. [6] ไทยรัฐออนไลน์ รำลึกวันวานยังหวานอยู่"ซีมะโด่ง"
  175. "Matriculation | University of Oxford". www.ox.ac.uk. Retrieved 2016-12-10.
  176. ประวัติความเป็นมาของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  177. บทความ ๑๑๒ ปีพระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  178. matichon tv (2017-07-01), ร้อยเรื่องราว 100ปี จุฬาฯ ชีวิตชาวหอ ที่มาของคำว่านิสิต, retrieved 2017-10-12
  179. สวัสดิ์ จงกล. (7 พฤศจิกายน 2552). ซีมะโด่งเยือนจุฬาฯ. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/article/ซีมะโด่ง/
  180. [7] ประวัติความเป็นมาของหอพักนิสิตจุฬาฯ, สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนยน พ.ศ. 2558
  181. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 117 กิจกรรมชมรม
  182. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  183. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  184. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  185. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-11.
  186. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  187. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  188. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  189. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  190. 190.0 190.1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (31 มกราคม 2529). ระเบียบสโมสรนิสิต. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2560 จาก สำนักบริหารกิจการนิสิต: http://www.sa.chula.ac.th/wp-content/uploads/2016/05/ระเบียบสโมสรนิสิต.doc
  191. "เปิดใจทีมนิสิตผู้อยู่เบื้องหลัง "จุฬาฯ Expo 2017" ... 9 เดือน 1,500 ชีวิต จนกว่าจะเป็นงานนี้!" Dek-D.com. March 14, 2017. Accessed April 25, 2017. https://www1.dek-d.com/activity/45035/.
  192. Bangkokbiznews. "จุฬาฯ Expo เปิดบ้านโชว์นวัตกรรมแจ้งเกิด." Http://www.bangkokbiznews.com/. March 09, 2017. Accessed April 25, 2017. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/744357.
  193. Bangkokbiznews. "'ประสาร'มอง14ตุลาฯ ขบวนการไร้เดียงสา." Http://www.bangkokbiznews.com/. October 13, 2013. Accessed April 22, 2017. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/536202.
  194. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. "สภานิสิต." สำนักบริหารกิจการนิสิต. Accessed April 22, 2017. http://www.sa.chula.ac.th/สภานิสิต/.
  195. "Paradoxocracy ประชาธิป"ไทย"". ยูทูบ. 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
  196. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  197. "พระบรมราโชวาท ในการพระราชทานประกาศนียบัตรแก่เวชบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ." ราชกิจจานุเบกษา. October 25, 1950. Accessed April 7, 2017. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/2803.PDF.
  198. ราชกิจจานุเบกษา.“ ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง เทียบชั้นปริญญาเวชบัณฑิต หมายความเช่นเดียวกับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 2 มิถุนายน 2478. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/549.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  199. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม
  200. พระบรมราโชวาท ในการพระราชทานประกาศนียบัตรแก่เวชบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473
  201. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม, หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  202. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  203. ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของพิธีพระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิตแห่งจุฬาฯ ปีการศึกษา 2540
  204. "พิธีพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2560 วันที่สอง". จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 5 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  205. "สถานีสามย่าน." บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน). Accessed April 20, 2017. http://www.bangkokmetro.co.th/map.aspx?Menu=8&Sid=2[ลิงก์เสีย].
  206. "สถานีสีลม." บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน). Accessed April 20, 2017. http://www.bangkokmetro.co.th/map.aspx?Lang=Th&Menu=8&Sid=3 เก็บถาวร 2018-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  207. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses เก็บถาวร 2015-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพระราม 1
  208. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses เก็บถาวร 2015-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพระราม 4
  209. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses เก็บถาวร 2015-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท
  210. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses เก็บถาวร 2015-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์
  211. ขสมก
  212. Thailand, 9Expert Co. Ltd. "องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ." 67 | องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. Accessed April 19, 2017. http://www.bmta.co.th/?q=th%2Fcontent%2F67.
  213. Thailand, 9Expert Co. Ltd. "องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ." 73 | องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. Accessed April 19, 2017. http://www.bmta.co.th/?q=th/content/73 เก็บถาวร 2021-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  214. "ข่าวดี! สำหรับชาวจุฬาฯ รถปอ.พ. บริการฟรี เริ่ม 2 พ.ค. 54". 27 เมษายน 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  215. [8] Shuttle Bus
  216. "Thinc. กลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ CU Popbus,2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-12-29.
  217. CU Bike, Transportation, Sustainability at Chulalongkorn University. CU Bike.http://www.green.chula.ac.th/transport58-01.html . เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
  218. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  219. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-19. สืบค้นเมื่อ 2016-11-29.
  220. ราชกิจจานุเบกษา. “ แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เสด็จเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 13 กันยายน 2461. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/1480.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  221. ราชกิจจานุเบกษา. “ แจ้งความอนุโมทนา เรื่อง "เงินทุนบำรุงแผนกแพทย์ศาสตร์" แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 5 กันยายน 2463. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/1775.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  222. "Thailand's "Father of Modern Medicine"". News. 2014-01-23. Retrieved 2016-12-10.
  223. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  224. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (17 มีนาคม 2554). เล่าเรื่องจุฬาฯ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก ผู้มีคุณูปการต่อจุฬาฯ: http://www.memocent.chula.ac.th/history/ผู้มีคุณูปการต่อจุฬาฯ/ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553).
  225. มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. “สมเด็จฯ พระบรมราชชนก กับการพัฒนาการศึกษาแพทย์ไทย.” เว็บไซต์ มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. http://www.princemahidolfoundation.com/education/education.html เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (30 พฤศจิกายน 2259 ที่เข้าถึง).
  226. มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. “พระราชประวัติ” เว็บไซต์ มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. http://www.princemahidolfoundation.com/education/history.html เก็บถาวร 2017-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (30 พฤศจิกายน 2259 ที่เข้าถึง).
  227. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  228. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  229. กองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "พระราชประวัติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี." Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn's Activities. Accessed May 11, 2017. http://sirindhorn.net/hrh_new/index_0.php.
  230. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงศึกษาในคณะอักษรศาสตร์." ๙๖ ปี คณะอักษรศาสตร์. 2013. Accessed May 11, 2017. http://www.arts.chula.ac.th/events/arts96/exhibition.php?p=09.
  231. มติชนออนไลน์. (2018). ปีติ 'ท่านหญิง' ทรงเป็นพระอาจารย์ สอนนักเรียนป.เอก ศิลปกรรม จุฬาฯ. [online] Available at: https://www.matichon.co.th/court-news/news_1249927 [Accessed 27 Dec. 2018].
  232. "ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ (ภาคีสมาชิก)." สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. Accessed March 04, 2017. http://www.royin.go.th/?parties=ศาสตราจารย์-นายแพทย์-ยง
  233. "ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ประมวล วีรุตมเสน." Flexiplan: Faculty of Medicine Chulalangkorn University Memorial Hall. Accessed March 04, 2017. http://mdcu.flexiplan.co.th/th/hof/detail/267.
  234. บริษัท มติชน จำกัด. "แพทย์ไทยยกย่องโนเบลแพทย์ “ผู้บุกเบิกเด็กหลอดแก้ว” ช่วยนักวิทย์ฯ รุ่นหลังมีแรงบันดาลใจ." Matichon Online. Accessed March 04, 2017. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1286337113&catid=04[ลิงก์เสีย].
  235. "สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย." หน้าแรก. Accessed March 04, 2017. http://www.council.chula.ac.th/house-council.html.
  236. Matichon. "เจ๋ง!! อ.จุฬาฯ รับอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติชั้น 'Ribbon of Honour' คนแรกของโลก จากงานประกวดนวัตกรรมระดับโลก." มติชนออนไลน์. November 23, 2016. Accessed May 23, 2017. https://www.matichon.co.th/news/369373.
  237. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (n.d.). อาจารย์และบุคลากร ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ . Retrieved พฤศจิกายน 27, 2559, from เว็บไซต์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:http://www2.pharm.chula.ac.th/dept7/index.php?main_id=3&sub_id=3&staff_id=6[ลิงก์เสีย]
  238. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤศจิกายน 2559). ข่าวจุฬาฯ ในหน้าหนังสือพิมพ์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.chula.ac.th/th/archive/15431/ เก็บถาวร 2017-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  239. "Pornanong Aramwit". ResearchGate. Retrieved 2016-12-10.
  240. Chula.ac.th. (2017). CU Professor Receives Grand Officer Title from the Federation Francaise des Inventeurs. [online] Available at: http://www.chula.ac.th/en/archive/9707[ลิงก์เสีย] [Accessed 6 Dec. 2017].
  241. http://www.naewna.com. (2018). เปิดใจ ‘ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์’ นักวิจัยหญิงไทยคนแรก คว้ารางวัลชั้นสูงสุดจากสมาพันธ์นักประดิษฐ์แห่งฝรั่งเศส. [online] Available at: http://www.naewna.com/lady/321245 [Accessed 3 Aug. 2018].
  242. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. คณะกรรมการบริหารสมาคม ปี 2559-2560. Retrieved April 29, 2017, from http://www.scisoc.or.th/old/index.php?option=com_content&view=article&id=67&Itemid=77
  243. คมชัดลึก. "ทางออกการเรียนการสอนของไทย." Www.komchadluek.net. October 25, 2015. Accessed April 29, 2017. http://www.komchadluek.net/news/edu-health/215719.
  244. ""เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์" นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในโลกออนไลน์ – เช็กก่อนแชร์เปลี่ยนสังคมเชื่อตามกัน | ThaiPublica". thaipublica.org. Retrieved 2017-01-15.
  245. "แพทย์ไทยคนแรกได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ผอ."อนามัยโลก"สมัยที่2." มติชนออนไลน์ . September 9 , 2008. Accessed April 10, 2017. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1220956703[ลิงก์เสีย].
  246. YouTube. (2017). จุฬาฯ เทิด ธ พระภูมิพล | ตอนที่ 1 "นักเรียนทุนอานันทมหิดลคนแรก". [online] Available at: https://www.youtube.com/watch?v=-pfrRvoYjHI [Accessed 25 Dec. 2017].
  247. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2018). นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [online] Available at: http://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/honor/history01/ [Accessed 25 Jul. 2018].
  248. Boi.go.th. (2018). BOI : The Board of Investment of Thailand. [online] Available at: http://www.boi.go.th/index.php?page=our_board_members [Accessed 25 Jul. 2018].
  249. 249.0 249.1 ภักดีเจริญ, เพ็ญลักษณ์. "ย่ำธารน้ำแข็ง สำรวจขั้วโลกเหนือ." กรุงเทพธุรกิจ (กรุงเทพฯ), July 23, 2018, จุดประกาย ed., หน้าแรก sec. July 23, 2018. Accessed July 23, 2018.
  250. ไทยรัฐออนไลน์. "นักวิจัยหญิงไทยคนแรกดำน้ำเดี่ยว สำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลขั้วโลกใต้." ไทยรัฐ, January 30, 2014. Accessed July 23, 2018. https://www.thairath.co.th/content/399728.
  251. แอนตาร์กติก...ดินแดนแห่งน้ำแข็ง สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2554. 213 หน้า
  252. ราชกิจจานุเบกษา. (29 พฤศจิกายน 2479). ประกาศ เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/D/2271.PDF
  253. พิบูลสงคราม, แปลก. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย." ราชกิจจานุเบกษา. February 25, 1932. Accessed April 7, 2017. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/014/356_1.PDF.
  254. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 61, ตอน 54 ง, 5 กันยายน พ.ศ. 2487, หน้า 1722. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/D/054/1722.PDF
  255. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 52, ตอน 0 ง, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478, หน้า 2327
  256. Becker, W. H. (2013). Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York, United States of America: The Rockefeller Foundation .
  257. "ดาวดวงเด่น "สุรเชษฐ หลิมกำเนิด" เยาวชนนักฟิสิกส์ ปริญญาเอกหมาด ๆ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล". Retrieved 2017-01-15.
  258. "Pasuk PHONGPAICHIT & Chris BAKER|Laureates." Fukuoka Prize. Accessed June 16, 2017. http://fukuoka-prize.org/en/laureate/prize/gra/pasukchris.php.
  259. Phongpaichit, Pasuk, and Chris, Baker. "A History of Thailand." A History of Thailand - Cambridge University Press. Accessed February 19, 2017. http://www.cambridge.org/catalogue/catalogue.asp?isbn=9780521767682.
  260. Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR), "Biography of Vitit Muntarbhorn." เก็บถาวร 2013-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออนไลน์]. สืบค้น 10 เมษายน 2560.
  261. กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. “พระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการศึกษา: Sirindhorn .” เว็บไซต์ Sirindhorn . http://www.sirindhorn.net/Education.php เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2 พฤษภาคม 2560 ที่เข้าถึง).
  262. (มหาชน), บริษัท มติชน จำกัด. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ สำเร็จการศึกษา วิชาแฟชั่นจุฬาฯ." Matichon Online. June 29, 2009. Accessed May 01, 2017. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1246208172&catid=42[ลิงก์เสีย].
  263. [9] เก็บถาวร 2013-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายชื่อนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2427- 2554
  264. [10][ลิงก์เสีย] นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2555
  265. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจ าปี ๒๕๕๗[ลิงก์เสีย]
  266. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๘[ลิงก์เสีย]
  267. เว็บไซต์แพทยสภา หน้าแพทย์ดีเด่น ปี พ.ศ 2539-2557. http://www.tmc.or.th/gooddoctor.php
  268. เว็บไซต์แพทยสภา หน้าแพทย์ดีเด่น ปี พ.ศ 2539-2557 อย่างละเอียด. http://www.tmc.or.th/gooddoctor_51.php
  269. สำนักข่าว hfocus. (5 ธันวาคม 2557). แพทย์ดีเด่นแพทยสภาประจำปี 2556-2558. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 จาก hfocus: https://www.hfocus.org/content/2014/12/8782
  270. แพทยสภา (5 พฤศจิกายน 2559). แพทย์ดีเด่นแพทยสภาประจำปี 2559. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ แพทยสภา : http://tmc.or.th/halloffame/mdexcellence.html
  271. แพทยสภา (5 พฤศจิกายน 2559). แพทย์เกียรติยศแพทยสภา. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ แพทยสภา : http://tmc.or.th/halloffame/mdhonor.html
  272. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. "สองนิสิตจุฬาฯ นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย คว้ามาได้ 2 เหรียญจากกีฬาโอลิมปิก 2016". สำนักบริหารกิจการนิสิต (in Thai). Retrieved 2016-12-10.
  273. "Two taekwondo athletes win medals for Thailand เก็บถาวร 2016-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |". englishnews.thaipbs.or.th. Retrieved 2016-12-10.
  274. เสร็จศึกซีเกมส์!"น้องเทนนิส"เตรียมนำทัพเทควันโดสู้ต่อ 2 รายการใหญ่.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′18″N 100°31′56″E / 13.738359°N 100.532097°E / 13.738359; 100.532097