น้ำลาย
น้ำลาย คือสารที่ดีมากที่สุดที่คล้ายน้ำและมักจะเป็นฟอง ถูกผลิตขึ้นในปากของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ น้ำลายถูกผลิตขึ้นจากต่อมน้ำลาย น้ำลายของมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ 98% ส่วนที่เหลือเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมือก สารยับยั้งแบคทีเรีย และเอนไซม์ชนิดต่างๆ [1] เอนไซม์ในน้ำลายสามารถย่อยแป้งที่อยู่ในอาหารในระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการย่อยอาหาร น้ำลายช่วยชะล้างอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันและปกป้องไม่ให้เกิดการเน่าเสียจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วยหล่อลื่นและปกป้องฟัน ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนบางภายในช่องปาก
สัตว์หลายชนิดมีพัฒนาการการใช้น้ำลายเฉพาะทางมากไปกว่าการย่อยอาหาร นกนางแอ่นใช้น้ำลายที่เหนียวคล้ายยางในการสร้างรัง ซึ่งรังนกนางแอ่นนี้ใช้ทำเครื่องดื่มรังนก [2] งูพิษเช่นงูเห่าปล่อยน้ำลายที่มีพิษออกมาทางเขี้ยวเพื่อใช้ในการล่าสัตว์หรือการป้องกันตัว และแมลงบางชนิดเช่นแมงมุมหรือหนอนผีเสื้อ สร้างใยของมันขึ้นมาจากต่อมน้ำลาย
หน้าที่
แก้การย่อยอาหาร
แก้หน้าที่ที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารของน้ำลาย คือการทำให้อาหารเปียกและช่วยสร้างก้อนอาหารทำให้กลืนได้อย่างง่ายดาย น้ำลายประกอบด้วยเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ที่สามารถย่อยแป้งให้กลายเป็นน้ำตาลมอลโทส (Maltose) และเดกซ์ทริน (Dextrin) ดังนั้นการย่อยอาหารจึงเริ่มต้นเกิดขึ้นตั้งแต่ในปากก่อนที่อาหารจะตกลงถึงกระเพาะอาหาร [3]
สารฆ่าเชื้อ
แก้ความเชื่ออย่างหนึ่งเกี่ยวกับน้ำลายว่า น้ำลายมีสารฆ่าเชื้ออยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้ผู้คนที่เชื่อนำไปสู่ "การเลียแผลตัวเอง" คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาในเมืองเกนส์วิลล์ได้ค้นพบว่า มีโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า Nerve Growth Factor (NGF) ในน้ำลายของหนูทดลอง บาดแผลที่ใช้ NGF รักษาสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าแผลที่ไม่ได้ใช้เป็นสองเท่า นั่นหมายความว่าน้ำลายสามารถช่วยรักษาแผลได้ในสัตว์บางชนิด อย่างไรก็ตามไม่มีการตรวจพบ NGF ในน้ำลายของมนุษย์ แต่มีสารยับยั้งแบคทีเรียอย่างอื่นเช่น อิมมูโนกลอบูลินเอ (Immunoglobulin A: IgA) แลกโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) และแลกโตเพอรอกซิเดส (Lactoperoxidase) [4] สิ่งนี้แสดงว่าการเลียแผลของมนุษย์ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ แต่การเลียนั้นอาจช่วยขจัดสิ่งสกปรกหรือช่วยกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อได้โดยตรงจากการเลียปัดออกไป ดังนั้นการเลียจึงอาจเป็นวิธีหนึ่งของการทำความสะอาดของมนุษย์หรือสัตว์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ถ้าไม่มีน้ำบริสุทธิ์ให้ใช้
ปากของสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) เป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งบางชนิดเป็นจุลชีพก่อโรค (Pathogen) การกัดของสัตว์จึงต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันความเสี่ยงของภาวะเลือดเป็นพิษ (Septicemia)
เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้พบว่าน้ำลายของสัตว์ปีกสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดโรคไข้หวัดนกได้ดีกว่ามูลของมัน [5]
การกระตุ้นและการผลิตน้ำลายต่อวัน
แก้การผลิตน้ำลายสามารถถูกกระตุ้นได้ทั้งจากระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) [6] น้ำลายที่ถูกกระตุ้นโดยประสาทซิมพาเทติกจะข้นเหนียวมากกว่าจากประสาทพาราซิมพาเทติก
ปัจจุบันนี้ก็ยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องปริมาณของการผลิตน้ำลายต่อวันของบุคคลผู้มีสุขภาพดี ทุกวันนี้เราเชื่อกันว่าคนหนึ่งคนจะมีการผลิตน้ำลายโดยเฉลี่ยประมาณ 0.75 ลิตรต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของการผลิตน้ำลายในสภาวะปกติในอัตรา 1–1.5 ลิตรต่อวัน นั่นคือ 20 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงในเวลาปกติและ 250 มิลลิลิตรในสภาวะถูกกระตุ้น ในขณะหลับการผลิตน้ำลายแทบจะลดลงเหลือศูนย์
ส่วนประกอบ
แก้ในน้ำลายประกอบด้วย
- น้ำ 99.5
%
- อิเล็กโทรไลต์
- โซเดียม 2–21 มิลลิโมลต่อลิตร (น้อยกว่าพลาสมาของเลือด)
- โพแทสเซียม 10–36 มิลลิโมลต่อลิตร (มากกว่าพลาสมาของเลือด)
- แคลเซียม 1.2–2.8 มิลลิโมลต่อลิตร
- แมกนีเซียม 0.08–0.5 มิลลิโมลต่อลิตร
- สารประกอบคลอไรด์ 5–40 มิลลิโมลต่อลิตร (น้อยกว่าพลาสมาของเลือด)
- สารประกอบไบคาร์บอเนต 25 มิลลิโมลต่อลิตร (มากกว่าพลาสมาของเลือด)
- สารประกอบฟอสเฟต 1.4–39 มิลลิโมลต่อลิตร
- เมือก (Mucus) ส่วนหลักประกอบด้วย
- มิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ (Mucopolysaccharides)
- ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)
- สารยับยั้งแบคทีเรีย เช่น
- สารประกอบไทโอไซยาเนต (Thiocyanate)
- อิมมูโนกลอบูลินเอ (Immunoglobulin A: IgA)
- ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
- เอนไซม์ มีสามชนิดเป็นหลัก
- เซลล์ ทั้งเซลล์ของมนุษย์ 8 ล้านเซลล์ และเซลล์แบคทีเรีย 500 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร ซึ่งผลผลิตของแบคทีเรียจะถูกปล่อยปนกับน้ำลาย อันเป็นสาเหตุของอาการปากเหม็น (Halitosis)
- Opiorphin สสารชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวด [7]
อ้างอิง
แก้- ↑ สื่อด้านสรีรวิทยาของวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งจอร์เจีย (MCG) 6/6ch4/s6ch4_6(อังกฤษ)
- ↑ Marcone, M. F. (2005). "Characterization of the edible bird's nest the Caviar of the East." Food Research International 38:1125–1134. doi:10.1016/j.foodres.2005.02.008 Abstract retrieved 12 Nov 2007 เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Maton, Anthea (1993). Human Biology and Health. Englewood Cliffs, New Jersey, USA: Prentice Hall. ISBN 0-13-981176-1.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Discover Magazine, "The Biology of ...Saliva" October 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-03. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
- ↑ "Saliva swabs for bird flu virus more effective than faecal samples" German Press Agency December 11, 2006 Retrieved 13 November 2007 เก็บถาวร 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สื่อด้านสรีรวิทยาของวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งจอร์เจีย (MCG) 6/6ch4/s6ch4_7(อังกฤษ)
- ↑ Andy Coghlan (November 13, 2006). "Natural-born painkiller found in human saliva". New Scientist.