กรดไฮโดรฟลูออริก
กรดไฮโดรฟลูออริก เป็นสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ในน้ำ แม้ว่าจะมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างแรงและยากแก่การใช้งาน กรดนี้เป็นเพียงกรดอ่อนเท่านั้น กรดไฮโดรฟลูออริกใช้เป็นแหล่งของฟลูออรีนในการสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ ทั้งยาและพอลิเมอร์ เช่น เทฟลอน คนทั่วไปรู้จักกรดไฮโดรฟลูออริกในฐานะกรดกัดแก้ว เพราะกรดชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับซิลิกอนไดออกไซด์ได้ เนื่องจากความกัดกร่อนที่กรดนี้มีต่อแก้วและโลหะ ตามปกติจึงมักเก็บในบรรจุภัณฑ์พลาสติก[3]
กรดไฮโดรฟลูออริก | |
---|---|
ชื่อตาม IUPAC | Fluorane[1] |
ชื่ออื่น | Fluorhydric acid Hydronium fluoride |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [7664-39-3][CAS] |
PubChem | |
EC number | |
ChEBI | |
RTECS number | MW7875000 |
SMILES | |
InChI | |
ChemSpider ID | |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | HF (aq) |
ลักษณะทางกายภาพ | ของเหลวไร้สี |
ความหนาแน่น | 1.15 g/mL (สำหรับสารละลาย 48%) |
pKa | 3.17[2] |
ความอันตราย | |
GHS pictograms | ![]() ![]() |
NFPA 704 | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
แก๊สไฮโดรเจนฟลูออไรด์เป็นสารพิษรุนแรงที่สามารถสร้างความเสียหายต่อปอดและกระจกตาอย่างทันทีและถาวร ในขณะที่กรดไฮโดรฟลูออริกเป็นสารพิษทางการสัมผ้สที่สามารถทำให้ผิวหนังไหม้และเนื้อเยื่อตายโดยไม่รับรู้ความเจ็บปวดในตอนแรก นอกจากนี้ ยังสามารถรบกวนกระบวนการเมแทบอลิซึมของแคลเซียม ทำให้หัวใจวายและเสียชีวิตได้
ความเป็นกรดแก้ไข
กรดไฮโดรฟลูออริกเป็นกรดอ่อน เพราะมีค่าคงที่การแตกตัวต่ำกว่ากรดแก่ ไม่แตกตัวสมบูรณ์ในน้ำ โดยเกิดสมดุลดังสมการ
HF + H2O ⇌ H3O+ + F−
ซึ่งกรดนี้เป็นกรดไฮโดรฮาลิกเพียงตัวเดียวที่ไม่เป็นกรดแก่
อย่างไรก็ตาม เมื่อความเข้มข้นของ HF สูงขึ้น ความเป็นกรดจะเพิ่มขึ้นได้อย่างยิ่งยวด เนื่องจากสมดุลที่เรียกว่า โฮโมแอสโซซิเอชัน (่homoassociation) ดังสมการ
3 HF ⇌ H2F+ + FHF−
ทำให้เกิดไบฟลูออไรด์ไอออน (FHF−) ที่มีความเสถียรมากจากพันธะไฮโดรเจนระหว่าง F กับ H[4]
การผลิตแก้ไข
กรดไฮโดรฟลูออริกส่วนใหญ่ในปัจจุบันผลิตจากปฏิกิริยาระหว่างแร่ฟลูออไรต์ (CaF2) กับกรดซัลฟิวริกเข้มข้น ที่อุณหภูมิ 265 °C เกิดเป็นกรดไฮโดรฟลูออริกกับแคลเซียมซัลเฟตดังสมการ:
CaF2 + H2SO4 → 2 HF + CaSO4
นอกจากนี้ กรดไฮโดรฟลูออริกยังเป็นผลพลอยได้ในกระบวนการผลิตกรดฟอสฟอริกจากแร่อะพาไทต์ เนื่องจากแหล่งแร่อะพาไทต์มักมีฟลูออโรอะพาไทต์ปนอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อนำไปย่อยโดยกรดจะให้สายแก๊สผสมของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (จากกรด) น้ำ กรดไฮโดรฟลูออริก และของแข็งปนเปื้อนอิ่น ๆ เมื่อแยกของแข็งออกและนำไปผ่านกรดซัลฟิวริกกับโอเลียม จะได้แก๊สไฮโดรเจนฟลูออไรด์แห้ง โดยในการผลิตนี้ เนื่องจากกรดไฮโดรฟลูออริกมีอำนาจกัดกร่อนสูง จะเกิดการสลายตัวของแร่กลุ่มซิลิเกตให้กรดฟลูออโรซิลิสิก (H2SiF6) ไปควบคู่กันเสมอ[3]
ประโยชน์แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความปลอดภัยแก้ไข
กรดไฮโดรฟลูออริกมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างแรงและเป็นพิษต่อการสัมผัส โดยกรดไฮโดรฟลูออริกมีความสามารถที่จะทะลุผ่านเนื้อเยื่อไปได้ การสัมผัสทางตาหรือผิวหนังการหายใจ หรือการบริโภค จึงเป็นเส้นทางที่นำไปสู่การเป็นพิษได้ง่าย และเนื่องจากกรดไฮโดรฟลูออริกจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท การทำลายเนื้อเยื่อโดยกรดไฮโดรฟลูออริกจึงอาจไม่รู้สึกเจ็บในตอนแรก ผู้ถูกกรดอาจจะไม่รู้ตัวในทันทีและเกิดความล่าช้าในการตอบสนองกับอันตรายที่เกิดขึ้น อาการของการถูกกรดไฮโดรฟลูออริกได้แก่ การระคายเคืองลูกตา ผิวหนัง จมูก และลำคอ การไหม้ของลูกตาหรือผิวหนัง เยื่อจมูกอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวมน้ำ และความเสียหายต่อกระดูก
เมื่อกรดไฮโดรฟลูออริกเข้าสู่ระบบเลือดแล้ว จะไปทำปฏิกิริยากับแคลเซียมไอออนในเลือด เกิดเป็นแคลเซียมฟลูออไรด์ที่ไม่ละลายน้ำ อาจทำให้หัวใจวายได้ โดยรอยไหม้ที่กว้างกว่า 160 ตารางเซนติเมตร ถือว่าอันตรายต่อการเกิดพิษในระบบเลือดและเนื้อเยื่อ ด้วยสาเหตุนี้การต้านพิษกรดไฮโดรฟลูออริกจึงใช้แคลเซียมกลูโคเนต ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมไอออน โดยการล้างแผลไหม้ด้วยน้ำและเจลแคลเซียมกลูโคเนต 2.5%[5] หรือสารละลายเฉพาะอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรดซึมเข้าไปในผิวหนัง จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ต่อไป[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Favre, Henri A.; Powell, Warren H., บ.ก. (2014). Nomenclature of Organic Chemistry: IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013. Cambridge: The Royal Society of Chemistry. p. 131. ISBN 9781849733069.
- ↑ Harris, Daniel C. (2010). Quantitative Chemical Analysis (8th international ed.). New York: W. H. Freeman. pp. AP14. ISBN 978-1429263092.
- ↑ 3.0 3.1 Aigueperse, J. et al. (2005) "Fluorine Compounds, Inorganic" in Ullmann’s Encyclopedia of Industrial Chemistry, Wiley-VCH, Weinheim, doi:10.1002/14356007.a11_307
- ↑ Herbert H. Hyman; Martin Kilpatrick; Joseph J. Katz (July 1957). "The Hammett Acidity Function H0 for Hydrofluoric Acid Solutions". J. Am. Chem. Soc. 79 (14): 3668–3671. doi:10.1021/ja01571a016. Contribution from the Chemistry Division, Argonne National Laboratory, and the Department of Chemistry, Illinois Institute of Technology.
- ↑ "Calcium Gluconate Gel as an Antidote to HF Acid Burns". Northwestern University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 8, 2009. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Recommended Medical Treatment for Hydrofluoric Acid Exposure" (PDF). Honeywell Specialty Materials. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 25, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-06.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- International Chemical Safety Card 0283
- NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards
- แม่แบบ:PubChemLink (HF)
- แม่แบบ:PubChemLink (5HF)
- แม่แบบ:PubChemLink (6HF)
- แม่แบบ:PubChemLink (7HF)
- "Hydrofluoric Acid Burn", The New England Journal of Medicine—Acid burn case study
บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |