หลอดลมอักเสบ
หลอดลมอักเสบ (อังกฤษ: Bronchitis) เป็นการอักเสบที่หลอดลมของปอด[1] ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล, จาม, หายใจลำบาก และเจ็บทรวงอก[1] หลอดลมอักเสบสามารถจำแนกออกเป็นสองประเภทคือ: แบบเฉียบพลัน และ แบบเรื้อรัง[1]
หลอดลมอักเสบ | |
---|---|
![]() ภาพ A แสดงตำแหน่งของปอดและหลอดลม ภาพขยาย B แสดงหลอดลมของคนปกติ ภาพขยาย C แสดงหลอดลมของผู้ป่วย | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | J20-J21, J42 |
ICD-9 | 466, 491, 490 |
DiseasesDB | 29135 |
MedlinePlus | 001087 |
eMedicine | article/807035 article/297108 |
MeSH | D001991 |
หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันมักมีอาการไอเป็นระยะเวลาราวสามสัปดาห์[2] ซึ่งในผู้ป่วย 90% มักจะมีอาการอักเสบจากเชื้อไวรัสตามมา และไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายผ่านอากาศเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม[2] ซึ่งอาจทำให้ผู้คนรอบข้างติดเชื้อไปด้วย อีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันก็คือการสูบยา, ฝุ่น และ มลพิษทางอากาศ[1] ทั้งนี้พบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อย ได้รับแบคทีเรียจากการสูดมลพิษทางอากาศเข้าไปในปริมาณมาก วิธีรักษาหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันได้แก่การพักผ่อน, รับประทานพาราเซตามอล และ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ จะช่วยบรรเทาลงได้[3][4]
หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรังมักจะปรากฏอาการไอมีเสมหะเป็นระยะเวลาตั้งแต่สามสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี หรืออย่างน้อยสองปี[5] และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ร่วมด้วย[6] การสูบยาเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของกรณีนี้ ในขณะที่มลพิษทางอากาศและพันธุกรรมเป็นสาเหตุส่วนน้อย[7] วิธีรักษาคือการเลิกยาสูบ, การใช้วัคซีน, และทำการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด นอกจากนี้ยังต้องทานยาขยายหลอดลมและคอร์ติโคสตีรอยด์เป็นประจำ[8] ในผู้ป่วยบางคนอาจทำการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวร่วมด้วย[8]
หลอดลมอักเสบเป็นหนึ่งในโรคสามัญที่พบได้เป็นส่วนมาก[3][9] ในหนึ่งปีจะมีผู้ใหญ่ราว 5% และเด็กราว 6% ที่เป็นโรคนี้[10][11] ในปี 2010 มีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกราว 329 ล้านคน หรือคิดเป็น 5% ของประชากรโลก[12] และในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 2.7-2.9 ล้านคน[13]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "What Is Bronchitis?". August 4, 2011. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ 2.0 2.1 Albert, RH (1 December 2010). "Diagnosis and treatment of acute bronchitis". American family physician. 82 (11): 1345–50. PMID 21121518.
- ↑ 3.0 3.1 Tackett, KL; Atkins, A (December 2012). "Evidence-based acute bronchitis therapy". Journal of pharmacy practice. 25 (6): 586–90. PMID 23076965.
- ↑ "How Is Bronchitis Treated?". August 4, 2011. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
- ↑ Vestbo, Jørgen (2013). "Diagnosis and Assessment" (PDF). Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. pp. 9–17.
- ↑ Reilly, John J.; Silverman, Edwin K.; Shapiro, Steven D. (2011). "Chronic Obstructive Pulmonary Disease". ใน Longo, Dan; Fauci, Anthony; Kasper, Dennis; Hauser, Stephen; Jameson, J.; Loscalzo, Joseph (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (18th ed.). McGraw Hill. pp. 2151–9. ISBN 978-0-07-174889-6.
- ↑ Decramer M, Janssens W, Miravitlles M (April 2012). "Chronic obstructive pulmonary disease". Lancet. 379 (9823): 1341–51. doi:10.1016/S0140-6736(11)60968-9. PMID 22314182.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
- ↑ 8.0 8.1 Rabe KF, Hurd S, Anzueto A, Barnes PJ, Buist SA, Calverley P, Fukuchi Y, Jenkins C, Rodriguez-Roisin R, van Weel C, Zielinski J (September 2007). "Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease: GOLD executive summary". Am. J. Respir. Crit. Care Med. 176 (6): 532–55. doi:10.1164/rccm.200703-456SO. PMID 17507545.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
- ↑ Braman, SS (January 2006). "Chronic cough due to acute bronchitis: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 95S–103S. PMID 16428698.
- ↑ Wenzel, RP; Fowler AA, 3rd (16 November 2006). "Clinical practice. Acute bronchitis". The New England journal of medicine. 355 (20): 2125–30. PMID 17108344.
- ↑ Fleming, DM; Elliot, AJ (March 2007). "The management of acute bronchitis in children". Expert opinion on pharmacotherapy. 8 (4): 415–26. PMID 17309336.
- ↑ Vos T, Flaxman AD, Naghavi M, Lozano R, Michaud C, Ezzati M, Shibuya K, Salomon JA, Abdalla S, Aboyans V; และคณะ (December 2012). "Years lived with disability (YLDs) for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990–2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2163–96. doi:10.1016/S0140-6736(12)61729-2. PMID 23245607.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
- ↑ GBD 2013 Mortality and Causes of Death, Collaborators (17 December 2014). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMID 25530442.