NFPA 704 เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ซึ่งกำหนดและรักษามาตรฐานโดย สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันและเตือนถึงวัสดุอันตรายต่าง ๆ เครื่องหมายนี้เรียกง่าย ๆ ว่า "เพชรไฟ" (fire diamond) เป็นการเตือนภัยส่วนบุคคลเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วที่จะได้ทราบ ว่าเป็นวัสดุอันตรายชนิดใด มีวิธีการปฏิบัติหรือต้องการเครื่องมือเฉพาะอย่างไรบ้าง

float
float

สัญลักษณ์

แก้

มี 4 รหัสสีเฉพาะดังนี้

ความไวไฟ ความไวต่อปฏิกิริยาโดยจะบอกเป็นระดับตัวเลขตั้งแต่ 0 (ไม่มีอันตราย เป็นสารธรรมดา) ถึง 4 (มีอันตรายมากที่สุด)

ความไวไฟ (สีแดง)
0 วัสดุที่ไม่ติดไฟด้วยเพลิงทั่วไป เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ หรือ ซิลิกอนไดออกไซด์ รวมถึงวัสดุที่ไม่ติดไฟโดยธรรมชาติของคุณสมบัติวัสดุอยู่แล้วเช่นคอนกรีต หิน ทราย และวัสดุที่จะไม่ติดไฟ นอกจากให้ความร้อน 820 องศาเซลเซียสเป็นเวลามากกว่า 5 นาที
1 วัสดุที่ต้องให้ความร้อนก่อนอย่างมีนัยยะสำคัญภายใต้บรรยากาศธรรมดา จึงจะติดไฟและเกิดการเผาไหม้ได้ เช่น น้ำมันแร่ แอมโมเนีย เอทิลีนไกลคอล รวมถึงของแข็งบดละเอียดในสารละลายบางประเภทที่ไม่ต้องให้ความร้อนก่อนเกิดการจุดระเบิด มีจุดวาบไฟอยู่ที่หรือสูงกว่า 93.3 องศาเซลเซียส
2 วัสดุต้องให้ความร้อนในระดับหนึ่งหรืออยู่ในบรรยากาศที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูงจึงจะจุดระเบิดได้ เช่น น้ำมันดีเซล กระดาษ กำมะถัน และของแข็งบดละเอียดในสารละลายที่ไม่ต้องให้ความร้อนในการจุดระเบิด มีจุดวาบไฟระหว่าง 37.8 และ 93.3 องศาเซลเซียส
3 ของเหลวและของแข็ง รวมถึงของแข็งบดละเอียดในสารละลาย ที่สามารถจุดระเบิดได้เกือบทุกสภาพแวดล้อม เช่น แอซีโทน เอทานอล ของเหลวที่มีจุดวาปไฟต่ำกว่า 22.8 องศาเซลเซียสและมีจุดเดือดเท่ากับหรือมากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส หรือมีจุดวาปไฟระหว่าง 22.8 และ 37.8 องศาเซลเซียส
4 เป็นสารที่ระเหยในทันทีหรือรวดเร็วมากหรือทันทีที่แรงดันและอุณหภูมิบรรยากาศธรรมดา หรือกระจายอยู่ในบรรยากาศอยู่แล้วและสามารถจุดระเบิดเมื่อใดก็ได้ เช่น น้ำมันเบนซิน อะเซทิลีน โพรเพน แก๊สไฮโดรเจน รวมถึงวัสดุไพโรโฟริก และวัตถุที่มีจุดวาปไฟต่ำกว่าอุณหภูมิห้องที่ 22.8 องศาเซลเซียส

สุขภาพ (สีน้ำเงิน)
0 ได้รับขณะร้อนไม่เกิดอันตรายเท่าไร (เช่น น้ำมันถั่วลิสง (peanut oil))
1 ได้รับแล้วอาจทำให้เกิดระคายเคือง และอาจทำให้เกิดแผลเป็นเล็กน้อยเท่านั้น (เช่น น้ำมันสน (turpentine))
2 ได้รับเป็นช่วง ๆ หรือต่อเนื่องแต่ไม่ประจำ อาจเป็นสาเหตุให้ไร้ความสามารถชั่วขณะ หรือเป็นอันตรายแบบถาวรได้ (เช่น ก๊าซแอมโมเนีย)
3 ได้รับเพียงช่วงเวลาสั้น ก็จะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือ ถาวร (เช่น ก๊าซคลอรีน)
4 ได้รับเพียงช่วงเวลาสั้นๆ อาจถึงตายได้หรืออาการสาหัส (เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์)

ความไวในปฏิกิริยาเคมี (สีเหลือง)
0 เสถียร
1 ไม่เสถียรถ้าโดนความร้อน และความดัน
2 ปฏิกิริยาเคมีรุนแรง
3 ความร้อนและการกระแทกอาจเกิดการระเบิดได้
4 ระเบิดได้

รหัสเฉพาะ (สีขาว)
ส่วนสีขาวรหัสเฉพาะมีให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยสัญลักษณ์ต่อไปนี้มีในมาตรฐาน NFPA 704
OX สารออกซิไดซ์
W ทำปฏิกิริยากับน้ำ
SA ก๊าซพิษที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างธรรมดา
รหัสเฉพาะนอกมาตรฐาน (สีขาว)
สัญลักษณ์เฉพาะนอกมาตรฐาน โดยอาจอนุโลมให้ใช้ หรือห้ามมิให้ใช้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน
COR กัดกร่อน
ACID กรด
ALK เบส
BIO เป็นอันตรายทางชีวภาพ
 
POI พิษ
RA ปล่อยกัมมันตภาพรังสี
RAD
 
CRY มีความเย็นยวดยิ่ง
CRYO

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้