โพรเพน (อังกฤษ: propane) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมี C3H8 ลักษณะเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความไวไฟสูง สามารถบีบอัดให้เป็นของเหลวเพื่อใช้ขนส่งได้ ค้นพบโดยมาร์เซลแล็ง แบร์เธโลในปี ค.ศ. 1857[5] และถูกพบในน้ำมันดิบความหนาแน่นต่ำโดยเอดมันด์ โรนัลส์ในปี ค.ศ. 1864[6] ชื่อโพรเพนมาจากกรดโพรพิโอนิก ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีกโบราณสองคำคือ πρῶτος (prôtos) แปลว่า แรก และ πίων (píōn) แปลว่า ไขมัน[7]

โพรเพน
Skeletal formula of propane
Skeletal formula of propane
Skeletal formula of propane with all implicit carbons shown, and all explicit hydrogens added
Skeletal formula of propane with all implicit carbons shown, and all explicit hydrogens added
Ball and stick model of propane
Ball and stick model of propane
Spacefill model of propane
Spacefill model of propane
ชื่อ
Preferred IUPAC name
Propane[1]
Systematic IUPAC name
Tricarbane (never recommended[1])
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
1730718
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.000.753 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 200-827-9
เลขอี E944 (glazing agents, ...)
25044
KEGG
RTECS number
  • TX2275000
UNII
UN number 1978
  • InChI=1S/C3H8/c1-3-2/h3H2,1-2H3 checkY
    Key: ATUOYWHBWRKTHZ-UHFFFAOYSA-N checkY
  • CCC
คุณสมบัติ[2]
C3H8
มวลโมเลกุล 44.097 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ แก๊สไม่มีสี
กลิ่น ไม่มีกลิ่น
ความหนาแน่น 2.0098 kg/m3 (at 0 °C, 101.3 kPa)
จุดหลอมเหลว −187.7 °C; −305.8 °F; 85.5 K
จุดเดือด −42.25 to −42.04 °C; −44.05 to −43.67 °F; 230.90 to 231.11 K
47 mg⋅L−1 (at 0 °C)
log P 2.236
ความดันไอ 853.16 kPa (at 21.1 องศาเซลเซียส (70.0 องศาฟาเรนไฮต์))
กรด Propanium
−40.5 × 10−6 cm3/mol
อุณหเคมี
73.60 J⋅K−1⋅mol−1
−105.2–104.2 kJ⋅mol−1
−2.2197–2.2187 MJ⋅mol−1
ความอันตราย
GHS labelling:
อันตราย
H220
P210
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 2: Intense or continued but not chronic exposure could cause temporary incapacitation or possible residual injury. E.g. chloroformFlammability 4: Will rapidly or completely vaporize at normal atmospheric pressure and temperature, or is readily dispersed in air and will burn readily. Flash point below 23 °C (73 °F). E.g. propaneInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
2
4
0
จุดวาบไฟ −104 องศาเซลเซียส (−155 องศาฟาเรนไฮต์; 169 เคลวิน)
470 องศาเซลเซียส (878 องศาฟาเรนไฮต์; 743 เคลวิน)
ขีดจำกัดการระเบิด 2.37–9.5%
NIOSH (US health exposure limits):
PEL (Permissible)
TWA 1000 ppm (1800 mg/m3)[3]
REL (Recommended)
TWA 1000 ppm (1800 mg/m3)[3]
IDLH (Immediate danger)
2100 ppm[3]
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
alkanesที่เกี่ยวข้อง
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
Diiodohydroxypropane
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

โพรเพนเป็นสารไฮโดรคาร์บอนชนิดแอลเคนที่มีคาร์บอน 3 อะตอมเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเดี่ยว โพรเพนมีโครงสร้างเป็นโซ่ตรง ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างโมเลกุลมาก ส่งผลให้มีแรงระหว่างโมเลกุลมากตามไปด้วย การมีแรงระหว่างโมเลกุลมากทำให้ต้องใช้พลังงานในการสลายแรงดังกล่าวของโพรเพนมากกว่าแอลเคนที่มีโมเลกุลน้อยกว่าอย่างมีเทนและอีเทน[8][9] นอกจากนี้ยังเป็นสารไม่มีขั้วเนื่องจากอะตอมไฮโดรเจนและคาร์บอนมีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน จึงไม่เกิดโมเมนต์ขั้วคู่ (dipole moment) ส่งผลให้โพรเพนไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายมีขั้ว เช่น เฮกเซน เบนซีน โทลูอีน และคลอโรฟอร์ม[10] โพรเพนเป็นหนึ่งในสารที่พบในน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ และเป็นสารกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกแยกออกเมื่อมีการกลั่นลำดับส่วนเนื่องจากมีจุดเดือดต่ำกว่าสารชนิดอื่น[11]

โพรเพนใช้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และเป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) หรือแก๊สหุงต้มเมื่อผสมกับบิวเทนและสารไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ นอกจากนี้โพรเพนยังใช้เป็นสารขับดัน สารทำความเย็น และเป็นสารตั้งต้นในการผลิตโพรพีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมพลาสติก[12][13] โพรเพนเป็นสารระเหยที่เมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนแรง หมดสติและอาจเสียชีวิตจากภาวะขาดอากาศหายใจ[14][15]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Front Matter". Nomenclature of Organic Chemistry : IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013 (Blue Book). Cambridge: The Royal Society of Chemistry. 2014. p. 4. doi:10.1039/9781849733069-FP001. ISBN 978-0-85404-182-4. Similarly, the retained names 'ethane', 'propane', and 'butane' were never replaced by systematic names 'dicarbane', 'tricarbane', and 'tetracarbane' as recommended for analogues of silane, 'disilane’; phosphane, 'triphosphane'; and sulfane, 'tetrasulfane'.
  2. Record of Propane in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health
  3. 3.0 3.1 3.2 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0524". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  4. GOV, NOAA Office of Response and Restoration, US. "PROPANE – CAMEO Chemicals – NOAA". cameochemicals.noaa.gov.
  5. "Comptes rendus hebdomadaires des séances de l'Académie des sciences" (ภาษาฝรั่งเศส). 140. 1905. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. Roscoe, H.E.; Schorlemmer, C. (1881). Treatise on Chemistry. Vol. 3. Macmillan. pp. 144–145.
  7. "propane". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
  8. Rawn, J. David; Ouellette, Robert J. (2018). Organic Chemistry: Structure, Mechanism, Synthesis. Cambridge, Massachusetts, US: Academic Press. p. 116. ISBN 9780128128398.
  9. "Physical Properties of Alkanes". Chemistry LibreTexts. February 13, 2019. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
  10. "Chemical Formula for Propane". Sciencing. October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
  11. Nolan, Dennis P. (2013). Handbook of Fire & Explosion Protection Engineering Principles for Oil, Gas, Chemical, & Related Facilities. Amsterdam, Netherlands: Elsevier Science. p. 35. ISBN 9780080946313.
  12. "Propane". Britannica. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
  13. "Propane". New World Encyclopedia. June 16, 2019. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
  14. "Propane - Tox Town". National Institutes of Health (NIH). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-07. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.
  15. "Propane poisoning". MedlinePlus Medical Encyclopedia. January 12, 2019. สืบค้นเมื่อ December 8, 2019.