โพแทสเซียม

(เปลี่ยนทางจาก Potassium)

โพแทสเซียม (อังกฤษ: Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K

โพแทสเซียม, 00K
Potassium pearls (in paraffin oil, ~5 mm each)
โพแทสเซียม
การอ่านออกเสียง/pəˈtæsiəm/ (-TASS-ee-əm)
รูปลักษณ์silvery gray
Standard atomic weight Ar°(K)
  • 39.0983±0.0001
  • 39.098±0.001 (abridged)[1]
โพแทสเซียมในตารางธาตุ
Hydrogen Helium
Lithium Beryllium Boron Carbon Nitrogen Oxygen Fluorine Neon
Sodium Magnesium Aluminium Silicon Phosphorus Sulfur Chlorine Argon
Potassium Calcium Scandium Titanium Vanadium Chromium Manganese Iron Cobalt Nickel Copper Zinc Gallium Germanium Arsenic Selenium Bromine Krypton
Rubidium Strontium Yttrium Zirconium Niobium Molybdenum Technetium Ruthenium Rhodium Palladium Silver Cadmium Indium Tin Antimony Tellurium Iodine Xenon
Caesium Barium Lanthanum Cerium Praseodymium Neodymium Promethium Samarium Europium Gadolinium Terbium Dysprosium Holmium Erbium Thulium Ytterbium Lutetium Hafnium Tantalum Tungsten Rhenium Osmium Iridium Platinum Gold Mercury (element) Thallium Lead Bismuth Polonium Astatine Radon
Francium Radium Actinium Thorium Protactinium Uranium Neptunium Plutonium Americium Curium Berkelium Californium Einsteinium Fermium Mendelevium Nobelium Lawrencium Rutherfordium Dubnium Seaborgium Bohrium Hassium Meitnerium Darmstadtium Roentgenium Copernicium Nihonium Flerovium Moscovium Livermorium Tennessine Oganesson
Na

K

Rb
อาร์กอนโพแทสเซียมแคลเซียม
หมู่group 1: hydrogen and alkali metals
คาบคาบที่ 4
บล็อก  บล็อก-s
การจัดเรียงอิเล็กตรอน[Ar] 4s1
จำนวนอิเล็กตรอนต่อชั้น2, 8, 8, 1
สมบัติทางกายภาพ
วัฏภาค ณ STPของแข็ง
จุดหลอมเหลว336.7 K ​(63.5 °C, ​146.3 °F)
จุดเดือด1032 K ​(759 °C, ​1398 °F)
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.)0.862 g/cm3
เมื่อเป็นของเหลว (ณ m.p.)0.828 g/cm3
Critical point2223 K, 16[2] MPa
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว2.33 kJ/mol
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ76.9 kJ/mol
ความจุความร้อนโมลาร์29.6 J/(mol·K)
สมบัติเชิงอะตอม
เลขออกซิเดชัน−1, +1 (ออกไซด์เป็นเบสที่แรง)
อิเล็กโตรเนกาทิวิตีPauling scale: 0.82
รัศมีอะตอมempirical: 227 pm
รัศมีโคเวเลนต์203±12 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์275 pm
Color lines in a spectral range
Color lines in a spectral range
เส้นสเปกตรัมของโพแทสเซียม
สมบัติอื่น
โครงสร้างผลึก ​รูปลูกบาศก์กลางตัว
การขยายตัวจากความร้อน83.3 µm/(m⋅K) (ณ 25 °C)
การนำความร้อน102.5 W/(m⋅K)
สภาพต้านทานไฟฟ้า72 n Ω⋅m (ณ 20 °C)
ความเป็นแม่เหล็กพาราแมกเนติก[3]
มอดุลัสของยัง3.53 GPa
โมดูลัสของแรงเฉือน1.3 GPa
Bulk modulus3.1 GPa
Speed of sound thin rod2000 m/s (ณ 20 °C)
Mohs hardness0.4
Brinell hardness0.363 MPa
เลขทะเบียน CAS7440-09-7
ประวัติศาสตร์
การค้นพบฮัมฟรี เดวี (1807)
การแยกให้บริสุทธิ์เป็นครั้งแรกฮัมฟรี เดวี (1807)
สัญลักษณ์"K": from New Latin kalium
ไอโซโทปของโพแทสเซียม
ไม่มีหน้า แม่แบบ:กล่องข้อมูลไอโซโทปของโพแทสเซียม
หมวดหมู่ หมวดหมู่: โพแทสเซียม
| แหล่งอ้างอิง

สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาละตินว่า Kalium[4] ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้

โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อน ๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม

สารประกอบสำคัญ

แก้

ประโยชน์

แก้
  • ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยให้การทำงานของหัวใจเต้นเป็นปกติ
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยรักษาภูมิแพ้
  • ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส โดยมีออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง
  • ช่วยกำจัดของเสียต่าง ๆ ในร่างกาย

ผลเสียของการรับประทานโพแทสเซียม

แก้

ร่างกายอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หากรับประทานโพแทสเซียมในปริมาณตั้งแต่ 18 กรัมขึ้นไป และโรคจากการขาดโพแทสเซียม ได้แก่อาการบวม และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (ไฮโปไกลซีเมีย) สำหรับศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ [5][6]

การรับประทานโพแทสเซียม

แก้
  • โพแทสเซียมในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • เกลือโพแทสเซียมอินทรีย์ประกอบไปด้วย กลูโคเนต ซิเทรต ฟูเมเรต และเกลือโพแทสเซียมอนินทรีย์ จะประกอบไปด้วย ซัลเฟต คลอไรด์ ออกไซด์ คาร์บอเนต
  • คุณสามารถหาซื้อแบบแยกเป็นโพแทสเซียม ซิเทรต กลูโคเนต คลอไรด์ ได้ในขนาดประมาณ 600 mg. ซึ่งจะมีโพแทสเซียมผสมอยู่ประมาณ 100 mg. โดยรูปแบบที่แนะนำคือ ไกลซิเนตโพแทสเซียมซิเทรต
  • ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน แต่โดยทั่วไปแล้วขนาดตั้งแต่ 1,600 – 2,000 mg. ต่อวันถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับผู้ใหญ่ผู้ที่สุขภาพแข็งแรง
  • สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • สำหรับผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป

คุณสมบัติทางร่างกายของโพแทสเซียม

แก้

โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด

  • ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด 3.5 – 5.0 mEq/L
  • ระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือดน้อยกว่า 3.5 mEq/L จะทำให้ ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • ระดับโพแทสเซียมสูงในเลือดมากกว่า 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

ระดับโพแทสเซียมในอาหารชนิดต่าง

แก้
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่าง ๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา

การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ควรปรับการประทานอาหารผัก-ผลไม้

โพแทสเซียมและโซเดียม

แก้
  • ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
  • ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง

อ้างอิง

แก้
  1. "Standard Atomic Weights: Potassium". CIAAW. 1979.
  2. Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 4.122. ISBN 1439855110.
  3. Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.
  4. http://www.webelements.com/potassium/
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-12. สืบค้นเมื่อ 2015-05-14.
  6. http://www.cmed.cmu.ac.th/thai/knowledge-62[ลิงก์เสีย]