พ.ศ. 2551
พุทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช 1370 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีภาษาสากล (International Year of Languages)[1]
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2551 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2008 MMVIII |
Ab urbe condita | 2761 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1457 ԹՎ ՌՆԾԷ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6758 |
ปฏิทินบาไฮ | 164–165 |
ปฏิทินเบงกอล | 1415 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2958 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 56 Eliz. 2 – 57 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2552 |
ปฏิทินพม่า | 1370 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7516–7517 |
ปฏิทินจีน | 丁亥年 (กุนธาตุไฟ) 4704 หรือ 4644 — ถึง — 戊子年 (ชวดธาตุดิน) 4705 หรือ 4645 |
ปฏิทินคอปติก | 1724–1725 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3174 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2000–2001 |
ปฏิทินฮีบรู | 5768–5769 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2064–2065 |
- ศกสมวัต | 1930–1931 |
- กลียุค | 5109–5110 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12008 |
ปฏิทินอิกโบ | 1008–1009 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1386–1387 |
ปฏิทินอิสลาม | 1428–1430 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 20 (平成20年) |
ปฏิทินจูเช | 97 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4341 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 97 民國97年 |
เวลายูนิกซ์ | 1199145600–1230767999 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 –พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี:
- พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551)
- สมัคร สุนทรเวช (29 มกราคม – 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (18 กันยายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และรักษาการตั้งแต่ 9 กันยายน – 18 กันยายน พ.ศ. 2551)
- ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการ (2 ธันวาคม – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม -
- สาธารณรัฐไซปรัส, สาธารณรัฐมอลตาและดินแดนโพ้นทะเลอะโครติรีและเดเคเลียเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
- สาธารณรัฐไอร์แลนด์ใช้ระบบรหัสไปรษณีย์ของตนเองเป็นครั้งแรก
- 2 มกราคม - ราคาปิโตรเลียมขึ้นสูงถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรก[2]
- 14 มกราคม - ยานอวกาศเมสเซนเจอร์ได้บินผ่านดาวพุธเป็นครั้งแรก[3]
- 28 มกราคม - มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551ผลปรากฏว่า สมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทย นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศ ด้วยคะแนนโหวต 310 เสียง
- 29 มกราคม - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พ้นจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์ - เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินโดยสารเช่าเหมาลำรุ่นโบอิง 727 ของสายการบินลอยด์แอเรโอโบลิวาโน (แอลเอบี) บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือกว่า 150 คน ประสบเหตุตกกระแทกหนองน้ำ ในเมืองตรินิแดด ทางตะวันออกของสาธารณรัฐโบลิเวีย
- 6 กุมภาพันธ์ -
- เกิดเหตุคนร้ายขว้างระเบิดเพลิงเข้าใส่อาคารกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น
- 10 กุมภาพันธ์ -
- เกิดเหตุระเบิดรถยนต์พลีชีพในสหพันธ์สาธารณอิรักไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่นายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐอเมริกา จะเดินทางมาถึงกรุงแบกแดด เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงที่มีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และหารือถึงระดับของกองทัพที่จะคงไว้ในอิรัก
- กองทัพสหรัฐอเมริกาส่งมอบตัวนักรบกลุ่มกบฏตอลิบานจำนวน 20 คนให้กับทางการประเทศอัฟกานิสถาน
- เกิดเหตุเพลิงไหม้ประตูนัมแดมุน ประตูเมืองโบราณขนาดใหญ่อายุ 600 ปี ใจกลางโซล สาธารณรัฐเกาหลี
- 11 กุมภาพันธ์ - ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต รามอส ฮอร์ตา ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงที่ท้อง ระหว่างที่ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงดิลี ประเทศติมอร์ตะวันออก ถูกฝ่ายกบฏโจมตีในช่วงเช้ามืดของวันนี้
- 17 กุมภาพันธ์ - รัฐสภาคอซอวอประกาศเอกราชจากสาธารณรัฐเซอร์เบียอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐคอซอวอ"[4] หลังประกาศเอกราชไม่กี่ชั่วโมง ชาวเซิร์บทั้งในคอซอวอและเซอร์เบียต่างออกมาก่อเหตุจลาจลรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมง โดยจุดที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นที่กรุงเบลเกรด สาธารณรัฐเซอร์เบีย
- 18 กุมภาพันธ์ - การเลือกตั้งทั่วไปของสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
มีนาคม
แก้- มีนาคม – เมษายน วิกฤติราคาอาหารโลกและเชื้อเพลิง:เกิดเหตุจลาจลและความไม่สงบในกลุ่มประเทศโลกที่สาม
- 2 มีนาคม - ดมิทรี เมดเวเดฟชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซีย
- 3 มีนาคม - เกิดเหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านการล่าวาฬ กับเรือประมงนิชชินมารุของญี่ปุ่น ระหว่างการล่าจับวาฬใกล้ทวีปแอนตาร์กติกา
- 7 มีนาคม - เกิดเหตุมือปืนชาวปาเลสไตน์กราดยิงนักเรียนในห้องสมุดของโรงเรียนสอนศาสนาเมอร์คาซ ฮาราฟ เยชิวา ในเขตเคอร์ยัต โมเช กรุงเยรูซาเลม รัฐอิสราเอล
- 22 มีนาคม
- หม่า หยิงเจียว ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีไต้หวัน
- ประชาชนในเมืองต่าง ๆ ของหลายประเทศร่วมกันเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้สาธารณรัฐประชาชนจีนยุติการใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงของทิเบต
- เรือลากจูง เนฟเตกราส 67 อับปางลงสู่ก้นทะเลบริเวณนอกชายฝั่งเกาะลันเตา เขตปกครองพิเศษฮ่องกง หลังชนกับเรือบรรทุกสินค้าจดทะเบียนในจีน
- 23 มีนาคม - เขตกรีนโซนในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ถูกโจมตีอย่างหนักด้วยจรวดและปืนครก
- 24 มีนาคม
- รัฐสภาปากีสถานลงมติเห็นชอบให้นายยูซาฟ ราซา จิลานี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรปากีสถาน ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- การเลือกตั้งครั้งแรกในราชอาณาจักรภูฏาน (พรรคที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรคสหภูฏาน (ดีพีที) ที่มีจิกมี ทินเลย์ เป็นหัวหน้าพรรค)
- 27 มีนาคม - พระทิเบตราว 30 รูปชุมนุมประท้วงการแถลงข่าวความไม่สงบในทเบตของทางการจีน ต่อหน้ากลุ่มผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ณ วัดโจกัง กรุงลาซา ทิเบต
เมษายน
แก้- 27 เมษายน - พายุหมุนนาร์กิสอันมีความรุนแรงระดับสูง ได้เริ่มก่อตัวขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต 146,000 คนและสูญหาย 54,000 คน ถือว่าเหตุการณ์พายุนาร์กิสนี้เป็นพิบัติภัยที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติพม่า เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551
พฤษภาคม
แก้- 12 พฤษภาคม - แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551
- 20 พฤษภาคม - หม่า อิงจิ๋วเป็นประธานาธิบดีไต้หวัน
- 28 พฤษภาคม - สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ได้รับการสถาปนาขึ้นหลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลมีมติเป็นเอกฉันท์ เป็นการสิ้นสุดการปกครองในระบอบราชาธิปไตยที่มีมากว่า 240 ปี
- 30 พฤษภาคม - ลงมติรับอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย ที่กรุงดับลิน[5]
สิงหาคม
แก้พฤศจิกายน
แก้- 4 พฤศจิกายน - การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ซึ่งนายบารัก โอบามา สมาชิกวุฒิสภารัฐอิลลินอยส์จากพรรคเดโมแครต ได้รับเลือก ถือได้ว่าเป็นประธานาธิบดีสหรัฐผิวดำคนแรก
ธันวาคม
แก้- 2 ธันวาคม - คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551: ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาให้ยุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย พร้อมทั้งให้กรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรค ยุติบทบาททางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และทำให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนจึงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
แก้วันเกิด
แก้- 16 เมษายน - เจ้าหญิงเอเลออนอร์แห่งเบลเยียม
- 1 พฤษภาคม - ชเว ซึง-ฮุน นักแสดงชายชาวเกาหลีใต้
- 10 กรกฎาคม - บรีแอนน่า เดวิส (รู้จักกันในนามช่องยูทูป ชื่อ Brianna 's Secret Club) อินฟลูเอนเซอร์ ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน
- 14 สิงหาคม - อี ดาอิน สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวงเบบีมอนสเตอร์
- 26 สิงหาคม - โคโกนะ ฮิรากิ นักกีฬาสเกตบอร์ดชาวญี่ปุ่น
- 15 ตุลาคม - พีรณัฐ วัฒนกิจพิศาล นักแสดงชายชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 2 มกราคม - สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466)
- 3 มกราคม - กู้น้อย วิถีชัย (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475)
- 11 มกราคม - เอดมันด์ ฮิลลารี นักสำรวจชาวนิวซีแลนด์ (เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2462)
- 13 มกราคม - สมควร กระจ่างศาสตร์ นักแสดง (เกิด 13 ธันวาคม พ.ศ. 2464)
- 15 มกราคม - แบรด เรนโฟร นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2525)
- 18 มกราคม - สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ แพทย์ (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2495)
- 22 มกราคม - ฮีธ เลดเจอร์ นักแสดงชาวออสเตรเลีย (เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2522)
- 27 มกราคม - ซูฮาร์โต อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย (เกิด 8 มิถุนายน พ.ศ. 2464)
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์ - พิเศษ สังข์สุวรรณ ผู้สร้างเพลงประกอบภาพยนตร์
- 14 กุมภาพันธ์ - พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด 8 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
- 19 กุมภาพันธ์ - เสิ่น เตี้ยนเสีย นักแสดงชาวจีน (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2488)
มีนาคม
แก้- 19 มีนาคม - อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก นักประพันธ์ชาวอังกฤษ (เกิด 16 ธันวาคม พ.ศ. 2460)
- 29 มีนาคม - หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล ชายาใน หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล (ประสูติ 21 มีนาคม พ.ศ. 2467)
- 30 มีนาคม - ดิธ ปราน ช่างภาพและนักข่าวชาวกัมพูชา-อเมริกัน (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2485)
- 31 มีนาคม - จูลส์ แดสซิน ผู้กำกับชาวอเมริกัน (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2454)
เมษายน
แก้- 5 เมษายน - ชาร์ลตัน เฮสตัน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466)
พฤษภาคม
แก้มิถุนายน
แก้กรกฎาคม
แก้- 8 กรกฎาคม - จอห์น เทมเปิลตัน นักธุรกิจชาวอังกฤษ (เกิด 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
สิงหาคม
แก้- 9 สิงหาคม
- ยอดรัก สลักใจ นักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499)
- เบอร์นี แมค นักแสดงและนักแสดงตลกชาวอเมริกัน (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
กันยายน
แก้- 8 กันยายน - คังคุพาอี กาฐิยาวาฑี นักเคลื่อนไหวทางสังคม โสเภณี และแม่เล้า (เกิด พ.ศ.2482 ไม่ปรากฏวันที่)
- 12 กันยายน - จารุจินต์ นภีตะภัฏ นักชีววิทยา (เกิด 22 มกราคม พ.ศ. 2493)
- 15 กันยายน - อภิชาติ หาลำเจียก นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักการเมือง (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497)
- 23 กันยายน - โจเซ่ มาร์ตินส์ อาเชม นักกีฬาชาวมาเก๊า (เกิด พ.ศ. 2487)
- 26 กันยายน - พอล นิวแมน นักแสดง ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2468)
ตุลาคม
แก้- 12 ตุลาคม - เย็น แก้วมะณี ชาวไทยที่มีอายุเกิน 100 ปี (เกิด พ.ศ. 2443)
- 25 ตุลาคม - พยอม สีนะวัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะงานผ้า) (เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452)
พฤศจิกายน
แก้- 4 พฤศจิกายน - ไมเคิล ไครช์ตัน นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2485)
ธันวาคม
แก้- 14 ธันวาคม - สายัณห์ ดอกสะเดา นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2503)
- 18 ธันวาคม - เกง วันสัก นักเขียนชาวกัมพูชา (เกิด พ.ศ. 2468)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ภาพยนตร์
แก้- ไซเลนต์รันนิง (พ.ศ. 2514) ดำเนินเรื่องในปีนี้
- เจสัน โหดพันธุ์ใหม่ศุกร์ 13 (เจสันเอกซ์, พ.ศ. 2545) ตามเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ เจสัน วูร์ฮีส์ ฆาตกรประจำเรื่อง ถูกแช่แข็งในปีนี้
- กระชากแผ่นดินลับ ดับมหาอำนาจ (เดอะแมนจูเลียนแคนดิเดต, พ.ศ. 2547) ดำเนินเรื่องในปีนี้
- เซาธ์แลนด์เทลส์ (พ.ศ. 2549) ดำเนินเรื่องในปีนี้
- บ้านทะเลสาบ บ่มรักปาฏิหาริย์ (เดอะเลกเฮาส์, พ.ศ. 2549) มีฉากจบที่ตรงกับวันวาเลนไทน์ประจำปีนี้
วิดีโอเกม
แก้- เมกา แมน (พ.ศ. 2530)
- ร็อกแมน 2 (พ.ศ. 2532) ดำเนินเรื่องในปีนี้
- ทวิสเต็ดเมทัล 3 (พ.ศ. 2541) ดำเนินเรื่องในปีนี้
- แกรนด์ เธฟต์ ออโต 4 (พ.ศ. 2551)[6]
- เรซิเดนต์อีวิล 5 (พ.ศ. 2552)
รางวัล
แก้- สาขาเคมี – Martin Chalfie, Osamu Shimomura, Roger Y. Tsien
- สาขาวรรณกรรม – ฌอง-มารี กุสตาฟ เลอ เคลซีโอ
- สาขาสันติภาพ – มาร์ตติ อะห์ติซาริ
- สาขาฟิสิกส์ – Yoichiro Nambu, Makoto Kobayashi, Toshihide Maskawa
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ฮารัลด์ ซูร์ เฮาเซน, ฟรองซัวส์ บาร์เร-ซีนูสซี, ลุค มงตาญีเยร์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Paul Krugman
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ "General Assembly Proclaims 2008 International Year of Languages, in Effort to Promote Unity in Diversity, Global Understanding". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-02.
- ↑ Gross, Daniel (January 5, 2008). "Why We Can't Stop $100 Oil". Newsweek.
- ↑ "Mercury Flyby 1". Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
- ↑ Kosovo MPs proclaim independence. news.bbc.co.uk. (อังกฤษ)
- ↑ United Nations Treaty Collection: Convention on Cluster Munitions. Retrieved on 28 March 2009. เก็บถาวร 2015-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ GTA4: What You Really Need to Know from 1UP.com[ลิงก์เสีย]