การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดำรงตำแหน่งครบวาระตามรัฐธรรมนูญ

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
มกราคม พ.ศ. 2551

← พ.ศ. 2548 28 มกราคม พ.ศ. 2551 กันยายน พ.ศ. 2551 →
 
Samak Sundaravej.JPG
Vejjajivacropped.jpg
ผู้ได้รับเสนอชื่อ สมัคร สุนทรเวช อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรค พลังประชาชน ประชาธิปัตย์
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 310 163

โดยนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยจะเปิดโอกาสให้ ส.ส.เสนอชื่อบุคคลมี่เหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยต้องมี ส.ส. รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด หรือประมาณ 96 คน โดยขั้นตอนการลงคะแนนจะเป็นแบบเปิดเผย ขานชื่อตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ

โดยนายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้เสนอชื่อนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส. สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี

การลงมติ แก้

ในการลงมติ ส.ส.กลุ่มสัจจานุภาพทั้ง 4 คน ประกอบด้วย นพ.แวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส นายนิมุคตาร์ วาบา ส.ส.ปัตตานี นายยุซรี ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี และนายมานพ ปัตนวงศ์ ส.ส.ระบบสัดส่วนกลุ่ม 8 ที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าขอให้พรรคเพื่อแผ่นดินได้โควตารัฐมนตรี 4 ที่ ไม่เช่นนั้นจะโหวตสวนมติพรรคนั้น ได้เลือกนายสมัคร

ส่วนนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ลุกขึ้นยืนแล้วเงียบไปสักครู่ ก่อนจะกล่าวว่า "นายสมัคร สุนทรเวช" นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ของดออกเสียง เช่นเดียวกับตัวนายสมัครเอง ที่ของดออกเสียง สำหรับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ของดออกเสียงเช่นกัน

ในระหว่างการออกเสียงอยู่นั้น นายสมัครเดินออกไปจากห้องประชุม โดยเดินไปรับประทานอาหาร สั่งข้าวกับแกงเหลือง และผัดหน่อไม้ฝรั่งใส่กุ้ง ในราคาจานละ 20 บาท โดยมีสื่อมวลชนติดตามทำข่าวอย่างใกล้ขิด ทำใหนายสมัครกล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ทุกวันจะทำให้ขาดความเป็นส่วนตัว รู้สึกไม่สบายใจพร้อมยืนยันแม้จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็จะปฏิบัติตัวตามปกติ

ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี แก้

ผู้ได้รับการเสนอชื่อในสภาผู้แทนราษฎร
สมัคร สุนทรเวช อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พลังประชาชน ประชาธิปัตย์
 
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(23 กรกฏาคม 2543 - 22 กรกฏาคม 2547)

รองนายกรัฐมนตรี

(3 กรกฎาคม 2539 – 8 พฤศจิกายน 2540)

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(14 พฤศจิกายน 2540 – 17 กุมภาพันธ์ 2544)

ผลการลงมติ แก้

ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 310 คะแนน ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความเห็นชอบ 163 คะแนน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 3 คะแนน (คือ นายสมัคร สุนทรเวช, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายยงยุทธ ติยะไพรัช) จึงถือได้ว่านายสมัคร สุนทรเวช ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่านายสมัครได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พรรคการเมือง สมัคร สุนทรเวช อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ งดออกเสียง รวม
พรรคพลังประชาชน 231 - 2 233
พรรคประชาธิปัตย์ - 163 1 164
พรรคเพื่อแผ่นดิน 21 - - 21
พรรคชาติไทย 37 - - 37
พรรคมัชฌิมาธิปไตย 7 - - 7
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 - - 9
พรรคประชาราช 5 - - 5
รวม 310 163 3 476

อ้างอิง แก้

ก่อนหน้า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551 ถัดไป
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2548    
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย
  การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551