เหตุโจมตีในมุมไบ พ.ศ. 2551

การโจมตีนครมุมไบ 26/11[10] หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เหตุการณ์ 26/11[11][a] เป็นระลอกการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โดยสมาชิก 10 รายของลัชกาเรไตบา กลุ่มก่อการร้ายอิงศาสนาอิสลามที่ตั้งในปากีสถาน ก่อการกราดยิงหมู่และวางระเบิด 12 ครั้งในระยะเวลา 4 วัน ทั่วนครมุมไบ ประเทศอินเดีย[12][13][14]

การโจมตีนครมุมไบ 26/11
รอยเขม่าจากการวางเพลิงห้องพักในโรงแรมทัชมาฮาลแพเลซ
สถานที่มุมไบ ประเทศอินเดีย
พิกัด18°55′20″N 72°49′57″E / 18.922125°N 72.832564°E / 18.922125; 72.832564
วันที่26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 (2008-11-26)29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 (2008-11-29)
21:30 (26/11) – 08:00 (29/11) (IST, UTC+05:30)
ประเภทการวางระเบิด, การกราดยิง, วิกฏติการณ์ชิงตัวประกัน,[1] การล้อม
อาวุธAK-47, RDX, IED, ลูกระเบิดขว้าง
ตายอย่างน้อย 174 ราย (รวมผู้ก่อการร้าย 9 ราย)[2]
เจ็บ300+[2]
ผู้ก่อเหตุZaki ur Rehman Lakhvi[3][4] และ Lashkar-e-Taiba[5][6][7]
จำนวนก่อเหตุ10
ผู้ต่อต้าน
  • กองกำลังพิเศษอินเดีย[8][9]
  • MARCOS
  • ตำรวจนครบาลมุมไบ
  • หน่วยรบพิเศษต่อต้านการก่อการร้าย อินเดีย หรือ ATS
  • ดับเพลิงนครมุมไบ

การก่อการร้ายเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 26 และจบลงในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 174 ราย รวมผู้ก่อการร้าย 9 ราย และบาดเจ็บสาหัสราว 300 ราย[2][15] การก่อการร้ายรวม 12 ครั้ง ในบริเวณทั่วนครมุมไบ ได้แก่ สถานีรถไฟฉัตรปตี ศิวาจี, โรงแรมโอเบอรอย ไทรเดนท์ ทางตอนใต้ของนครมุมไบ [16] ที่ โรงแรมทัชมาฮาลแพเลซ,[16] คาเฟ่ลีโอโพลด์, โรงพยาบาลกามา[16] ที่ศูนย์ชาวยิวนรีมันพอยต์[17], โรงภาพยนตร์เมโทร อัดลาบส์,[18] และบนถนนระหว่างอาคารไทมส์ออฟอินเดีย และ วิทยาลัยเซนต์เซเวียร์ มุมไบ[16] นอกจากนี้ยังมีการระเบิดที่ท่าเรือมาซากาน และในแท็กซี่ที่วิลพาเล่[19] ตำรวจและกองกำลังหน่วยรบของอินเดียสามารถเข้าควบคุมพื้นที่ได้ทั้งหมดในวันที่ 28 ยกเว้นเพียงโรงแรมทัชมาฮาล ต่อมา กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (National Security Guards: NSG) ซึ่งเป็นกองกำลังพิเศษของอินเดียได้เริ่มปฏิบัติการทอร์นาโดดำ (Operation Black Tornado) ที่โรงแรมทัชมาฮาลแพเลซในเวลาต่อมา เพื่อกำจัดผู้ก่อการร้ายที่เหลือภายในโรงแรม[20]

อ้างอิง แก้

  1. Magnier, Mark; Sharma, Subhash (27 November 2008). "India terrorist attacks leave at least 101 dead in Mumbai". Los Angeles Times. p. A1. สืบค้นเมื่อ 28 November 2008.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Mumbai terrorist attacks of 2008". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 26 November 2018.
  3. Masood, Salman (12 February 2009). "Pakistan Announces Arrests for Mumbai Attacks". New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 February 2009.
  4. Haider, Kamran (12 February 2009). "Pakistan says it arrests Mumbai attack plotters". Reuters. สืบค้นเมื่อ 12 February 2009.
  5. Pakistan admits Pakistanis, LeT training camps used for Mumbai attacks เก็บถาวร 2017-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The News Tribe (12 November 2012). Retrieved on 2014-06-19.
  6. Nelson, Dean. (8 July 2009) Pakistani president Asif Zardari admits creating terrorist groups. Telegraph. Retrieved on 2014-06-19.
  7. Pakistan admits Mumbai terror link | The National เก็บถาวร 2017-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Thenational.ae (12 February 2009). Retrieved on 2014-06-19.
  8. Press Trust of India (27 November 2008). "Army preparing for final assault, says Major General Poonam Gilurkar". The Times of India. India. สืบค้นเมื่อ 10 December 2008.
  9. "India Blames Pakistan as Mumbai Siege Ends". DW. 29 November 2008. สืบค้นเมื่อ 15 July 2011.
  10. "10 years on, revisiting Mumbai's terror hours | Onmanorama". specials.manoramaonline.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  11. "26/11 Mumbai Terror Attacks Aftermath: Security Audits Carried Out On 227 Non-Major Seaports Till Date". NDTV. 26 November 2017. สืบค้นเมื่อ 7 December 2017.
  12. Friedman, Thomas (17 February 2009). "No Way, No How, Not Here". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2012. สืบค้นเมื่อ 17 May 2010.
  13. Indian Muslims hailed for not burying 26/11 attackers, Sify News, 19 February 2009, สืบค้นเมื่อ 15 July 2011
  14. Schifrin, Nick (25 November 2009). "Mumbai Terror Attacks: 7 Pakistanis Charged – Action Comes a Year After India's Worst Terrorist Attacks; 164 Die". ABC News. สืบค้นเมื่อ 17 May 2010.
  15. Black, Ian (28 November 2008). "Attacks draw worldwide condemnation". The Guardian. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2008. สืบค้นเมื่อ 5 December 2008.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 "Wave of Terror Attacks Strikes India's Mumbai, Killing at Least 182". Fox News Channel. 27 November 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2008. สืบค้นเมื่อ 3 December 2008.
  17. Kahn, Jeremy (2 December 2008). "Jews of Mumbai, a Tiny and Eclectic Group, Suddenly Reconsider Their Serene Existence". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2014. สืบค้นเมื่อ 3 December 2008.
  18. Magnier, Mark (3 December 2008). "Mumbai police officers describe nightmare of attack". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2008. สืบค้นเมื่อ 3 December 2008.
  19. "Tracing the terror route". The Indian Express. India. 10 ธันวาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2009. สืบค้นเมื่อ 9 December 2008.
  20. "Police declare Mumbai siege over". BBC. 29 November 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2008. สืบค้นเมื่อ 29 November 2008.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน