อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507) ชื่อเล่น มาร์ค เป็นนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 27 อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย, อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 9 สมัย อดีตหัวหน้าพรรค และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อภิสิทธิ์ ใน พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 27
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 231 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รอง
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
(รักษาการ)
ถัดไปยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(3 ปี 95 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
23 เมษายน พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 149 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน
ดำรงตำแหน่ง
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 293 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 84 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562
(18 ปี 150 วัน)
แบบสัดส่วน
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(8 ปี 232 วัน)
เขตเลือกตั้งเขต 6 (2535)
เขต 5 (2538,2539)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(14 ปี 19 วัน)
ก่อนหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน
ถัดไปจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[1]

3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 (59 ปี)
นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ สหราชอาณาจักร
สัญชาติไทย, อังกฤษ
พรรคการเมืองอิสระ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2535–2566)
คู่สมรสพิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย (สมรส 2531)
บุตร
  • ปราง
  • ปัณณสิทธิ์
[2]
บุพการี
ญาติ
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเซนต์จอห์น อ็อกซ์ฟอร์ด
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วิชาชีพนักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์[3]
อาจารย์มหาวิทยาลัย[4]
ทรัพย์สินสุทธิ116.9 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)[5]
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์http://www.abhisit.org
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบก
ยศ ร้อยตรี[6][7]

อภิสิทธิ์เกิดที่ประเทศอังกฤษ เข้าวิทยาลัยอีตัน และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2535 ขณะอายุได้ 27 ปี และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังพรรคแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548[8] อภิสิทธิ์ได้รับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ในวัย 44 ปี[9] หลังศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล[10] เขาเป็นนายกรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี[11] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแกนนำพรรคจัดตั้งรัฐบาลกระทันหันในเวลานั้นก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่ากองทัพมีส่วนจัดตั้ง[12]

อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีในห้วงวิกฤตการณ์การเงินโลก และความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะดำรงตำแหน่ง เขาเสนอ "วาระประชาชน" ซึ่งมุ่งสนใจนโยบายซึ่งมีผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของพลเมืองชนบทและผู้ใช้แรงงานของไทยเป็นหลัก[13] เขาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสองประการสำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสามปีมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการให้เงินอุดหนุนและแจกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] ยุคอภิสิทธิ์มีการปิดเว็บไซต์และสถานีวิทยุเป็นจำนวนมาก ตลอดจนจับกุมและปิดปากบุคลากรสื่อ ผู้ต่อต้านและหัวหน้าแรงงานจำนวนมาก โดยอ้างความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[15][16] จากรายงาน พ.ศ. 2553 ฮิวแมนไรตส์วอตช์เรียกยุคอภิสิทธิ์ว่า "มีเซ็นเซอร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยล่าสุด" และ ฟรีดอมเฮาส์ ลดระดับอันดับเสรีภาพสื่อของไทยลงเหลือ "ไม่เสรี"[17][18] อภิสิทธิ์ยังสนับสนุนมาตรการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่รัฐมนตรีหลายคนกลับมีเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายส่วนถูกวิจารณ์ว่าฉ้อราษฎร์บังหลวง

รัฐบาลอภิสิทธิ์เผชิญการประท้วงใหญ่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ดำเนินโครงการปรองดองเพื่อสืบสวนเหตุสลายการชุมนุม แต่การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกลับถูกทหารและหน่วยงานของรัฐขัดขวาง[19] กองทัพไทยปะทะกับกัมพูชาหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2552−2553 ซึ่งเป็นการสู้รบนองเลือดที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ[20] เหตุความไม่สงบในชายแดนภาคใต้บานปลายขึ้นระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์ และรายงานการทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้น

หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แต่ได้รับเลือกใหม่ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ลาออกทั้งหมด ในเดือนเดียวกัน เขาถูกตั้งข้อกล่าวหาฆ่าคนจากการสลายการชุมนุมเมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 90 คน[21]

หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาชนะการหยั่งเสียงเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง[22] อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค[23] และได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อปี พ.ศ. 2566[24]

ประวัติ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เขามีเชื้อสายจีนฮั่น[25][26] จากฮกเกี้ยน[27] บิดาชื่อ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ มารดาชื่อ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ

เมื่อยังมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย อภิสิทธิ์ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธร ระดับประถมที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และ เศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)[28]

หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี อภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2530–2531 ได้รับการแต่งตั้งยศร้อยตรี[29]ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดอีกครั้ง ปริญญานิพนธ์ของอภิสิทธิ์ได้รับการยอมรับในระดับดีมาก โดยเทียบได้กับเกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[29] หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย[29]ในปี พ.ศ. 2548 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า[30]

ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[31] จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[32] และต้นปี พ.ศ. 2554 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[33] ในปี พ.ศ. 2552 ระหว่างเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามสังหาร ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นที่ยอมรับว่าเป็นความพยายามฆ่านายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีซึ่งมีผู้ต้องหาจำนวน 20 ราย[34]

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 เกิดเหตุคนร้ายปาระเบิดใส่บ้านพักอภิสิทธิ์ บ้านเลขที่ 32 ซอยสุขุมวิท 31[35]

ตระกูลเวชชาชีวะ

 
อภิสิทธิ์กับพิมพ์เพ็ญ (ซ้าย) ภรรยา

ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากฮากกา ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับชนชั้นสูงมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[36][37] มีแซ่ในภาษาจีนว่า หยวน (จีน: ; พินอิน: Yuán) [38][39] ในสมัยรัชกาลที่ 6 สกุล "เวชชาชีวะ" (Vejjajiva) เป็นนามสกุลพระราชทานให้กับพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับจิ๊นแสง (บิดา) เป๋ง (ปู่) และก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย[40]

อภิสิทธิ์เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนและนักแปล

อภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยสุรนันทน์เป็นบุตรของนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายของอรรถสิทธิ์[41]

อภิสิทธิ์เป็นหลาน รองศาสตราจารย์ ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด อดีตรองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นลูกพี่ลูกน้องพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรีกับศุภกรณ์ เวชชาชีวะ กรรมการ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ วรกร จาติกวณิช ภริยาของกรณ์ จาติกวณิช หากนับจากญาติฝ่ายมารดา[42]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับศาสตราจารย์ พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ปราง เวชชาชีวะ และ ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ[43] ปัณณสิทธิ์นั้นเป็นโรคออทิซึมมาแต่กำเนิด ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของอภิสิทธิ์ผู้เป็นบิดาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555[44]โดยบุตรชายของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียนที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงได้เข้าร่วม เป็น สมาชิก ชมรมผู้ปกครองเพื่อเด็กพิเศษ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับ ทนง พิทยะ

ข้อกล่าวหาการถือสองสัญชาติ

การถือสัญชาติไทยโดยที่ไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ กลายเป็นประเด็นการอภิปรายในรัฐสภาเมื่อต้น พ.ศ. 2554 นำโดย จตุพร พรหมพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เจ้าของสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม และที่ปรึกษากฎหมายของกลุ่ม นปช. ได้เดินทางไปยังอังกฤษ เพื่อคัดสำเนาสูติบัตรของอภิสิทธิ์ นำมาแสดงว่าอภิสิทธิ์ยังถือสัญชาติอังกฤษ และ ได้เรียกร้องเพิ่มเติมว่า หากอภิสิทธิ์ยืนยันว่าสละสัญชาติอังกฤษมาถือสัญชาติไทยแล้ว ก็ต้องเอาใบสละสัญชาติมาแสดง มิฉะนั้นจะนำเรื่องไปฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ [46]

กฎหมายอังกฤษระบุว่า เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) จะได้รับสัญชาติอังกฤษ เว้นแต่จะเกิดแต่คณะเจ้าหน้าที่และตัวแทนทางทูต ผู้ซึ่งมีความคุ้มกันทางทูต และหากเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) โดยมีบิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดเป็นคนอังกฤษ หรือตั้งรกรากอยู่ในประเทศอังกฤษ จะได้รับสัญชาติอังกฤษ [47] ขณะที่กฎหมายไทยระบุว่า ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1))[48]

บิดาและมารดาของอภิสิทธิ์มิได้เป็นคนอังกฤษและมิได้ตั้งรกรากในประเทศอังกฤษ (บิดาและมารดาเพียงแค่ไปศึกษาต่อเท่านั้น) อภิสิทธิ์เคยกล่าวว่า ตนใช้สัญชาติไทยมาตลอด ยังต้องใช้วีซ่าเข้าประเทศอังกฤษ [49] และยังคงต้องรับการตรวจเลือกเกณฑ์ทหารด้วย อย่างไรก็ตาม การถือสัญชาติไทยโดยที่ไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อตำแหน่งทางการเมือง

ข้อกล่าวหาการหนีราชการทหาร

ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 วีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. เปิดเผยว่าอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร[50][51] พร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน[52] เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1) โดยอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.)[50] คำแถลงของอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร[53] จึงเกิดข้อกังขาว่า หากอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ ซึ่งอภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 มีความเห็นว่า ในครั้งนั้น อภิสิทธิ์สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมโดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ แต่ยอมรับว่าอภิสิทธิ์เข้ารับราชการทหารแล้ว[54]

ช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็นจากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้อภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น[55]

การโจมตีเรื่องอภิสิทธิ์ไม่ได้เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร เกิดขึ้นอีกครั้งประมาณปลายปี พ.ศ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค และอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสจะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยประเด็นเกี่ยวกับการรับราชการทหารของอภิสิทธิ์ได้เป็นหัวข้อหนึ่งที่ฝ่ายค้านใช้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เมื่ออภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่ถึง 3 เดือน

ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ได้ตอบกระทู้อภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับการรับราชการทหารว่า มีความเข้าใจผิดว่าตนสมัครเข้ารับราชการทหาร หลังจากไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร แต่ในความเป็นจริง ได้สมัครเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดเกณฑ์ทหารแล้ว การสมัครเข้ารับราชการทหารในขณะนั้นจึงไม่ต้องใช้ สด.๔๓ แต่ใช้ สด.๙ และหนังสือผ่อนผันฯ แทน ซึ่งอภิสิทธิ์ยืนยันว่าขณะที่สมัครเข้า รร.จปร. ตนมีเอกสาร สด.๙ ที่ได้รับประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและกลับมาถึงประเทศไทย และมีรายชื่อได้รับการผ่อนผันฯ เพื่อเรียนต่อปริญญาโท ช่วงปี พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2532 ตามบัญชีของ ก.พ. ที่จัดทำตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2529 การสมัครเข้า รร.จปร. ของตนจึงเป็นการสมัครโดยมีคุณสมบัติครบถ้วน หลังจากสมัครเข้า รร.จปร. ได้ผ่านการฝึกทหารคล้ายการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จนครบตามหลักสูตรจึงได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ในการขอติดยศร้อยตรีนั้นตนได้ทำเอกสาร สด.๙ หายจึงได้ไปขอออกใบแทน แต่ในการสมัครเข้า รร.จปร. ได้ใช้ สด.๙ ตัวจริงสมัคร แล้วเอกสารมีการสูญหายในภายหลัง ในการอภิปรายครั้งนี้อภิสิทธิ์ได้แสดง สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการยกเว้นผ่อนผันฯ และ สำเนา สด.๙ ฉบับแรกของตน ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย[56]

ต่อมา พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1163/2555 เรื่องให้ปลดนายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ ซึ่งศาลฏีกาเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีคำสั่งศาลให้ยกเลิกคำสั่งดัวกล่าว ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561[57] เท่ากับเขาได้รับยศ ร้อยตรี ตามเดิม

บทบาททางการเมือง

 
ขณะออกหาเสียงร่วมกับอภิรักษ์ โกษะโยธิน และแทนคุณ จิตต์อิสระ

อภิสิทธิ์ เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น[32] และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 อภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอก สุจินดา คราประยูร[32] ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลสุจินดา คราประยูร

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญ คือการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[58] ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่อภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[59] ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทยในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแลทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดันให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษาประกาศใช้

ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า อภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง[32]

นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่าง ๆ จำนวนมาก[60] เช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช., ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม[61]

ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวบีบีซี ที่ว่าอภิสิทธิ์ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง ว่าผมได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรถึง 7 ครั้ง และมากครั้งกว่าพันตำรวจโททักษิณเสียอีก ผมไม่เคยปฏิเสธการเลือกตั้ง[62]

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

อภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ตั้งแต่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548[63] และอภิสิทธิ์ได้ลาออกจาตำแหน่งภายหลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 แต่ก็ได้รับเลือกกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง ในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน เขาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นเวลานาน มากกว่า 10 ปี ติดอันดับ 5 จาก อันดับ 7 ของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคนานที่สุด

บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง พ.ศ. 2549

ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจากนักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน

ข้อเสนอของอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมีรักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย[64] ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาใจความตอนหนึ่งว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย..."[65][66] และหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ กลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้ตั้งฉายาให้กับอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ว่า "มาร์ค ม.7"

ภายใต้การบริหารพรรคของนายอภิสิทธิ์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อาวุโสกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นผู้สมคบคิดแผนฟินแลนด์ เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี และก่อตั้งสาธารณรัฐ อภิสิทธิ์ได้เคยตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 โดยไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ขาดความชอบธรรม[67] อภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวต่อต้านแบบกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากพรรคอื่น ๆ ให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่าอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด และตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยในข้อหาเดียวกัน อภิสิทธิ์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 โดยกล่าวว่าเป็นการปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540[68] พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ให้แก่พรรคพลังประชาชน

ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร[69][70] เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง[71][72] และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค" และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย[73][74]

ข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549

พรรคไทยรักไทยกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่าให้สินบนกับพรรคเล็กเพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้งเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าไม่มีความผิด เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2549

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สมาชิกคณะกรรมการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลเพื่อสรรหาข้อเท็จจริง ที่นำโดยรองอัยการสูงสุด ชัยเกษม นิติสิริ มีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยและอีก 3 พรรคการเมือง) ขึ้นอยู่กับหลักฐานให้สินบนกับพรรคเล็กต่าง ๆ ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ประชุมกับสายสัมพันธ์ทางการเมืองจาก 20 ประเทศเพื่อที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง[75][76]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในกรณีก่อนที่กองทัพแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าสาบานตนว่าพวกเขาถูกหลอกให้สมัครเป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งเดือนเมษายน[77]

พยาน 3 ปากยืนยันว่าเลขาพรรคประชาธิปัตย์ถาวร เสนเนียม, วิรัตน์ กัลยาศิริ และเจือ ราชสีห์ สนับสนุนให้ผู้ประท้วงขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งซ่อม[78] หลังจากการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2549 อัยการยืนยันว่าพรรคพยายามตัดสิทธิ์ผลการเลือกตั้งและบังคับให้จัดการเลือกตั้งซ่อมต่อไป ข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ถูกต้องซึ่งพยายานกลุ่มเดียวกันนี้ถูกว่าจ้างโดยกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์พ้นความผิด ขณะที่พรรคไทยรักไทยมีความผิด[79][80]

นโยบายหาเสียงในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

วันที่ 29 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศเป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ เขาสัญญาว่าจะทำให้เป็นแผนงานเพื่อประชาชน ซึ่งเน้นการศึกษาเป็นหลัก โดยที่เขาใช้สโลแกนหาเสียงว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" เขายังได้สัญญาว่าจะไม่นำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา เอามาเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยทำมาแล้ว[81] อภิสิทธิให้สัญญาว่า "ประโยชน์ที่ได้จากนโยบายประชานิยม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน, และโครงการ SML จะไม่ถูกยกเลิก แต่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม" อภิสิทธิ์ออกมากระตุ้นในภายหลังว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้นควรจะเข้าใช้บริการทางการแพทย์ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่เสียค่าบริการ[82] อภิสิทธิ์แถลงว่าอนาคตของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทุกคนจะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน และธุรกิจที่เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด (กฎหมายกำหนดเพียงให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีทุกคนต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน) [83]

อภิสิทธิ์รวบรวมเงินจำนวน 200 ล้านบาทในงานเลี้ยงอาหารเย็นเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ภายในที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขาสรุปนโยบายด้านพลังงาน รวมถึงเพิ่มจำนวนการจ่ายเงินปันผลจากปตท. และการใช้กองทุนชดใช้หนี้ให้แก่กองทุนน้ำมัน และอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระงับราคาเชื้อเพลิงที่กำลังพุ่งสูงขึ้น[84] เขาสรุปแผนทีหลังว่าจะลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินโดยลดภาษี 2.50 บาท/ลิตรออกไปจากที่เคยใช้ปรับปรุงกองทุนน้ำมันของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม แผนของเขาถูกวิจารณ์ว่าเป็นการบิดเบือนตลาดการค้าและขัดขวางไม่ให้ลดการบริโภคน้ำมัน[85]

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์สัญญาว่าจะจัดการปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการทำปัญหานี้ให้อยู่ในระเบียบวาระของสังคมของจังหวัดภาคใต้[75] อีกทั้งสัญญาจะใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่างรวมถึงนโยบายเรียนฟรี, ตำราเรียน, นมและอาหารเสริมสำหรับโรงเรียนอนุบาล และการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ[86]

สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550

อภิสิทธิ์สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พิจาณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เหมือนกับที่เคยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญปี 40 แต่ปรับปรุงพร้อมกับจุดบกพร่อง "ถ้าเราขอร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เราจะปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเราปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันจะเป็นสิ่งที่ชี้นำไปยัง (คมช.) เราเสนอจุดยืนตรงนี้ เพราะว่าเราเป็นห่วงเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียของชาติ และต้องการประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว" เขากล่าวอย่างนั้น[87] การรับทราบถึงจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อภิสิทธิ์ได้เสนอพร้อมกับเชิญชวนพรรคการเมืองอื่นๆ ให้ร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่เขามีอำนาจ[88]

เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค ผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ได้รับคะแนนเสียง 163 เสียง ซึ่งน้อยกว่าสมัครที่ได้ 310 เสียง[89]

การดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2548 อภิสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่ 7 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2548 และมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของนายกรัฐมนตรี และได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพราะคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

อภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2550 ให้กับสมัคร สุนทรเวช และต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เป็นผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา จวบจนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการยุบพรรคพลังประชาชน และเป็นเหตุให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จึงทำให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่า อภิสิทธิ์ ได้คะแนนเสียงในสภามากกว่า จึงได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ก็เป็นหน้าที่ของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งไปชั่วคราว จนกระทั่งอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง อภิสิทธิ์ได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อมาจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และพ้นจากตำแหน่งไป จากนั้นไม่นาน เขาก็ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย สมัยที่ 3 ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 และได้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ก็พ้นจากตำแหน่งไปเนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ณ ตอนนี้ ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน

ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สมัคร สุนทรเวชพ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น[90] ในระหว่างการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) สมาชิกประชาธิปัตย์บางคนกลายเป็นแกนนำของ (พธม.) ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่มีการปะทะกันระหว่าง พธม. กับตำรวจและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ซึ่งพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอันต้องยุติลง และศาลยังตัดสินให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ร่วมในคณะรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 ถูกสื่อมวลชนรายงานว่าเขาเป็นผู้ที่สนับสนุนหรือบีบบังคับให้ ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามแปรพักตร์มาอยู่ฝ่ายอภิสิทธิ์[91] ส.ส.เหล่านั้นมาจากพรรคเพื่อไทย (พรรคสืบทอดจากพรรคพลังประชาชน) สมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา (พรรคสืบทอดจากพรรคชาติไทย) นำโดยพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่ม "เพื่อนเนวิน" อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน ทำให้ให้พรรคประชาธิปัตย์มีเสียงข้างมากในสภา[92] สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[93][94][95] และชนะการโหวตการเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีพลตำรวจเอกประชา พรหมนอกเป็นคู่แข่ง[96]

ทางด้านคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาและแนวร่วม พธม. กล่าวถึงการที่อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "เป็นชัยชนะของพันธมิตรฯ ที่แท้จริง" และ "รัฐประหารสไตล์อนุพงษ์"[97] โอกาสที่อภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็นนายกครั้งนี้ได้รับความเห็นชนชั้นกลาง[98]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แม้อภิสิทธิ์จะดำเนินมาตรการตอบโต้ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอย่างเข้มข้น แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากพลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ว่า มีท่าทีสนองช้าเกินไป[99]

 
อภิสิทธิ์ในขณะปฏิบัติภารกิจ ณ ทำเนียบรัฐบาลในฐานะนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2552
 
อภิสิทธิ์ และ ชวน หลีกภัย ใน พ.ศ. 2554

การทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิฑูรย์ นามบุตร ลาออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัย[100] ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง จึงได้ประกาศลาออก[101] อภิสิทธิ์ยังเผชิญกับความตึงเครียดซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากประเทศกัมพูชา ในหลายประเด็น รวมทั้งการแต่งตั้งแกนนำ พธม. กษิต ภิรมย์ อันเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การปะทะตามแนวชายแดนด้านเขาพระวิหาร และการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา ภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2552-2553 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง

หลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขานำพรรคคว่ำบาตรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เป็นโมฆะ นอกจากนี้ยังปรากฏภาพเขาเข้าร่วมการชุมนุมของ กปปส. ด้วย[102] ในปี 2560 สมาชิก กปปส. บางส่วนมีท่าทีสนับสนุนอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี[103]

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558 อภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ฟ้องให้ขับยิ่งลักษณ์ ชินวัตรออกจากตำแหน่งว่า ทุกอย่างเป็นไปตามหลักฐานข้อเท็จจริง ส่วนที่ยิ่งลักษณ์ไม่ยอมรับผลการตัดสิน และว่าเป็นขบวนการทำลายล้างการเมืองนั้น เป็นปกติที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทย จะแสดงความเห็นแนวทางนี้ ขณะเดียวกันปฏิเสธแสดงความเห็นต่อกระแสข่าวพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งให้ สนช. วิ่งเต้นถอดถอนยิ่งลักษณ์ เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง และเห็นว่าการถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรีได้ยังไม่ใช่บรรทัดฐานการเมืองในอนาคต แต่เป็นเพราะการเมืองอยู่ในสถานการณ์พิเศษ “แต่ถ้าวิเคราะห์จากการที่คะแนนถอดถอนท่วมท้น จากที่มีการประเมินในตอนแรก น่าจะเป็นเพราะคุณยิ่งลักษณ์ไม่ไปตอบคำถามและข้อมูลหลักฐานที่ประจักษ์ต่อสังคม”[104]

ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาเคยเสนอที่จะเลิกทำงานทางด้านการเมืองเพื่อให้บุคคลในพรรคเพื่อไทยสบายใจ[105]แลกกับการปฏิรูปราชอาณาจักรไทยข้อเสนอดังกล่าวถูกบุคคลในพรรคเพื่อไทยตอบโต้ว่านายอภิสิทธิ์ถูกกระทรวงกลาโหมปลดออกจากราชการ ทำให้ขาดคุณสมบัติการลงสมัคร ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (6) ถือเป็นลักษณะต้องห้าม ขณะที่ศาลปกครองยังไม่สั่งเพิกถอนคำสั่งปลดออก เท่ากับว่าคำสั่งยังมีผล[106] แต่ศาลฏีกาให้นายอภิสิทธิ์ ชนะคดีดังกล่าว ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เท่ากับว่าเขายังคงทำงานเกี่ยวกับงานทางการเมืองได้[107]

ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เขากล่าวว่าเขาจำเป็นต้องรับผิดชอบถ้าหากพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติที่ผู้นำขององค์กรต้องรับผิดชอบหากประสบความล้มเหลว และเขาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นานถึง 10 ปี นักสื่อสารมวลชน วิเคราะห์ว่าคำกล่าวดังกล่าวเป็นท่าทีที่แบ่งรับแบ่งสู้ว่าเขาอาจไม่ทำงานทางการเมืองอีก[108]

ระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาประกาศจะไม่สนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จึงตอบโต้ว่า ไม่ใช่แค่ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่ต้องไม่เอาพรรคพลังประชารัฐด้วย เชื่อว่ามีบางพรรคที่บอกว่าไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่อยากจับมือพลังประชารัฐเพื่อชูตัวเองขึ้นเป็นนายกฯ[109] สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. ระบุว่า อภิสิทธิ์น่าจะแพ้เลือกตั้ง เพราะไม่เลือกข้างใดข้างหนึ่ง[110]ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เขาลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพราะได้ที่นั่งต่ำกว่า 100 ที่นั่ง[111] และต่อมาในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. หลังจากพรรคประชาธิปัตย์มีมติร่วมรัฐบาลและสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ[112]

ใน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนเสวนาในงานครบรอบ 100 ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีน[113]

ต่อมาในการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อลงมติเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ชวน หลีกภัย ได้เสนอชื่ออภิสิทธิ์กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง อภิสิทธิ์จึงขอพูดคุยกับเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการหัวหน้าพรรคเป็นการส่วนตัวด้านนอกห้องประชุม เฉลิมชัยจึงสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 10 นาที ภายหลังพูดคุยเสร็จสิ้น อภิสิทธิ์จึงเดินกลับมาในห้องประชุม แล้วประกาศถอนตัวจากการเป็นแคนดิเดตหัวหน้าพรรค และลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[24]

ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2567 บริษัท สหพัฒนพิบูล จํากัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งอภิสิทธิ์เป็นรองประธานกรรมการ แทนบุญปกรณ์ โชควัฒนา ที่ลาออกจากตำแหน่ง[114]

ความสนใจ

กีฬา

อภิสิทธิ์สนใจกีฬาฟุตบอลตั้งแต่เด็ก เขาคิดว่าเป็นกีฬาที่มีเสน่ห์เป็นพิเศษ เวลาที่ดูเขาจะเชียร์เต็มที่ เขาบอกว่ามันเป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต แต่คงไม่ถึงขั้นกับว่า มากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน สโมสรฟุตบอลที่เขาชื่นชอบคือ นิวคาสเซิล อภิสิทธิ์เคยให้สัมภาษณ์ประมาณว่ารักทีมนี้สุดจิตสุดใจและยังเคยกล่าวด้วยว่า "ผมไม่ค่อยจะเครียดเรื่องอะไรมาก จะมีเรื่องเดียวคือเวลานิวคาสเซิ่ลแพ้ ซึ่งก็บ่อยซะด้วย"[115] เขายังบอกด้วยว่าสาเหตุที่ฟุตบอลไทยไม่เคยพัฒนาได้ถึงบอลโลก ก็เพราะว่า "ประเทศไทยขาดการพัฒนาการแข่งขันมาจากรากฐานของท้องถิ่น ลีกที่ดีๆต้องมีคนเชียร์เป็นเรื่องเป็นราว มีความผูกพันอยู่กับทีมสร้างทีมขึ้นมา ของไทยเราไม่ใช่ ของเรามาจากส่วนกลาง ถ้าเทียบลีกในยุโรปช่วงที่มีแข่งทุกวันเสาร์ เขาจะไปเชียร์มันเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตเลย เด็กที่โตในเมืองนั้นก็จะโตมากับความฝันที่จะได้เล่นในทีม เป็นฮีโร่ของทีม ของไทยเราไม่ได้กระจายแบบนั้น" และมีความคิดที่จะส่งเสริมค่านิยมในการดูฟุตบอลที่ถูกต้อง และมีทัศนคติว่า การที่เล่นกีฬาเป็นประจำมันก็สอนเราเกี่ยวกับเรื่องการทำงานกับคนอื่น เกี่ยวกับเรื่องการแพ้การชนะแต่ละคน[116]

ดนตรี

อภิสิทธิ์เริ่มฟังดนตรีตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก หากไม่ฟังประชุมสภาก็จะฟังเพลง อภิสิทธิ์ชอบพกพาวิทยุ เครื่องเล่นเทป ติดตัวไปสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนประจำ อภิสิทธิ์เริ่มจากการฟังเพลงป็อป เช่น แอ็บบ้า ต่อมาเป็นดิ อีเกิลส์ เฮฟวีเมทัล แต่แนวก็จะเป็นเพลงร็อกและแนวเพลงร่วมสมัย เพราะชอบจังหวะ ชอบความหนักแน่นของมัน ส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง เนื้อเพลง ที่บ่งบอกความร่วมสมัย ตั้งแต่ผ่านยุคทศวรรษ 80 ผ่านยุคกรันจ์ ผ่านยุคผสมกับอีเลกโทรนิกแร็ป เป็นต้นมา จะมีเรื่องของภาพลักษณ์ตามมาด้วย เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของมิวสิกวิดีโอและจะเริ่มนึกถึงเสื้อผ้า นึกถึงทรงผมได้เหมือนกัน วงดนตรีที่ชื่นชอบคือ อาร์.อี.เอ็ม.[117] กรีนเดย์ และโอเอซิส[118]

ผลงานหนังสือ

  • มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9
  • การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-88195-1-8
  • เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-7310-66-5
  • ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-8494-81-4
  • อภิสิทธิ์ You Are The Hero. พ.ศ. 2553, ISBN 9786165260633

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ ดังนี้[119]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

อ้างอิง

  1. "Search birth records". findmypast.co.uk. สืบค้นเมื่อ 28 February 2011. VEJJAJIVA Mark A Newcastle upon Tyne Northumberland 1964)
  2. The Nation, Abhisit, Chuan's young protege gets his turn at last เก็บถาวร 19 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 15 December 2008.
  3. Los Angeles Times, 0,2357125.story?track=rss Thailand parliament chooses economist as prime minister[ลิงก์เสีย] Retrieved 15-12-08
  4. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ ในวันที่ประชาธิปไตยถูกตั้งคำถาม
  5. "Tourism minister's wife richest MP to date". Bangkok Post. 22 August 2019. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
  6. "ราชกิจจานุเบกษา เล่ม105 ตอนที่193 หน้า204 ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-02.
  7. "พระราชทานยศทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-08.
  8. New York Times, Thailand leader to form one-party government, 8 February 2005
  9. CNN, Talking politics with Thailand's PM, 18 December 2008
  10. กลุ่มเพื่อนเนวิน มั่นใจมีกว่า 30 เสียงร่วมโหวตหนุน"อภิสิทธิ์"นั่งนายกฯ
  11. "Talking politics with Thailand's PM". CNN. 2008-12-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
  12. บำรุงสุข, สุรชาติ (1 January 2021). "ทหาร(ไม่)อาชีพ จากปี 2552-2554 : สงครามเสื้อสี สู่การก้าวมาของนายกฯหญิงคนแรก". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
  13. Global Asia, People's Agenda: The Way Forward for Thailand, Volume 2, Number 2, Fall 2007
  14. Forbes, Thai Prime Minister Extolls Economic Turnaround, 24 September 2010
  15. ต่อต้านสื่อมวลประชาด้วยมาตรา 112
  16. Bangkok Post, Advocates of liberal change now fear the worst[ลิงก์เสีย], 30 July 2010
  17. Human Rights Watch, Thailand: Authorities Silence ‘Red Shirt’ Community Radios, 27 April 2011
  18. Bangkok Post, Level of Thai press freedom downgraded: Kingdom dropped 14 places in world rankings, 5 April 2011
  19. Bangkok Post, One year on, truth about crackdown remains elusive, 21 April 2011
  20. Reuters, Thai, Cambodian troops clash on disputed border, 6 dead[ลิงก์เสีย], 22 April 2011
  21. "Former Thai PM Abhisit Vejjajiva charged with murder". BBC News. 12 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.
  22. Thaitrakulpanich, Asaree; Reporter, Staff (2018-11-10). "Abhisit Wins Democrat Party Leadership". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  23. Staff, Reuters (2019-03-24). "Former Thai PM Abhisit resigns as head of Democrats after election loss". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
  24. 24.0 24.1 ""ผมขอลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ". เดอะ แมทเทอร์. 9 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "Profile: Abhisit Vejjajiva". BBC News. 17 March 2010.
  26. "ภูมิสำเนา อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
  27. "Vejjajiva ancestry revealed". The Nation. 31 July 2011. สืบค้นเมื่อ 10 November 2011.[ลิงก์เสีย]
  28. BBC News. Profile: Abhisit Vejjajiva. สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม 2553.
  29. 29.0 29.1 29.2 Professional Experience abhisit.org
  30. รายงานประจำปีสถาบันพระปกเกล้า[ลิงก์เสีย]
  31. บัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง[ลิงก์เสีย]. ฝ่ายศิษย์เก่าและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม 2553.
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 อภิสิทธิ์ 360° - บนเส้นทางการเมือง
  33. นายกฯ เข้ารับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์
  34. ตั้งข้อหาพยายามฆ่า"อภิสิทธิ์"20เสื้อแดง
  35. คนร้ายปาระเบิดใส่บ้าน อภิสิทธิ์[ลิงก์เสีย]
  36. 00.html Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?[ลิงก์เสีย]
  37. Lynn Pan. The Encyclopedia of the Chinese Overseas. Harvard University Press. p. 220, Thailand–Changes-laos in its economic future. ISBN 0674252101.
  38. 袁姓华裔当选泰新总理 (Chinese-descendant of Yuan clan elected new Prime Minister of Thailand)
  39. 老鳥沙馬vs.溫文阿披實 兩黨魁風格殊異
  40. "นามสกุลพระราชทาน หมวด ว.แหวน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-26. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  41. "สาแหรก... "เวชชาชีวะ"". หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, ปีที่ 31, ฉบับที่ 11238. 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2009-04-26.
  42. บุษราคัม ศิลปลาวัลย์ และกรชนก รักษาเสรี (2010-12-12). "เปิดใจ 'วรกร จาติกวณิช' จากหลังบ้านสู่งานคลัง". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2014-12-09.[ลิงก์เสีย]
  43. The Nation, Abhisit, Chuan's young protege gets his turn at last เก็บถาวร 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 15-12-2008
  44. "ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งว่า นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงวันที่ 3 กันยายน 2555". ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 129, ตอนที่ 124 ง, หน้า 6). 2012-11-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
  45. ปูมชีวิตอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "นายกฯเทพประทาน" เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รุ่งโรจน์ วรรณศูทร
  46. มติชนออนไลน์, "จตุพร"โชว์สูติบัตร"อภิสิทธิ์"สัญชาติอังกฤษ ท้าแสดงใบสละสัญชาติ ยันต้องฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ.
  47. UK Border Agency, If you were born in the UK or a qualifying territory.
  48. "พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  49. ไทยรัฐออนไลน์, พท.โวมีใบเสร็จ มัดมาร์คคอรัปชัน
  50. 50.0 50.1 ซัด 'อภิสิทธิ์' หนีทหาร เก็บถาวร 2007-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวจากไทยรัฐ 9 ก.ค. 50
  51. วีระเตรียมแฉอภิสิทธิ์หนีทหาร วิ่งเต้นเป็นอาจารย์รร.จปร.
  52. จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคประชาธิปัตย์ (กระทู้เก็บถาวร จากพันทิปดอตคอม)
  53. อภิสิทธิ์หนีทหาร ข้าราชการชาย ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารจริงหรือ[ลิงก์เสีย]
  54. แนวหน้า-วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542
  55. ไทยโพสต์ - วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542
  56. อภิสิทธิ์แจงกรณีไม่เกณฑ์ทหาร[ลิงก์เสีย]
  57. 'อภิสิทธิ์' ชนะ 'พล.อ.อ.สุกำพล' คดีปลดย้อนหลัง!!
  58. "๑ ปี หลัง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  59. ๒ ปีกับรัฐมนตรี...อภิสิทธิ์ The Official Abhisit Vejjajiva Website
  60. หนังสือ มาร์ค...เขาชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  61. เกี่ยวกับรัฐบาล > ทำเนียบนโยบายรัฐบาล > นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  62. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับบทสัมภาษณ์ถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม
  63. สัมภาษณ์พิเศษ บัญญัติ บรรทัดฐาน ประชาธิปัตย์มีหวังมากขึ้น[ลิงก์เสีย]
  64. Prem stays silent on Democrats' latest call
  65. พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรม เก็บถาวร 2008-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
  66. "HM the King's April 26 speeches". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-08. สืบค้นเมื่อ 2006-07-05.
  67. Straits Times, In for 'roughest ride', 15 December 2008
  68. The Nation, Draft gets Democrats' vote เก็บถาวร 2007-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 9 July 2007
  69. ทรท.เมินฝ่ายค้านเล่นบทบอยคอต[ลิงก์เสีย]
  70. ฝ่ายค้านบอยคอตต์ปชป.-มหาชน-ชาติไทยไม่ส่งคนสมัครส.ส.ลั่นล้ม'ระบอบทักษิณ'[ลิงก์เสีย]
  71. รายงาน : เปิดคำให้การเทปฉาวจ้างพรรคเล็ก
  72. “สุเทพ”แฉเส้นทางเงินจ้างพรรคเล็กสมัครส.ส.
  73. ทรท.ตายยกเข่ง! สั่งยุบพรรค-ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี 111 คน เก็บถาวร 2007-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
  74. สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ กก.บริหารพรรค 111 คน เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
  75. 75.0 75.1 Bangkok's Independent Newspaper เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation
  76. The Nation, OAG proposes dissolution of Democrat, Thai Rak Thai, 3 other parties เก็บถาวร 2006-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 27 June 2006
  77. The Nation, 2 February 2007 เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  78. The Nation, Witnesses link Democrats to registration delay เก็บถาวร 2007-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 23 February 2007
  79. The Nation, Historical rulings unfold, 30 May 2007
  80. The Left/Right Debate Thai Tribunal: Democrat Party Cleared Of Electoral Violations (Nasdaq) เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 30 May 2007
  81. Abhisit vows fresh start, honest govt เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 30 April 2006
  82. Profile: Abhisit Vejjajiva BBC Profile
  83. Abhisit announces candidacy for PM เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 29 April 2006
  84. Can Abhisit lead Thailand? เก็บถาวร 2006-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 30 May 2006
  85. Economy to be the top priority for Abhisit govt เก็บถาวร 2011-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 29 December 2008
  86. Abhisit pressures PM to TV debate เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 7 August 2006
  87. Time Magazine 00.html[ลิงก์เสีย] Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?
  88. Time Magazine, 00.html Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?[ลิงก์เสีย]
  89. "Thailand's king officially endorses new prime minister", Associated Press (Taipei Times), 30 January 2008.
  90. Somchai elected new prime minister เก็บถาวร 2008-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation
  91. The Telegraph, Thai army to 'help voters love' the government, 18 December 2008
  92. Democrats claim majority to form government เก็บถาวร 2008-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 7 December 2008
  93. Newin embraces Abhisit, but rejecting Thaksin "was tough" เก็บถาวร 2008-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 10 December 2008
  94. Abhisit poised to be PM as democrats seek house vote เก็บถาวร 2012-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Nation, 8 December 2008
  95. Thai opposition 'set for power' BBC News, 10 December 2008
  96. "New Thai prime minister elected". BBC news. 2008-12-15. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  97. The Nation, Question loom over new Prime Minister's legitimacy, 17 December 2008
  98. AsiaNews.IT, Abhisit Vejjajiva is the new prime minister of Thailand, 15 December 2008
  99. Bangkok Post, PM pledges new drive to protect King, 7 February 2010
  100. Bangkok Post, Witoon quits over fish, 4 February 2009
  101. Thai-Asean News Network, New Health Minister to be Named after New Year เก็บถาวร 2011-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 29 December 2009
  102. 'อภิสิทธิ์'ร่วมม็อบเป่านกหวีดอโศกไล่รัฐบาล
  103. กปปส.กลับพรรคร่วมลุยเลือกตั้ง หนุน”อภิสิทธิ์”ชิงนายกฯ
  104. "'อภิสิทธิ์' ชี้ถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ได้ในสถานการณ์พิเศษ แต่อย่าเอาเป็นบรรทัดฐาน". ประชาไท. 2015-01-24. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.
  105. “อภิสิทธิ์” เสนอ “เว้นวรรคการเมือง” ไม่ลงเลือกตั้งถ้าปฏิรูปเสร็จ
  106. ขาดคุณสมบัติการลงสมัคร ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102
  107. 'มาร์ค'ชนะคดี'บิ๊กโอ๋'ปลดย้อนหลัง23ปี ไทยโพสต์ สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2561
  108. ‘อภิสิทธิ์’ พร้อมลาออกจากหัวหน้าพรรค หาก ปชป.แพ้เลือกตั้งครั้งหน้า
  109. "โพสต์หมดเวลาเกรงใจแล้ว มาร์คยัน ไม่สนับสนุน "บิ๊กตู่" (คลิป)". ไทยรัฐ. 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  110. 'สุเทพ' ชี้ " อภิสิทธิ์" ลำบากแน่ ต้องเดินคนเดียว ชวดนายกฯ
  111. หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (2019-03-24). "เลือกตั้ง 2562 : อนาคต อภิสิทธิ์ ในวันที่ประชาธิปัตย์ตกที่นั่ง "พรรคต่ำร้อย"". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  112. ""อภิสิทธิ์" ลาออกจากส.ส.ประชาธิปัตย์! ลั่น "ทำไม่ได้" โหวตเลือกประยุทธ์เป็นนายกฯ". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 5 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  113. "'อภิสิทธิ์'ตัวแทนคนไทยหนึ่งเดียวร่วมเสวนากับผู้นำทั่วโลก งาน 100 ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีน". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  114. "สหพัฒนพิบูล แต่งตั้ง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นั่งรองประธานบอร์ด". ประชาชาติธุรกิจ. 18 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  115. "ผลสรุปวันเสาร์ - อภิสิทธิ์....เศร้านาทีสุดท้าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.
  116. อภิสิทธิ์ 360° - โลกฟุตบอล The Official Abhisit Vejjajiva Website
  117. อภิสิทธิ์ 360° - โลกดนตรี The Official Abhisit Vejjajiva Website
  118. นายกอภิสิทธิ์ @ วู้ดดี้เกิดมาคุย part 2 คลิปบนยูทูบ
  119. "นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
  120. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  121. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  122. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๗, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์. QUESTION MARK. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-6230-4
  • ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. กรุงเทพฯ : กู๊ดมอร์นิ่ง, 2547. ISBN 978-974-92093-3-2
  • สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม "อภิสิทธิ์" ?. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-0492-2
  • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย. ๒ ปี กับรัฐมนตรี... อภิสิทธิ์. กรุงเทพฯ : 2543.

หนังสือเกี่ยวกับอภิสิทธิ์

  • สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม อภิสิทธิ์
  • กานธนิกา ชุณหะวัต, เฉลิมชน คงประวัติ. อภิสิทธิ์ คนเหนือดวง
  • สุเมธ จึงเลิศสถิตพงศ์. ผ่าทางตัน อภิสิทธิ์สู่บัลลังก์นายกฯ
  • ทีมข่าวหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้รายวัน. ระบอบอภิสิทธิ์
  • พิชัยยุทธ์ สยามพันธกิจ. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ... นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง
  • ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  • พรรคประชาธิปัตย์. คำให้การอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (คดีพรรคประชาธิปัตย์)
  • ส. สะเลเต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำเลือดใหม่ หัวใจผู้กล้า
  • ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ..อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถัดไป
สมชาย วงศ์สวัสดิ์    
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 27
(ครม. 59)

(17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
บัญญัติ บรรทัดฐาน    
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(23 เมษายน พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
(27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
(16 กันยายน พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
  สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
โภคิน พลกุล
ชิงชัย มงคลธรรม
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์
วีระกร คำประกอบ
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รักเกียรติ สุขธนะ
   
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  จาตุรนต์ ฉายแสง
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สมศักดิ์ เทพสุทิน
กระแส ชนะวงศ์
มนตรี เจนวิทย์การ    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
  อรรคพล สรสุชาติ
บัญญัติ บรรทัดฐาน    
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(5 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2562)
  จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์