รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รัฐธรรมนูญไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงลงพระปรมาภิไธย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตรารัฐสภา
ผู้ลงนามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามิทราธิราช บรมนาถบพิตร
วันลงนาม11 ตุลาคม 2540
ผู้ลงนามรับรองวันมูหะมัดนอร์ มะทา
(ประธานรัฐสภา)
วันลงนามรับรอง11 ตุลาคม 2540
วันประกาศ11 ตุลาคม 2540
วันเริ่มใช้11 ตุลาคม 2540
ท้องที่ใช้ ไทย
การร่าง
ชื่อร่างร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ผู้ยกร่างสภาร่างรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548
การยกเลิก
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญ 2540 มาจากกระแสการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคมประชาธรรมปี 2535 ที่ประชาชนถูกปราบปรามจากกองทัพ หลังมีการชุมชุมขับไล่รัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นและกระแสเรียกร้องจากชนชั้นกลางที่มีพลังทำให้ พล.อ.สุจินดา ลาออก และนำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 ให้ “นายกฯ มาต้องมาจาก ส.ส.”และแก้ไขอีกหลายเรื่องให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญ 2534 มีที่มาจากการรัฐประหารจึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการเกิดกระแสจัดร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีความชอบธรรมในการเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน [1]

ประวัติ

แก้

การร่างรัฐธรรมนูญในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ประสบอุปสรรคมีการเคลื่อนไหว จนกระทั่งพรรคความหวังใหม่ถอนตัวจากรัฐบาล ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถผลักดันรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ เพราะมีการเคลื่อนไหวเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทั้งภายในและภายนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวภายนอกสภานั้น กลุ่มที่ออกมาคัดค้าน เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน และได้มีองค์กรการเมืองภาคประชาชนออกมาสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่น คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย (ครป.) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ฯลฯ

การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 26 ธันวาคม 2539 [2] หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

การเรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ ล้วนเริ่มต้นจากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ[3]

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนพลังทางสังคมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างใหญ่ และนำไปสู่การสร้างแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมไทย ที่เน้นให้ “คนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนามาเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม มีกระบวนการที่จะเชื่อมโยง มิติต่างๆ ของการพัฒนา ตลอดจนเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมในการจัดทำแผน [4]

เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2020 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8 รัฐบาลในขณะนั้นจึงต้องแก้ไขปัญหาโครงสร้าง ด้วยกฎหมายสูงสุดของประเทศไทย หรือกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงเปลี่ยนจากแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลก่อนหน้า เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยการนำกระบวนทัศน์ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 โดยประชาชนมีส่วนร่วมมาใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ2540 และประสบผลสำเร็จ

ผลการปฏิรูปประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ2540

แก้

การปฏิรูปประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ2540 มีผลต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอื่นๆอีกหลายประการ

รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้รัฐสภาต้องออกกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญด้าน เศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2540 รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง

ความเป็นมาของกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ2540ด้านสุขภาพ2545 หรือ ประชาชนรู้จักในนาม30 บาทรักษาทุกโรค โดยใช้แนวคิดของ นานแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ มาใช้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 [5]

มาตรา 80 รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผนของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ ผู้สูงอายุและผู้พิการจึงได้รับเบี้ยยังชีพตามรัฐธรรมนูญ และ สวัสดิการอื่นๆตามกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญอื่นๆ ตั้งแต่หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้เมื่อ 11ตุลาคม2540 จนกระทั่งถึง19กันยายน รัฐบาลทุกรัฐบาลซึ่งบริหารงานภายใต้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2540 ได้ผลักดันกฎหมายเพื่อประชาชนหลายฉบับ ตามแนวทางการพัฒนาโดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

แก้

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ก็คือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ[6]

  1. ขยายสิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง
  2. การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน เพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมือง
  3. การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

การสิ้นสุดลง

แก้

เนื่องจากวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ในที่สุด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยการก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติที่นิวยอร์ก และขณะที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย

อ้างอิง

แก้
  1. รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นอย่างไร ใครๆ ก็พูดถึง
  2. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/D/002/13.PDF
  3. รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นอย่างไร ใครๆ ก็พูดถึง
  4. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3783
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-20. สืบค้นเมื่อ 2023-10-23.
  6. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดทั่วไป เรื่อง ๑. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ, สถาบันพระปกเกล้าฯ, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545, หน้า 124


  • ดร. วรพิทย์ มีมาก. การวิจัยเชิงประเมินรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้