วันมูหะมัดนอร์ มะทา

ประธานรัฐสภาไทยและประธานสภาผู้แทนราษฎร

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487) หรือ วันนอร์ เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาไทยและประธานสภาผู้แทนราษฎร (ชุดที่ 26) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายสมัย เป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่เป็นชาวไทยมุสลิม ในช่วง พ.ศ. 2539 จนถึง พ.ศ. 2543 (ชุดที่ 20) และอดีตหัวหน้าพรรคประชาชาติคนแรก ในฐานะแกนนำกลุ่มวาดะห์

วันมูหะมัดนอร์ มะทา
วันมูหะมัดนอร์ร่วมงานฉลองวันรัฐธรรมนูญที่สัปปายะสภาสถาน พ.ศ. 2566
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1]
(1 ปี 76 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
เศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รองรองประธานรัฐสภา
พรเพชร วิชิตชลชัย (2562–2567)
มงคล สุระสัจจะ (2567–ปัจจุบัน)
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง
ปดิพัทธ์ สันติภาดา (2566–2567)
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน (2567–ปัจจุบัน)
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน (2566–2567)
ภราดร ปริศนานันทกุล (2567–ปัจจุบัน)
ก่อนหน้าชวน หลีกภัย
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(3 ปี 216 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ชวลิต ยงใจยุทธ
ชวน หลีกภัย
รองมีชัย ฤชุพันธุ์
(รองประธานรัฐสภา พ.ศ. 2539-2543)
สนิท วรปัญญา
(รองประธานรัฐสภา พ.ศ. 2543)
โสภณ เพชรสว่าง
(รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1)
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
(รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2)
ก่อนหน้าบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ถัดไปพิชัย รัตตกุล
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(0 ปี 210 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าโภคิน พลกุล
ถัดไปพินิจ จารุสมบัติ
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
(1 ปี 159 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ถัดไปโภคิน พลกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าวิชิต สุรพงษ์ชัย
ถัดไปสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(1 ปี 228 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุเทพ เทือกสุบรรณ
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(0 ปี 156 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เทพสุทิน
ถัดไปสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537
(0 ปี 47 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าเด่น โต๊ะมีนา
ถัดไปไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544
(23 ปี 257 วัน)
หัวหน้าพรรคประชาชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ถัดไปวรวีร์ มะกูดี
(รักษาการ)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดยะลา เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(14 ปี 105 วัน)
ก่อนหน้าเฉลิม เบ็ญหาวัน
ถัดไปประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
(3 ปี 331 วัน)
ก่อนหน้าอุสมาน อุเซ็ง
ถัดไปเฉลิม เบ็ญหาวัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาชาติ (2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
กิจสังคม (2522–2527)
ประชาธิปัตย์ (2527–2537)
ความหวังใหม่ (2537–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
ประชาราช (2550)
มัชฌิมาธิปไตย (2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
มาตุภูมิ (2551–2555)
เพื่อไทย (2555–2561)
คู่สมรสอัสนา วัฒนาทร
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

วันมูหะมัดนอร์ มะทา เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ที่ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นบุตรของนายเจ๊ะอาแว กับนางแวสะปิเยาะ มะทา และเป็นพี่คนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คน คือ

  1. วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมือง แกนนำกลุ่มวาดะห์
  2. จุฑาทิพย์ มะทา ข้าราชการเกษียณ และที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานอัยการ จังหวัดยะลา
  3. มันโซ มะทา ทำธุรกิจฟาร์มแพะที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
  4. จุฑารัตน์ วงศ์พานิช ภริยาสุไลมาน วงศ์พานิช อดีตวุฒิสมาชิก
  5. อนันต์ มะทา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
  6. มุขตาร์ มะทา อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดยะลา ปัจจุบันตำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา
  7. ซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา
  8. สูการีย๊ะ ดือราแม ธุรกิจส่วนตัว
  9. สาการียา มะทา เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
  10. มยุรี มะทา ธุรกิจส่วนตัว

การศึกษา

แก้

วันมูหะมัดนอร์ มะทา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านสะเตง จังหวัดยะลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้เข้าศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทุนกระทรวงมหาดไทย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน

การทำงาน

แก้

วันมูหะมัดนอร์ มะทา เริ่มรับราชการครูและได้รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่ โรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่อายุเพียง 20 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสงขลา (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา) ปี พ.ศ. 2518 เป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทักษิณ) และเป็นอาจารย์พิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมกันด้วย จากนั้นในปี พ.ศ. 2521 ได้รับตำแหน่งรองอธิการบดี วิทยาลัยครูสงขลา

การเมือง

แก้

วันมูหะมัดนอร์ มะทา เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในสังกัด พรรคกิจสังคม เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและแกนนำ กลุ่มวาดะห์ ไปเข้าสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ และต่อมาย้ายไปร่วมก่อตั้งพรรคประชาชน[2] และ พรรคความหวังใหม่ โดยมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค และเป็นผู้นำกลุ่มวาดะห์ แทนนายเด่น โต๊ะมีนาที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา ก่อนจะย้ายไปเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย จากการยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 และ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้รับตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

ต่อมาวันมูหะมัดนอร์ มะทา ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3] แต่ยังคงมีบทบาทให้คำแนะนำ ส.ส.กลุ่มวาดะห์ ซึ่งย้ายจาก พรรคไทยรักไทย ไปสังกัดพรรคประชาราช ระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายไปสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชาชน กระทั่งในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง นายวันมูหะหมัดนอร์ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

  • พ.ศ. 2560 คดีสินบนโรลส์-รอยซ์ ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งขณะนั้นวันมูหะมัดนอร์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีบันทึกอ้างการจ่ายเงินอีกครั้งจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย โดยระบุว่า ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรไปยัง “กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมืองที่ใช้มาตลอด” หลังจากนั้นในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 พนักงานของไทยคนเดิม เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินอีก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายเพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ “ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง”[8][9]

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ

แก้

รางวัลและเกียรติยศ

แก้

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่วันมูหะมัดนอร์ มะทา เมื่อ พ.ศ. 2546[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘ประธาน-รองประธานสภา’
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. กรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  6. รับพระราชทานยศ นายกองเอก
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ ข้อมูลซื้อเครื่องบินคดีโรลส์รอยซ์ช่วงสินบนก้อน 2
  9. แกะรอยจากเอกสาร โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 2 ช่วงปี 35-40 "จัดการขั้นตอนทางการเมือง"
  10. เปิดรายชื่อ บัญชีนายกฯ 45 พรรค 69 ชื่อ ไร้ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ไทยรักษาชาติ
  11. "วันนอร์" ลาออก ส.ส. ลุยขยายฐานพรรครับเลือกตั้ง
  12. ""วันนอร์" ฉลุย นั่งประธานสภา ไร้คู่แข่ง หลัง "พิธา" เสนอชื่อ". มติชน. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "วันนอร์ เซ็นใบลาออก หน.ประชาชาติแล้ว มอบหมาย 'วรวีร์' รักษาการแทน". มติชน. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า วันมูหะมัดนอร์ มะทา ถัดไป
ชวน หลีกภัย    
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)

(5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในวาระ
พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ    
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)

(24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
  พิชัย รัตตกุล
สุเทพ เทือกสุบรรณ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ก่อตั้งพรรค    
หัวหน้าพรรคประชาชาติ
(1 กันยายน พ.ศ. 2561 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566)
  พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง