มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

มหาวิทยาลัยฟาฏอนี[2] เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอิสลามแห่งแรกในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยนักวิชาการอิสลามและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอิสลามศึกษาในภูมิภาค ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมและพัฒนาด้านอิสลามศึกษาและศาสตร์อื่นๆ สอนตามแนวทางกิตาบุ้ลลอฮฺและซุนนะห์

มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ชื่อย่อมฟน. / FTU
คติพจน์นำสัจธรรม สร้างสังคมสันติสุข
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม และมุ่งพัฒนาสังคมสันติสุข
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา3 เมษายน พ.ศ. 2541 (26 ปี 246 วัน)
อธิการบดีรศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
นายกสภาฯวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ผู้ศึกษา2,678 คน (2566)[1]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตยะลา
203/3 หมู่ 7 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
วิทยาเขตปัตตานี
135/8 หมู่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160
ต้นไม้ประจำสถาบันพิกุล
สี   เขียว-ขาว
เว็บไซต์www.ftu.ac.th/

มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2541 มีชื่อว่า "วิทยาลัยอิสลามยะลา" ภายหลังเป็น "มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา" โดยมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ระดับปริญญาตรี จำนวน 200 คน ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาชะรีอะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) และสาขาวิชาอุศูลุดดีน (หลักการศาสนาอิสลาม) ซึ่งมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านอาคาร และสิ่งก่อสร้างจากธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา (LDB)

ต่อมาได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550[3] และเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยฟาฏอนี" ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556[2]

ประวัติ

แก้
 
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตั้งอยู่ที่บ้านปารามีแต ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บนเนื้อที่ 43 ไร่ ห่างจากตัวเมืองยะลาบนเส้นทางสายยะลา–เบตง และสายยะลา–รามันประมาณ 7 กิโลเมตร ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนการก่อสร้างจากธนาคารอิสลามเพื่อการพัฒนา ประเทศซาอุดีอาระเบีย (IDB) ทั้งหมด 6 อาคาร ได้แก่ อาคารมัสยิด อาคารเรียน อาคารหอพัก 3 หลัง นับเป็นวิทยาเขตแรกที่วิทยาลัยได้ดำเนินการเปิดสอนระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันวิทยาเขตยะลา เป็นที่ตั้งของสถาบันภาษานานาชาติ

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านอิสลามและสาขาวิชาอื่น ๆ ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการของสังคม โดยมุ่งเน้นบัณฑิตที่จบจากวิทยาลัยจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม สร้างความเข้าใจอันดี ความกลมเกลียว ความร่วมมือระหว่างคนในชาติ และแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยสันติวิธี

ความคิดที่จะดำเนินการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามีขึ้นโดยกลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในประเทศซาอุดีอาระเบีย นำโดย นายอิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา, นาย อิสมาแอ อาลี, นายอับดุลฮาลิม ไซซิง, นาย ญิฮาด บูงอตาหยง, นาย มูฮำหมัด หะยีสาอิ, นายอาหมัดอุมาร์ จะปะเกีย โดยเห็นว่าสังคมมุสลิมในประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีสถาบันอุดมศึกษาอิสลามเพื่อทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม อันเป็นรากฐานสำคัญสู่ความก้าวหน้าและมีความสงบสันติดังเจตนารมณ์ของอิสลามสืบต่อไป

ด้วยแนวคิดของกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลบางคนในประเทศซาอุดีอาระเบีย เช่น นาย อับดุลลอฮฺ อัลบูซีย์ ช่างแกะสลักแหวนตามบาทวิถีในนครรียาด และได้บริจาคเงินรายได้จากการทำงานผ่าน นายอิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา จำนวน 30,000 เรียล (ประมาณ 210,000 บาท) และเงินจำนวนนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยคณะกรรมการก่อตั้งโครงการวิทยาลัยอิสลามเอกชนภาคใต้ จำนวน 70 ไร่ 32 ตารางวา ณ บ้านโสร่ง ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งวิทยาลัย[4]

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 200 คน เมื่อปี พ.ศ. 2541 ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาชะรีอะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) และ สาขาวิชาอุศูลุดดีน (หลักการศาสนาอิสลาม) มหาวิทยาลัยได้จัดวันสถาปนาวิทยาลัยขึ้นเมื่อวันที่ 8–9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เพื่อประกาศถึงการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาอิสลามเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีเจ้าชายอมีรตุรกี บินฟัฮด บินญัลวี อาลิซูอูด ประธานองค์การสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติ ให้เกียรติเสด็จเป็นประธานในพิธี ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และประธานรัฐสภา (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานจัดงาน

ปี พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา จากทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 49 คน

ปี พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอาหรับ

ปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี ได้วางศิลารากฐาน 2 อาคาร คือ อาคารวิทยบริการและอาคารเศรษฐศาสตร์และการจัดการ โดยมีอุปทูตคูเวตประจำประเทศไทยเป็นประธานในพิธี และ ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยให้การต้อนรับพร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติอย่างคับคั่ง

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2546 จัดพิธีประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2002 จำนวน 249 คน โดยมีท่านจุฬาราชมนตรี นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ เป็นประธานในพิธี

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ทรงเปิดมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาวิทยาเขตปัตตานีอย่างเป็นทางการ โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป พร้อมใจร่วมให้การรับเสด็จฯ และได้รับเกียรติจากท่านจุฬาราชมนตรีได้เดินทางมาร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ด้วย

ในภาคการศึกษาที่ 1 ปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) จากทบวงมหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชะรีอะฮ์ และสาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ในภาคการศึกษาที่ 1 ปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้ย้ายหน่วยงาน ส่วนใหญ่ไปตั้งที่วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3 บ้านโสร่ง ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี บนที่ดินจำนวน 283 ไร่ ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี คณะอิสลามศึกษา คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มัสยิดฮารอมัยน์ สำนักวิทยบริการ สำนักบริการการศึกษา สำนักกิจการนักศึกษา และอาคารหอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ เปลี่ยนประเภทจาก วิทยาลัยอิสลามยะลาเป็น "มหาวิทยาลัย อิสลามยะลา" อย่างเป็นทางการ และ ได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา และศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู (หลักสูตรนานาชาติ) ปี พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ

ในปี พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้เปิด หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอาหรับและวรรณคดี และหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครอง ในภาคการศึกษาที่ 1 ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์[5]

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

แก้

สีประจำมหาวิทยาลัย

แก้
  • สีเขียว หมายถึง ความเป็นผู้นำ นักเคลื่อนไหว เป็นพลวัตรของนักศึกษามหาวิทยาลัย
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ของอิสลาม

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

แก้

ต้นพิกุล เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ทุกภาคของไทย นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทำเนียบอธิการบดี

แก้
ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามยะลา
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา 3 เมษายน พ.ศ. 2541 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน

การศึกษา

แก้

คณะ

แก้

สถาบัน

แก้

สำนัก

แก้

งานวิจัย

แก้

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

แก้

วันสำคัญของมหาวิทยาลัย

แก้

พิธีประสาทปริญญา

แก้

บุคคลจากมหาวิทยาลัย

แก้

วิทยาเขตและสถานที่ตั้ง

แก้
  • วิทยาเขตยะลา

203/3 หมู่ 7 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

  • วิทยาเขตปัตตานี

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (พระยศในขณะนั้น) ทรงเปิดวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี ที่ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

อ้างอิง

แก้
  1. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  2. 2.0 2.1 สรุปมติการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ครั้งที่ 8/2556 วันที่ 3 ตุลาคม 2556 (Report). กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักอำนวยการ. p. 2.
  3. "ราบชื่อสถาบันอุดมศึกษา". สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 28 เมษายน 2011.
  4. "ข้อมูลเบื้องต้นประวัติมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สืบค้น ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-23. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  5. "ข้อมูลเบื้องต้นประวัติมหาวิทยาลัยฟาฏอนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2014.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้