พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)
พรรคประชาชาติ เป็นพรรคการเมืองของ กลุ่มวาดะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่มีชื่อเสียงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และชาวมุสลิมในพื้นที่ โดยมี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน เป็นผู้นำพรรค
พรรคประชาชาติ | |
---|---|
ชื่อมลายู | Parti Ummah/ڤرتي امة[1][2] |
ผู้ก่อตั้ง | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
หัวหน้า | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง |
รองหัวหน้า |
|
เลขาธิการ | ซูการ์โน มะทา |
รองเลขาธิการ |
|
โฆษก | กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ |
รองโฆษก |
|
คำขวัญ | ชาติของประชาชน บนฐานสังคมพหุวัฒนธรรม |
ก่อตั้ง | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (5 ปี 346 วัน) |
แยกจาก | พรรคเพื่อไทย พรรคมาตุภูมิ |
ก่อนหน้า | กลุ่มวาดะห์ |
ที่ทำการ | 9/22-9/23 ซอยเดชะตุงคะ 1 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร |
สมาชิกภาพ (ปี พ.ศ. 2565) | 13,112 คน[4] |
สี | สีทอง |
สภาผู้แทนราษฎร | 9 / 495 |
เว็บไซต์ | |
prachachat.org | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคประชาชาติ เป็นพรรคการเมืองที่ยื่นจดแจ้งจัดตั้งพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นลำดับที่ 6/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กับพวกเป็นผู้ก่อตั้งและนายสุรพล นาควานิช เป็นผู้ยื่นจดแจ้งจัดตั้งพรรค [5] ซึ่งนายสุรพลมีนามสกุลเดียวกับ พลเอกธีรชัย นาควานิช อดีตองคมนตรี และอดีตผู้บัญชาการทหารบก และพลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่านายสุรพลเป็นเครือญาติกับทั้งสองท่านหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเครือญาติกับนายสุรพล
ต่อมานายสุรพลได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์มติชนว่าได้พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับกลุ่มวาดะห์ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ถึงเรื่องการย้ายมาสังกัดพรรคประชาชาติ[6] กระทั่งนาย ซูการ์โน มะทา แกนนำกลุ่มวาดะห์และเป็นน้องชายของวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่าทางกลุ่มวาดะห์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาชาติจริงตามกระแสข่าว [7]
ซึ่งนาย อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มวาดะห์ได้ให้สัมภาษณ์ว่าทางพรรคเตรียมจัดการประชุมเพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งผลปรากฏว่านาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานรัฐสภาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก นาย วรวีร์ มะกูดี อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนแรก โดยได้มีการยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เมื่อวันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561
กระทั่งวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ ๕๗/๒๕๖๑ (๒๑) ที่ประชุมมีมติรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาชาติ พร้อมกับพรรคการเมืองอีก 2 พรรคคือ พรรคแผ่นดินธรรม และ พรรคพลังชาติไทย
ต่อมาในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคประชาชาติได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรครวมถึงการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 4 คน จากนั้นในวันที่ 28 เมษายน สุรพล นาควานิช ผู้ยื่นจดจัดตั้งพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งนายทะเบียนสมาชิกพรรค[8]
ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 หลังจากพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อให้วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยของชุดที่ 26 วันมูหะมัดนอร์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อความเป็นกลางในการทำหน้าที่ ทำให้กรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยวรวีร์ มะกูดี รองหัวหน้าพรรค ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคไปพลางก่อน[9] ต่อมามีการจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยที่ประชุมมีมติเลือก พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการพรรค ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค และซูการ์โน มะทา น้องชายของวันมูหะมัดนอร์ เป็นเลขาธิการพรรค[10]
บุคลากรในพรรค
แก้หัวหน้าพรรค
แก้ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | วันมูหะมัดนอร์ มะทา | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | ||
2 | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค
แก้ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง |
31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | ||
2 | ซูการ์โน มะทา | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน | •สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา |
การเลือกตั้ง
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคประชาชาติส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั้งหมด 212 เขต และระบบบัญชีรายชื่อ 58 คน ได้รับการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต 6 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด และได้รับจัดสรร สส. ในระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง คือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค[11]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคประชาชาติได้รับเลือกตั้ง 9 ที่นั่ง จากแบบบัญชีรายชื่อ 2 ที่นั่ง และจากแบบเขตเลือกตั้ง 7 ที่นั่ง เมื่อพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยตกลงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรกันไม่ได้ ทั้งสองพรรคจึงให้เสนอคนกลางคือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชาติ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2539 ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ทำให้วันมูหะหมัดนอร์ มะทา ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เนื่องจากกฎหมายห้ามมิให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บริหารพรรคการเมือง
ผลการเลือกตั้ง
แก้ผลการเลือกตั้งทั่วไป
แก้การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2562 | 7 / 500
|
481,490 | 1.35% | 7 | ฝ่ายค้าน | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
2566 | 9 / 500
|
311,057 | 0.79% | 2 | ร่วมรัฐบาล |
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.freemalaysiatoday.com/category/bahasa/2019/03/28/parti-ummah-tembusi-kubu-kuat-demokrat-di-selatan-thailand/
- ↑ https://www.utusan.com.my/berita/2023/05/parti-ummah-jadi-pilihan-masyarakat-islam-di-selatan-thailand/
- ↑ ข้อมูลพรรคประชาชาติ
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
- ↑ ยื่นขอตั้งพรรคใหม่แล้ว 41 พรรค มีชื่อแปลก 'พรรคเห็นแก่ตัว'
- ↑ ‘สุรพล นาควานิช’ รับลูกข่าว ‘วาดะห์’ ซบพรรคประชาชาติ ปัดนอมินี คสช. แจง นามสกุล ‘นาควานิช’จากปู่
- ↑ น้องชาย'วันนอร์'คอนเฟิร์ม!'วาดะห์'รีเทิร์นย้ายสังกัดพรรคประชาชาติ
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและกรรมการบริหารพรรคประชาชาติ
- ↑ 'วันนอร์' ลาออกหัวหน้าพรรคประชาชาติแล้ว
- ↑ ""ทวี" ผงาดขึ้นหัวหน้าพรรคประชาชาติ "ซูการ์โน" เลขาฯ". สำนักข่าวอิศรา. 26 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซด์ของพรรคประชาชาติ
- พรรคประชาชาติ ที่เฟซบุ๊ก1
- พรรคประชาชาติ ที่เฟซบุ๊ก2
- พรรคประชาชาติ ที่เฟซบุ๊ก3
- พรรคประชาชาติ ที่ยูทูบ1
- พรรคประชาชาติ ที่ยูทูบ2
- เก็บถาวร 2020-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน