สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) เป็นสภาล่างของรัฐสภาหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดย 400 คนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และอีก 100 คนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 | |||||
---|---|---|---|---|---|
| |||||
![]() | |||||
ภาพรวม | |||||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||||
ที่ประชุม | สัปปายะสภาสถาน | ||||
วาระ | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[a] – ปัจจุบัน | ||||
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 | ||||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีเศรษฐา | ||||
ฝ่ายค้าน | พรรคก้าวไกล และพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 6 พรรค | ||||
สภาผู้แทนราษฎร | |||||
![]() | |||||
สมาชิก | 500 | ||||
ประธาน | วันมูหะมัดนอร์ มะทา | ||||
รองประธานคนที่ 1 | ปดิพัทธ์ สันติภาดา | ||||
รองประธานคนที่ 2 | พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน | ||||
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน | ||||
ผู้นำฝ่ายค้าน | ชัยธวัช ตุลาธน (รอการแต่งตั้ง) | ||||
พรรคครอง | พรรคเพื่อไทย | ||||
สมัยประชุม | |||||
|
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566[1]
เหตุการณ์สำคัญ แก้ไข
- 15 มิถุนายน 2566: มีรายงานว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 321 คน จาก 400 คน[2] แต่ในวันที่ 19 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 500 คน[3] โดยรายชื่อผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566[4][5]
- 3 กรกฎาคม 2566: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา[6][7]
- 4 กรกฎาคม 2566: มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการเสนอชื่ออื่น[8] ปดิพัทธ์ สันติภาดา จากพรรคก้าวไกล เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เอาชนะวิทยา แก้วภราดัย จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ด้วยคะแนน 312 ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 77 เสียง และบัตรเสีย 2 เสียง[9] และพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน จากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 โดยไม่มีการเสนอชื่ออื่น[10][11][12]
- 13 กรกฎาคม 2566: ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีการเสนอชื่ออื่น ผลปรากฏว่าพิธาได้คะแนนเห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภา ทำให้ต้องมีการออกเสียงลงคะแนนอีกครั้งในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566[13][14][15]
- 19 กรกฎาคม 2566: ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) สุทิน คลังแสง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง แต่ก่อนที่จะมีการลงมติ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำตัดสิน 7-2 เสียง ให้พิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่[16] และยังมีข้อถกเถียงว่าการเสนอชื่อพิธาอีกครั้งเป็นญัตติซ้ำหรือไม่ ผลปรากฏว่ารัฐสภามีมติเสียงข้างมากเห็นว่าเป็นญัตติซ้ำ ด้วยมติเห็นชอบ 395 เสียง ไม่เห็นชอบ 312 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ส่งผลให้ในสมัยประชุมนี้ไม่สามารถเสนอชื่อพิธาได้อีก และถือเป็นมาตรฐานเดียวกันกับการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ในบัญชี[17]
- 4 สิงหาคม 2566: ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เดิมมีกำหนดจะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้เลื่อนการพิจารณาคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินออกไปก่อน จึงทำให้ไม่สามารถลงมติได้จนกว่าจะมีคำตัดสินเป็นอันสิ้นสุด[18] จึงเหลือเพียงการพิจารณาประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตรา 272 ที่ให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาในการลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีที่นำเสนอโดย ชัยธวัช ตุลาธน[19] แต่เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาได้ขาดการประชุมเป็นจำนวนมากในช่วงแรก และมีการเสนอญัตติด่วนเรื่องการเสนอชื่อผู้ดำรงตำหน่งนายกรัฐมนตรีซ้ำไม่ได้ โดยรังสิมันต์ โรม และมีการถกเถียงกันจากหลายฝ่าย ท้ายที่สุดวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา จึงประกาศเลื่อนประชุมในเวลา 11 นาฬิกา 27 นาที [20]
- 21 สิงหาคม 2566: พรรคเพื่อไทยและพรรคการเมืองอีก 10 พรรคได้แก่ พรรคภูมิใจไทย (71), พรรคพลังประชารัฐ (40), พรรครวมไทยสร้างชาติ (36), พรรคชาติไทยพัฒนา (10), พรรคประชาชาติ (9), พรรคชาติพัฒนากล้า (2), พรรคเพื่อไทรวมพลัง (2), พรรคเสรีรวมไทย (1), พรรคพลังสังคมใหม่ (1) และพรรคท้องที่ไทย (1) ร่วมกันแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลจำนวน 314 เสียงที่อาคารรัฐสภาโดยไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมาย มาตรา 112 และไม่มีพรรคก้าวไกลเข้าร่วมรัฐบาล พร้อมกับมีมติเสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดทนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยต่อรัฐสภาในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 ในวันอังคารที่ 22 สิงหาคม[21]
- 22 สิงหาคม 2566: ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดทนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย เพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้นายเศรษฐาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 482 เสียง ไม่เห็นชอบ 165 เสียง งดออกเสียง 81 เสียง ไม่เข้าประชุม 38 เสียง แต่ในระหว่างการขานชื่อได้เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นทำให้การขานชื่อต้องหยุดชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบจำนวน 152 เสียง ซึ่งนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภาจะได้นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป
- 23 สิงหาคม 2566 : ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เรียบร้อยแล้วเหลือเพียงแค่ประทับตราพระราชลัญจกร 5 ดวงที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและนำกลับมาที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะอัญเชิญพระบรมราชโองการไปยังที่ทำการพรรคเพื่อไทยในเวลา 18.00 น.[22]
- 11,12 กันยายน 2566: ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 5 เป็นพิเศษ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้มีการพิจารณาเรื่องด่วน "คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 162 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
กฎหมายสำคัญ แก้ไข
ร่างกฎหมาย แก้ไข
องค์ประกอบของสภา แก้ไข
สภาผู้แทนราษฎรไทยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 ที่นั่ง จากพรรคการเมืองต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
พรรค | จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
ผลการเลือกตั้ง | ปัจจุบัน | |
ก้าวไกล | 151 | 150 |
เพื่อไทย | 141 | 141 |
ภูมิใจไทย | 71 | 71 |
พลังประชารัฐ | 40 | 40 |
รวมไทยสร้างชาติ | 36 | 36 |
ประชาธิปัตย์ | 25 | 25 |
ชาติไทยพัฒนา | 10 | 10 |
ประชาชาติ | 9 | 9 |
ไทยสร้างไทย | 6 | 6 |
เพื่อไทรวมพลัง | 2 | 2 |
ชาติพัฒนากล้า | 2 | 2 |
เสรีรวมไทย | 1 | 1 |
ประชาธิปไตยใหม่ | 1 | 1 |
ครูไทยเพื่อประชาชน | 1 | 1 |
เป็นธรรม | 1 | 1 |
พลังสังคมใหม่ | 1 | 1 |
ใหม่ | 1 | 1 |
ท้องที่ไทย | 1 | 1 |
ไม่สังกัดพรรคการเมือง | 0 | 1 |
รวม | 500 | 500 |
ว่าง | 0 | 0 |
รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แก้ไข
ได้รับเลือกตั้ง | ดำรงตำแหน่งนับถึงวันสิ้นอายุสภา พ้นจากตำแหน่ง | ||
เลื่อนขึ้นมาภายหลัง |
พรรคก้าวไกล (39) แก้ไข
พรรคเพื่อไทย (29) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ | ||
2 | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | ||
3 | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | ||
4 | ชูศักดิ์ ศิรินิล | ||
5 | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | ||
6 | เกรียง กัลป์ตินันท์ | ||
7 | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | ||
8 | สุชาติ ตันเจริญ | ||
9 | สุทิน คลังแสง | ||
10 | ชัยเกษม นิติสิริ | ||
11 | สมศักดิ์ เทพสุทิน | ||
12 | วิสุทธิ์ ไชยณรุณ | ||
13 | จาตุรนต์ ฉายแสง | ||
14 | ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร | ||
15 | นพดล ปัทมะ | ||
16 | สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ | ||
17 | ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ | ||
18 | อดิศร เพียงเกษ | ||
19 | นิคม บุญวิเศษ | ||
20 | ขัตติยา สวัสดิผล | ||
21 | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | ||
22 | ประวีณ์นุช เลิศจิตติสุทธิ์ | ||
23 | สุรเกียรติ เทียนทอง | ||
24 | จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ | ||
25 | ดนุพร ปุณณกันต์ | ||
26 | อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด | ||
27 | พลเอก พิศาล วัฒนวงษ์คีรี | ||
28 | สุธรรม แสงประทุม | ||
29 | ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ |
พรรครวมไทยสร้างชาติ (13) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | ลาออก 14 พฤษภาคม 2566[25] (ยื่นหนังสือ 30 มิถุนายน 2566)[26] | |
2 | สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ | ||
3 | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ | ||
4 | หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร | ||
5 | สุชาติ ชมกลิ่น | ||
6 | พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ | ||
7 | วิทยา แก้วภราดัย | ||
8 | ชัชวาลล์ คงอุดม | ||
9 | จุติ ไกรฤกษ์ | ||
10 | ธนกร วังบุญคงชนะ | ||
11 | เกรียงยศ สุดลาภา | ||
12 | ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง | ||
13 | ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ | ||
14 | อนุชา บูรพชัยศรี | เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 7 กรกฎาคม 2566[25] |
พรรคภูมิใจไทย (3) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | อนุทิน ชาญวีรกูล | ||
2 | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | ||
3 | ทรงศักดิ์ ทองศรี | ลาออก 11 กันยายน 2566[27] | |
4 | ชลัฐ รัชกิจประการ | เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 12 กันยายน 2566 [28] |
พรรคประชาธิปัตย์ (3) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ | ||
2 | ชวน หลีกภัย | ||
3 | บัญญัติ บรรทัดฐาน |
พรรคประชาชาติ (2) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | วันมูหะมัดนอร์ มะทา | ||
2 | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง |
พรรคพลังประชารัฐ (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
พรรคเสรีรวมไทย (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส | ลาออก 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
2 | มังกร ยนต์ตระกูล | เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2566[29] |
พรรคไทยสร้างไทย (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | ลาออก 10 กรกฎาคม 2566[30] | |
2 | ฐากร ตัณฑสิทธิ์ | เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 11 กรกฎาคม 2566[31] |
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | สุรทิน พิจารณ์ |
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | ปรีดา บุญเพลิง |
พรรคชาติไทยพัฒนา (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | วราวุธ ศิลปอาชา |
พรรคชาติพัฒนากล้า (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล |
พรรคท้องที่ไทย (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | บัญชา เดชเจริญศิริกุล |
พรรคเป็นธรรม (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | กัณวีร์ สืบแสง |
พรรคพลังสังคมใหม่ (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ |
พรรคใหม่ (1) แก้ไข
# | รายชื่อ | รายละเอียดเพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
1 | กฤดิทัช แสงธนโยธิน |
รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต แก้ไข
แยกตามรายภาคตามการแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน
กรุงเทพมหานคร แก้ไข
มีรายชื่อดังต่อไปนี้
ภาคกลาง แก้ไข
มีรายชื่อดังต่อไปนี้
ภาคเหนือ แก้ไข
มีรายชื่อดังต่อไปนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้ไข
มีรายชื่อดังต่อไปนี้
ภาคใต้ แก้ไข
มีรายชื่อดังต่อไปนี้
ภาคตะวันออก แก้ไข
มีรายชื่อดังต่อไปนี้
ภาคตะวันตก แก้ไข
มีรายชื่อดังต่อไปนี้
การเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้ไข
การเลือกตั้งซ่อม แก้ไข
- 10 กันยายน พ.ศ. 2566 – ระยอง เขต 3 เนื่องจากนายนครชัย ขุนณรงค์ลาออกจากตำแหน่ง ผลการเลือกตั้งปรากฎว่านายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง
ประชากรศาสตร์ แก้ไข
สมาชิกที่มีอายุมากที่สุด คือ พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อายุ 89 ปี[34]
สมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดมีอายุ 27 ปีจำนวน 3 คน ดังรายชื่อดังต่อไปนี้
- ทิสรัตน์ เลาหพล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 29 พรรคก้าวไกล [35]
- ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 1 พรรคก้าวไกล[36]
- สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 7 พรรคเพื่อไทย [37]
สมาชิกเป็นเพศชาย 402 คน เพศหญิง 93 คน และผู้มีความหลากหลายทางเพศ 4 คน[38] และมีสมาชิก 268 คนที่ได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
ผู้ดำรงตำแหน่ง แก้ไข
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร : วันมูหะมัดนอร์ มะทา
- รองประธานประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง : ปดิพัทธ์ สันติภาดา
- รองประธานประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง : พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
การลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง แก้ไข
ตำแหน่ง | ชื่อ | พรรค | คะแนนเสียง |
---|---|---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง | ปดิพัทธ์ สันติภาดา | ก้าวไกล | 312 |
วิทยา แก้วภราดัย | รวมไทยสร้างชาติ | 105 | |
77 | |||
2 | |||
496 |
คณะกรรมาธิการ แก้ไข
คณะกรรมาธิการสามัญ แก้ไข
ชื่อคณะกรรมาธิการ | ประธานคณะกรรมาธิการ | พรรค | |
---|---|---|---|
คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน | ประชาชาติ | ||
คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการกีฬา | พลังประชารัฐ | ||
คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้มีความหลากหลายทางเพศ | ชาติไทยพัฒนา | ||
คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ | พลังประชารัฐ | ||
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการคมนาคม | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร สถาบันการเงินและตลาดการเงิน | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการการตำรวจ | ประชาธิปัตย์ | ||
คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการการทหาร | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการปกครอง | ภูมิใจไทย | ||
คณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ | ภูมิใจไทย | ||
คณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย | ภูมิใจไทย | ||
คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการพลังงาน | รวมไทยสร้างชาติ | ||
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา | ประชาธิปัตย์ | ||
คณะกรรมาธิการการแรงงาน | ภูมิใจไทย | ||
คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม | พลังประชารัฐ | ||
คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการศึกษา | ภูมิใจไทย | ||
คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม | ก้าวไกล | ||
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | เพื่อไทย | ||
คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม | รวมไทยสร้างชาติ |
คณะกรรมาธิการวิสามัญ แก้ไข
ชื่อคณะกรรมาธิการ | ประธานคณะกรรมาธิการ | พรรค | |
---|---|---|---|
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอันเนื่องจากปรากฎการณ์เอลนิโญ่ (El Nino) | |||
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมกำกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย | |||
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหาสถานบันเทิง และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ |
เชิงอรรถ แก้ไข
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 100 ระบุว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง"
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ด่วน! กกต.ประกาศรับรอง 500 ส.ส.แล้ว
- ↑ "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.
- ↑ "ผลเลือกตั้ง 2566 : กกต. ประกาศรับรอง ส.ส. ครบทั้งสภา 500 คน". BBC News ไทย. 2023-06-19.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ "รายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี พ.ศ.2566 อย่างเป็นทางการ". official.ectreport.com.
- ↑ "หมายกําหนดการ ในหลวง และ พระราชินี เสด็จฯ ทรงเปิดประชุมรัฐสภา 3 ก.ค. 2566". thansettakij. 2023-06-27.
- ↑ บันทึกพิธีเปิดประชุมรัฐสภา วันจันทร์ที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ ห้องโถงพิธี ชั้น ๑๑ อาคารรัฐสภา
- ↑ "มติเอกฉันท์ "วันนอร์" นั่งประธานสภาผู้แทนราษฎร". ไทยพีบีเอส. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
- ↑ ""หมออ๋อง" ปดิพัทธ์ ชนะ "วิทยา" คว้าเก้าอี้ รองประธานสภา คนที่ 1 (คลิป)". ไทยรัฐ. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
- ↑ บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันอังคารที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา
- ↑ บันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันอังคารที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
- ↑ "พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เพื่อไทย นั่งรอง 2 ประธานสภาฯ สุดชิลล์ไร้คู่แข่ง". www.sanook.com/news. 2023-07-04.
- ↑ ด่วน โหวตนายกฯ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ไม่ผ่านในครั้งแรก จ่อเสนอชื่อรอบ 2
- ↑ บันทึกการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา
- ↑ บันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกรัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
- ↑ "ด่วน ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องหุ้นสื่อ "พิธา" พร้อมสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ทันที". ไทยรัฐ. 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โหวตนายก : รัฐสภาลงมติเป็นญัตติต้องห้าม! ปิดทางเสนอชื่อ "พิธา" โหวตนายกฯ". พีพีทีวี. 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนพิจารณาคำร้องปมเสนอชื่อ "พิธา" โหวตนายกฯซ้ำ". pptvhd36.com. 2023-08-03.
- ↑ "รัฐสภาถก ปิดสวิตช์ สว. รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 คืออะไร ทำไมต้องแก้". Thai PBS.
- ↑ "ประชุมสภา: "วันนอร์" สั่งปิดประชุมก่อนเริ่มถก "ปิดสวิตช์ สว." เหตุเถียงหนัก ปม "เสนอชื่อพิธาซ้ำ" ไม่ได้". BBC News ไทย. 2023-08-04.
- ↑ ด่วน!‘เพื่อไทย’นำแถลงจัดตั้งรัฐบาล 11 พรรค 314 เสียง แบ่งเก้าอี้ ครม.เสร็จสรรพ
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'เศรษฐา ทวีสิน' เป็นนายกฯ คนที่ 30 แล้ว
- ↑ "เลขาสภาฯ แจงลดยอด ส.ส.เหลือ 499 คน เหตุ "ณธีภัสร์" ต้องคดีเมาแล้วขับถึงที่สุด". Thai PBS.
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายสุเทพ อู่อ้น พรรคก้าวไกล)
- ↑ 25.0 25.1 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายอนุชา บูรพชัยศรี พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- ↑ "พีระพันธุ์ ลาออก ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ ขอทำหน้าที่เลขาธิการนายกฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-06-30. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ทรงศักดิ์" ไขก๊อกส.ส. ขยับ"ชลัฐ รัชกิจประการ" นั่งบัญชีรายชื่อแทน". bangkokbiznews. 2023-09-11.
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายชลัฐ รัชกิจประการ พรรคภูมิใจไทย)
- ↑ ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว ให้ "มังกร ยนต์ตระกูล" เป็น สส. แทน "เสรีพิศุทธ์" ที่ลาออก
- ↑ "หญิงหน่อย ลาออก ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไทยสร้างไทย 'ฐากร' ขยับขึ้นมาแทน". มติชน. 2023-07-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-11.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ [https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D166S0000000004100.pdf ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ พรรคไทยสร้างไทย)]
- ↑ "ด่วน! 'ก้าวไกล' ขับ 'ปดิพัทธ์' ออกจากสมาชิกพรรค ลุยงานฝ่ายค้านเต็มที่". bangkokbiznews. 2023-09-28.
- ↑ ""นครชัย" ยื่นลาออก สส.ก้าวไกล เคยต้องโทษคดีลักทรัพย์". Thai PBS.
- ↑ ประวัติ "วิโรจน์ เปาอินทร์" อาวุโสสูงสุด 89 ปี ว่าที่ ประธานสภา ชั่วคราว
- ↑ เลือกตั้ง 2566 : ทิสรัตน์ เลาหพล พรรคก้าวไกล ‘จากห้างย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ สู่ก้าวไกล บางแค’
- ↑ https://www.facebook.com/bangkokbiznews (2023-07-03). "เปิดสถิติ "ที่สุด" ของ "สภาฯชุด26"". bangkokbiznews.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ รู้จัก ส.ส.อายุน้อยที่สุดในสภาฯ "สุดารัตน์" พรรคเพื่อไทย จ.อุบลฯ
- ↑ "เปิดสถิติ ความหลากหลายทางเพศสภาไทย 2566". workpointTODAY.