ประมวล พงศ์ถาวราเดช
ประมวล พงศ์ถาวราเดช (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2496) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5 สมัย รองประธานกรรมการคนที่หกใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) เป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประมวล พงศ์ถาวราเดช | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
หัวหน้า | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มกราคม พ.ศ. 2496 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2548–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้ประมวล เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาธรณีวิทยา จากมหาวิทยาลัยนาโรต์ ประเทศอินเดีย และระดับปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]
งานการเมือง
แก้ประมวลเคยดำรงตำแหน่งเป็น รองประธานสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รองนายก และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ
ประมวล ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 5 ครั้ง
ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ประมวล พงศ์ถาวราเดช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๔ เก็บถาวร 2018-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ประธานสส.ปชป. ยืนยันจุดยืนเดิม ไม่ร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคแก้ 112
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖