การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 24 ของประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2554[1]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

← พ.ศ. 2550 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 (โมฆะ) →

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน46,939,549
ผู้ใช้สิทธิ75.03% (เพิ่มขึ้น 0.52 จุด)
  First party Second party
 
Yingluck Shinawatra at US Embassy, Bangkok, July 2011.jpg
Abhisit Vejjajiva 2010.jpg
ผู้นำ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรค เพื่อไทย ประชาธิปัตย์
ผู้นำตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2554 6 มีนาคม 2548
เขตของผู้นำ บัญชีรายชื่อ (#1) บัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด 233 ที่นั่ง, 41.08%[a] 164 ที่นั่ง, 40.45%
ที่นั่งก่อนหน้า 185 179
ที่นั่งที่ชนะ 265 159
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 32 ลดลง 5
คะแนนเสียง 15,744,190 11,433,762
% 48.41% 35.15%
%เปลี่ยน เพิ่มขึ้น 7.33 จุด ลดลง 5.30 จุด

  Third party Fourth party
 
Chaovarat Chanweerakul (cropped).jpg
ภาพถ่ายเบื้องหลัง การบันทึกเทป โครงการ ไทยเข้มแข็ง (The Official Site of The Prim - Flickr - Abhisit Vejjajiva (49).jpg
ผู้นำ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ชุมพล ศิลปอาชา
พรรค ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา
ผู้นำตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 24 มกราคม 2552
เขตของผู้นำ บัญชีรายชื่อ (#1) บัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด 37 ที่นั่ง, 4.24%[b]
ที่นั่งก่อนหน้า 34 23
ที่นั่งที่ชนะ 34 19
ที่นั่งเปลี่ยน พรรคใหม่ ลดลง 18
คะแนนเสียง 1,281,652 907,107
% 3.83% 2.71%
%เปลี่ยน พรรคใหม่ ลดลง 1.53 จุด


นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประชาธิปัตย์

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพื่อไทย

การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้นในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาล อันประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค และได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา คะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระ[2]

มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 75.03%[3] จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน พรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดคือ พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน และรองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน [4] โดยผู้ใช้สิทธิ์เลือกพรรคเพื่อไทย คิดเป็น 44.72% ของจำนวนผู้ที่ออกมาเลือกตั้งในปี 2554 ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง 265 ที่[5] นับเป็นครั้งที่สองในรอบทศวรรษที่มีพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร[6] และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย[7] ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎร 159 ที่[5]

เบื้องหลัง แก้

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคพลังประชาชนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน คือ สมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หลังจากคดียุบพรรคการเมือง ซึ่งส่งผลให้พรรครัฐบาลหลักสามพรรคถูกยุบ ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยเสียงสนับสนุนสำคัญจากพรรคภูมิใจไทย โดยหลังจากนั้นได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ในขณะที่คดีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 อัยการยังไม่สั่งฟ้องในคดีอาญา

จากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 นำมาสู่การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งมีขึ้น ในวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล อันประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับตัวแทนจากทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์, วีระ มุสิกพงศ์ และ นายแพทย์เหวง โตจิราการ ที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทางฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม เสนอให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน และมีการเลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอ เนื่องจากไม่เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติลงได้หลังเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยรัฐบาลยินดีที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยกำหนดระยะเวลาการยุบสภาภายในเวลา 9 เดือน[8]

จากนั้นได้มีข้อเสนอจัดการเลือกตั้งนั้นซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[9] อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ระบุในข้อเสนอปรองดองว่าเขาจะดำเนินการตามแผนการเลือกตั้งต่อไป แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวก็ตาม หากมิได้กำหนดวันเลือกตั้งแน่ชัด[9] ซึ่งแม้ว่าแกนนำ นปช. จะตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ยังคงทำการชุมนุมต่อไป โดยอ้างว่ามีเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งได้ นายกรัฐมนตรีจึงถอนข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[10] จากนั้นก็ได้เกิดการสลายการชุมนุมตามมา

การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นนั้นผ่านสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[11] โดยในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ได้มีการประกาศว่าจะมีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม[12] ซึ่งหลังจากมีการประกาศถึงเจตนารมณ์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขาดประชุมสภา โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง วันที่ 29- 31 มีนาคม 2554 นั้นสภาล่มถึง 3 วันติดต่อกัน เพราะมีผู้เข้าประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งของสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดประชุมทั้งหมด 175 คน จากจำนวนทั้งหมด 188 คน เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน[13] จนท้ายที่สุดมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พฤษภาคม

โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศยุบสภานั้น เริ่มตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา พบว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพจนทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติต่าง ๆ ตลอดจนนโยบายต่างประเทศ[2] หากพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เวลาล่าช้าออกไป จะยิ่งทำให้คะแนนนิยมของพรรคตกต่ำลง[14]

ในวันที่ 3 เมษายน 2554 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทานสัมภาษณ์พิเศษ ในรายการ วู้ดดี้ เกิดมาคุย ใจความตอนหนึ่งทรงกล่าวโจมตี การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชวรหนัก [15]และ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำลายเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยที่ทรงละเว้นการกล่าวถึง การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจในประเทศมหาศาลเช่นเดียวกัน การประทานสัมภาษณ์ครั้งนั้นมีผลให้ กลุ่มผู้ชุมนุมโกรธแค้น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียนบทความ เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?[16][17]ความโกรธแค้นของกลุ่มผู้ชุมนุมจากการประทานสัมภาษณ์พิเศษดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของผลการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สามารถโต้ตอบได้เลยนอกจากแสดงออกในการเลือกตั้งเท่านั้น

พรรคการเมืองที่ลงสมัคร แก้

พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ[18]

ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[19] ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[20] ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน[21] ส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค ดร.สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค[22]

รูปแบบการเลือกตั้ง แก้

โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน[23]

ระบบบัญชีรายชื่อ แก้

ในระบบบัญชีรายชื่อ จะมีการคัดเลือกด้วยขั้นตอนดังนี้[24]

ให้แต่ละพรรค ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครจำนวนไม่เกิน 125 คน

    1. บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
    2. รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
    3. จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข (จาก 1 ลงไป)
  1. หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ให้นับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคการเมืองรวมกันทั้งประเทศ แล้วหารด้วย 125 จะได้คะแนนเฉลี่ยต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง หารด้วยคะแนนเฉลี่ยที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
    1. เศษทศนิยม ให้ปัดทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลเศษทศนิยมของแต่ละพรรคไว้ (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ปัดทิ้งเหลือ 52)
    2. รวมจำนวนผู้แทนของทุกพรรค หากยังได้ไม่ครบ 125 ให้กลับไปดูที่เศษทศนิยมของแต่ละพรรค พรรคใดที่มีเศษเหลือมากที่สุด ให้เพิ่มจำนวนผู้แทนจากพรรคนั้น 1 คน หากยังไม่ครบ ให้เพิ่มผู้แทนจากพรรคที่มีเศษเหลือมากเป็นอันดับสองขึ้นอีก 1 คน ทำเช่นนี้ตามลำดับจนกว่าจะได้ครบ 125 คน (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ตอนแรกได้ 52 เศษ 0.7 แต่ถ้าจำนวนผู้แทนยังไม่ครบ และไม่มีพรรคใดมีเศษมากกว่า 0.7 พรรค ก จะได้เพิ่มเป็น 53 คน)
  3. เมื่อได้จำนวนผู้แทนในระบบนี้ที่ลงตัวแล้ว ผู้สมัครของพรรคนั้น จากอันดับหนึ่ง ไปจนถึงอันดับเดียวกับจำนวนผู้แทนของพรรคนั้น จะได้เป็นผู้แทนราษฎร (เช่น พรรค ก ได้ 53 คน ผู้ที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 53 จะได้เป็นผู้แทน)

ในการเลือกตั้งครั้งนี้หมายเลขผู้สมัครที่จับในระบบบัญชีรายชื่อจะใช้กับระบบแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย โดยแต่ละพรรคจะใช้หมายเลขเดียวกันทั้งสองระบบทั่วประเทศ ซึ่งหมายเลขที่แต่ละพรรคจับได้เป็นดังนี้

หมายเลข พรรคการเมือง[25]
1 พรรคเพื่อไทย
2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3 พรรคประชาธิปไตยใหม่
4 พรรคประชากรไทย
5 พรรครักประเทศไทย
6 พรรคพลังชล
7 พรรคประชาธรรม
8 พรรคดำรงไทย
9 พรรคพลังมวลชน
10 พรรคประชาธิปัตย์
11 พรรคไทยพอเพียง
12 พรรครักษ์สันติ
13 พรรคไทยเป็นสุข
14 พรรคกิจสังคม
15 พรรคไทยเป็นไท
16 พรรคภูมิใจไทย
17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน
18 พรรคเพื่อฟ้าดิน
19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20 พรรคการเมืองใหม่
หมายเลข พรรคการเมือง[25]
21 พรรคชาติไทยพัฒนา
22 พรรคเสรีนิยม
23 พรรคชาติสามัคคี
24 พรรคบำรุงเมือง
25 พรรคกสิกรไทย
26 พรรคมาตุภูมิ
27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า
28 พรรคพลังสังคมไทย
29 พรรคเพื่อประชาชนไทย
30 พรรคมหาชน
31 พรรคประชาชนชาวไทย
32 พรรครักแผ่นดิน
33 พรรคประชาสันติ
34 พรรคความหวังใหม่
35 พรรคอาสามาตุภูมิ
36 พรรคพลังคนกีฬา
37 พรรคพลังชาวนา
38 พรรคไทยสร้างสรรค์
39 พรรคเพื่อนเกษตรไทย
40 พรรคมหารัฐพัฒนา
41 พรรคสยาม

ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2550 ก่อนหน้านี้นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" คือมีการแบ่งเขตเลือกตั้งโดยที่การแบ่งเขตนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนประชากรในเขตที่ต่างกัน ดังนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้แทนได้ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 1-3 คน ตามขนาดของประชากรในเขต ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้จำนวน เท่ากับจำนวนผู้แทนในเขตของตน[26] แต่การเลือกตั้งผู้แทนในครั้งนี้ แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะแบ่งเป็น 375 เขต โดยยึดหลักให้แต่ละเขตนั้นมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้นในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว[27]

เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น ตามรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศให้มีหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ดังต่อไปนี้[28]

  1. นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศ จากทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีก่อนการเลือกตั้ง หารด้วยจำนวนผู้แทนในระบบเขต (คือ 375) จะได้อัตราส่วนของราษฎรต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำจำนวนราษฎรในแต่ละจังหวัด หารด้วยอัตราส่วนที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนเขตเลือกตั้งที่มีในจังหวัด
    1. จังหวัดที่ผลหารต่ำกว่า 1 เขต (เช่น 0.86 เขต) ให้ปัดขึ้นเป็น 1 เขต (ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีจังหวัดใดเข้าข่ายกรณีนี้)
    2. จังหวัดที่ผลหารมากกว่า 1 และมีเศษทศนิยม ให้ปัดเศษทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลของเศษทศนิยมไว้ (เช่น 4.93 ปัดทิ้งเหลือ 4)
    3. รวมจำนวนผู้แทนของทั้ง 77 จังหวัด หากยังไม่ครบ 375 เขต ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือมากที่สุดขึ้นไป 1 เขต หากยังไม่ครบอีก ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือเป็นอันดับสองขึ้นไปอีก 1 เขต ทำเช่นนี้ไปตามลำดับ จนกว่าจะได้จำนวนครบ 375
  3. จังหวัดใดมีจำนวนเขตมากกว่า 1 เขต จะต้องแบ่งเขตโดยให้พื้นที่ของแต่ละเขตติดต่อกัน และแต่ละเขตต้องมีจำนวนราษฎรที่ใกล้เคียงกันด้วย (หลังจากการเลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงที่สุดในแต่ละเขต จะได้เป็นผู้แทน)

แต่ละจังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้[29]

 
จำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด
พื้นที่ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร 33
นครราชสีมา 15
อุบลราชธานี 11
เชียงใหม่, ขอนแก่น 10
อุดรธานี, นครศรีธรรมราช และบุรีรัมย์ 9
ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และสงขลา 8
ชัยภูมิ, เชียงราย, สมุทรปราการ และสกลนคร 7
นครสวรรค์, นนทบุรี, สุราษฎร์ธานี
ปทุมธานี, เพชรบูรณ์ และกาฬสินธุ์
6
กาญจนบุรี, นครปฐม, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก
มหาสารคาม, ราชบุรี และสุพรรณบุรี
5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี
ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง, เลย, สระบุรี และสุโขทัย
4
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, อุตรดิตถ์, เพชรบุรี
แพร่, ยโสธร, ยะลา, สมุทรสาคร, สระแก้ว, หนองคาย และหนองบัวลำภู
3
ชัยนาท, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล
อ่างทอง, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และบึงกาฬ
2
ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน
ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม
1

การย้ายพรรค แก้

พรรคเพื่อไทย (11) แก้

  1. ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรี
  2. วุฒิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครนายก
  3. ปิยะรัช หมื่นแสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอ็ด
  4. กรุงศรีวิไล สุทินเผือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ
  5. จิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ
  6. สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
  1. นิคม เชาว์กิตติโสภณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[31]
  2. จุมพฏ บุญใหญ่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สกลนคร[32]
  1. บุญเลิศ ครุฑขุนทด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา[33]
  1. อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม่ฮ่องสอน[34]
  1. พันตำรวจโทสมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา [35]

พรรคประชาธิปัตย์ (5) แก้

  1. มานิตย์ ภาวสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชลบุรี[36]
  2. องอาจ วงษ์ประยูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรี[36]
  3. นาราชา สุวิทย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงขลา [37]
  4. พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงขลา
  1. วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรี [38]
  1. โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิงห์บุรี [39]

พรรคภูมิใจไทย (2) แก้

  1. พันตำรวจโทนุกูล แสงศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครสวรรค์[40]
  1. ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน กลุ่มที่ 3[41]

พรรคเพื่อแผ่นดิน (30) แก้

  1. ประนอม โพธิ์คำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา[42]
  2. จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา[42]
  3. รณฤทธิชัย คานเขต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยโสธร[43]
  4. พิกิฎ ศรีชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยโสธร[43]
  5. พิเชษฐ์ ตันเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉะเชิงเทรา[43]
  6. ณัชพล ตันเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉะเชิงเทรา[43]
  7. ปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสัดส่วน[44]
  8. สาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์[45]
  9. กิตติศักดิ์ รุ่งธนะเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์[45]
  10. มานพ ปัตนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสัดส่วน กลุ่มที่ 8[46]
  11. นิมุคตาร์ วาบา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปัตตานี[47]
  12. พีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบุรีรัมย์[48]
  1. ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
  2. อนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
  3. พลพีร์ สุวรรณฉวี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
  4. อุดร ทองประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุบลราชธานี
  5. สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุบลราชธานี
  6. วิทยา บุตรดีวงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มุกดาหาร
  7. อลงกต มณีกาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครพนม
  8. คงกฤช หงษ์วิไล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปราจีนบุรี
  9. รัชนี พลซื่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร้อยเอ็ด[50]
  1. ไชยยศ จิรเมธากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุดรธานี[51]
  2. นรพล ตันติมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เชียงใหม่[51]
  1. สมเกียรติ ศรลัมพ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[52]
  2. พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[53]
  3. ถิรชัย วุฒิธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[53]
  1. ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สุรินทร์
  2. มลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
  1. ยุซรี ซูสารอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปัตตานี[55]
  1. แวมาฮาดี แวดาโอะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นราธิวาส[56]

พรรคชาติไทยพัฒนา (2) แก้

  1. อัศวิน วิภูศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสัดส่วน พรรคชาติไทยพัฒนา[57]
  1. มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลพบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา[58]

พรรครวมชาติพัฒนา (5) แก้

  1. วิรัช รัตนเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
  2. ทัศนียา รัตนเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
  1. วินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พิจิตร [59]
  2. ไกร ดาบธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่[60]
  1. วรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมุกดาหาร[30]

พรรคประชาราช (9) แก้

  1. เสนาะ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
  2. สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระแก้ว
  3. ฐานิสร์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระแก้ว
  4. ตรีนุช เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระแก้ว
  1. จักรกฤษณ์ ทองศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บุรีรัมย์
  2. ชนากานต์ ยืนยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปทุมธานี
  1. สมชัย เจริญชัยฤทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครสวรรค์[30]
  1. จิรวดี จึงวรานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศรีสะเกษ

พรรคกิจสังคม (4) แก้

  1. มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิษณุโลก
  2. ชยุต ภุมมะกาญจนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปราจีนบุรี
  1. วารุจ ศิริวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุตรดิตถ์
  2. สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุโขทัย

พรรคมาตุภูมิ (1) แก้

  1. ดร.ฟารีดา สุไลมาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์ พรรคมาตุภูมิ[63]

เหตุการณ์ก่อนการเลือกตั้ง แก้

ที่รัฐสภา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสภาพัฒนาการเมือง เชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมพิธีให้สัตยาบันและลงนามจรรยาบรรณหาเสียงเลือกตั้ง โดยมีประธานวุฒิสภา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัวแทนจากศาสนาต่าง ๆ เอกอัครราชทูต และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศมาร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมีตัวแทนจาก 17 พรรคการเมืองเข้าร่วมพิธี ขาดพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย[18]

เป็นที่คาดกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีความดุเดือดรุนแรงเป็นพิเศษ หลังมีการเปลี่ยนรูปแบบการลงคะแนนไปเป็น "เขตเดียวเบอร์เดียว" และเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุ ประชา ประสพดี อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ถูกทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธปืนขณะเดินทางด้วยรถยนต์กลับบ้าน[64] โดยคาดว่ามือปืนมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ ตำรวจได้มีการเฝ้าระวังติดตามมือปืนที่มีประวัติและคดีอุกฉกรรจ์ ด้านพันเอกธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ทหารพร้อมเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหน่วยเลือกตั้ง[65]

ด้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้มีการรณรงค์ "โหวตโน" หรือกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน พร้อมกับติดป้ายรณรงค์ที่เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ใส่ชุดสูท โดยสื่อถึงนักการเมือง พร้อมข้อความระบุว่า "อย่าปล่อยสัตว์เข้าสภา" ด้านพลตรีจำลอง ศรีเมือง ออกมาระบุว่า กระทำไปด้วยความหวังดีต่อบ้านเมือง และนักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ตลอดจนไม่มีนโยบายที่เกี่ยวกับการเสียดินแดน[66] เกี่ยวกับเรื่องนี้ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ได้ออกมาตั้งคำถามว่า "ผมอยากถามว่า คนเหล่านี้มีสิทธิ์หรือไม่ ในเมื่อเราเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเชื่อว่าผู้สมัครทั้งหมดของเราขณะนี้ 40 พรรค ไม่ได้แย่ไปหมด ผมยืนยันพี่น้องประชาชน และบ่อยครั้งคนของเราดีกว่ากลุ่มที่รณรงค์โนโหวตด้วยซ้ำไป ฉะนั้นควรปลดป้ายลง เพราะคนเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะติดป้าย เพราะเขาไม่ใช่พรรคการเมือง"[67] ในขณะที่พรรคเพื่อไทยได้ออกมาร้องคณะกรรมการการเลือกตั้งให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปลดป้ายโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติ 4 ต่อ 1 ให้ปลดป้ายออก อย่างไรก็ตามทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ยื่นเรื่องฟ้องศาลปกครองและไม่มีการปลดป้ายแต่อย่างใด[68]

พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอให้มีการดีเบต หรือโต้วาที ระหว่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงวิสัยทัศน์และนโยบายของพรรคต่อประชาชน โดยอภิสิทธิ์ต้องการพิสูจน์ถึงความพร้อมทำงานสานต่อภารกิจ และเห็นว่าเป็นธรรมเนียมประชาธิปไตยที่ผู้สมัครจะแสดงวิสัยทัศน์แก่ประชาชน[69] แต่ทางพรรคเพื่อไทยปฏิเสธ[70] โดยร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เห็นว่า การดีเบตเป็นแนวทางของระบบประธานาธิบดี[71]

นอกจากนี้ยังได้เกิดเหตุฆ่าหัวคะแนนของพรรคการเมืองต่าง ๆ เช่น

  • วัชรินทร์ ทางกลาง หัวคะแนน สุชาติ ลายน้ำเงิน พรรคเพื่อไทย ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 ที่จังหวัดลพบุรี[72]
  • วิโรจน์ ดำสนิท นายก องค์การบริหารส่วนตำบล โผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง หัวคะแนนพรรคชาติไทยพัฒนา ถูกคนร้ายเสียชีวิต ส่วนภรรยาได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[73]
  • นิมิตร แก้วกำพล หัวคะแนนพรรคชาติไทยพัฒนาถูกยิงเสียชีวิต ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้ก่อเหตุคือ ปราโมทย์ คงทอง ซึ่งมีปากเสียงกันก่อนจะบันดาลโทสะใช้ปืนยิงผู้ตายเสียชีวิต[73]
  • มงคล วีระวัฒน์พงษ์ศธร ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านห้วยส้าน หมู่ 8 ต.แม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายหัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ ศ. 2554[74]
  • วุฒิชาติ กันพร้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี หัวคะแนนพรรคเพื่อไทยถูกยิงเสัยชีวิต เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ตำรวจคาดว่าคนร้ายใช้อาวุธปืนกลมือขนาดกระสุน 11 มิลลิเมตร[75]
  • ดาหารี การี หัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกคนร้ายคาดว่าเป็นพรรคการเมืองคู่แข่งใช้มีดแทงเสียชีวิต ที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สาเหตุจากการโต้เถียงทางการเมือง[76]
  • สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหัวคะแนนคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย และเป็นพี่ชายของ มะลิวัลย์ จิระพันธุ์วาณิช ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย ถูกยิงเสียชีวิตในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554[77]อรพิน จิระพันธุ์วาณิช ภรรยา ได้รับบาดเจ็บสาหัส และชนุตพร โพธิสัมภารวงศ์ เลขานุการของสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิชได้รับบาดเจ็บ[78]
  • รังสรรค์ อินทสุทธิ์ หัวคะแนนสุรเชษฐ์ ชัยโกศล พรรคเพื่อไทย ถูกยิงเสียชีวิตที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สนองพจน์ อยู่เล็ก คนร้าย อ้างว่าเป็นการป้องกันตัวและเข้ามอบตัวกับตำรวจ[79]
  • จงกล บุญญา อดีตนายก องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหัวคะแนนคนสำคัญของผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 พรรคเพื่อไทย ถูกจ่อยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554[80]
  • โสภณ สองแก้ว กำนัน ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา หัวคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนขนาด 11 มิลลิเมตร ยิงที่ศีรษะ ส่วนภรรยาได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554[81]
  • วิทยา ศรีพุ่ม หัวคะแนนพรรคภูมิใจไทย นายก องค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ถูกจ่อยิงเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนขนาด .38 สาเหตุเบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องการเมืองท้องถิ่น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554[82]
  • ซาการียา หะมะ หัวคะแนนพรรคภูมิใจไทย จังหวัดนราธิวาส บาดเจ็บสาหัสจากการถูกลอบสังหารหลังจากเดินทางกลับจากการประชุมร่วมกับผู้สมัครในพื้นที่ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554 [83]

ช่วงเดือนมิถุนายน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐระบุว่าทูตประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้แก่ อังกฤษ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ เดินทางเข้าพบหารือสถานการณ์เลือกตั้งและอวยพรในวันคล้ายวันเกิดของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[84] ซึ่งอาซีฟ อาหมัด เอกอัครราชทูตอังกฤษ กล่าวว่า เป็นเรื่องแปลกเพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการการเลือกตั้งและพรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีการสังเกตการณ์เลือกตั้ง แต่ครั้งนี้กลับไม่มี[84] ด้านพรรคเพื่อไทยออกมาชี้ว่ามีความพยายามโกงการเลือกตั้ง[84] พล.ต.ณพล คชแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ยื่นฟ้องศาลขอให้ระงับการเลือกตั้งทั่วไป และขอให้ถวายสมบูรณาญาสิทธิราชย์คืนแก่พระมหากษัตริย์ โดยอ้างว่าเนื่องจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับโดยไม่ผ่านการทำประชามติ อย่างไรก็ตามศาลฎีกามีคำสั่งยกฟ้อง และศาลปกครองสูงสุดไม่รับคดีไว้ในพิจารณา[85]

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หนังสือพิมพ์คมชัดลึกได้ลงบทความในหน้าหนึ่งเกี่ยวกับการพร้อมให้ตรวจสอบกรณีมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ลึกลับกล่าวหาว่ามีผู้สื่อข่าวรับสินบนเพื่อให้เสนอข่าวให้พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ ทั้งนี้จากการตรวจสอบเป็นการภายในเครือเนชั่นได้ออกมาปฏิเสธเรื่องการติดสินบนแลกการนำเสนอข่าวดังกล่าว[86]

ทั้งนี้บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ จากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย มีการปราศัยในลักษณะโต้วาทีในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ถึงสองครั้งในประเด็นการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวมถึงดนุพร ปุณณกันต์ ที่ได้ออกมาปราศัยถึงเรื่องนี้เช่นกันโดยกล่าวตอนนึงว่า วันนี้คนเสื้อแดงถูกขังลืม แต่ทำไมคนเสื้อเหลืองลืมขัง[87]

พรรคภูมิใจไทยได้ฟ้องร้องพรรคเพื่อไทย ในกรณีที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ใส่ร้ายผู้สมัครของพรรคคือ เนวิน ชิดชอบ และ ชัย ชิดชอบ ด้าน แทนคุณ จิตต์อิสระได้ฟ้องร้องเรื่องนี้กับ การุณ โหสกุล เป็นการส่วนตัวเช่นตัวกัน[88] นอกจากนี้ยังมีการยื่นฟ้องยิ่งลักษณ์ ชินวัตรโดยนายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษคอรัปชั่นทักษิณ ซึ่งยื่นฟ้องต่อดีเอสไอ ในกรณีที่ยิ่งลักษณ์ให้การเท็จต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ในการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 302 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์[89]

ตั้งแต่ช่วงกลางคืนของวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีเว็บไซด์ที่ทำการปิดชั่วคราวโดยเฉพาะเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาด้านการเมืองหรือของพรรคการเมืองเช่นเว็บไซด์ของพรรคประชาธิปัตย์ เว็บไซด์พันทิปห้องราชดำเนิน ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งออกมาเตือนว่าการหาเสียงทางเครือข่ายสังคมออนไลน์จะเป็นการผิดกฎหมายหลังเวลา 18.00 ของวันดังกล่าว


การเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร แก้

การเลือกตั้งล่วงหน้าจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554 หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์มากถึง 2.6 ล้านคน รวมทั้ง 1.07 ล้านคนในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหลายคนไม่สามารถลงคะแนนได้เนื่องจากมีผู้ไปใช้สิทธิ์กันอย่างหนาแน่น[90] ส่วนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรนั้น มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรถึง 147,330 คน เพิ่มขึ้นจาก 90,205 คน เมื่อปี พ.ศ. 2550 จำนวนผู้ลงทะเบียนในสิงคโปร์มีเกิน 10,000 คน และในสหราชอาณาจักรมีผู้ลงทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คือ 4,775 คน เทียบกับ 2,296 คน[91]

เหตุการณ์ในวันเลือกตั้ง แก้

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีผู้สมัครพรรคมาตุภูมิ นายพูลผล อัศวเหม ถูกทำร้ายร่างกายหน้าบ้านพักที่จังหวัดสมุทรปราการ[92]ในขณะที่อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส คนร้ายใช้อาวุธปืนสั้นยิง กรรมการหน่วยเลือกตั้งบาดเจ็บสาหัส 2 คน[93] ส่วนการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายสุรา และทำลายบัตรเลือกตั้ง

การสำรวจความคิดเห็น แก้

นายกรัฐมนตรีที่ต้องการ แก้

ระยะเวลา

การสำรวจ

องค์กรที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ อื่นๆ ยังไม่ตัดสินใจ
20-22 พฤษภาคม กรุงเทพโพล 1,178 17.4 26.9 6.5 49.2
2-9 มิถุนายน กรุงเทพโพล 3,323 23.6 42.6 6.3 27.5

ระบบแบ่งเขต แก้

ระยะเวลาการสำรวจ องค์กรที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ อื่นๆ ยังไม่ตัดสินใจ
17-18 พฤษภาคม นิด้าโพล 1,272 16.90 12.74 18.24 52.04
24-25 พฤษภาคม นิด้าโพล 1,234 17.99 12.07 1.05 48.38
1-2 มิถุนายน นิด้าโพล 1,230 16.67 9.19 28.21 45.93
7-8 มิถุนายน นิด้าโพล 1,338 18.59 9.15 1.15 43.73

ระบบบัญชีรายชื่อ แก้

ระยะเวลาการสำรวจ องค์กรที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ อื่นๆ ยังไม่ตัดสินใจ
17-18 พฤษภาคม นิด้าโพล 1,272 17.77 14.23 18.24 49.76
19-22 พฤษภาคม สวนดุสิตโพล 3,584 41.22 36.88 15.41 6.49
23-28 พฤษภาคม สวนดุสิตโพล 4,694 43.16 37.45 12.31 7.08
24-25 พฤษภาคม นิด้าโพล 1,234 18.31 11.75 1.22 48.95
1-2 มิถุนายน นิด้าโพล 1,230 16.67 9.19 28.21 45.93
7-8 มิถุนายน นิด้าโพล 1,338 18.01 9.51 28.60 43.88
4-18 มิถุนายน สวนดุสิตโพล 102,944 51.55 34.05 12.02 2.38

Exit Poll แก้

สำนัก วันที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง พท. ปชป. ภท. ชทพ. พช. รปท. ชพน. รสต. มภ.
สวนดุสิตโพล แบ่งเขต 247 313 107 152 9 13 8 10 4 5 0 3 0 2 0 1 0 1
บัญชีฯ 66 45 4 2 1 3 2 1 1

ผลการเลือกตั้ง แก้

ผลอย่างเป็นทางการ แก้

265
19
23
34
159
เพื่อไทย
ชทพ.
อื่นๆ
ภท.
ประชาธิปัตย์
e • d  ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
 
 
พรรค แบ่งเขต บัญชีรายชื่อ ที่นั่งรวม +/-
คะแนนเสียง % ที่นั่ง คะแนนเสียง % ที่นั่ง
เพื่อไทย 204 15,752,470 48.41 61 265   32
ประชาธิปัตย์ 115 11,435,640 35.15 44 159   6
ภูมิใจไทย 29 1,281,652 3.94 5 34 พรรคใหม่
ชาติไทยพัฒนา 15 906,656 2.79 4 19   18
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 5 495,762 1.52 2 7   26
พลังชล 6 178,042 0.55 1 7 พรรคใหม่
รักประเทศไทย ไม่ส่งผู้สมัคร 998,668 3.07 4 4 พรรคใหม่
มาตุภูมิ 1 251,674 0.77 1 2 พรรคใหม่
รักษ์สันติ 0 284,100 0.87 1 1 พรรคใหม่
มหาชน ไม่ส่งผู้สมัคร 133,752 0.41 1 1   1
ประชาธิปไตยใหม่ 0 125,753 0.39 1 1 พรรคใหม่
อื่น ๆ 691,058 2.13
คะแนนสมบูรณ์ 33,180,116 100.00 375 32,535,227 100.00 125 500
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,148 4.03% 958,213 2.72%
คะแนนเสีย 2,040,261 5.79 1,726,768 4.90
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 35,220,377 75.03 35,220,208 75.03
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 46,939,549 100.00 46,939,549 100.00
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เปรียบเทียบจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า แก้

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ แก้

ผลการเลือกตั้งปี 2550
  พรรคพลังประชาชน
  พรรคประชาธิปัตย์
  พรรคชาติไทย
  พรรคประชาราช
ผลการเลือกตั้งปี 2554
  พรรคเพื่อไทย
  พรรคประชาธิปัตย์
พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคกลางและบางส่วนของภาคตะวันออก ซึ่งเป็นฐานของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต แก้

ผลการเลือกตั้งปี 2550
  พรรคพลังประชาชน
  พรรคประชาธิปัตย์
  พรรคชาติไทย
  พรรคเพื่อแผ่นดิน
  พรรคประชาราช
  ไม่มีพรรคใดได้ที่นั่งข้างมาก
ผลการเลือกตั้งปี 2554
  พรรคเพื่อไทย
  พรรคประชาธิปัตย์
  พรรคภูมิใจไทย
  พรรคชาติไทยพัฒนา
  พรรคพลังชล
  ไม่มีพรรคใดได้ที่นั่งข้างมาก
ผลการเลือกตั้ง แสดงครบ 375 เขต
เปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า (พ.ศ. 2550) พบว่าการเปลี่ยนแปลงของ ส.ส.แบบแบ่งเขต อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเป็นส่วนใหญ่

การเลือกตั้งซ่อม แก้

กระบวนการหลังการเลือกตั้ง แก้

การรับรองผลการเลือกตั้ง แก้

ตั้งแต่การเลือกตั้งสิ้นสุดลงในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ขั้นตอนต่อไป คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องรับรองผลการเลือกตั้งภายในสามสิบวันหลังจากวันเลือกตั้ง จากนั้น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะได้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก เพื่อจะเลือกสรรประธานสภาผู้แทนราษฎร, รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีคนใหม่คนใหม่ตามลำดับ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงจะแนะนำและยินยอมให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมตินั้นต่อไป[95]

คณะกรรมการการเลือกตั้งเริ่มประชุมเพื่อพิจารณารับรองผลการเลือกตั้งในบ่ายวันที่ 12 กรกฎาคม ในวันนั้น ประชุมกันถึงค่ำ มีสมาชิกแนวร่วประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการประมาณห้าสิบคนมารอฟังผลถึงหน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และมีเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมอย่างเคร่งเครียด ครั้นแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนสามร้อยห้าสิบคนเป็นเบื้องต้น ในจำนวนนี้ ไม่รวมยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และก่อแก้ว พิกุลทอง เนื่องจากมีผู้คัดค้านผลการเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันมาก[95]

การตัดสิทธิ์ แก้

เป็นที่คาดกันว่าจะมีการแจกใบแดงห้าใบระหว่างการลงคะแนนในจังหวัดสุโขทัย ชัยภูมิ มหาสารคาม ศรีสะเกษและบุรีรัมย์จากการโกงระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง[96] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวหาว่ามีการโกงเลือกตั้งครั้งมโหฬารโดยพรรคภูมิใจไทย ซึ่งอาจนำไปสู่การพิพากษายุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญ[97]

ปฏิกิริยา แก้

สำนักข่าวรอยเตอส์ รายงานว่า "คะแนนเสียงในครั้งนี้ เป็นการตบหน้าฝ่ายนิยมเจ้าในกรุงเทพมหานครที่อยู่เบื้องหลังนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และชี้ให้เห็นว่านโยบายอันนำโดย พันตำรวจโท ทักษิณ ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง"[98]

หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์สูญอำนาจแล้วในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 นั้นเอง พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร สามารถให้สัมภาษณ์จากนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกอากาศสดทางช่อง 3 และช่องไทยพีบีเอสได้[99] และเย็นวันถัดมา มีกลุ่มเยาวชนที่ภาษาปากเรียก "เด็กแว้น" ขับจักรยานยนต์ส่งเสียงดังเพื่อเยาะเย้ยพรรคประชาธิปัตย์ที่หน้าที่ทำการพรรคบนถนนสามเสน โดยเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อพากันยืนดูเฉยไม่เอาเป็นธุระ[100]

วันที่ 4 กรกฎาคม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตามที่เคยให้สัญญาไว้ว่าจะลาออกหากพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้ง[101] พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชลและพรรคมหาชนตกลงที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมนำโดยพรรคเพื่อไทย ทำให้มีที่นั่งรวม 299 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร[97] รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ประกาศว่ากองทัพจะยอมรับผลการเลือกตั้ง และจะไม่มีการแทรกแซงการเมือง ขณะที่ผู้บัญชาการทหารบกไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สัญญาว่าจะไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ระหว่างกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล[102]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ฮอร์ นัมฮง แสดงความยินดีต่อพรรคเพื่อไทยที่ชนะการเลือกตั้ง โดยกล่าว่า "เราไม่อาจปกปิดได้ว่าเรามีความสุขกับชัยชนะของพรรคเพื่อไทย" และแสดงความเชื่อมั่นว่าภายใต้รัฐบาลใหม่ ปัญหาข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาจะได้รับการตกลง[103] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 5% ในวันทำการซื้อขายวันแรกหลังการเลือกตั้ง[104]

วันที่ 7 กรกฎาคม พรรคประชาธิปไตยใหม่เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทำให้มีจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 300 คน นอกจากนี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังออกมาระบุว่า ไม่ได้ปิดกั้นมิให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแต่อย่างใด[105]

วันที่ 10 กรกฎาคม ละเมียน อยู่สุข ชาวระยองวัยแปดสิบปี ผู้นิยมชมชอบพรรคประชาธิปัตย์เป็นอันมาก ดื่มยาฆ่าหญ้าฆ่าตัวตายหลังจากผิดหวังกับปราชัยของพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ร่วมงานศพของเธอเป็นจำนวนมาก แต่ไม่รวมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่โทรศัพท์มาแสดงความเสียใจในภายหลัง[106]

หมายเหตุ แก้

  1. จำนวนที่นั่งเดิมของพรรคเพื่อไทย เปรียบเทียบจากจำนวนที่นั่งที่พรรคพลังประชาชนเคยได้รับ
  2. จำนวนที่นั่งเดิมของพรรคชาติไทยพัฒนา เปรียบเทียบจากจำนวนที่นั่งที่พรรคชาติไทยเคยได้รับ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๓๓ ก, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๙
  2. 2.0 2.1 สถานการณ์บีบ “จนตรอก” รัฐบาลเจาะรูเลื่อนเลือกตั้ง! เก็บถาวร 2012-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ASTVผู้จัดการ. (10 เมษายน 2554). สืบค้น 17-5-2554.
  3. "กกต.แถลงผลการเลือกตั้ง อย่างเป็นทางการ คาดประกาศรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ภายในวันที่ 12 ก.ค.นี้". คณะกรรมการการเลือกตั้ง. 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  4. "กกต.ชี้มีผู้ใช้สิทธิโหวตโน 2 ล้านเศษ คิดเป็น 4.03% บัตรเสียร้อยละ 5.79". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 5 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 10 May 2013.
  5. 5.0 5.1 "General Election 2011". Bangkok Post. 3 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 3 July 2011.
  6. Yingluck, Pheu Thai win in a landslide. Bangkok Post. (3 July 2011). Retrieved 8-7-2011.
  7. "Yingluck Shinawatra set to be Thailand's first female premier". CNN. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 3 July 2011.
  8. สรุปประเด็นเจรจา 2 รอบรัฐบาล VS นปช, หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ วันที่ 3 เมษายน 2553
  9. 9.0 9.1 "Asia-Pacific – Thai red shirts accept peace offer". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  10. "Thai PM scraps offer to hold election on Nov. 14 - People's Daily Online". English.people.com.cn. 2010-05-13. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  11. การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้ง
  12. ประกาศว่าจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย
  13. การประกาศถึงเจตนารมณ์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี
  14. โค้งสุดท้าย. เดลินิวส์. (21 เมษายน 2554). สืบค้น 17-5-2554.
  15. หมายเหตุพฤษภา : .ฟ้าร่ำไห้ แผ่นดินสิ้นแสง!? ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในรายการ "วู้ดดี้ เกิดมาคุย"
  16. เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?
  17. ฐานข้อมูลคดี สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
  18. 18.0 18.1 พท.มติเอกฉันท์ชู'ยิ่งลักษณ์'ปาร์ตี้ลิสต์เบอร์1. มติชน. (12 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 15-5-2554.
  19. 'ชุมพล' ลงปาร์ตี้ลิสต์ ชาติไทยพัฒนาลำดับที่ 1. ไทยรัฐ. (16 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  20. ชาญชัย ผงาดปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 ชพน.. (14 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  21. 'ชูวิทย์' ประกาศตัวเป็น 'ฝ่ายค้าน' ส่งปาร์ตี้ลิสต์พรรค รปท.. ไทยรัฐ. (12 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  22. “สุริยะใส” ยืนยันการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครเลือกตั้ง. MCOT. (13 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
  23. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
  25. 25.0 25.1 รายชื่อผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2554
  26. ชาวบ้านได้อะไร? เลือกตั้ง "เขตเดียวเบอร์เดียว","เขตเดียวสามเบอร์". ไทยรัฐ. (24 สิงหาคม 2553). สืบค้น 16-5-2554.
  27. ที่มา-หน้าที่-ประเภท'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร'. มติชน. (14 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  28. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
  29. ทำความรู้จัก375เขต. เดลินิวส์. (13 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  30. 30.0 30.1 30.2 "เปิดขุมข่ายอดีต สส. วัดกำลังพรรคการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  31. นิคม เชาว์กิติโสภณ ย้ายสังกัดพรรค
  32. เด็กเนวิน หนีกระแสขายตัว ย้ายซบประชาธิปัตย์
  33. "วรรณรัตน์" ฟุ้งได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโคราช เกินครึ่ง
  34. พรรคชาติไทยพัฒนา เปิดตัว มนต์สิทธิ์ คำสร้อย และอดุลย์ วันไชยธนวงศ์
  35. "สมชาย เพศประเสริฐ"นำทีมผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตุภูมิ ท้าชิงพื้นที่5เขตโคราช
  36. 36.0 36.1 36.2 พรรคเพื่อไทยเปิดตัว 8 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายซบ
  37. "นาราชา" ไขก๊อกหันซบ "เพื่อไทย"
  38. "เด็กปชป."สระบุรีหนีตายซบ"ภูมิใจไทย"
  39. โชว์พลังดูด! โชตวุฒิกระโดดซบชพน.
  40. “เด็กสมศักดิ์”ยื่นใบลา ย้ายซบเพื่อไทย
  41. ชทพ.นครพนมฮึด-เดินหน้าชน'ศุภชัย'
  42. 42.0 42.1 ภท.ตบหน้า3พีดูด2สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโคราชจากเพื่อแผ่นดิน
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"กลุ่มบ้านริมน้ำ"รอรัฐบาลยุบสภา ย้ายเข้า ภท.เต็มตัว
  44. เมียอัสนีเจาะประเสริฐ อาหลานซดหนัก ลูกวิรัชดวลลูกไพโรจน์[ลิงก์เสีย]
  45. 45.0 45.1 "พผ.รับ 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์ชิ่งซบ ภท. ชี้ "ห้อย" จับมือ "เติ้ง" หวังเป็นสะพานเชื่อม พท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  46. "ภูมิใจไทย"เปิดตัว 6 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย้ายร่วมวง ดูดจาก"เพื่อแผนดิน-เพื่อไทย-ชาติไทยพัฒนา"
  47. "นิมุคตาร์ วาบา" เตรียมลาออกจาก พรรคเพื่อแผ่นดิน วันนี้ ก่อนสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคภูมิใจไทย[ลิงก์เสีย]
  48. 48.0 48.1 "เปิดตัว 25 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายซบภูมิใจไทย "ศุภชัย" เชื่อไม่มีพรรคไหนได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่า 200 ที่นั่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  49. "รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-26. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  50. 'รัชนี พลซื่อ' ปัดซบพรรคอื่น[ลิงก์เสีย]
  51. 51.0 51.1 “ไชยยศ” พาพวกซบ ปชป.แย้มหาอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ารังอีก ปัดมีข้อตกลงพิเศษ
  52. "'สมเกียรติ ศรลัมภ์' ทิ้งเพื่อแผ่นดิน ซบเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  53. 53.0 53.1 'พล.ต.อำเภอประชา'สมัครเข้าเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  54. กลุ่ม"ประดิษฐ์"พาเหรดซบ"ชทพ." 11 คน เสธ.หนั่นลั่นเป็นรบ.แน่ เชื่อเป็นแรงดูดทำตามมาอีกเพียบ
  55. 3 จังหวัดใต้ 11 ที่นั่ง 7พรรคชิงชัย
  56. ""หมอแว" ปัดร่วมงาน "บิ๊กบัง" ยกทีมยึด "แทนคุณแผ่นดิน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  57. "อัศวิน วิภูศิริ"หันลงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ ปชป.[ลิงก์เสีย]
  58. "ลพบุรี"มวยถูกคู่"มัลลิกา"ชน"สุชาติ"
  59. "วินัย"รับย้ายซบเสธฯหนั่นพร้อมประดิษฐ์[ลิงก์เสีย]
  60. "หมอไกร"อ้างย้ายซบ"ชทพ."สร้างปรองดอง
  61. เสนาะประกาศพาลูกย้ายซบพรรคเพื่อไทย ยันยังไม่ยุบประชาราช
  62. 62.0 62.1 "'กิจสังคม'แพแตกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายซบชาติพัฒนา-ชาติไทยฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
  63. สนามเลือกตั้งเมืองช้างคึกคัก 2 พรรคการเมืองใหญ่ เตรียมส่งผู้สมัครลงแข่งขัน 24 พ.ค.นี้
  64. "ประชา ประสพดี ถูกทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธปืนขณะเดินทางด้วยรถยนต์กลับบ้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-11.
  65. เกาะติดเลือกตั้ง-กองทัพจับตา-คาดโทษ "มือปืนมีสี"[ลิงก์เสีย]. คมชัดลึก. (16 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
  66. พธม.จี้กกต.ลงดาบสื่อแดงเชียร์เพื่อไทย. เดลินิวส์. (17 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
  67. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ได้ออกมาตั้งคำถามว่า "ผมอยากถามว่า คนเหล่านี้มีสิทธิ์หรือไม่
  68. "ปลดป้ายโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติ 4 ต่อ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-13. สืบค้นเมื่อ 2011-07-03.
  69. พรรคประชาธิปัตย์ท้าพรรคเพื่อไทยจัดดีเบตระหว่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[ลิงก์เสีย]. (17 พฤษภาคม 2554).
  70. “ณัฐวุฒิ” ไม่สน ปชป.ท้า “ยิ่งลักษณ์” ดีเบต “อภิสิทธิ์. MCOT. (17 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
  71. ยิ่งลักษณ์เปิดตัวชิงนายกฯ ลั่นไม่แก้แค้น ปิดปากนิรโทษกรรมแม้ว[ลิงก์เสีย]. แนวหน้า. (17 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
  72. วัชรินทร์ ทางกลาง หัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกลอบยิงเสียชีวิต
  73. 73.0 73.1 วิโรจน์ ดำสนิท นายก องค์การบริหารส่วนตำบล โผงเผง อำเภอป่าโมก ถูกลอบยิงเสียชีวิต
  74. ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านห้วยส้าน ถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ได้รับบาดเจ็บ
  75. วุฒิชาติ กันพร้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ ถูกยิงเสียชีวิต
  76. ดาหารี การี หัวคะแนน พรรคเพื่อไทย ถูกแทงเสียชีวิต[ลิงก์เสีย]
  77. ลอบยิง"สุบรรณ"นายกอบจังหวัดลพบุรีดับ[ลิงก์เสีย]
  78. ลอบยิง เลขานุการของสุบรรณ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส
  79. "ลอบสังหาร รังสรรค์ อินทสุทธิ์ หัวคะแนนสุรเชษฐ์ ชัยโกศล เสียชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-02.
  80. ยิงนายกเขาวง จังหวัดสระบุรี หัวคะแนนภท.ดับ
  81. ลอบยิงกำนัน โสภณ สองแก้วดับ
  82. ยิงนายกอบต.ดอนใหญ่ หัวคะแนนภท.ดับ
  83. ยิง.ซาการียา หะมะ บาดเจ็บสาหัส[ลิงก์เสีย]
  84. 84.0 84.1 84.2 ระวังปัจจัย 'หักโพล'. ไทยรัฐ. (24 มิถุนายน 2554). สืบค้น 24-6-2554.
  85. "ศาลยกฟ้องคดีให้เพิกถอนพ.ร.ฎ.ยุบสภา-เลือกตั้ง". www.Decha.com (ภาษาอังกฤษ).
  86. "กล่าวหาว่ามีผู้สื่อข่าวรับสินบนเพื่อให้เสนอข่าวให้พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-05. สืบค้นเมื่อ 2011-07-03.
  87. คนเสื้อแดงถูกขังลืม แต่ทำไมคนเสื้อเหลืองลืมขัง[ลิงก์เสีย]
  88. พรรคภูมิใจไทยได้ฟ้องร้องพรรคเพื่อไทย
  89. "หมอตุลย์" ร้อง "ดีเอสไอ" เอาผิด "ยิ่งลักษณ์ " อินไซด์เดอร์หุ้นเอสซี แอสเสท[ลิงก์เสีย]. แนวหน้า. (5 กรกฎาคม 2554). สืบค้น 8-7-2554.
  90. "Large crowds for advance voting". The Nation. Thailand. 27 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
  91. Chovichien, Vowpailin (29 June 2011). "Voting from abroad: Thai voices from a distance". The Nation (Thailand). Bangkok. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-02. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
  92. นายพูลผล อัศวเหม ถูกทำร้ายร่างกายหน้าบ้านพักที่จังหวัดสมุทรปราการ
  93. "คนร้ายใช้อาวุธปืนสั้นยิง กรรมการหน่วยเลือกตั้งบาดเจ็บสาหัส 2 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-17. สืบค้นเมื่อ 2011-07-03.
  94. ไทยรัฐ แถลงการณ์ยุบสภายิ่งลักษณ์ฉบับเต็ม 9-12-2556
  95. 95.0 95.1 "เผย กกต. ยังไม่กล้ารับรอง ปู-มาร์ค-ตู่ ให้มีฐานะเป็น สส". ไทยรัฐ. July 12, 2011. สืบค้นเมื่อ July 13, 2011.
  96. "Five red cards expected". The Nation. 3 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 3 July 2011.
  97. 97.0 97.1 Sattaburuth, Aekarach (July 5, 2011). "Pheu Thai gears toward amnesty". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ July 4, 2011.[ลิงก์เสีย]
  98. Vithoon Amorn (July 4, 2011). "Thai election brings hope of stability" [การเลือกตั้งของไทยเป็นความหวังให้ยุติความระส่ำระส่าย] (ภาษาอังกฤษ). Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 June 2011. The vote is a rebuke to the royalist establishment in Bangkok that backed Prime Minister Abhisit Vejjajiva and suggests broad support for policies championed by Thaksin, a populist hero elected prime minister twice, in 2001 and 2005.
  99. "'ทักษิณ'ลั่นหากติดคุกยังไม่กลับไทย". ไทยรัฐ. July 3, 2011. สืบค้นเมื่อ July 9, 2011.
  100. "เย้ยซ้ำ เด็กแวนท์แดง บุกป่วนหน้า ปชป". ThaiRath. July 4, 2011. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.
  101. Thip-Osod, Manop (5 July 2011), "Abhisit steps down as Democrat leader", Bangkok Post, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011
  102. "Army 'accepts' election result", Bangkok Post, 4 July 2011, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011
  103. "Cambodia congratulates Thailand on poll result", Bangkok Post, 5 July 2011, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011[ลิงก์เสีย]
  104. Chudasri, Darana (5 July 2011), "Stock market booms as poll spurs investor confidence", Bangkok Post, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011
  105. "ยิ่งลักษณ์"โชว์พลังดูดพรรคเล็กร่วมรัฐบาล300เสียง. ไทยรัฐ. (7 กรกฎาคม 2554). สืบค้น 8-7-2554.
  106. ""อภิสิทธิ์" โฟนอิน เสียใจ ยายวัย 80 แฟน ปชป. ฆ่าตัวตาย" [Abhisit's phone call: Sorry with suicide of 80-year-old Democrat fan granny.]. Thairath. July 10, 2011. สืบค้นเมื่อ July 10, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้