ฐานิสร์ เทียนทอง
ฐานิสร์ เทียนทอง (เกิด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว อดีตประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว
ฐานิสร์ เทียนทอง | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ขวัญเรือน เทียนทอง |
คะแนนเสียง | 131,999 |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ชัจจ์ กุลดิลก ประชา ประสพดี |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
เลขาธิการพรรคประชาราช | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | เชียรช่วง กัลยาณมิตร |
ถัดไป | พรพิศ โกศลจิตร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระแก้ว | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ถัดไป | ขวัญเรือน เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2539–2543) ไทยรักไทย (2543–2549) ประชาราช (2549–2554) เพื่อไทย (2554–2561) พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | หนึ่ง |
ประวัติ
แก้ฐานิสร์ เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[1] ที่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว (ตอนยังเป็นส่วนหนึ่งของ จ.ปราจีนบุรี ในขณะนั้น) เป็นบุตรคนโตของพิเชษฐ์ เทียนทอง กับขวัญเรือน เทียนทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระแก้ว มีน้องชายน้องสาว คือ อนุรักษ์ เทียนทอง ตรีนุช เทียนทอง และบดี เทียนทอง
ฐานิสร์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสระแก้ว และปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี และปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยบูรพา
การทำงาน
แก้ฐานิสร์ เทียนทอง ประกอบธุรกิจในจังหวัดสระแก้ว และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2539 จากนั้นมาจึงได้เข้ามาทำงานการเมือง โดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย และพรรคประชาราชตามลำดับ โดยฐานิสร์ เทียนทอง ได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาราช[2] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย พร้อมกับ ตรีนุช เทียนทอง สรวงศ์ เทียนทอง และสมาชิกพรรคประชาราชอีกจำนวนหนึ่ง[3]
ฐานิสร์ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เสนาะ เทียนทอง) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (สุขวิช รังสิตพล) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (สรอรรถ กลิ่นประทุม) และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (สุวิทย์ คุณกิตติ) และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4] ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม [5] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) กระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[6]
ใน พ.ศ. 2561 ฐานิสร์ได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ [7]ปี พ.ศ. 2566 ชนะเลือกตั้งได้รับตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
รางวัลและเกียรติยศ
แก้ฐานิสร์ เทียนทอง | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2554 - 2555 |
ชั้นยศ | นายกองเอก[8] |
ฐานิสร์ เทียนทอง ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก ฐานิสร์ เทียนทอง เมื่อ พ.ศ. 2552[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาราช
- ↑ 'เสนาะ'ควงลูก เข้าเพื่อไทย ชู'ยิ่งลักษณ์'นายกฯไทยรัฐออนไลน์
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ‘เทียนทอง’แตก! 2หลานทิ้ง‘เสนาะ’ซบพลังประชารัฐ เปิดศึกชิงเก้าอี้สส.สระแก้วแนวหน้า
- ↑ พระราชทานยศนายกอง
- ↑ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘