สรอรรถ กลิ่นประทุม

นักการเมืองชาวไทย

สรอรรถ กลิ่นประทุม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในสังกัดพรรคภูมิใจไทย[1] นายกสมาคมแห่งสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง[2] นักการเมืองแกนนำกลุ่มราชบุรี อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 6 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย

สรอรรถ กลิ่นประทุม
ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปสุชัย เจริญรัตนกุล (รักษาการ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอุไรวรรณ เทียนทอง
ถัดไปสมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอนุรักษ์ จุรีมาศ
ถัดไปประชา มาลีนนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าชูชีพ หาญสวัสดิ์
ถัดไปสมศักดิ์ เทพสุทิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มีนาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2529–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพรรัตน์ กลิ่นประทุม

ประวัติ

แก้

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม (ชื่อเล่น : ตุ้ย) เกิดวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายทวิช กลิ่นประทุม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับนางอารมณ์ กลิ่นประทุม สมรสกับนางพรรัตน์ กลิ่นประทุม จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสถิติ และระดับปริญญาโทจาก Catholic University Washington D.C. ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาการจัดการวิศวกร

การทำงาน

แก้

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2533[3] ต่อมาได้ปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลเดียวกัน[4] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชาติชาย (ครม.46)[5] ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และในรัฐบาลของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เขาก็ได้รับตำแหน่งเดิมต่อจากรัฐบาลที่แล้ว นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งใน ส.ส.กลุ่ม 16[6] อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2544 นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในคราวที่พรรคความหวังใหม่ ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[7] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[8] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[9] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[10] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[11]

ช่วงเวลาที่ได้รับจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

แก้

ต่อมา ส.ส. ในกลุ่มของนายสรอรรถ กลิ่นประทุม จึงได้ย้ายเข้ามาสังกัดพรรคพลังประชาชน จนกระทั่งเมื่อมีการยุบพรรคพลังประชาชน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มของนายสรอรรถ จึงได้เข้ามาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มเพื่อนเนวิน และกลุ่มอื่น ๆ ในนามพรรคภูมิใจไทย[12]

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[13]

อีกด้านหนึ่งนายสรอรรถ กลิ่นประทุม ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ นายประจวบ ไชยสาส์น นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ

หลังพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

แก้

หลังพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นายสรอรรถ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคและประธานที่ปรึกษาพรรค เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ในชุดที่มีอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 6[14] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 5 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. อีกสมัย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 11 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคภูมิใจไทยได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อเพียง 3 ที่นั่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. "สรอรรถ" นำทีม อดีตนศ.พตส. เยี่ยมสมาคม
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  6. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๓๕ ราย
  11. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  12. "และแล้วก็ถึงวาระ"ภูมิใจไทย"นำเสนอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
  13. "บุญจง ยัน ภท.มีเอกภาพ ปัดสมคิด เป็นหัวหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2010-11-05.
  14. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคภูมิใจไทย)
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖