ประชา มาลีนนท์
นายกองเอก[1] ประชา มาลีนนท์ (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2490) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
ประชา มาลีนนท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
ถัดไป | สุวิทย์ ยอดมณี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | สรอรรถ กลิ่นประทุม |
ถัดไป | วัฒนา เมืองสุข |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มีนาคม พ.ศ. 2490 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | แพ็ตตริเซีย แมรี่ มาลีนนท์ |
บุตร | 5 คน |
ประวัติ
แก้นายประชา มาลีนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2490กรุงเทพมหานคร (จังหวัดพระนครในขณะนั้น) เป็นบุตรชายคนที่สามของนายวิชัย และนางสมศรี มาลีนนท์[2](เสียชีวิตทั้งคู่) มีพี่น้อง 8 คน[3]
ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ในปี พ.ศ. 2509 ระดับปริญญาตรี จาก Elmhurst College สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2514 และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.344) ในปี พ.ศ. 2535
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางแพ็ตตริเซีย แมรี่ มาลีนนท์[4] โดย มีบุตร ธิดา คือเทรซี่ แอน มาลีนนท์, ดร.แคทลีน มาลีนนท์ (ภรรยา แมทธิว กิจโอธาน)แอน มาลีนนท์, ตู่ ปิยวดี มาลีนนท์,ประพันธ์พงศ์ มาลีนนท์
การทำงาน
แก้นายประชา มาลีนนท์ ทำงานเป็นกรรมการรองผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา[5] ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 ต่อมาได้เข้าสู่วงการการเมือง โดยการร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[6] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จนกระทั่งเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[7]
ปัจจุบัน อยู่ระหว่างหลบหนีคดี ต้องโทษจำคุก 12 ปี คำพิพากษาคดีทุจริตรถ-เรือดับเพลิงกทม. โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาเมื่อวันที่ 10 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ "ประชา มาลีนนท์ ธุรกิจกับการเมืองแยกกันไม่ออก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2015-07-27.
- ↑ "ประวิตร-ประวิทย์" พี่น้องแห่งจักรดาว
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-14. สืบค้นเมื่อ 2010-07-04.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/101/1.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗