วัฒนา เมืองสุข (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 — ) นักการเมืองและทนายความชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันต้องโทษจำคุก

วัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีดร.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าดร.อดิศัย โพธารามิก
ถัดไปดร.ทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีดร.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีดร.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าประชา มาลีนนท์
ถัดไปไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติพัฒนา
ไทยรักไทย
เพื่อไทย
ไทยสร้างไทย (ปัจจุบัน)
คู่สมรสพัชรา เจียรวนนท์ (แยกกันอยู่)

ประวัติ แก้ไข

วัฒนา เมืองสุข ชื่อเล่น ไก่ เกิดที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี บุตรของนายย้อม และ นางนวรัตน์ เมืองสุข ในครอบครัวของชนชั้นกลางที่พ่อแม่ประกอบอาชีพค้าขายและเกษตรกร และมีกิจการวิ่งรถโดยสารระหว่างจังหวัดนครนายกกับปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต เนติบัณฑิตไทย และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขากฎหมายเศรษฐกิจ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยการเป็นเด็กวัด ที่วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร[1] เขามีลูกนอกสมรส 4 คน[2]

ปัจจุบันผู้ต้องหา ตามคำตัดสินของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง

ชีวิตครอบครัว แก้ไข

วัฒนา สมรส กับ พัชรา เจียรวนนท์ บุตรสาวของนายสุเมธ เจียรวนนท์ ผู้บริหารเครือบริษัทซีพี ในขณะที่ประกอบอาชีพเป็นทนายความอยู่ โดยที่นางพัชราเป็นลูกความ ทำการสู่ขอถึงที่อาคารซีพีทาวเวอร์ ที่ถนนสีลม โดยที่นายวัฒนาเป็นเถ้าแก่เอง เมื่อปี พ.ศ. 2535 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน เป็นชาย 1 หญิง 2 [1]

การทำงาน แก้ไข

วัฒนา เมืองสุข เริ่มทำงานเป็นทนายความ ประจำสำนักกฎหมายดิศญุตม์และวัฒนา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติพัฒนา และปี พ.ศ. 2543 สังกัดพรรคไทยรักไทย จนได้รับตำแหน่งทางการเมือง ดังนี้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 58[5]

ข้อวิจารณ์ แก้ไข

ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เขาเสนอให้ยุบ ศาลปกครองศาลรัฐธรรมนูญ ให้กลายไปเป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกาเท่านั้น[7]โดยประเด็นนี้ทำให้สื่อมวลชนมองว่าพรรคเพื่อไทยมีความเป็นศัตรูกับ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2557 ประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดโดยระบุว่า รู้ไหมเมื่อปี 2553 วัฒนา อยู่ตรงกลางราชประสงค์ ประตูน้ำ เขานี่เหละเป็นคนต่อรองมาตลอดกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อย่างงี้ อย่างงั้น เดี่ยวผมจะเลิก นั้นแหละคือเขา รู้ซะบ้าง ทั้งแก๊งนั้นแหละ เราก็โอเค ใครจะป่วยจะไข้ก็ดูแล หวังว่ามันคงจะเรียบร้อย ปรากฏว่า ความรุนแรงก็เกิดขึ้น ก็คนเหล่านี้รู้เรื่องทั้งหมด ผมถามว่าคุณจะเชื่อใคร เชื่อเขาหรือเชื่อผม ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าว[8]

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 เขาตกเป็นผู้ต้องหาในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยเจ้าหน้าที่ทหารเป็นผู้สั่งฟ้องและจับกุมในวันดังกล่าวก่อนที่จะนำตัวขึ้นศาลในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559[9] ศาลอนุมัติฝากขัง 12 วัน ก่อนที่เขาจะขอประกันตัวโดยวางเงินหนึ่งแสนบาท ศาลอนุญาตแต่ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ

ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 ที่ จรัญ สังข์ศิริ คณะทำงานด้านกฎหมาย รับมอบอำนาจจากหัวหน้าคณะทำงานด้านกฎหมายส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย สำนักงานเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.สมนึก สันติภาคะนันท์ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับนายวัฒนา เมืองสุข ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งที่ 39/2557 ว่าด้วยเรื่องห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่นายวัฒนาผิดเงื่อนไข เนื่องจากพยายามออกมาโพสต์เฟซบุ๊กตอบโต้การบริหารงานของรัฐบาลหลายครั้ง มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[10] วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เขาเข้าร่วมกับกลุ่มนปช. สหรัฐอเมริกา[11] ในปีเดียวกัน ปปช.มีความเห็นให้ไต่สวนกรีณีทุจริตต่อหน้าที่ คดีบ้านเอื้ออาทร[12]ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แจ้งความดำเนินคดี ตามพระราชบัญญัติ คอมพิวเตอร์ โดยกล่าวหาว่าเขานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ[13]

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2560 มีบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดนายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมัยรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีหลายสมัย กับพวก กรณีถูกกล่าวหาว่า ทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร[14] วันที่ 21 ธ.ค. มีข่าวฉาวกับนักกิจกรรมทางสังคม ได้ฉายา พระเอกหนังเอ๊กซ์แห่งพรรคเพื่อไทย ภายใต้การสนับสนุน โดย บุญยอด สุขถิ่นไทย สมาชิก พรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  1. 1.0 1.1 'ทนายไก่'คนเลือดร้อน
  2. เรื่องของคนโสดและรักนอกสมรสของ'ไก่เอื้ออาทร'ภรรยาผมชื่อ'พัชรา'
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. วัฒนา เมืองสุข โต้อภิสิทธิ์
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. มติชนออนไลน์ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 12:53 น.
  7. ยุบศาลปกครอง องค์กรอิสระ 'ระเบิดลูกใหม่' รัฐบาล
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-19. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  9. "ศาลให้'วัฒนา'ประกันตัว 1 แสนห้ามออกนอกประเทศ - คมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-03-03.
  10. ""วัฒนา" จ่อเจอคุก! คสช.แจ้งจับข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-21.
  11. "น.ป.ช. สหรัฐ-เยอรมัน-สวีเดนร่วมแถลงค้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  12. จ่อฟัน 'วัฒนา' เอี่ยวทุจริตบ้านเอื้ออาทร
  13. ‘ปอท.’เล็งดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมพ์’วัฒนา เมืองสุข’ หลังโพสต์เฟซบุ๊กชี้’หมุดคณะราษฎรเป็นโบราณวัตถุ’
  14. ป.ป.ช.ฟันเงียบ‘วัฒนา’คดีบ้านเอื้ออาทร-อัยการยังไม่ฟ้องสำนวนไม่สมบูรณ์ตั้ง กก.ร่วม
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕